รัฐบาลจีนกับการออก 'นโยบายระดับชาติ' สู้มลพิษทางอากาศ

รัฐบาลจีนกับการออก 'นโยบายระดับชาติ' สู้มลพิษทางอากาศ

  • ออก Air Pollution Plan แผนปฎิบัติการระยะยาว 5 ปี กำหนดระดับ PM2.5 ในทุกเมืองหลักที่ก่อมลพิษ ได้แก่ กรุงปักกิ่ง เทียนจิน และมณฑลเหอเป่ย
  • นอกจากนี้เมือง 26 แห่ง ได้ให้สัญญาว่าจะทำการเปลี่ยนระบบทำความร้อนโดยการไฟฟ้าหรือก๊าซ แทนการใช้ถ่านหิน ใน 4 ล้านครัวเรือน 
  • จำกัดการผลิตเหล็ก และอลูมิเนียม สั่งปิดโรงงาน โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ ทั้งในกรุงในปักกิ่งและบริเวณใกล้เคียง
  • มีการตั้งหน่วยงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อม (Environmental Protection Agency)

ในขณะที่คนกรุงกำลังเผชิญกับปัญหาฝุ่นควัน รัฐบาลและผู้กำหนดนโยบายทั่วโลกต่างออกมาประกาศว่า มลพิษทางอากาศคือภัยร้ายแรง ส่งผลอันตรายต่อสุขภาพโดยตรงไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจ รวมถึงโรคหอบหืดและถุงลมโป่งพอง อีกทั้งองค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศ มลพิษทางอากาศเป็น ‘ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณะสุข’

จีนก็ได้เผชิญปัญหามลพิษทางอากาศที่เลวร้ายมาแล้วในปี 2015 โดยสถาบันวิจัย Berkeley Earth รายงานว่า จากสภาวะอากาศที่เลวร้ายในครั้งนั้น มีส่วนส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 1.6 ล้านคนต่อปี

รัฐบาลจีนออก 'นโยบายระดับชาติ' จัดการปัญหา 'มลพิษทางอากาศ'

การเติบโตอย่างรวดเร็วทางเศรษฐกิจส่งผลให้จีนกลายเป็นผู้ผลิตหรือปล่อยก็าซคาร์บอนไดออกไซด์มากที่สุดในโลก อย่างไรก็ตาม รัฐบาลจีนเองได้พยายามแก้ไขปัญหาโดยให้กระทบต่อเศรษฐกิจน้อยที่สุด 

ในปี 2013 รัฐบาลได้ออก Air Pollution Plan แผนปฎิบัติการระยะยาว 5 ปี กำหนดระดับ PM2.5 ในทุกเมืองหลักที่ก่อมลพิษ (กรุงปักกิ่ง เทียนจิน และมณฑลเหอเป่ย เป็นพื้นที่ที่มีระดับมลพิษทางอากาศสูงสุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูหนาว) และจำกัดการใช้ถ่านหินทั่วประเทศ โดยให้กรุงปักกิ่งมีการลดการใช้ถ่านหิน 50% (ภายในปี 2013-2018) เมืองเทียนจิน 19% นอกจากนี้เมือง 26 แห่ง ได้ให้สัญญาว่าจะทำการเปลี่ยนระบบทำความร้อนที่ไฟฟ้าหรือก๊าซแทนการใช้ถ่านหิน ใน 4 ล้านครัวเรือน 

ภาพ Pollution Plagues China, Cory M. Grenier

รัฐบาลยังได้มีการจำกัดการผลิตเหล็ก และอลูมิเนียม ปิดโรงงาน โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ อีกทั้งในกรุงในปักกิ่งและบริเวณใกล้เคียง มีการตั้งหน่วยงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อม (Environmental Protection Agency) แห่งใหม่

ทำไมการบังคับใช้จึงได้ผลในประเทศจีนเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น? เนื่องจากผู้ที่เป็นต้นเหตุก่อมลพิษหลายรายเป็นรัฐวิสาหกิจ และควบคุมได้ง่ายกว่า อีกทั้งมลพิษมากกว่าครึ่งของจีนมาจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน ซึ่งง่ายต่อการจัดการของรัฐบาล ในการออกมาตรการควบคุมเฉพาะเรื่องถ่านหิน และหาวิธีควบคุมมลพิษจากสาเหตุอื่น

ล่าสุดปีที่แล้ว รัฐบาลก็ได้ออกแผนจัดการมลพิษทางอากาศใหม่ Three-Year Action Plan for Winning the Blue Sky War ตั้งเป้าปรับปรุงคุณภาพอากาศของประเทศภายในปี 2020 โดยมีเป้าหมายเฉพาะเพื่อลดการปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) และไนโตรเจนออกไซด์

น่านฟ้าจีนสดใสกว่าเดิมด้วย 'พลังงานสะอาด'

ภาพ Qilai Shen/ Bloomberg

จีนเป็นผู้ผลิตถ่านหินรายใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของโลก รองจากสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ยังเป็นประเทศที่ผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากกว่าประเทศใดในโลก ในปี 2018 โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme - UNEP) เปิดเผยรายงานระบุว่า จีนได้กลายเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของโลกในการลงทุนด้านพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งมีจำนวนมากกว่าการลงทุนด้านพลังงานฟอสซิลแล้วในปี 2017

หลายโรงงานไฟฟ้าถ่านหินหลายแห่งถูกปิดตัว ส่งผลให้ยอดขายก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้น โดยสำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า นับตั้งแต่ปี 2012 จีนกลายเป็นประเทศที่ลงทุนเรื่องพลังงานสะอาดรายใหญ่ที่สุดของโลก โดยได้ลงทุนในพลังงานลมและแสงอาทิตย์ไปแล้วราวสามล้านล้านบาท

จีนได้มีการตั้งเป้าใช้พลังงานหมุนเวียนอย่างน้อยร้อยละ 35 ของปริมาณการใช้ไฟฟ้าภายในปี 2030 ตามแผนร่างคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติ โดยก่อนหน้านี้ รัฐบาลได้ตั้งเป้าการใช้ 'พลังงานสะอาด' คิดเป็นร้อยละ 20 ของการใช้พลังงาน ภายในปี 2030

นอกจากนี้ ยังได้มีการผลักดันการเป็นผู้นำอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าระดับโลก สนับสนุนการเปลี่ยนมาใช้รถยนต์พลังงานสะอาด ออกมาตรการเข้มงวดต่อผู้ผลิตรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยเชื้อเพลิงแบบดั้งเดิม 

ความร่วมมือกันระหว่างภาคเอกชน

Alibaba บริษัทขายของออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดของจีน แสดงรับผิดชอบต่อสังคม ขายชุดอุปกรณ์ทดสอบคุณภาพน้ำในราคาถูก

Xiomi ออกสโลแกน “Making quality technology accessible for everyone” ขายเครื่องฟอกอากาศ Mi Air Purifier ที่จะส่งข้อความเตือนผู้ใช้งานทุกครั้งเมื่อพบว่ามีการปนเปื้อนในอากาศ

ธนาคารโลก (World Bank) และธนาคารหัวเฉีย (Huaxia Bank) จับมือร่วมกันในโปรเจค 'Jing-Jin-Ji program' (Beijing-Tianjin-Hebei) ลงทุนในบริษัทที่ได้มีการใช้พลังงานทดแทน พลังงานหมุนเวียน และการควบคุมมลพิษในกรุงปักกิ่ง เทียนจิน มณฑลเหอเป่ย และจังหวัดใกล้เคียงของมณฑลซานตงชานซีเหอหนานและมองโกเลีย

จีนไม่ได้หยุดอยู่แค่การปรับปรุงคุณภาพอากาศเท่านั้น ยังได้หยุดรับขยะพลาสติกจากประเทศอื่น  ประชาชนได้มีความกังวลเกี่ยวกับมลพิษ และมีความด้านความต้องการวัสดุที่ลดลง โดยนอกจากจะผลักดันด้านพลังงานลมและแสงอาทิตย์แล้ว ยังได้ทำการทดลองพลังงานทดแทนถ่านหินอื่นๆ อย่าง พลังงานไฮโดรเจนอีกด้วย

 

ที่มา:

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เจาะลึกกลยุทธ์องค์กรยุคดิจิทัลกับการควบรวมกิจการในด้าน AI

สำรวจแนวโน้มการควบรวมกิจการด้าน AI ตั้งแต่ปี 2020-2024 กับกลยุทธ์องค์กรที่มุ่งเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน ผ่านการลงทุนเทคโนโลยีและผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมปัญญาประดิษฐ์...

Responsive image

สงคราม LLMs พลิกโฉมนวัตกรรม กำหนดอนาคต AI

ในปี 2024 โลกแห่งปัญญาประดิษฐ์กำลังเผชิญกับจุดเปลี่ยนสำคัญในการแข่งขันอันดุเดือดในตลาด LLMs ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นเครื่องมือทางเทคโนโลยี แต่ยังเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนนวัตกรรมทั่ว...

Responsive image

รู้จัก RNA Therapeutics โอกาสที่มาพร้อมความท้าทาย สู่อนาคตใหม่ของการรักษาโรค

เทคโนโลยี RNA therapeutics กำลังปฏิวัติวงการรักษาโรค ด้วยศักยภาพในการรักษาโรคที่รักษาได้ยาก ความก้าวหน้าในด้านนี้ดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจำนวนมหาศาล คาดการณ์ว่าตลาด RNA therapeutics จะม...