การแพร่ระบาดของโควิด-19 นำมาซึ่งปัญหาด้านเศรษฐกิจ สังคม และสุขภาพกายรวมถึงสุขภาพจิต ในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาด แน่นอนว่าการไปโรงพยาบาลเพื่อพบแพทย์นับว่าเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันเรามีการพัฒนาและใช้เทคโนโลยีเพื่อมาปิดช่องโหว่ดังกล่าว Virtual Healthcare หรือ Telemedicine เป็นการใช้เทคโนโลยีเพื่อรักษาและวินิจฉัยผู้ป่วยทางไกลแบบ Real-time และทำให้ ‘การพบแพทย์เป็นเรื่องง่าย’
บทความนี้เป็นสรุปสาระสำคัญจากงาน "How to ดูแลกาย-ใจด้วย Virtual Healthcare ทำให้การพบแพทย์เป็นเรื่องง่าย" ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง Cigna และ Techsauce พาทุกท่านไปเจาะลึกที่มาที่ไปและอนาคตของ HealthTech Trend หรือ เทคโนโลยีสุขภาพที่จะมาดิสรัปวงการแพทย์ และการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตในยุคโควิด
ใน session แรก นพ.คณพล ภูมิรัตนประพิณ CEO บริษัท Health at Home ได้มาเล่าถึงที่มาและวิวัฒนาการของ Telemedicine ในแต่ละยุคสมัยตามการพัฒนาของเทคโนโลยี รวมถึงการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของธุรกิจนี้โดยเฉพาะในช่วงวิกฤตโควิด-19 และโอกาสในอนาคต
นพ.คณพลกล่าวว่า Virtual Care คือการรักษาหรือการวินิจฉัยโรคที่เกิดขึ้นโดยที่คนไข้กับผู้รักษาอยู่ต่างสถานที่กัน และใช้เครื่องมือหรือเทคโนโลยีเพื่อสื่อสารกันในระยะไกล ซึ่งเราจะเห็นว่าทุกครั้งที่สื่อกลางในการสื่อสารมีการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาไป ทำให้เกิดการพัฒนาการทำ Virtual Care ด้วย เพราะฉะนั้นเทคโนโลยีจึงเป็นตัวแปรสำคัญในสมการนี้
จุดเริ่มต้นของ Telemedicine ในการแพทย์สมัยใหม่ เริ่มต้นเมื่อปี 1876 เมื่อ Alexander Graham Bell ประดิษฐ์โทรศัพท์เครื่องแรกของโลกขึ้นมา ในวารสารการแพทย์ Lancet ระบุว่าในปี 1879 เริ่มมีการใช้โทรศัพท์เพื่อการวินิจฉัยโรคทางไกล ซึ่งนับเป็นหมุดหมายแรกที่การรักษาทางไกลเกิดขึ้นบนโลกใบนี้
จากนั้นเมื่อมีการค้นพบเทคโนโลยี Radio Wave หรือ คลื่นวิทยุขึ้นมา ในปี 1924 ก็เกิดแนวคิดที่จะใช้งาน Radio Doctor ขึ้น การใช้จริงครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อปี 1928 ในโครงการ Royal Flying Doctor ที่ประเทศออสเตรเลีย เพราะด้วยสภาพภูมิประเทศที่เป็นเกาะ ทำให้คนไข้ที่อยู่ห่างไกลไม่สามารถเข้าถึงการรักษาได้ จึงใช้เครื่องบินบินไปหาคนไข้ และใช้วิทยุเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักในการทำงาน
ในปี 1967 เริ่มมีการทำ First virtual clinic หรือ Telemed clinic ครั้งแรก ณ Massachusetts General Hospital เมืองบอสตัน สหรัฐอเมริกา นอกจากนั้นยังมีการทำ Teleconsulting ในการให้คำปรึกษาด้านจิตเวช เพื่อแก้ปัญหาเรื่องบุคลากรด้านนี้ขาดแคลนในช่วงเวลาดังกล่าว
การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญเกิดขึ้นอีกครั้งในปี 1980 เมื่อมีการคิดค้น Personal Computer หรือ PC ขึ้นมา ซึ่งในช่วงเวลานั้นการใช้งาน Telemedicine ครั้งใหญ่ เกิดขึ้นในปี 1985 จากเหตุการณ์ที่กรุงเม็กซิโกเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก และขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ จึงจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีการแพทย์ทางไกลมาช่วย
และเมื่ออินเทอร์เน็ตถูกใช้งานอย่างแพร่หลายมากขึ้นในช่วงปี 2000 ท่ามกลางกระแสความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นี้ ในปี 2002 ก็เกิดบริษัท Teladoc Health บริษัทสัญชาติอเมริกันที่ให้บริการพบแพทย์ทางไกลเจ้าแรกของโลกขึ้นมา
จุดเปลี่ยนสำคัญอีกครั้งของ Telemedicine คือสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 กลายเป็นสถานการณ์บังคับที่ทำให้การใช้ Telemedicine สูงขึ้นแบบก้าวกระโดด โดยก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19 พบว่ามีการใช้ Virtual care เพียง 1% เท่านั้น แต่หลังจากนั้นอัตราการใช้งานสูงขึ้นถึง 80 เท่า ซึ่งปัจจุบันมีสถิติที่น่าสนใจจาก Mckinsey พบว่าการใช้งานเทคโนโลยีพบแพทย์ทางไกลนี้เหลืออยู่เพียง 38 เท่าจากตอนแรก แม้จะลดต่ำลงไปมาก แต่ก็แสดงให้เห็นว่าการใช้งาน Telemedicine ยังคงอยู่ในกระแสหลัก
นอกจากนั้นปัจจุบันยังมีธุรกิจ Health care startup ก้าวเข้ามาเป็นผู้เล่นในตลาดจำนวนมาก มียูนิคอร์นมากถึง 91 เจ้า โดยสำหรับประเทศไทย มีการตั้งสมาคม Health Tech ขึ้นในปี 2017 และปัจจุบันก็มีบริษัทเกิดใหม่ในตลาดมากมาย รวมถึงเม็ดเงินการลงทุนที่สูงขึ้น จึงถือเป็นโอกาสสำคัญทั้งสำหรับผู้ประกอบการและผู้บริโภค
ในช่วงสถานการณ์โควิด นอกจากความกังวลและกลัวการติดเชื้อ ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจและสังคมยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้คนไทยมีปัญหาสุขภาพจิตมากขึ้น ในสถานการณ์เช่นนี้ Telemedicine จะเข้ามามีบทบาทอย่างไรได้บ้าง โดยเราได้เชิญ Speakers ผู้เชี่ยวชาญมาร่วมเสวนากับเรา ได้แก่
นพ.จตุภัทร คุณสงค์ จิตแพทย์ประจำศูนย์จิตรักษ์โรงพยาบาลกรุงเทพ และ CEO Joy of minds clinic
พญ.เรณุกา จรัสพงศ์พิสุทธิ์ กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อ โรงพยาบาลพญาไท 2
นพ.จตุภัทรกล่าวว่า ในช่วงสถานการณ์โควิด จำนวนผู้ป่วยจิตเวชเพิ่มมากขึ้น และต่างมาพบแพทย์ด้วยปัญหาที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น กลัวการติดเชื้อ, การต้องแยกตัวเองออกมาจากสังคม, พิษเศรษฐกิจ และความไม่แน่นอนของสถานการณ์การแพร่ระบาด ที่กระตุ้นให้มีสภาวะความเครียดสูงขึ้น โดยสำหรับคำแนะนำการดูแลสุขภาพจิต นพ.จตุภัทรกล่าวว่าจะต้องมีสติ อยู่กับปัจจุบัน และหมั่นสำรวจตัวเองอยู่เสมอ เช่น สำรวจพฤติกรรมการนอน การทานอาหาร หรือสภาวะทางอารมณ์ของตัวเอง เป็นต้น หากรู้สึกว่ามีความผิดปกติและส่งผลกระทบกับการดำเนินชีวิตประจำวัน ต้องรีบมองหาความช่วยเหลือ โดยอาจจะเริ่มจากปรึกษาคนใกล้ชิด ไปจนถึงการปรึกษาจิตแพทย์ นอกจากนั้นจำเป็นต้องสร้างเสริมภูมิคุ้มกันให้ตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการพักผ่อนให้เพียงพอ การไม่จมอยู่กับความเครียดเป็นเวลานาน หมั่นตรวจสอบสภาพจิตใจ สภาพอารมณ์ของตัวเรา
สำหรับการดูแลตัวเองในช่วงสถานการณ์โควิด พญ.เรณุกาแนะนำว่า แม้ปัจจุบันตัวเลขผู้ติดเชื้อในเมืองไทยจะถือว่าอยู่ในขาลง แต่ก็ไม่ควรประมาท ต้องหมั่นรักษาความสะอาด ล้างมือด้วยน้ำสบู่หรือเจลแอลกอฮอลล์ และแนะนำให้สวมหน้ากากสองชั้น (หน้ากากอนามัยทางการแพทย์และหน้ากากผ้า) เพื่อการป้องกันการแพร่และรับเชื้อทางละอองฝอยให้มากที่สุด
สำหรับบทบาทสำคัญของ Telemedicine กับการดูแลสุขภาพจิต นพ.จตุภัทรกล่าวว่า บริการและการรักษาโรคจิตเวชในประเทศไทยนับว่ามีช่องโหว่ สาเหตุหนึ่งมาจากการที่ผู้ป่วยไม่สามารถเข้าถึงการรักษา เพราะจำนวนจิตแพทย์มีน้อย และกระจุกอยู่ในเฉพาะกรุงเทพมหานคร หรือจังหวัดใหญ่ๆ ซึ่ง Telemedicine หรือการพบแพทย์ทางไกลบนระบบออนไลน์จะช่วยขยายการเข้าถึงการรักษามากขึ้น หากภาครัฐให้การส่งเสริม ไม่ว่าจะเป็นด้านนโยบาย และการส่งเสริมผู้ประกอบการที่ทำ Virtual Care ด้านนี้ นอกจากนั้น Telemedicine จะเข้ามาช่วยปิดช่องว่าง ที่เกิดจากการที่ผู้ป่วยหลายรายไม่กล้ามาปรึกษาจิตแพทย์ ด้วยเหตุเพราะรู้สึกอับอาย การปรึกษาแพทย์ทางไกลก็จะช่วยให้ผู้ป่วยไม่ต้องเดินทางมาพบแพทย์ที่โรงพยาบาล ช่วยลดอุปสรรคดังกล่าวได้มากขึ้น
และสำหรับมุมมองของพญ.เรณุกา มองว่าการพัฒนาของเทคโนโลยีจะเป็นกุญแจสำคัญที่จะเปลี่ยนแปลงวงการแพทย์ ยกตัวอย่างเช่น การพัฒนาวิธีการรักษา, การพัฒนายา, การพัฒนาวัคซีน ซึ่งปัจจุบันมีเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะช่วยสร้างประสิทธิภาพการรักษามากขึ้น ส่วนบทบาทของ Telemedicine เชื่อว่าจะสามารถช่วยให้แพทย์ทำงานได้มีประสิทธิภาพกว่าเก่า ในแง่ของการวินิจฉัยหรือการช่วยเหลือผู้ป่วยที่จะทำได้เร็วขึ้น หรือการวินิจฉัยอากาารป่วยไม่รุนแรง เป็นต้น อย่างไรก็ตามหากเป็นอาการป่วยที่ต้องตรวจวินิจฉัยโรคโดยละเอียด เช่น การตรวจเลือด การเอ็กซเรย์ พญ.เรณุกา มองว่าการมาโรงพยาบาลยังคงจำเป็นอยู่
แน่นอนสำหรับสถานการณ์การแพร่ระบาดในปัจจุบัน หลายท่านคงมีความกังวลที่จะไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลเนื่องจากกลัวการติดเชื้อ อุปสรรคดังกล่าวทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถเข้าถึงการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพได้ โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ หรือผู้มีโรคประจำตัว ที่จำเป็นต้องไปพบแพทย์เป็นประจำ
พบกับบริการที่ตอบโจทย์การดูแลสุขภาพของคนยุคใหม่ ภายใต้แนวคิด “เจ็บป่วยเมื่อ
ไหร่ พบแพทย์ได้ทันที” ของ Cigna กับบริการพบแพทย์ออนไลน์ ผ่านแอปพลิเคชัน Cigna Anywhere ที่ลูกค้าซิกน่าที่ถือกรมธรรม์ประกันสุขภาพส่วนบุคคล Cigna Signature Care และแผนประกันสุขภาพแบบกลุ่มที่มีความคุ้มครองผู้ป่วยนอก (OPD) สามารถเข้าถึงบริการ Telemedicine ได้อย่างสะดวกสบาย รวดเร็ว โดยไม่ต้องสํารองเงินจ่ายล่วงหน้า พร้อมทั้งรับบริการจัดส่งยาถึงบ้านได้แบบไร้กังวลอีกด้วย
นับว่าตอบโจทย์มากกับสถานการณ์ปัจจุบัน ที่หลายคนอาจจะกังวลเมื่อต้องออกจาก
บ้าน ตอนนี้ Cigna มีโซลูชันใหม่ ที่ทําให้เราไม่ต้องไปโรงพยาบาลด้วยตัวเอง และ
ทําาให้การพบแพทย์เป็นเรื่องง่ายขึ้น
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด