SIX Network ผนึก Claim Di ลงนามความร่วมมือพัฒนาระบบประกันภัยอัจฉริยะบนเทคโนโลยี Blockchain | Techsauce

SIX Network ผนึก Claim Di ลงนามความร่วมมือพัฒนาระบบประกันภัยอัจฉริยะบนเทคโนโลยี Blockchain

SIX Network ผู้นำด้านเทคโนโลยี Blockchain ได้ประกาศลงนามความร่วมมือกับ Claim Di บริษัทผู้นำด้านเทคโนโลยีวงการประกันของไทย (InsurTech) เพื่อร่วมกันสร้างระบบประกันภัยอัจฉริยะด้วยเทคโนโลยี Blockchain มุ่งปฏิวัติวงการธุรกิจประกันภัย

Credit: six-network

สำหรับการร่วมมือกันในครั้งนี้ SIX Network กับบริษัทซึ่งเป็นเจ้าของ “Claim Di” แพลตฟอร์มเคลมประกันภัยรถยนต์ ที่ช่วยให้ประกันสามารถลดเวลา ต้นทุนและกลโกง (Fraud) ทั้งยังสามารถให้ผู้เอาประกันภัยสามารถทำเคลมรถยนต์ได้เองโดยไม่ต้องรอเจ้าหน้าที่ ซึ่งจากข้อมูลปี พ.ศ.2562 มียอดดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นสูงถึง 1.6 ล้านดาวน์โหลด ให้บริการรับแจ้งเหตุ และทำเคลมผ่านแพลตฟอร์มไปมากกว่าปีละ 3,000,000 งาน (Incident) ทั่วประเทศ โดยมีพนักงาน Claim Di Bike 12,500 คน ในทุกอำเภอ ทุกเกาะ ทุกดอย มีตำรวจคอยออกช่วยเหลืออยู่ในระบบ 200,000 นาย ครอบคลุม 1,482 สถานีตำรวจทั่วประเทศ และบริษัทประกันภัยทั้งหมด 50 ประกันภัย และศูนย์การแพทย์ฉุกเฉินทุกโรงพยาบาลในกลุ่มโรงพยาบาลกรุงเทพฯ (BDMS) รอรับแจ้งเหตุตลอด 24 ชั่วโมง ทั้งสองบริษัทได้เล็งเห็นถึงโอกาสและตัดสินใจจับมือเป็นพันธมิตรธุรกิจเพื่อทำงานร่วมกัน โดยใช้จุดแข็งในความเชี่ยวชาญที่สร้างคุณค่าให้กับอุตสาหกรรมประกันภัย

โดย SIX Network ได้นำ ‘snap’ ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันที่ช่วยตรวจสอบองค์ประกอบของภาพถ่ายด้วยเทคนิค Capture-locked image ที่มีเทคโนโลยี Blockchain อยู่เบื้องหลัง มาประยุกต์ใช้ร่วมกับแอปพลิเคชันหลักของบริษัท Claim Di อย่าง Claim Di, Me Claim, และ Police i lert u โดยเทคโนโลยีของ snap จะช่วยให้การถ่ายภาพเพื่อเป็นหลักฐานในที่เกิดเหตุ อาทิ ตำแหน่ง รูปภาพ สภาพแวดล้อม และวิเคราะห์รายละเอียดของในรูป จัดเก็บลงใน Blockchain ทันที เพื่อประกอบเป็นหลักฐานที่ถูกต้องและปลอดภัยจากการปลอมแปลง

Credit: six-network

นอกจากหลักการจัดเก็บดังกล่าว ยังสามารถแยกความเป็นเจ้าของของข้อมูลเพื่อสร้างเป็นฐานข้อมูลเรื่องความปลอดภัยของผู้ขับขี่ กล่าวคือ ผู้ขับขี่สามารถเลือกที่อนุญาตให้นำประวัติการตรวจสภาพรถ การเคลมประกัน หรือประวัติที่ขับรถโดยไม่มีอุบัติเหตุมาจัดเก็บเป็นฐานข้อมูลกลางที่สามารถนำไปใช้ได้ในอนาคต แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนบริษัทประกันภัยซึ่ง อาจจะได้รับผลประโยชน์จากเบี้ยประกันภัยที่ลดลง หรือเพื่อยืนยันความปลอดภัยหากทำงานเกี่ยวข้องกับการขับขี่ เป็นต้น

Credit: six-network

ซึ่งการนำเทคโนโลยี Blockchain เข้ามาใช้ ยังวางแผนที่จะนำข้อมูลอุบัติเหตุ และข้อมูลเหตุด่วนเหตุร้าย เป็นแบบไม่ระบุชื่อ (Anonymous) ซึ่งหากได้รับอนุญาตจากผู้ขับขี่ และบริษัทประกัน จัดเก็บเป็นฐานข้อมูลส่วนกลางนำไปวิเคราะห์อุบัติเหตุตามท้องถนน และวิเคราะห์เชิงพยากรณ์ (Predictive Analysis) เพื่อนำไปร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำการปรับปรุงพื้นที่ หรือป้องกันเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้

ระบบที่ SIX Network และ Claim Di ร่วมกันพัฒนาในครั้งนี้ ถือว่าเป็นการวางรากฐานของ “ระบบประกันอัจฉริยะโดย Blockchain และการจัดการด้านข้อมูล” ที่ผู้ใช้งานสามารถดูแลข้อมูลของตัวเองและจัดการเรื่องเบี้ยประกันได้อย่างเหมาะสมกับพฤติกรรมการใช้งานของตนเองได้ในอนาคตอีกด้วย นับว่าเป็นการนำเทคโนโลยี Blockchain มาใช้งานจริงในแวดวงประกันภัยซึ่งเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีมูลค่ายอดขายในปี 2562 สูงถึง 140,000 ล้านบาท ถือเป็นการสร้างนวัตกรรมที่มีประโยชน์กับผู้คนครั้งสำคัญของประเทศไทยและสร้างแนวทางใหม่สำหรับธุรกิจในอุตสาหกรรมนี้ต่อไป

บทความโดย six-network

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘Yindee’ แชตบอตในแอป ttb Touch ใช้ Gen AI จับความรู้สึก ตอบเร็วและฉลาดกว่าที่เคย

Yindee แชตบอตที่อยู่บน Mobile Banking ของ ttb ทำงานผ่านแอป ttb Touch สามารถจับ Mood & Tone ของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ ว่าขณะแชตนั้น ลูกค้าอยู่ในอารมณ์ไหน ด้วย Generative AI โดย Azur...

Responsive image

คนอยากใช้พลังงานเยอะ แต่โลกอยากได้ปล่อยคาร์บอนน้อย บริษัทพลังงานแก้ไขความย้อนแย้งนี้อย่างไรดีในยุค AI

The Energy/Prosperity Paradox หรือภาวะย้อนแย้งแห่งพลังงาน และความเจริญ ถือเป็นความท้าทายระดับโลกที่บริษัทด้านพลังงานกำลังพบเจอ เพราะในตอนนี้โลกกำลังต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างไม่เ...

Responsive image

เศรษฐกิจไทย ‘ฟื้นตัว’ แล้วหรือยัง ? ฟังความเห็นจาก 3 ผู้นำธุรกิจยักษ์ใหญ่ไทย

ค้นพบศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงไทย จีน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม และกัมพูชา พร้อมโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจในภาคอุตสาหกรรม การเงิน และเทคโนโลยี...