ชีวิตจริง ยิ่งกว่าแมลงสาบ! แชร์ประสบการณ์ชีวิตต้องดิ้นรน ของเหล่าสตาร์ทอัพ | Techsauce

ชีวิตจริง ยิ่งกว่าแมลงสาบ! แชร์ประสบการณ์ชีวิตต้องดิ้นรน ของเหล่าสตาร์ทอัพ

“เรียนรู้ ปรับตัว และคาดหวังผลลัพท์ที่ต่างออกไป สักวันนึง แมลงสาบ อาจจะเป็นยูนิคอร์น”  ใครจะรู้ว่ากว่าที่จะมาถึงจุดที่เรียกว่า “สำเร็จ” ชีวิตจริงนั้นต้องผ่านอะไรมาบ้าง ทำสตาร์ทอัพฟังดูเท่ แต่จริงๆ แล้วพวกเขาต้องพบกับอะไรบ้าง? เราได้ประเดิม Session แรก ของห้อง Startup Essentials ด้วยคำถามที่คงที่คาใจใครหลายคน โดยมี 4 ผู้ก่อตั้งสตาร์ทอัพ ที่มาร่วมแชร์ประสบการณ์ชีวิต กับเรา

คุณปิ๊ปโป้ Co-Founder storylog พื้นที่แบ่งปันความคิด เรื่องราวออนไลน์ ของคนรักการเขียน / คุณนภ Co-Founder Take Me Tour ตลาดกลางสำหรับไกด์นำเที่ยวในไทย /คุณกั๊ก เจ้าของ Application จัดการบัตรเครดิต Piggipo  และคุณตั๊บ Co-Founder Fastwork  แพลตฟอร์มหาฟรีแลนซ์ยอดนิยม ที่จะมาพูดในมุม Dark side เปิดโปงบาดแผล อุปสรรคต่างๆ ที่พวกเขาผ่านมา เรียกได้ว่าต้องอึดเหมือนแมลงสาบทีเดียว!

startup_essentials_10_15

ปิ๊ปโป้ (Moderator) : ก่อนที่จะมาเริ่มทำสตาร์ทอัพของตัวเอง ภาพที่คิดไว้ในหัว กับสิ่งที่เจอ แตกต่างกันแค่ไหน?

นภ (Take Me Tour) : ภาพที่คิดไว้ ไม่คิดว่ามันจะลำบากขนาดนี้ อยากชิวๆ อยู่ต่างจังหวัด ทำงานอยู่หน้าคอม แต่จริงๆ ไม่ง่ายขนาดนั้น กลายเป็นว่าทุกวันนี้คิดเรื่องงานตลอดเวลา จะไปไหนก็คิด จะนอนก็คิด ตื่นมาเปิดมือถือ แอปฯ Slack เรื่องงานก็เด้ง มันกลายเป็นว่าทั้งชีวิตมันอยู่ในสตาร์ทอัพไปแล้ว มันเลยเป็นภาพที่ไม่เคยคิดมาก่อนว่าเราจะต้องมาหมกมุ่นกับสตาร์ทอัพตัวเองมากขนาดนี้

ตั๊บ (Fastwork) : ของผม เริ่มจากตอนไปเรียนปริญญาโทที่ NY เรียนๆ ไปก็คิดว่าชอบ เลยลองหางานดู ก็ได้งานที่อสังหาริมทรัพย์ปล่อยเช่าที่ใหญ่ที่สุดในอเมริกา ก็ทำไปสักพักหนึ่ง จนคิดว่าเริ่มอยู่ตัวและ มีเงินหาเลี้ยงตัวเองได้ จนมีอยู่วันนึงได้ยินคำว่าสตาร์ทอัพ เท่านั้นแหละ ไม่น่าไปได้ยินเลย (หัวเราะ) ก็สนใจ เลยลองศึกษา เริ่มทำดู กับเพื่อน 3-4 คน ตอนนั้นทำงานไปด้วย ทำไปเรื่อยๆ ก็รู้สึกว่าชอบ นี่คือสิ่งที่เรารักจริงๆ เลยตัดสินใจลาออกและมาทำสตาร์ทอัพเต็มตัว ได้ใช้เงินเก็บตัวเองไปสักพักนึง พอทำไปได้เรื่อยๆ เกือบปี ก็มีความรู้สึกว่ มันไปไกลได้อย่างที่เราหวังไม่ได้ ช่วงนั้นเครียดหนักมาก ถึงกับต้องหลบไปปีนเขาคนเดียว 10 วัน

กั๊ก (Piggipo) : จริงๆตอนแรกก็คิดอยู่แล้วแหละว่า การทำธุรกิจไม่ใช่เรื่องง่าย ก็เตรียมใจมาอยู่แล้วระดับนึง แต่เราอยากเป็น Entrepreneur เราชอบสายนี้ เลยคิดว่าเราต้องเป็นให้ได้แน่ๆ แต่พอเข้ามาทำจริงๆ มันเหมือนขายวิญญาณ เหมือนเราเอาตัวเองอินเข้าไปกับสิ่งๆ นั้นจริงๆ ทุกๆ วันก็จะคิดว่า จะทำยังไงให้บริษัทไปได้ ความยากจุดหนึ่งที่เราไม่คิดว่าเราจะเจอคือ กั๊กจบมาจากสายมาร์เกตติ้ง ความรู้ที่จะคุม Developer หรือส่วนต่างๆที่เกี่ยวกับไอที เราก็จะไม่ถนัด มันก็เป็นอุปสรรคที่ทำให้เราคิดว่า Product ไม่ใช่ข้าวแกงหรืออาหารที่คุณสามารถทำทานเองได้ มันต้องอาศัยทีมที่จะทำให้เกิดขึ้นมาได้  มันก็มีความยากในจุดนั้น ที่หลายๆ ครั้งก็ทำให้ท้อ แต่กั๊กก็มองว่าถ้ามีใจรัก อยากทำ ทำเหอะ มันสนุก แต่ก็ต้องเตรียมใจไว้ว่ามันก็มีอุปสรรคแน่นอน

อยากให้สรุปสักข้อหนึ่งว่า อะไรที่ยากที่สุด? และรู้สึกว่าเพราะสิ่งนี้เกือบทำให้เราล้มเลิก

นภ:  มี จริงๆ ไม่ใช่แค่ครั้งเดียว มีหลายครั้ง เคยมีโมเมนต์ไม่อยากทำแล้ว ทำแล้วไม่ไปไหนสักที เคยหยุดทุกอย่างอยู่ในห้องอย่างเดียว บอกกับ Co-Founder อีกคนว่า ไม่ไหวละ ไม่ทำละ อยู่ในห้อง 3 วัน นอนเฉยๆ มันมีโมเมนต์ที่ลุกขึ้นมา เหมือนมีภาพบางอย่าง คือภาพพ่อ ตอนตัดสินใจทำที่ออกจากบ้านโดยบอกกับที่บ้านว่าไม่เอาเงิน ปรากฏว่า มีความรู้สึกเหมือนจะแพ้ ถามตัวเองว่า จะเดินกลับบ้านบอกพ่อว่า ผมจะแพ้หรอวะ เลยทำให้รู้สึกลุกขึ้นสู้อีกครั้ง

กั๊ก : ก็บ่อยนะคะ หาทีมไม่ได้ มีจุดที่อยู่คนเดียว แล้วคิดว่า...หรือว่าเลิกดีวะ จุดที่สอง คุมซอฟแวร์ไม่ได้ ทำข้อมูลลูกค้าหายไปครึ่งนึง สักพักนึงเงินก็หมด มันมีจุดที่ท้อเรื่อยๆ แต่ทุกครั้งที่รู้สึกว่า ท้อไม่ได้นะ คือเรากู้เงินมาจากคุณพ่อ อยากทำให้คนที่เชื่อและคาดหวังในตัวเราภูมิใจ ทั้งทีมเราเอง พนักงานทุกคน คิดว่าถ้าเราเลิกเขาก็ต้องไปหางานใหม่ แล้วจะยังไง ..ก็เลยสู้ ไม่ยอมแพ้

ปิ๊ปโป้ : ผมก็มีโมเมนต์แย่ๆ เหมือนกัน เป็นแมลงสาบ ช่วงที่โปรดักส์ยังไม่ออก เพิ่งมาเริ่มทำ ตอนแรกก็คิดว่าสตาร์ทอัพมันง่าย มันจะยากยังไงวะ ก็ชวนไปทั่วเลย ชวนทุกคนเลย แล้วก็สุดท้ายก็ไปไม่รอด เกือบปีเลยที่มีปัญหา แต่โมเมนต์ผมเท่ว่าพวกคุณ ตอนนั้นผมไม่มีเงิน ขณะขับรถไปเนี้ย ผมท้อมาก โปรดักส์ก็ไม่เสร็จ ไปไหนก็ไม่ได้ สักพักมีเสียงเพลง พี่ตูนขึ้นมา ‘เรือเล็กควรออกจากฝั่ง’ ทำให้มีกำลังใจ สุดท้ายก็เลย Fight มาสู้อีกครั้ง มาเข้า dtac Accelerate  ก็ถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญที่ทำให้ทีมที่ดีขึ้น

_MG_7266

แล้วอะไรที่ยากที่สุดสำหรับตัวเอง?

นภ : ‘การชนะตัวเองครับ’ ในทุกเวลา จะมีหลายๆ ช็อตที่เกิดจากตัวเองและต้องผ่านไปให้ได้  เช่นเมื่อก่อนเคยกินดีอยู่ดี รักสบายมาก่อน ก็ต้องชนะตัวเองให้ได้ จะทำยังไงให้อยู่ในภาวะแบบนี้ให้ได้ ต้องประหยัดเงินไว้หมุน หรือจะเป็นเรื่องการพบปะผู้คน แต่ก่อนผมเป็นคนชอบอยู่บ้านมาก แล้วเหมือนวันนึงแบบเราต้องออกไปเจอผู้คน ทำไงดีที่จะเอาชนะผู้คนด้วยการเดินออกไปและบอกว่าเราทำอะไร เอาความฝันเราไปขายและทำให้เขาเช่ือ ทำไงดีที่จะต้องคุยกับโปรแกรมเมอร์ แล้วจะต้องคุยอะไรกับเขา แต่ผมก็ต้องคุยเยอะๆ คุยจนเข้าใจ ทำจนไม่มีข้อจำกัดครับ

ตั๊บ : ยากที่สุดคือการเอาชนะตัวเอง ตอนแรกๆ ที่เริ่มผมไม่เข้าใจเลยว่าทำไมมันถึงไม่โตเหมือนอย่างสตาร์ทอัพเมืองนอก ที่โตวันละ 150% ทุกวัน ทำไมมันช้าจัง ผมก็เป็นคนใจร้อน Co-Founder ผมก็บอกว่าให้ใจเย็นๆ ค่อยๆ เข้าใจคน มันต้องใช้เวลา  สิ่งหนึ่งที่อยากจะฝากให้คนที่อยากทำสตาร์ทอัพ คงจะเป็น Empathy คือความเห็นอกเห็นใจกับคนอื่น เห็นใจลูกค้า เห็นใจทีมงาน ผมมองว่าสตาร์ทอัพ จริงๆ แล้วคือการสร้างธุรกิจที่ยั่งยืนอยู่ในประเทศไทย

กั๊ก: อุปสรรคและความผิดพลาด อยากจะฝากคนที่อยากทำสตาร์ทอัพ ข้อแรกคือวิเคราะห์ตัวเอง Passion อยากทำสิ่งนั้นจริงๆ ทำใจไว้เลยว่าจะต้องผ่านมันไปให้ได้ สองคือทุกๆ ครั้งที่เราล้มหรือได้บทเรียนอะไรสักอย่าง เราต้องเรียนรู้จากสิ่งนั้นให้ได้ และจะทำยังไงให้ครั้งหน้ามันไม่เป็นแบบนั้นอีก อย่างน้อยถ้าเราเป็นแมลงสาบแต่ถ้าเรียนรู้จากความล้มเหลวไปเรื่อยๆ เราจะไม่มีวันไปอยู่ในจุดเดิม


หากใครได้เริ่มทำสตาร์ทอัพแล้วรู้สึกท้อ ก็ขอให้เก็บเรื่องราวของพวกเขามาเตือนสติ และเป็นแรงผลักดันให้สู้ต่อไปอย่างเข้มแข็ง

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เปิดกลยุทธ์ธุรกิจยุคใหม่ พลิกข้อมูล สู่ขุมทรัพย์ด้วย analyticX ด้วยพลัง Telco Data Insights และ GenAI

ยุคนี้ใคร ๆ ก็พูดถึง Data แต่จะใช้ Data อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่างหากคือกุญแจสำคัญ! ในสัมมนาสุดเอ็กซ์คลูซีฟ "Unlocking Data-Driven Decisions with Telecom Data Insights" ที่จั...

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...