ญี่ปุ่นเตรียมเพิ่มวิชา Coding ในหลักสูตรชั้นเรียนระดับประถม เริ่มปี 2020 | Techsauce

ญี่ปุ่นเตรียมเพิ่มวิชา Coding ในหลักสูตรชั้นเรียนระดับประถม เริ่มปี 2020

วิชาเขียนโปรแกรมหรือการเขียนโค้ด (Coding) จะถูกบรรจุเป็นวิชาหลักขั้นพื้นฐานในทุกๆ โรงเรียน ตั้งแต่ระดับประถมศึกษาในประเทศญี่ปุ่น โดยจะเริ่มในเดือนเมษายน 2020 ที่จะถึงนี้ ตั้งเป้าติดสกิลเทคโนโลยีให้กับคนรุ่นใหม่ รองรับสายงานในอนาคต

วิชาเขียนโค้ดขั้นพื้นฐานจะถูกบรรจุตั้งแต่เกรด 5 โดยในหนังสือเรียนฉบับใหม่ที่ได้รับการอนุมัติจากกระทรวงศึกษาธิการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 26 มีนาคม มีการสอนวิธีวาด Polygon บนดิจิทัล และการสร้างคำสั่งให้ไฟ LED กระพริบแบบง่ายๆ 

ขณะที่วงการไอทีเริ่มพัฒนาและเติบโตขึ้นเรื่อยๆ การแข่งขันระหว่างประเทศก็ยิ่งดุเดือดมากขึ้น สำหรับประเทศที่เทคโนโลยีก้าวหน้าอย่างญี่ปุ่น การบรรจุวิชาเขียนโปรแกรมในหลักสูตรถือว่าเริ่มได้ค่อนข้างช้า แต่ตอนนี้ญี่ปุ่นกำลังเร่งเดินหน้าสร้าง tech worker ที่มีศักยภาพ โดยให้เด็กๆ รุ่นใหม่สามารถเข้าถึงการเรียนการสอน และเพิ่มสกิลให้กลายเป็น specialist ในอนาคต  

เป้าหมายของการปรับปรุงหนังสือเรียนในครั้งนี้ คือการปลูกฝังพื้นฐานการใช้โค้ดในการจัดการกับข้อมูล รวมถึงสร้างวิธีคิดอย่างเป็นระบบผ่านการทดลองและการลองผิดลองถูกด้วยตนเอง

Yuta Tonegawa ผู้บริหารของ Minna no Code (แปลเป็นไทยว่า โค้ดสำหรับทุกคน) องค์กรไม่แสวงผลกำไรด้านการศึกษาของญี่ปุ่นกล่าวว่า "ขณะนี้ คุณครูในโรงเรียนต้องเผชิญกับความกดดันเป็นอย่างมาก สิ่งที่เราทำได้คือการช่วยให้เด็กๆ ได้เข้าใจพื้นฐานของการเขียนโปรแกรมก่อน โดยสิ่งสำคัญอันดับแรก คือการสร้างคลาสที่นักเรียนให้ความสนใจ"  

กระทรวงเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นได้คำนวนเอาไว้เมื่อปี 2016 ว่าญี่ปุ่นจะขาดแคลน tech worker สำหรับงานในอนาคตกว่า 290,000 ตำแหน่งภายในปี 2020 และจะเพิ่มขึ้นถึง 590,000 ตำแหน่งภายในปี 2030 หากงานด้านไอทีในตลาดเติบโตขึ้นต่อเนื่องในความเร็วเช่นนี้ ซึ่งทำให้รัฐบาลหันมาสนใจและประกาศเพิ่มหลักสูตรการเขียนโปรแกรมในโรงเรียน ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา 

นอกจากญี่ปุ่น ยังมีอีกหลายประเทศที่ให้ความสำคัญเรื่องการสอน coding แก่เด็กๆ เช่น เกาหลีใต้ ที่ศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจังและสอนในชั้นประถมและมัธยมต้น ตั้งแต่ปี 2007 และประเทศอังกฤษที่บรรจุวิชาเขียนโปรแกรมในหลักสูตรสำหรับเด็กตั้งแต่อายุ 5 - 16 ปี ตั้งแต่ปี 2014 

อ้างอิงภาพและเนื้อหา Nikkei Asian Review

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ส่องจุดเด่นดิจิทัล โซลูชันของ WHAUP ระบบบริการสาธารณูปโภคและพลังงานอัจฉริยะ

ทำความรู้จักโซลูชันบริหารจัดการพลังงานอัจฉริยะ แนวคิดการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคและพลังงานแห่งอนาคต ภายใต้ บริษัท ดับบลิวเอชเอ ยูทิลิตี้ส์ แอนด์ พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ WHAUP บริษ...

Responsive image

บทสรุปการสัมภาษณ์ Dr. Ted Gover : เลือกตั้งสหรัฐฯ จุดเปลี่ยนเศรษฐกิจไทย รุกสานความร่วมมือด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม

บทสรุปการสัมภาษณ์ Dr. Ted Gover ร่วมพูดคุยเกี่ยวกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่กำลังจะมีขึ้น ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ-ไทย และความท้าทายสำคัญสำหรับทั้...

Responsive image

เผยแนวโน้มและผลกระทบของ AI ผ่านมุมมองของนักวิจัยชั้นนำแห่ง MIT Media Lab “พีพี-ดร.พัทน์ ภัทรนุธาพร”

เทคโนโลยี AI ส่งผลดีหรือผลเสียต่อมนุษย์? เจาะลึกมุมมองที่เกี่ยวกับแนวโน้มและผลกระทบจาก AI ไปกับดร.พัทน์ ภัทรนุธาพร (พีพี) นักวิจัยไทยแห่ง MIT Media Lab และ KBTG Fellow ที่จะมาแบ่งแ...