เจาะลึก 2 Mega Trends Automated Driving และ Connectivity

เจาะลึก 2 Mega Trends หลัก ของอนาคตอุตสาหกรรมยานยนต์ ในงาน Shaping The Future of Mobility : ไขกุญแจสู่โลกยานยนต์แห่งอนาคต ด้วยความร่วมมือระหว่าง Continental Automotive ผู้นำเทคโนโลยียานยนต์จากเยอรมันนี และ Techsauce โดย  Mr. Vincent Wong, Head of Research & Advanced Engineering, Continental Automotive Singapore

ผู้นำเทคโนโลยียานยนต์ที่ไม่ใช่แค่ ‘ยาง’  

ปกติเมื่อได้ยินชื่อของ Continental เรามักจะนึกถึงยางรถยนต์เป็นอันดับแรก แต่แท้จริงแล้ว Continental ตั้งเป้าที่จะเป็นผู้นำนวัตกรรมยานยนต์ระดับโลก   ซึ่ง Mr. Vincent ได้กล่าวถึงภารกิจสำคัญของ Continental ที่ต้องการขับเคลื่อนคมนาคมไปสู่อนาคต ด้วยนวัตกรรมต่างๆ ที่มุ่งเน้นความปลอดภัย, ความสะดวกสบาย, เข้าถึงผู้บริโภคได้ทุกกลุ่ม และความยั่งยืนเป็นหลัก โดยในปีนี้ Continental กำลังก้าวเข้าสู่ปีที่ 150 และยังคงให้ความสำคัญกับการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี เพื่อมุ่งสู่การพัฒนายานยนต์อัจฉริยะในโลกยุคดิจิทัล โดยจากสถิติพบว่า ธุรกิจยางรถยนต์ทำยอดขายให้กับบริษัทมากถึง 27% แต่กว่า 50% เป็นรายได้จากการให้บริการระบบอิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยียานยนต์ต่างๆ 

ในปี 2563 Continental มียอดขายกว่า 37.7 พันล้านยูโร  มีสาขาทำการอยู่ใน 58 ประเทศ และมีพนักงานกว่า 1.9 แสนคนทั่วโลก ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Continental มีสาขาทั้งใน ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์  ซึ่งในประเทศไทย นอกจากธุรกิจยานยนต์แล้ว บริษัทได้ตั้งโรงงานผลิตยางรถยนต์ขนาดใหญ่ และโรงงานผลิตระบบส่งกำลัง (Powertrain system) ที่ครอบคลุมอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าไว้อีกด้วย ส่วนที่สิงคโปร์ถูกจัดตั้งให้เป็นศูนย์กลางของการวิจัยและพัฒนา (R&D) ของ Continental ในด้านอิเล็กทรอนิกส์และซอฟต์แวร์ยานยนต์ในภูมิภาคอาเซียน ทั้งนี้ก็เพื่อตอบสนองความต้องการของแบรนด์ผลิตรถยนต์นานาชาติ ทั้งจากญี่ปุ่น เกาหลี และยุโรป 

นอกจากนั้น Mr.Vincent ยังให้ความเห็นเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงและเทรนด์ใหม่ๆ ของอุตสาหกรรมยานยนต์  ทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไปเมื่อตัดสินใจซื้อรถยนต์ ซึ่งนอกจากศักยภาพของรถแล้ว ปัจจุบันผู้บริโภคยังให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม, ความยั่งยืน และเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่อยู่ในตัวรถยนต์ ซึ่งถือเป็นความท้าทายสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ในปัจจุบัน

โดย Mr.Vincent ให้ความสนใจกับ Smart Features และ Digital Experience  ซึ่งเป็นสิ่งที่ตนคาดหวังจะได้เห็นในโลกยานยนต์แห่งอนาคต  รถยนต์จะต้องสามารถใช้เทคโนโลยีอำนวยความสะดวกเหมือนอุปกรณ์ที่เราใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน ทั้งในบ้านและออฟฟิศ โดย Mr.Vincent คิดว่าสิ่งนี้อาจเป็นสิ่งที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ใช้รถยนต์ไปตลอดกาล และถึงแม้จะยังเป็นประเด็นใหม่ที่ท้าทายแต่ก็น่าจะเป็นโอกาสทางธุรกิจที่น่าไขว่คว้าของอุตสาหกรรมยานยนต์เช่นกัน

2 Mega Trends แห่งโลก Mobility 

Mr.Vincent ได้พูดถึงเทรนด์ที่กำลังมาแรงในอุตสาหกรรมยานยนต์ 2 เทรนด์หลักด้วยกัน ได้แก่ Automated Driving และ Connectivity โดยทั้งสองเทรนด์นี้ จะถูกนำมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการเดินทาง ให้มีความปลอดภัยและสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น 

สำหรับ Automated Driving หรือ ระบบขับเคลื่อนอัตโนมัตินั้น Mr.Vincent ได้แสดงกราฟข้อมูลที่น่าสนใจ เกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติมาใช้ในอีกสิบปีข้างหน้า ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยอธิบายว่า ระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติแบ่งออกเป็นทั้งหมด 6 ระดับด้วยกัน จำแนกตามระดับปฏิสัมพันธ์ของผู้ขับขี่กับรถยนต์ โดยจากการคาดการณ์ จะเห็นว่าใน 2 ปีข้างหน้า รถยนต์ส่วนใหญ่จะมีระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติในระดับที่ 1 ซึ่งเป็นระดับที่ระบบสามารถช่วยขับขี่ แต่ยังคงต้องอาศัยปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้รถอยู่บ้าง เช่น ระบบเตือนเมื่อเปลี่ยนเลน ระบบเบรกฉุกเฉินอัตโนมัติ เป็นต้น

แต่ภายในปี 2568 รถยนต์ที่มีระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติระดับ 2 จะริ่มมีขายตามท้องตลาดมากขึ้น และภายใน 5-10 ปีข้างหน้า เราจะได้เห็นรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติระดับที่ 4-5 ที่เป็นการขับเคลื่อนอัตโนมัติแบบเต็มรูปแบบ สามารถเคลื่อนที่ได้เองแบบไร้คนขับ (High & Full Automation) 

ซึ่งปัจจุบันที่ประเทศสิงคโปร์ เริ่มมีการผลักดันการใช้เทคโนโลยีการขับเคลื่อนอัตโนมัติในระดับ 4-5 บ้างแล้ว โดยใช้เพื่อการขนส่งภายในสนามบิน Changi  นอกจากนั้นยังมีรถบัสอัจฉริยะที่เปิดให้ประชาชนใช้งานบนเกาะ Sentosa ในส่วนนี้เอง Mr. Vincent อธิบายขยายความว่า การทดลองใช้รถยนต์ไร้คนขับทั้งหมด มีการควบคุมให้เคลื่อนที่ด้วยความเร็วต่ำและเน้นความปลอดภัยเป็นหลัก  ทั้งนี้ในอนาคตจะมีการนำรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติระดับที่ 4-5 ไปทดลองใช้กับพื้นที่ในเขตเมืองมากขึ้น โดยมีแผนว่าภายในปี 2573 ยานยนต์ไร้คนขับจะเริ่มมีการใช้งานอย่างแพร่หลายมากขึ้น 

สำหรับระบบ Connectivity หรือ การเชื่อมต่อ ในที่นี้คือความสามารถของรถยนต์ในการสื่อสารกับระบบต่างๆ ทั้งภายในตัวรถยนต์เอง, เชื่อมต่อกับรถยนต์คันอื่น และเชื่อมต่อกับโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ผ่านทางระบบคลาวด์ ซึ่งจะช่วยให้การใช้งานรถยนต์ของผู้ใช้รถและผู้โดยสาร เต็มไปด้วยประสบการณ์ที่ล้ำสมัยและสะดวกสบาย

Mr. Vincent ยกตัวอย่างการเชื่อมต่อแบบ Holistic connectivity ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อแบบองค์รวม ที่จะทำงานร่วมกับระบบขับขี่อัตโนมัติ สร้างการเชื่อมต่อที่ราบรื่นระหว่างผู้ขับขี่และผู้โดยสาร ระหว่างรถแต่ละคัน และโครงสร้างพื้นฐาน ผ่านระบบคลาวด์ในตัวรถยนต์ ซึ่งเทคโนโลยีนี้เกิดขึ้นจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยี Cellular V2X (C-V2X) และการใช้ 5G ที่แพร่หลายขึ้นในหลายประเทศ ซึ่งหากมีการนำมาใช้จริงนั้น  จะช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุได้มากขึ้น เช่น ในสถานการณ์การจราจรบริเวณสี่แยกที่พลุกพล่าน เทคโนโลยีตัวนี้จะช่วยให้ผู้ใช้รถใช้ถนนบริเวณนั้นสามารถสื่อสารกันได้ 

ซึ่ง Holistic connectivity มีเทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลังการทำงานมากมาย เช่น สำหรับการเชื่อมต่อระหว่างรถ และการจัดการข้อมูลเพื่อให้การทำงานในรถเป็นไปอย่างเหมาะสม จะต้องใช้ระบบคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูงและตัวควบคุมโมดูลโซน ในส่วนของการเชื่อมต่อระหว่างผู้ขับขี่และผู้โดยสารภายในรถ สามารถทำได้ด้วยสมาร์ทโฟนที่เชื่อมต่อกับระบบ Ultar-Wide Band และสุดท้าย เทคโนโลยีเชื่อมต่อทางไกลอัตโนมัติและเสาอากาศอัจฉริยะ จะใช้ในการเชื่อมต่อผู้ใช้รถเข้ากับรถคันอื่นๆ บนถนน ทั้งนี้เป้าหมายสูงสุดของการนำการเชื่อมต่อแบบองค์รวมมาใช้ คือการอำนวยความสะดวกสบาย ให้ข้อมูล และเพิ่มความปลอดภัยแก่ทั้งผู้ขับรถและผู้ใช้ถนน

จากยานยนต์สู่การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ 

ในหัวข้อสุดท้ายของการบรรยาย Mr.Vincent ได้ยกตัวอย่างโครงการเมืองอัจฉริยะในสิงคโปร์ ที่มีการนำเทคโนโลยีขับเคลื่อนอัตโนมัติมาใช้แล้ว โดยย้อนไปในปี 2563 รัฐบาลสิงคโปร์ได้ประกาศแผนการคมนาคมปี 2583 โดยมีเป้าหมายเพื่อให้การเดินทางเข้าเมืองในชั่วโมงเร่งด่วนสามารถทำได้ไวขึ้น โดยจะใช้เวลาเพียง 20 นาที และเดินทางเข้าใจกลางเมืองโดยใช้เวลาเพียง 45 นาที ทั้งนี้ สิงคโปร์วางแผนใช้พื้นที่ทางตะวันตกทั้งหมดของสิงคโปร์เป็นสนามทดลอง เพื่อทดสอบรถยนต์ไร้คนขับ ด้วยความร่วมมือที่แข็งแกร่งและการจัดการระบบนิเวศระหว่างเมือง สถาบันวิจัย และอุตสาหกรรมต่างๆ จึงทำให้ปีที่แล้ว สิงคโปร์อยู่ในอันดับต้นๆ ของการวัดดัชนีความพร้อมของรถยนต์อัตโนมัติ ซึ่งจัดอันดับโดย KPMG นอกจากนี้ ในภาคสาธารณะก็เริ่มมีการนำร่องใช้รถยนต์ไร้คนขับแล้วเช่นกัน โดยนำไปใช้สำหรับการขนส่งอาหาร

ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในสิงคโปร์ได้สร้างโครงการที่ประสบความสำเร็จในการคมนาคมมากมาย ซึ่งเป้าหมายหลักของโครงการก็เพื่อปกป้องประชาชนกลุ่มเปราะบางที่ใช้ถนน ตัวอย่างเช่น ผู้สูงอายุหรือเด็กเล็ก ให้มีความปลอดภัย ด้วยการใช้เทคโนโลยี 5G ที่อยู่ในโทรศัพท์มือถือของคนข้ามถนนและผู้ขับขี่ โดยเมื่ออัลกอริธึมของ AI ในคลาวด์สามารถตรวจจับได้ว่าอาจมีการชนกันระหว่างคนและรถในอีกไม่กี่วินาทีข้างหน้า โทรศัพท์มือถือของทั้งสองฝ่ายก็จะดังขึ้น

ไม่เพียงเท่านั้น คุณวินเซนต์ได้แนะนำหุ่นยนต์อัตโนมัติ Corriere LM ซึ่งเป็นหุ่นยนต์ส่งของสำหรับเมืองอัจฉริยะที่ Continental พัฒนาขึ้น เน้นให้สามารถนำไปใช้งานได้กลางแจ้ง ด้วยระบบเซนเซอร์และคอมพิวเตอร์อัจฉริยะทำให้ตัวหุ่นยนต์สามารถตรวจจับสภาพแวดล้อมรวมถึงสามารถนำทางด้วยตัวเองได้ โดยตอนนี้ทางการสิงคโปร์ได้อนุมัติให้มีการนำไปใช้จริงแล้วในบางพื้นที่




ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ทำไมแต่ละประเทศต้องมี AI ของตัวเอง ? ฟัง Jensen Huang คุย Emmanuel Macron ในงาน VivaTech 2025

"คุณไม่สามารถเอาความฉลาดของประเทศไปให้คนอื่นทำ" Jensen Huang (NVIDIA) กล่าวบนเวที VivaTech 2025 ชี้ว่า AI คือวัฒนธรรมและคุณค่าของชาติ เป็นการตอกย้ำจุดยืนฝรั่งเศสในการเป็นผู้นำ AI ด...

Responsive image

AI คือสิ่งที่ทุกคนต้องเข้าหา : สรุปประเด็นใหญ่เมื่อ Sir Keir Starmer คุยกับ Jensen Huang ในงาน London Tech Week 2025

อนาคตของ AI ไม่ได้ถูกเขียนขึ้นโดยใครคนใดคนหนึ่ง หรือองค์กรใดองค์กรหนึ่ง แต่เป็นผลลัพธ์ของการร่วมสร้างสรรค์จากทุกฝ่าย นี่คือประเด็นสำคัญที่ Techsaue ได้รับรู้จากการเข้าร่วมงาน Londo...

Responsive image

เปิดเส้นทาง Scale AI บริษัท Startup วัยรุ่น มูลค่าหมื่นล้าน ผู้อยู่เบื้องหลัง ChatGPT และ AI ชั้นนำ

รู้จัก Scale AI สตาร์ทอัพพันล้านที่เริ่มจากกล้องในตู้เย็น สู่การเป็นผู้อยู่เบื้องหลัง ChatGPT และพันธมิตรของ OpenAI พร้อมรายได้แตะ 2 พันล้านดอลลาร์ในปี 2025...