มุมมองของภาคเอกชนกับการระบาดครั้งใหม่ | Techsauce

มุมมองของภาคเอกชนกับการระบาดครั้งใหม่

หลายเดือนที่ผ่านมา สถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ในประเทศไทยอยู่ในจังหวะที่ดีขึ้น ในขณะที่ ภาคเศรษฐกิจกำลังค่อยๆฟื้นตัว การระบาดครั้งใหม่ก็กลับมาอีกครั้ง

Techsauce จัด LIVE หัวข้อ “COVID-19 ทางออกของคนไทยกับการระบาดครั้งใหม่” ซึ่งรวบรวม ผู้เชี่ยวชาญ ที่จะมาให้ความเห็นกับการระบาดระลอกใหม่ในมุมต่างๆ ตั้งแต่ภาคเอกชน ภาครัฐและภาค การศึกษา พวกเขาจะมีความเห็นอย่างไร และตะเตรียมรับมือกับวิกฤตครั้งใหม่อย่างไรบ้าง?

ใน episode 5 Techsauce ได้รับเกียรติจาก คุณเศรษฐา ทวีสิน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) ที่จะมาเปิดมุมมองของภาค เอกชนที่มีต่อการแพร่ระบาดครั้งใหม่ ทั้งในแง่ของผลกระทบทาง เศรษฐกิจ มาตรการเยียวยาทางเศรษฐกิจของภาครัฐในปัจจุบัน ตลอดจนการพัฒนาและวิจัยวัคซีน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในอนาคต

มาตรการการล็อคดาวน์ ปรับใช้ทั่วประเทศ หรือเฉพาะจุด? 

ในมุมมองของภาคเอกชน เนื่องจากตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา รัฐบาลมีการออกมาตรการและควบคุม สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้เป็นอย่างดี การแพร่ระบาดที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ จึงเห็นสมควร ให้ปฏิบัติตามมาตรการที่ภาครัฐกำหนด คือ มาตรการล็อคดาวน์เฉพาะพื้นที่ และกำหนดระดับความเสี่ยง เพื่อเฝ้าระวังสถานการณ์ ซึ่งสอดคล้องกับมาตรการที่ใช้กันทั่วโลก อย่างไรก็ตาม หากรัฐบาลประกาศ ล็อคดาวน์ทั่วประเทศ ภาคเอกชนก็จำเป็นต้องทำความเข้าใจ ถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นด้วยเช่นกัน ดังนั้น หน้าที่เราในฐานะคนไทย ควรปฏิบัติตามมาตราการของรัฐบาล อย่างเคร่งครัด เพื่อควบคุมสถานการณ์ ให้กลับเข้าสู่สภาวะปกติโดยเร็ว    

ความคาดหวังจากวัคซีนที่เพิ่มสูงขึ้น

การแพร่ระบาดครั้งใหม่ของ COVID-19 เป็นชนวนสำคัญ ที่ทำให้หลายฝ่ายคาดหวังที่จะได้รับวัคซีนเร็วขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคเอกชน ที่กำลังได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง แม้ว่าปัจจุบัน ประเทศไทย กำลังดำเนินการสั่งซื้อและนำเข้าวัคซีนจากต่างประเทศ ซึ่งคาดการณ์ว่า วัคซีนจะถึงมือ คนไทยอีกไม่นาน อย่างไรก็ตาม กว่าประเทศไทยจะได้รับวัคซีน เชื้อไวรัสอาจพัฒนาและกลายพันธุ์ จนเป็นผลให้วัคซีนที่ได้รับจากต่างประเทศ ไม่มีประสิทธิภาพในการป้องกันเชื่อไวรัสอีกต่อไป

เพราะฉะนั้น สิ่งที่ภาครัฐควรให้ความสำคัญมากที่สุดในขณะนี้ คือ การจัดสรรงบประมาณ ในการจัดตั้ง ศูนย์วิจัยและพัฒนาวัคซีนป้องกันไวรัสโคโรน่า เพื่อคิดค้นและวัคซีนสำหรับคนไทย ที่สามารถตอบสนอง ต่อการกลายพันธุ์ของไวรัสในประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดการพึ่งพาวัคซีนจากต่างประเทศ และเป็นผลให้คนไทยได้รับวัคซีนเร็วขึ้นอีกทางหนึ่ง เมื่อคนไทยได้รับการฉีดวัคซีนทุกภาคส่วน จะทำให้ เศรษฐกิจฟื้นตัว ส่งผลให้การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เป็นผลดีต่อภาคเอกชน กลับเข้าสู่สภาวะ (เกือบ) ปกติอีกครั้ง

สิ่งที่ภาครัฐควรทำ ในมุมมองของภาคเอกชน 

นอกจากการทุ่มงบประมาณเพื่อการวิจัยและพัฒนาวัคซีนสำหรับคนไทยแล้ว รัฐบาลควรให้ ความสำคัญ กับการออกมาตรการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ หรือการแข็งตัวของค่าเงินบาท ที่ส่งผลกระทบต่อการส่งออก หรือเพื่อประคองให้เศรษฐกิจไทย ยังสามารถขยายตัวต่อไปได้ในช่วงเวลาที่ยากลำบากเช่นนี้

‘โครงการคนละครึ่ง’ นับเป็นหนึ่งตัวอย่างมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ที่ได้รับผลตอบรับที่ดี จากประชาชน ทำให้การจับจ่ายใช้สอยที่เคยซบเซา กลับมาครึกครื้นอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม ในมุมมองของ ภาคเอกชน เม็ดเงินที่ถูกใช้จ่ายในระบบเศรษฐกิจยังไม่มากพอ ที่จะสร้างแรงสั่นสะเทือนต่อการหมุนเวียน ทางเศรษฐกิจระดับประเทศ ประชาชนควรเข้าถึงสวัสดิการของภาครัฐได้สะดวกและทั่วถึงมากขึ้น เพื่อให้เศรษฐกิจสามารถขยายตัวในวงกว้าง

ยิ่งกว่านั้น เมื่อพิจารณาถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในระยะยาวรัฐบาล จำเป็นต้องจัดเตรียมงบประมาณทางเศรษฐกิจ ให้เพียงพอต่อความต้องการของคนในประเทศ แม้จะมีการคัดค้านการกู้เงินของรัฐบาลในหลายภาคส่วน จากความวิตกกังวลเกี่ยวกับหนี้สาธารณะ ที่จะปรับตัวสูงขึ้น ถึงกระนั้น หากรัฐบาลสามารถบริหารจัดการเงิน ในการกระตุ้นเศรษฐกิจได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ผลตอบแทนที่ได้ย่อมคุ้มกว่าการไม่ทำอะไรเลย

สำหรับประเด็นเรื่องค่าเงินบาท ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการแข็งตัวของค่าเงินบาท เป็นผลมาจากการเกินดุล ของบัญชีเดินสะพัด ที่แสดงให้เห็นถึงจุดด้อยด้านการลงทุนของประเทศที่เป็นปัญหามาอย่างยาวนาน ในขณะที่ช่วงเวลาวิกฤตเช่นนี้ รัฐบาลควรให้ความสำคัญด้านการลงทุนอย่างยิ่ง โดยเฉพาะด้าน สาธารณูปโภคพื้นฐาน เพื่อรองรับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ดังนั้น  รัฐบาลจำเป็นต้องกล้าตัดสินใจที่จะปฏิรูป สิ่งใหม่ เพื่ออนาคตที่ดีกว่า

มาตรการรับมือต่อการแพร่ระบาดครั้งใหม่ของภาคเอกชน

การแพร่ระบาดของ COVID-19 ใหม่ เป็นสิ่งที่หลายฝ่ายต่างคาดการณ์ล่วงหน้าว่าจะต้องเกิดขึ้น ตราบใดที่ คนไทยยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนอย่างทั่วถึง เป็นผลให้ภาคเอกชนต่างเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ ที่เกิดขึ้นเป็นอย่างดี เมื่อเปรียบเทียบจากการระบาดครั้งก่อน ไม่ว่าจะเป็นการรักษาสภาพการเงินของธุรกิจ หรือการดำเนินกิจการในช่วงที่เกิดวิกฤต

แต่อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญ ในการพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสทางธุรกิจ คือ speed to market การตัดสินใจ ดำเนินการทางธุรกิจ ต้องตัดสินใจให้เร็ว เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการกำหนด กลยุทธ์ทางการตลาด หรือการรักษากระแสเงินสดขององค์กร เพื่อให้ธุรกิจอยู่รอด เมื่อตัดสินใจได้เร็ว และดำเนินการได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง จะทำให้คุณกลายเป็นผู้คุมเกมทางธุรกิจในวงการ

สำหรับใครที่พลาด LIVE ในครั้งนี้ ท่านสามารถรับชมวิดีโอย้อนหลังได้  ที่นี่

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

คนอยากใช้พลังงานเยอะ แต่โลกอยากได้ปล่อยคาร์บอนน้อย บริษัทพลังงานแก้ไขความย้อนแย้งนี้อย่างไรดีในยุค AI

The Energy/Prosperity Paradox หรือภาวะย้อนแย้งแห่งพลังงาน และความเจริญ ถือเป็นความท้าทายระดับโลกที่บริษัทด้านพลังงานกำลังพบเจอ เพราะในตอนนี้โลกกำลังต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างไม่เ...

Responsive image

เศรษฐกิจไทย ‘ฟื้นตัว’ แล้วหรือยัง ? ฟังความเห็นจาก 3 ผู้นำธุรกิจยักษ์ใหญ่ไทย

ค้นพบศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงไทย จีน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม และกัมพูชา พร้อมโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจในภาคอุตสาหกรรม การเงิน และเทคโนโลยี...

Responsive image

นวัตกรรมใหม่ จะสร้างโอกาส หรือเข้ามา Disrupt ธุรกิจแบบเดิมๆ ? ส่องความเห็นจาก CEO ชั้นนำในยุคนวัตกรรม

อนาคตกำลังมาถึงเร็วขึ้นเรื่อยๆ นวัตกรรมใหม่ๆ ผุดขึ้นมากมาย และกำลังเปลี่ยนโฉมธุรกิจทั่วโลกอย่างรวดเร็ว แต่คำถามสำคัญคือ นวัตกรรมอะไรบ้างที่กำลังขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงนี้? ใครคือผ...