พาชม CSL Data Center ธนาคารข้อมูลระดับสากลในเมืองไทย | Techsauce

พาชม CSL Data Center ธนาคารข้อมูลระดับสากลในเมืองไทย

ปัจจุบันเราเริ่มเห็นภาคธุรกิจนำ Big Data และ Machine Learning มาใช้กันมากขึ้น ทำให้การเก็บข้อมูลต่างๆ มีความสำคัญและมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ธุรกิจ Data Center จึงกลายเป็นหัวใจสำคัญสำหรับทุกองค์กร โดยเฉพาะเมื่อมีกระแสความตื่นตัวในเรื่อง data privacy ในช่วงนี้ ทำให้ธุรกิจขนาดใหญ่ยิ่งต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าว่าข้อมูลต่างๆ จะถูกจัดเก็บเอาไว้อย่างมีประสิทธิภาพและไม่รั่วไหล

ทำความรู้จัก Data Center

Data center เป็นสถานที่รับฝากข้อมูลขนาดใหญ่ที่ให้บริการจัดสรรพื้นที่สำหรับการจัดวางหรือติดตั้งเซิร์ฟเวอร์เพื่อให้องค์กรหรือหน่วยงานตลอดจนผู้ใช้งานทั่วไป นำเครื่องเซิร์ฟเวอร์ไปติดตั้งเพื่อวัตถุประสงค์ในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ซึ่ง Server จะติดตั้งอยู่ภายในอาคารสถานที่ที่ได้รับการออกแบบมาเป็นอย่างดีและมีมาตรฐาน ไม่ว่าองค์กรมีความต้องการที่จะใช้งานเซิร์ฟเวอร์ในด้านใดก็ตามทั้ง Files Server, Mail Server, Web Server, Database Server ฯลฯ ก็สามารถที่จะใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมั่นใจได้ในเรื่องของความปลอดภัยของข้อมูล 

ทุก Data Center ต้องมีระบบที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้พร้อมเข้าถึงข้อมูลจากทั่วโลกได้อย่างรวดเร็ว ตลอดเวลา โดยที่ห้องเก็บ Server จะต้องคงสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม ทั้งอุณหภูมิ ความชื้น หรือ ไฟสำรองที่พร้อมใช้งานอย่างไม่หยุดพัก รวมถึงความสำคัญของระบบการรักษาความปลอดภัยการเข้าถึงสถานที่ และระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อป้องกันข้อมูลสูญหาย

CSL กับ Data Center มาตรฐานสากลในไทย

หลังจากที่ CS Loxinfo ได้ rebrand ครั้งใหญ่ เพื่อตีตลาดลูกค้าองค์กรภายใต้ชื่อ CSL ผู้ให้บริการ ICT แบบ One Stop Service จึงมาพร้อมกับข้อได้เปรียบจากโครงข่าย Digital infrastructures ของกลุ่ม AIS พร้อมให้บริการแก่ธุรกิจองค์กรแบบ end-to-end ตั้งแต่การให้บริการ Data Center, และ Cloud Solutions, ICT Managed Services และรวมถึงการให้บริการ System Integration แบบครบวงจร ด้วยบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน

ปัจจุบัน CSL เป็นผู้ให้บริการที่มี Data Center มากที่สุดในประเทศไทย (11 แห่ง 9 สถานที่) ทั้งในเขตกรุงเทพ  ปริมณฑล และ ต่างจังหวัด อาธิเช่น บางรัก รัชดา รามอินทรา สมุทรปราการ ปทุมธานี ชลบุรี ขอนแก่น เชียงใหม่ และ สงขลา เป็นจุดเชื่อมต่อโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (DWDM) ทั้งในและต่างประเทศ ที่รองรับอัตราการส่งข้อมูลได้ในระดับ Terabyte จึงทำให้การรับส่งข้อมูลขนาดใหญ่ใช้เวลาน้อย และรองรับการขยายตัวของทุกกลุ่มธุรกิจที่มีการใช้งานทางด้าน IT ไม่ว่าจะเป็น กลุ่มธุรกิจการเงินและการธนาคาร, Cloud service providers, Content providers, OTT, กลุ่มธุรกิจ Multi-national ต่างๆ ซึ่งปัจจุบันมีการเติบโตและขยายตัวอย่างรวดเร็ว

ข้อดีของการมี Data Center หลายแห่ง

การมี Data Center อยู่หลายแห่ง ย่อมหมายถึงทางเลือกที่มากขึ้นสำหรับลูกค้า เช่น เลือกสถานที่ที่สามารถเดินทางได้สะดวกรวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่าย เลือกเป็นไซด์สำรอง (DR Site) หากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินที่ไซด์หลักของลูกค้า (DC Site เลือกเป็นศูนย์ข้อมูลที่ตรงตาม Spec ของลูกค้าที่ต้องการได้โดยไม่มีข้อจำกัดใดๆ และรวมถึง ตอบสนองลูกค้าที่ต้องการขยายสาขาไปต่างจังหวัด ตามนโยบาย Smart city เช่น Khon Kaen Smart City, Chiang Mai Smart City และ Hat yai Smart City

ดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ

บริษัทเทคโนโลยีหรือผู้ให้บริการระดับโลก อย่าง Microsoft, AWS, Google หรือ Huawei ที่คลุกคลีกับเทคโนโลยี เช่น Cloud/ AI หรือ IoT ต่างต้องการขยายฐานบริการเข้ามายังภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงเป็นช่องว่างที่ CSL มองเห็นว่าประเทศไทยจะสามารถเป็นจุดศูนย์กลางในการเชื่อมโยงในภูมิภาค และ กลุ่มประเทศ CLMV และดึงดูดผู้บริการและนักลงทุนต่างชาติให้เข้ามาสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีที่นี่ เพื่อให้ลูกค้าของแต่ละ industry สามารถเข้าถึงบริการได้ง่ายและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น 

พาชม SILA Data Center

Techsauce ได้มีโอกาสไปเยี่ยมชมหนึ่งใน Data Center ของ CSL ที่มีความเพียบพร้อมมากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย โดยมีระบบการรักษาความปลอดภัยอย่างแน่นหนา เป็นไปตามมาตราฐานสากล ตั้งแต่การแจ้งรายชื่อ-บัตรประจำตัวประชาชนล่วงหน้าก่อนเข้าเยี่ยมชม เมื่อมาถึงศูนย์ จะมีขบวนการตรวจสอบในหลายขั้นตอนเพื่อยืนยันตัวตน (Identity) เมื่อเข้าถึงศูนย์ข้อมูลฯ รวมถึงมีการเก็บหลักฐานตามข้อกำหนดตลอด 24 ชม.      

SILA Data Center มีพื้นที่ทั้งหมด 25 ไร่ ตั้งอยู่ในจังหวัดชลบุรี รองรับการให้บริการ 760 Racks (Phase1) ติดตั้งระบบรักษาความปลอดภัยที่ทันสมัย มีการเฝ้าระวังและเก็บ log ตลอด 24 ชั่วโมง มีระบบตรวจสอบสิทธิ์การเข้าถึงตู้ rack ของลูกค้ากว่า 10 ขั้นตอน รวมถึงมีการให้บริการแบบ private area สำหรับลูกค้าที่ต้องการเช่าพื้นที่ส่วนตัว โดยมีวิศวกรผู้เชี่ยวชาญคอย monitor อยู่ตลอดเวลา

จุดเด่นของ CSL Data Center ให้บริการแบบ Carrier Neutral คือไม่จำกัดมีเดียในการเชื่อมต่อภายในศูนย์ข้อมูล เพื่อเพิ่มทางเลือกให้กับลูกค้า ปัจจุบันมีผู้ให้บริการ อย่าง TOT, CAT, True, UIH, Jastel, Interlink, Symphony, ALT Telecom และ AWN

Facilities เด่นของ SILA Data Center

  • พื้นที่ให้บริการขนาดใหญ่เพื่อ รองรับการขยายตัวของกลุ่มธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ มีโครงสร้างที่แข็งแรง requirement เพื่อรองรับขนาดและน้ำหนักของ rack มากกว่ามาตราฐานตามปกติทั่วไป 
  • ระบบและมาตราการ การรักษาความปลอดภัยระดับสูงตลอด 24*7, การตรวจสอบหลายขั้นตอนก่อนเข้าถึง rack, กล้องวงจรปิดทั้งในและนอกอาคารมากกว่า 150 จุด 
  • ระบบไฟฟ้าหลักและระบบไฟฟ้าสำรองขนาดใหญ่ที่ทันสมัย เพื่อให้สามารถจ่ายไฟได้ตลอด 24 ชม. โดยไม่ต้องหยุดพัก 
  • ระบบทำความเย็นและระบบสำรองเก็บน้ำเย็นขนาดใหญ่เพื่อ สามารถควบคุมอุณหภูมิและความชื้นตามสภาพแวดล้อมอย่างเหมาะสม
  • ระบบตรวจจับการเกิดเพลิงไหม้ล่วงหน้าอัจฉริยะแบบสุ่มตรวจตัวอย่างอากาศ (Aspirating Smoke Detector) และระบบดับเพลิงแบบสารสะอาด (Nitrogen-based) เพื่อป้องกันอัคคีภัย โดยไม่ทำลายอุปกรณ์ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ 
  • Private Area ให้ลูกค้าสามารถแบ่งโซน แยกจากลูกค้าคนอื่นได้

นอกจากนี้ ภายใน SILA Data Center ยังมี Disaster Recovery  (DR office) พื้นที่สำรองเพื่อรองรับเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน โดย CSL ได้จัดพื้นที่ปฎิบัติงาน และสิ่งอำนวยความสะดวกให้สำหรับลูกค้าที่ต้องการเช่าพื้นที่ทำงานทั้งแบบแชร์พื้นที่ (Shared area) และแบบส่วนตัว (Dedicated area)

การให้ความสำคัญต่อ Data Privacy

การปกป้องข้อมูลเป็นสิ่งที่ทุกธุรกิจให้ความสำคัญในโลกยุคดิจิทัล เริ่มตั้งแต่เทคโนโลยีที่ใช้จัดเก็บข้อมูล การออกแบบเครือข่ายที่ใช้ส่งข้อมูล วิธีการตรวจสอบสิทธิ์เข้าถึง ไปจนถึงอีกหลายปัจจัยในการนำข้อมูลไปใช้ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในความดูแลของลูกค้า 

สำหรับ Data Center ที่เป็นพื้นที่ฝาก server และระบบไอที ก็ยิ่งต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการให้บริการระดับสากลด้วยเช่นกัน สำหรับ CSL Data Center เองก็ได้รับมาตราฐาน ISO ต่างๆ มากมาย อาทิ มาตรฐานคุณภาพ (ISO 9001), มาตราฐานงานบริการด้าน IT (ISO 20000-1), มาตรฐานระบบบริหารความปลอดภัยข้อมูล (ISO 27001) มาตรฐานการจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจ (ISO 22301), มาตรฐานระบบการจัดการด้านพลังงาน (ISO50001), มาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001 (Environment management System) และมาตราฐานความปลอดภัยระบบคลาวด์ (CSA-STAR) เป็นต้น

คุณสุรศักดิ์ อุทโยภาศ Vice President ฝ่าย Technical & Operation ของ CSL กล่าวว่า "ปัจจุบันการให้บริการ CSL Data Center อยู่ภายใต้การปฏิบัติติการตามมาตรฐาน ISO27001 ซึ่งเป็นมาตรฐานระดับสากล ด้าน Information Security Management System (ISMS) อีกทั้ง มีระเบียบปฏิบัติในการควบคุมด้าน Security จึงมั่นใจได้ว่า เราได้ออกแบบการให้บริการด้วยมาตรฐานด้านความปลอดภัยอย่างสูงสุด"

การให้บริการด้วยทีมงานผู้เชี่ยวชาญ

นอกจากเรื่องมาตราฐานการรักษาความปลอดภัย (ISMS) มาตราฐานการออกแบบและสิ่งอำนวยความสะดวกของอาคาร (Facilities) ที่เป็นระดับสากลแล้ว CSL ยังให้ความสำคัญกับบริการด้านหลังการขายอย่างต่อเนื่อง ด้วยประสบการณ์ที่ยาวนานกว่า 25 ปีและมี certificates ครอบคลุมในทุกๆ service ทีมงานสามารถให้คำปรึกษาตั้งแต่ขั้นแรก Data center Consultancy, Site Relocation, Smart Hand Service รวมไปถึง Hosted Solutions, Cloud Management service และ ICT Management service ไปจนถึงขั้นตอนขบวนการการออกแบบ การติดตั้งระบบตามความต้องการของลูกค้า และรวมถึงการเฝ้าระวังและดูแลด้านความปลอดภัยให้ลูกค้าแบบครบวงจร

“ทีมงานของเรามีความเข้าใจความต้องการของแต่ละธุรกิจเป็นอย่างดี ทุกคนมีความพร้อมในการบริการและให้คำปรึกษากับลูกค้าอย่างครบถ้วน รวมถึงสามารถมองเห็นปัญหา อุปสรรค และสามารถแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญในการดำเนินธุรกิจ”

สามารถติดต่อทีมงาน CSL ได้โดยตรงทันทีที่ [email protected]  หรือเยี่ยมชมเว็บไซต์ของ CSL ได้ที่ https://www.csl.co.th

บทความนี้เป็น Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เปิดกลยุทธ์ธุรกิจยุคใหม่ พลิกข้อมูล สู่ขุมทรัพย์ด้วย analyticX ด้วยพลัง Telco Data Insights และ GenAI

ยุคนี้ใคร ๆ ก็พูดถึง Data แต่จะใช้ Data อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่างหากคือกุญแจสำคัญ! ในสัมมนาสุดเอ็กซ์คลูซีฟ "Unlocking Data-Driven Decisions with Telecom Data Insights" ที่จั...

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...