Metaverse กลายเป็นที่พูดถึงกันเป็นอย่างมากในระยะหลังมานี้ และที่ผ่านมาเราต่างเห็นข่าวต่าง ๆ มากมายของบริษัทระดับโลกที่ต่างพากันตบเท้าพร้อมลงทุนเทคโนโลยีดังกล่าว ด้วยความเชื่อที่ว่าจะเข้ามาเปลี่ยนแปลงโลกให้แตกต่างจากเดิมไปโดยสิ้นเชิง
แต่เคยสงสัยกันไหมว่า ทำไมธุรกิจขนาดใหญ่ถึงกล้าที่จะทุ่มเงินจำนวนมหาศาลลงทุนใน Metaverse เพื่อเข้าไปในโลก Metaverse ก่อนคนอื่น ในบทความนี้เราจะพาไปทำความเข้าใจ และฉายภาพอนาคตของ Metaverse กันให้ชัดเจนมากขึ้นผ่านการพูดคุยกับ คุณสิริเกียรติ์ บุญวรเศรษฐ์ (Sirikiat Bunworaset) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ D.OASIS แพลตฟอร์มเชื่อมต่อเทคโนโลยีและความเชี่ยวชาญทุกมิติเพื่อเข้าสู่โลก Metaverse และ NFT ชั้นนำของประเทศไทย
ปัจจุบัน Metaverse มีการพูดถึงกันอย่างแพร่หลายในหลากหลายมุมมอง ซึ่งก็จะมีนิยามที่แตกต่างกันไป สำหรับคุณสิริเกียรติ์ ได้เริ่มต้นอธิบายถึง Metaverse ว่า สิ่งนี้ประกอบไปด้วย 2 คำที่อยู่ภายในนี้ คือ Meta และ Universe โดยคำว่า ‘Meta’ แปลว่า ‘Beyond’ ซึ่งหมายถึง “สิ่งที่มากกว่า หรือ ดีกว่าความเป็นจริง ส่วนคำว่า Universe นั้น ชัดเจนว่าเน้นความเป็น Uni นั่นคือเน้นความเป็นหนึ่งเดียว อยู่ในที่ที่เดียว”
สำหรับองค์ประกอบที่จะทำให้เป็น Metaverse หรือไม่นั้น ในความเห็นของ D.OASIS จะต้องมี 4 องค์ประกอบสำคัญด้วยกัน คือ
อย่างไรก็ตามในปัจจุบันเริ่มมี Platform ที่มีรูปแบบใกล้เคียงความเป็น Metaverse มากขึ้น แต่ยังไม่ครบทั้งสามองค์ประกอบ เช่น Roblox, Fortnite, Sandbox, Decentraland ซึ่งสำหรับ D.OASIS เราขอเรียก Platform เหล่านี้ว่าเป็น Proto-Metaverseหรือเป็น Metaverse ต้นแบบ ที่ยังไม่สมบูรณ์ แต่ก็เป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาไปสู่ Metaverse ที่แท้จริงในอนาคต
สิ่งสำคัญของ Metaverse คือ ความเป็น Shared Ownership ที่ทุกคนสามารถเป็นเจ้าของได้ การพัฒนาของเทคโนโลยี Blockchain จะกลายมาเป็น Infrastructure ที่เป็นกระดูกสันหลังสำคัญของ Metaverse ทำหน้าที่กระจายความเป็นเจ้าของให้กับทุกคน ซึ่งสามารถ enable ความเป็น Metaverse ได้อย่างแท้จริง
“ในยุค Web2 ผู้ใช้งานมีสถานะเป็น User เมื่อเข้าสู่ Web3 ผู้ใช้งานจะมีสถานะเป็น Owner ด้วยเทคโนโลยี Blockchain ทำให้กิจกรรมที่ทำนั้นได้มูลค่ากลับมาแก่ผู้ใช้งาน ไม่ใช่เจ้าของ Platform ได้ประโยชน์โดยส่วนใหญ่ อีกทั้ง Physical Objects ในโลกจริง จะกลายเป็น NFTs ในอนาคต คนจะใช้ชีวิตอยู่ใน Metaverse มากขึ้น รวมไปถึงอาชีพต่าง ๆ ที่จะเข้าไปอยู่ใน Metaverse แทน และการลงทุนในโลกจริงอาจสร้างรายได้ไม่ดีเท่าการลงทุนในโลกเสมือน”
คุณสิริเกียรติ์ ได้ให้มุมมองเกี่ยวกับพัฒนาการของ Metaverse ไว้ 4 Phase ด้วยกันที่จะมีการเปลี่ยนผ่านไปตามความสมบูรณ์ของเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
Phase 1 Desktop/Mobile Version: ในระยะแรก ๆ จะเป็น Metaverse แบบ 2D โดยใช้การแสดงผลบนหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือ Smart Phone โดยเรียกเฟสนี้ว่า “Proto-Metaverse” ซึ่งยังไม่ถือว่าเป็น Metaverse ที่แท้จริง ซึ่งเฟสนี้เกิดขึ้นได้ด้วยการพัฒนาของเทคโนโลยี 5G และ BlockChain และ CPU กับ Smartphone ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ระยะนี้ยังคงแบ่งโซนที่แตกต่างกันสำหรับการทำงานกับการเล่น (Work and Play) ยกตัวอย่างกิจกรรมอย่าง การประชุมจะมีหลายประเภท เช่น การประชุมแบบต่อหน้า แบบ Professional ที่เราแต่งตัวและสวมสูท แต่มีบางเวลาที่เราปล่อยผมลงและร้องเพลงคาราโอเกะและสวมเสื้อผ้าแบบไร้สาระ
หลังจากนั้น เราจะเริ่มสนุกกับการเปลี่ยน Background ในการประชุม และจะมีแพลตฟอร์มอื่น ๆ ที่เพิ่มความสนุกสนานแบบโลกเสมือน เช่น ผู้เข้าร่วมประชุมใส่ชุดอวกาศ มีเขาซาตาน เหมือนอยู่ใน Metaverse
แต่อีกไม่นานเราจะหาบรรทัดฐานทางสังคม (Social norm) ที่ผสมผสาน Work and Play อย่างกลมกลืน ซึ่งจะทำให้เราเริ่มรู้สึกอยู่ในโลก Metaverse
ในเวลาเดียวกัน Metaverse จะเริ่มสร้างเศรษฐกิจของตัวเอง คือ เป็น Virtual Economy จะมีพื้นที่ในโลกเสมือนที่เราจะซื้อเสื้อผ้า สิ่งของ อสังหาริมทรัพย์ และอื่นๆ สำหรับอวาตาร์แบบดิจิทัลของเรา อย่างไรก็ดี กิจกรรมต่าง ๆ จะยังอยู่บน Desktop or Mobile Technology ที่เป็นแบบ 2 มิติ
Phase 2 Phigital Version : ในระยะนี้จะมีการใช้ Avatar แบบ 3D มากขึ้นในการทำทุกกิจกรรม โดยเราจะเริ่มเห็นการผสมผสานกันของโลก Physical และโลก Digital ผ่านอุปกรณ์ Augmented Reality/Mixed Reality (AR/MR) Glasses โลกความจริงจะถูกแทรกด้วยความสนุกสนานของโลกดิจิทัล
ยกตัวอย่างเช่น เพื่อนคุณใส่แว่น VR จะเห็นว่าคุณใส่รองเท้า Digital Sneakers ของแบรนด์ดัง แต่จริง ๆ คุณใส่รองเท้าแตะ เพื่อนคุณจะเห็นหน้าคุณเป็นไดโนเสาร์ แทนที่หน้าของคุณจริง ๆ ผ่านแว่น AR/MR
Phase 3 VR-Multiverse Version : ในระยะนี้จะเป็นการใช้แว่น VR ทุกอย่างอยู่ในโลกเสมือน เมื่อใส่ VR Headset ทุกคนจะเชื่อมถึงกันได้ แต่ในส่วนของ VR Technology อาจยังเป็น Spot ที่ยังมีหลาย Platform Metaverse อยู่
และในเฟสนี้ช่วงปลาย ๆ เราอาจจะเห็นสองหรือสามอุปกรณ์ VR ที่ทุกคนใช้แพร่หลาย แต่ในช่วงแรก ๆ อาจจะมีเกิน 50 อุปกรณ์ เช่น "ฉันอยู่ใน Ethereum Blockchain เสมือนจริงและคุณอยู่ใน Solana Blockchain เสมือนจริง” อาจมีการเชื่อมโยงกันอยู่บ้าง โดยมีหลายอย่างที่เราสามารถทำร่วมกันข้ามอุปกรณ์ แต่ก็จะยังคงเป็นส่วนใหญ่ที่ทำแยกกันในแต่ละ Metaverse
Phase 4 VR-Unified Version : Metaverse จะเริ่มกลายเป็นเหมือนภาพยนตร์นิยายวิทยาศาสตร์ Ready Player One ที่ซึ่งมีเพียงจักรวาลเดียว สามารถเชื่อมทุกอย่างเข้าด้วยกันได้ด้วย Device เดียว และจะเป็น Internet of Blockchain ที่ทำให้ทุกคนเชื่อมถึงกันได้แม้จะใช้คนละ Platform ด้วย Protocol ที่สามารถใช้ Blockchain และ VR Technology ร่วมกันได้
เมื่อการพัฒนาของ Metaverse มาถึงระยะนี้ ความเปลี่ยนแปลงที่จะได้เห็น คือ ผู้คนจะออกไปข้างนอกน้อยลง อาชีพหลายอย่างอาจหายไป และในขณะเดียวกันอาชีพใหม่ ๆ ก็จะเกิดขึ้น ในจุดนี้ เราจะเข้าสู่โลก Metaverse แบบสมบูรณ์
จากทั้ง 4 Phase นี้ จะเห็นได้ว่าในอีกเพียง 7-8 ปีข้างหน้า Metaverse จะกลายมาเป็นกระแสหลัก แทนที่ Social Media ต่าง ๆ ที่เราใช้กันอยู่ และคนส่วนมากจะใช้ชีวิตภายในนั้น และทำกิจกรรมในโลกจริงเพียงแค่ไม่กี่อย่าง เช่น ออกกำลังกาย กินข้าว หรือนอน ดังนั้นทั้งธุรกิจและคนทั่วไปต้องเตรียมความพร้อมให้ดีเพื่อไม่ให้ตกขบวน
สำหรับแนวโน้มระดับโลก ก่อนหน้านี้ Gartner ได้มีการเผยแพร่รายงาน คาดการณ์เกี่ยวกับ Metaverse ว่า ภายในปี 2026 ผู้คนราว 25% ทั่วโลกจะใช้เวลาอย่างน้อยวันละ 1 ชั่วโมงเพื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ ใน Metaverse ขณะที่แนวโน้มในประเทศไทยนั้น ทาง D.OASIS คาดว่าภายในปี 2027 คนไทย 1 ใน 3 ของประเทศจะเข้าสู่ Metaverse และภายใน 10 ปีจะมีคนไทยอยู่บน Metaverse ร้อยละ 70 - 80 ของประชากร และใช้เวลาในแพลตฟอร์มมากขึ้นเนื่องจากมีทุกอย่างอยู่บนโลกเสมือน ไม่จำเป็นต้องออกไปข้างนอก
คุณสิริเกียรติ์กล่าวว่า “Rate of Adoption ของ Metaverse นั้น จะมีรูปแบบหรือ Pattern ที่คล้ายกันกับการใช้งานของ Social Media ในสิบกว่าปีที่ผ่านมา โดยจะเริ่มจาก Generation ใหม่ ๆ เช่น ในโลก Metaverse จะเป็น Gen Z หรือคนที่อายุระหว่าง 10-25 ปีที่เข้าไปในโลก Metaverse ก่อน และคนที่อยู่ใน Gen ถัดมา คือ Gen Y และ Gen X จะทยอยเข้าไปในโลก Metaverse คล้ายคลึงกันกับในกรณีของ Social Media ที่ผู้ใช้งานเริ่มจาก Gen Y ตามด้วย Gen X และรุ่นถัดมาทยอยเข้าไป จนปัจจุบันมีผู้ใช้งาน Social Media กว่า 4 พันล้านคนทั่วโลก เราคาดว่าจำนวนผู้ใช้งาน Metaverse ช่วงจุดสูงสุด จะมีไม่ต่ำกว่าผู้ใช้งาน Social Media ในปัจจุบัน”
สำหรับประเทศไทย จากประมาณการณ์ในปัจจุบัน มีผู้ใช้งาน Proto-Metaverse ใน Platform หลัก เช่น Sandbox, Roblox, Fortnite อยู่ที่ประมาณ 700,000 คนและจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีอัตราการเติบโตใน 4-5 ปีนี้จะคล้ายกันกับการเติบโตยุคเริ่มต้นของ Social Media
คุณสิริเกียรติ์ให้มุมมองว่า “ปัจจุบัน Metaverse ยังถือว่าเป็นเทคโนโลยีที่ใหม่มาก อยู่ในยุคของ Early Adopters ส่วน Mass Adoption จะทยอยเข้ามาทีหลัง ดังที่กล่าวไว้เบื้องต้นว่า การ adoption ของ Metaverse จะคล้ายกันกับการ Adoption ของ Social Media ในสิบกว่าปีที่ผ่านมา ผู้บริโภคโดยเฉพาะกลุ่ม Gen Z ที่เริ่มมีมูลค่าสูง จะใช้งาน Social Media รูปแบบเดิม ๆ น้อยลง และเข้าใช้ชีวิตในโลก Metaverse มากขึ้น กลุ่ม Gen Z นี้จะเริ่มเข้าถึงได้ยากขึ้น เทคนิคการตลาด Social Media แบบเดิม ๆ อาจไม่สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สำหรับภาคธุรกิจหากจะรอให้ถึงระยะของ Mass Adoption กล่าวคือ ทุกคนเข้าสู่แพลตฟอร์มก่อนค่อยตามเข้าไปก็คงจะไม่ทันการและตกขบวนเหมือนตอนที่ Web2 เข้ามาในช่วงแรก ดังนั้นเพื่อให้เมื่อ Metaverse มาถึงแล้วธุรกิจสามารถ จับกลุ่มลูกค้า ทำการตลาด และดำเนินธุรกิจได้ทันที ธุรกิจจะต้องเริ่มเตรียมตัวตั้งแต่วันนี้เพื่อรอรายได้ในอนาคต
ในยุค Web2 ประเทศไทยตกขบวน ทำให้เราเสียผลประโยชน์ที่ทำให้มูลค่าทางเศรษฐกิจมหาศาลตกไปเป็นของ Big Tech ของต่างประเทศ ดังนั้น D.OASIS เราจึงต้องการดึงคนไทยให้เข้าไปในยุค Web3 มากที่สุด เร็วที่สุดก่อนประเทศอื่น เพื่อไม่ให้ตกขบวน เพราะ Metaverse และ NFTs เป็นเทคโนโลยีสำคัญที่จะเปลี่ยนโลกและวิถีชีวิตของเราในอนาคตอย่างสิ้นเชิง
สำหรับองค์กรที่ต้องการเข้าสู่โลก Metaverse ในระยะเริ่มต้นนี้ คุณสิริเกียรติ์ให้คำแนะนำว่า “ก่อนที่จะเข้าสู่ Metaverse ประเด็นแรกที่องค์กรต้องใส่ใจคือ จะเข้า Metaverse ของ Platform ใด เพราะในปัจจุบันมี Metaverse อยู่หลากหลายPlatform ให้เลือก แต่อาจไม่ใช่ทุก Platform ในปัจจุบันที่จะอยู่รอดไปถึงอีก 10 ปีข้างหน้า และจะต้องวางแผนในด้านอื่น ๆ คือ
นอกจากการวางแผนให้ครอบคลุมในทุกมิติแล้ว องค์กรจะต้องวางขั้นตอนให้ชัด โดยคุณสิริเกียรติ์แนะนำดังนี้
ดังที่กล่าวไว้ มีเทคโนโลยีมากมายที่เป็นองค์ประกอบที่ทำให้ Metaverse เกิดขึ้นได้ เช่น Blockchain, AR/MR/VR, Digital Currency หากเราไม่มีความเข้าใจอย่างครบถ้วนในแต่ละเทคโนโลยีนี้ จะทำให้เราไม่เข้าใจการทำงานของ Metaverse ในทุกมิติ ดังนั้นองค์กรควรจัดทีมศึกษาเพื่อทำความเข้าใจ Metaverse เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง และผลกระทบต่อลูกค้าและองค์กร แล้วจึงจัดทำกลยุทธ์ด้าน Web 3 และ Metaverse โดยเฉพาะ
หลังจากได้กำหนดแผนกลยุทธ์ Web 3 และ Metaverse แล้ว องค์กรควรปรับโครงสร้างองค์กรให้เหมาะสม เปลี่ยนจากองค์กร Web 1 และ Web 2 ไปเป็นองค์กรแบบ Web 3 เพื่อเข้าสู่โลก Metaverse โดยอาจจัดตั้งแผนกแยก หรือจัดตั้งองค์กรใหม่ที่เป็นเอกเทศ เพื่อดำเนินการด้าน Web 3 และ Metaverse โดยเฉพาะ
หลังจากนั้นองค์กรควรเลือก Platform Metaverse ที่เหมาะสม เช่น บน Blockchain อะไร Platform Metaverse ไหนที่สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้มากที่สุด การเลือก Platform Metaverse ที่ถูกต้อง จะทำให้ไม่เกิดการลงทุนที่ซ้ำซ้อน และสร้างผลตอบแทนได้ในระยะยาว
ยุค Metaverse นี้เป็นยุคของการเชื่อมต่อแบบไร้พรมแดน (Cross Border) ดังนั้น องค์กรควรหา Platform Metaverse ที่ทำให้องค์กรสามารถเข้าถึงลูกค้าทั่วโลกได้ ไม่จำกัดแค่ในประเทศ โดย Platform Metaverse แบบ Global ปัจจุบันที่มีผู้ใช้งานแพร่หลายทั่วโลก มีหลาย Platform เช่น Sandbox, Decentraland
องค์กรสามารถเริ่มสร้างกิจกรรมต่าง ๆ ใน Metaverse เช่นการจัดตั้งออฟฟิศ ร้านค้า คอนเสิร์ต เพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับลูกค้า และองค์กรสามารถออกสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Assets) ต่าง ๆ เช่น NFTs (Non-Fungible Tokens) โดย NFTsจะมีบทบาทสำคัญในโลกเสมือนจริง เช่น การสร้าง Avatar ที่เชื่อมโยงกับแบรนด์ขององค์กร เพื่อให้ลูกค้าได้ใช้ในโลก Metaverse
วิธีในการรักษาฐานลูกค้าในระยะยาวใน Metaverse ขององค์กรคือการสร้าง Community จำนวนผู้ใช้ใน Platform ไม่ใช่สิ่งที่ทำให้ลูกค้ากลับมาอีก แต่เป็นจำนวนชุมชนที่มีความรู้สึกเป็นเจ้าของและมีค่านิยมร่วมกัน ดังนั้นในขั้นตอนสุดท้าย องค์กรควรเน้นการสร้าง Community ที่เหนียวแน่นเพื่อการสร้าง Brand Loyalty ในระยะยาว
จากทั้งหมดนี้จะเห็นได้ว่า การลงทุนใน Metaverse มีความซับซ้อนและมีต้นทุนสูง แต่องค์กรสามารถลดความซับซ้อนและต้นทุนได้โดยการลงทุนร่วมกับองค์กรอื่นๆ โดย D.OASIS จะเข้ามาเป็น Solution Provider ที่ทำให้แต่ละองค์กรสามารถเข้าสู่โลก Metaverse และ NFTs ได้ง่ายขึ้น เร็วขึ้น และต้นทุนถูกลง เพราะ Ecosystem ของ D.OASIS นั้นมีการติดตั้งระบบไปจนถึงมีตลาดและ Community ไว้หมดแล้ว องค์กรเพียงเข้ามาสร้างออฟฟิศ ร้านค้าและกิจกรรมก็สามารถให้ User เข้ามาใช้งานได้เลย
นอกจากองค์กรธุรกิจแล้ว คุณสิริเกียรติ์ ได้ให้คำแนะนำว่าผู้ใช้งานทุกคนควรเร่งทำความเข้าใจโลก Metaverse และ NFTs ก่อนคนอื่น โดยเริ่มจากการทำความเข้าใจโลก Web3 อย่าง Blockchain, Crypto Currency ไปจนถึง NFT และ Metaverse เพื่อหาลู่ทางสร้างรายได้และอาชีพได้ก่อนใคร โดยสามารถหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ Metaverse และ NFTs ได้ที่ doasis.ioและ humanxclub.io
“ในยุค Web2 ประเทศไทยตกขบวน ทำให้เราเสียผลประโยชน์ที่ทำให้มูลค่าทางเศรษฐกิจมหาศาลตกไปเป็นของ Big Tech ของต่างประเทศ ดังนั้น D.OASIS เราจึงต้องการดึงคนไทยให้เข้าไปในยุค Web3 มากที่สุด เร็วที่สุดก่อนประเทศอื่น เพื่อไม่ให้ตกขบวน เพราะ Metaverse และ NFTs เป็นเทคโนโลยีสำคัญที่จะเปลี่ยนโลกและวิถีชีวิตของเราในอนาคตอย่างสิ้นเชิง”
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด