6 คำแนะนำสำหรับผู้บริหารจาก 'แดเนียล จาง' ว่าที่ประธานฯ Alibaba | Techsauce

6 คำแนะนำสำหรับผู้บริหารจาก 'แดเนียล จาง' ว่าที่ประธานฯ Alibaba

ฟัง 6 คำแนะนำในการเป็นผู้บริหารจาก 'แดเนียล จาง' (Daniel Zhang) CEO ของ Alibaba Group ซึ่งกำลังจะขึ้นเป็นประธานกรรมการบริหาร (Executive Chairman) ของ Alibaba Group คนต่อไปจาก 'แจ็ค หม่า' (Jack Ma) ในเดือนกันยายนปีหน้าอีกด้วย Daniel Zhang, CEO Alibaba | Photo: Alizila

หากถามใครหลายๆ ว่า 'แดเนียล จาง' (Daniel Zhang) คือใคร? หลายคนคงไม่คุ้นหรือไม่รู้จัก แต่หากบอกว่าเขาคือ CEO ของ Alibaba Group และเป็นผู้คิดค้น Event ที่ชื่อว่า 11.11 “Singles Day” Global Shopping Festival ให้กับ Alibaba ก็คงจะเริ่มสนใจกันแล้วใช่ไหมครับ

ล่าสุดตอนนี้เขาถูกวางตัวให้เป็นประธานกรรมการบริหาร (Executive Chairman) ของ Alibaba Group คนต่อไปจาก 'แจ็ค หม่า' (Jack Ma) อีกด้วย พอได้ยินแบบนี้ หลายคนน่าจะเริ่มสนใจชายหนุ่มผู้นี้กันบ้างแล้ว

ซึ่งเขาได้ให้สัมภาษณ์กับ Fast Company เกี่ยวกับแนวคิดการทำงานให้ฐานะผู้บริหารไว้อย่างน่าสนใจ จนสามารถสรุปออกมาได้เป็น 6 ข้อสำคัญๆ ดังนี้

  1. ใช้การประชุมเพื่อหาจุดบกพร่อง ไม่ใช่แค่การรายงานความคืบหน้า
  2. ตัดสินใจไปเถอะ แม้มันจะไม่ถูกต้องก็ตามที
  3. ออกจากการประสานงานแบบเงียบๆ
  4. เต็มใจที่จะสร้างสิ่งใหม่ๆ ขึ้นมา
  5. อย่ายึดติดกับตัวเลข
  6. พักผ่อนเสียบ้าง แล้วคุณจะฝันถึงสิ่งที่ยิ่งใหญ่ได้

1. ใช้การประชุมเพื่อหาจุดบกพร่อง ไม่ใช่แค่การรายงานความคืบหน้า

ผมมีความเชื่ออย่างแรงกล้าต่อการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นผมจึงมักถามทีมว่าเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการนำเสนอผลงาน (Presentation)

ในการประชุมแต่ละครั้ง ผมพบว่ารูปแบบการแชร์ข้อมูลในที่ประชุมเรียกได้ว่าแย่ที่สุด พวกเขาลืมไปว่าการนำเสนอที่สั้นที่สุดคือการนำเสนอที่ดีที่สุด ผมเลยพยามยามรวบรวมข้อมูลต่างๆ ให้มีก่อนการประชุม และใช้การประชุมเพื่อแลกเปลี่ยน ถกเถียง และตัดสินใจสิ่งต่างๆ ด้วยขั้นตอนเหล่านี้ทำให้เราสามารถใช้เวลาร่วมกันเพื่อหาจุดอ่อนในกลยุทธ์ของเราหรือแนวความคิดของเราได้

โดยปกติผมจะเริ่มต้นการประชุมด้วยคำถามพื้นฐานบางอย่าง เพื่อกระตุ้นและดูว่าแต่ละคนนำเสนอเนื้อหาของเขาได้จริงหรือไม่ ถ้าพวกเขาสามารถตอบคำถามที่ผมสุ่มถามขึ้นมาได้ มันเป็นสัญญาณที่ดีที่แสดงให้เห็นว่าพวกเขาทำการบ้านและเตรียมตัวมา ส่วนคนที่พูดตะกุกตะกักก็แปลว่าเขายังไม่ได้มองทุกๆ อย่างแบบละเอียดพอ ซึ่งเมื่อผมรู้สึกว่าผมยังไม่ได้ข้อมูลมากพอ ผมก็จะข้ามไปถามคำถามเพิ่มเพื่อให้พบกับช่องโหว่ได้อย่างรวดเร็ว

ในการประชุมของผมต้องระบุนาทีที่ใช้และสิ่งที่ต้องทำต่อ (Action Items) การประชุมที่ไม่ระบุสิ่งที่ต้องทำดำเนินการต่อนั้นถือว่าไร้ประโยชน์อย่างมาก นอกจากนี้ผมพบว่าการประชุมแบบบรรยายสไลด์มีประโยชน์แต่ประชุมแบบนั้นเพียง 1-2 ครั้งต่อปีก็เพียงพอแล้ว

หัวใจสำคัญของการประชุม คือ มันไม่ใช่สถานที่สำหรับเร่งทุกคนให้ทำสิ่งต่างๆ รวดเร็วขึ้น แต่เป็นสถานที่ที่ใช้ในการหาจุดอ่อนและดีเบทกันว่าเราจะแก้จุดอ่อนนี้ได้อย่างไร

2. ตัดสินใจไปเถอะ แม้มันจะไม่ถูกต้องก็ตามที

ผมต้องเผชิญกับการตัดสินใจที่ยากลำบากทุกวัน ดังนั้นผมจึงพยายามทุ่มเทพลังงานของตัวเองเพื่อทำให้เกิดการตัดสินใจที่ในองค์กรคิดว่าไม่สามารถทำได้ แม้ว่าการตัดสินใจจะทำให้เกิดการโต้เถียง และเกิดการตัดสินใจครั้งสุดท้ายในที่สุด และความกล้าในการตัดสินใจและรับผิดชอบต่อสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องที่สำคัญมาก

แต่สำหรับทุกทีม ความกลัวที่ใหญ่ที่สุด คือการกลัวว่าเราจะตัดสินใจพลาดหรือไม่?  คุณสามารถแก้ไขได้ทุกเมื่อหากสิ่งต่างๆไม่ได้ผล การที่เราไม่สามารถตัดสินใจอะไรต่างๆ ได้ต่างหากที่น่ากลัวกว่า

ผู้นำต้องมีความกล้าแบบเด็ดเดี่ยวแม้ว่าจะมันจะเป็นการตัดสินใจที่ไม่สมบูรณ์แบบนัก ในบางครั้งอาจจะตัดสินใจถูกหรือผิดก็ตาม ผมพบว่าถ้าคุณแก้ไขปัญหา เกือบทุกครั้งก็จะเกิดสิ่งที่เป็นไปได้เสมอ

กุญแจสำคัญ คือ การก้าวไปข้างหน้า

สมมติว่า CFO สามารถคำนวณตัวเลขและการคาดการณ์ได้อย่างแม่นยำ แต่ถ้าคุณลังเลที่จะปฏิบัติหน้าที่ รอทุกอย่างให้ได้รับการพิจารณาก่อน คุณอาจจะยอมจำนนข้อเสนอของผู้มีอิทธิพลกว่าก็ได้

Daniel Zhang, CEO Alibaba | Photo: Alizila

3. ออกจากการประสานงานแบบเงียบๆ

ผมพบว่าการกระทำที่เด็ดขาดที่สุดมักมาจากคนที่อยู่หน้างาน ถ้าทุกอย่างต้องรอคำสั่งจากส่วนกลาง โอกาสมากมายจะสูญหายไป ผู้จัดการต้องได้อิสระในการตัดสินใจเรื่องต่างๆ

แต่บางครั้งการประสานงานหรือทำงานร่วมกันอาจไม่เป็นไปตามที่คาด ผู้บริหารไม่จำเป็นต้องเข้าไปปรับตำแหน่งในทีม ถ้าคนในทีมไม่ได้มีเป้าหมายร่วมกัน เพราะถ้าเราเข้าไปปรับตำแหน่ง ก็เหมือนการผูกขาคนสองคนที่กำลังเดินไปในทิศทางที่ต่างกัน

ดังนั้นเราควรปล่อยให้การทำงานเป็นไปอย่างตรงไปตรงมาที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ดีกว่า หากปัญหาภายในแผนกแรกสามารถถูกแก้ไขได้แล้ว ปัญหาในแผนกที่ 2 ที่ 3 เราก็ไม่เข้าไปเกี่ยวข้องแล้ว

นอกจากนี้ อินเทอร์เน็ตและการสื่อสารผ่านมือถือที่ช่วยให้ทีมงานยังสามารถทำงานเป็นทีมเดียวกันได้ ที่สำนักงานใหญ่ของแคมเปญ 11.11 Single of Day ในปีนี้มีคนอยู่ไม่ถึง 10 คน เพราะทุกวันนี้ทุกคนไม่จำเป็นต้องอยู่ในห้องเดียวกันเพื่อให้การสื่อสารเกิดประสิทธิภาอีกต่อไป

ผู้บริหารก็ไม่ต้องอยู่ที่สำนักงานใหญ่ตลอด เพราะทุกคนเชื่อมโยงกันในห่วงโซ่การสื่อสารสากลเดียวกัน พวกเขาสามารถอยู่ได้ทุกที่ โดยไม่ต้องอยู่ที่ใดที่หนึ่งเพื่อทำงานอีกต่อไป

4. เต็มใจที่จะสร้างสิ่งใหม่ๆ ขึ้นมา

iPhone ถูกนิยามว่าเป็นโทรศัพท์มือถือที่มาพร้อมกับระบบหน้าจอแบบสัมผัส กลายเป็นบรรทัดฐานใหม่ในยุคปัจจุบัน นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ผมชอบยกขึ้นมาเพื่ออธิบายว่าหนึ่งนวัตกรรมสามารถเปลี่ยนแปลงทุกอย่างได้อย่างไร

การสร้างอนาคตไม่จำเป็นต้องคิดค้นหรือวิเคราะห์จากสิ่งต่างๆ ที่มีอยู่เดิม ผู้บริหารควรลดความกลัวในการตั้งคำถามที่เราคิดและเรารู้อยู่แล้วเสีย เพราะหลังจากนั้นนวัตกรรมจริงๆ ที่เราคิดขึ้นมา จะไม่ใช่เป็นอดีตแต่มันจะเป็นอนาคต

ผมไม่ได้หมายความว่าให้ล้มกระดานทุกอย่างทั้งหมด แต่แนะนำว่าให้ทำการ "ปรับโครงสร้าง" เพราะผมเชื่อว่าการจัดเรียงหน่วยงานที่มีในบริษัทจะทำให้เกิดแนวทางการทำงานใหม่ๆ ขึ้นได้ แต่ก็เข้าใจว่าการเพิ่มและลดสิ่งต่างๆ ในองค์กรมันไม่ง่ายนัก แต่ถึงอย่างไรก็ตาม การปรับโครงสร้างทางธุรกิจจะเป็นเหมือนปฏิกิริยาทางเคมีที่ทำให้เกิดสิ่งใหม่ๆ ได้มากขึ้น

นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไม Alibaba ถึงเข้ามาในตลาดค้าปลีก (Retail) ซึ่ง Landscape นี้มันมีวิวัฒนาการไปไกลกว่าการตอบสนองความต้องการของลูกค้าแล้ว เพราะในเวลานี้เราต้องสร้างอุปสงค์หรือความต้องการบริโภค (Demand) ใหม่ๆ ให้เกิดขึ้น เราจำเป็นต้องกระตุ้นและค้นหาความต้องการบริโภคที่ยังไม่มีใครพบให้เจอให้ได้

Daniel Zhang at Tmall’s 11.11 Global Shopping Festival in 2017 | Photo: Alizila

5. อย่ายึดติดกับตัวเลข

จนถึงวันนี้ สิ่งหนึ่งที่ผู้คนสนใจเกี่ยวกับ 11.11 Single’s Day Global Shopping Festival ของเรามากที่สุดก็เป็นเรื่องของตัวเลขยอดการซื้อขายสินค้ารวม (Gross Merchandise Volume: GMV) ทุกๆ ปีก็มีคนถามผมเกี่ยวกับการประมาณการณ์ยอดดังกล่าว แต่ผมก็ปฎิเสธจะตอบ ถึงแม้จะเป็น Jack Ma ที่จะถามผมขึ้นมาก็ตาม คาถาของผมคือ "บ้านของเราจะไม่มีการวางเดินพันอะไรไว้ทั้งนั้น"

เมื่อตัวเลขยอดการซื้อขายสินค้ารวมขึ้นบนหน้าจอในงาน 11.11 ซึ่งระบุว่าอยู่ที่ 118.8 พันล้านหยวน (17.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ) ผมรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่ง แม้ว่ามันจะไม่ได้สูงไปกว่านี้ ซึ่งก่อนหน้านี้ยอดการซื้อขายสินค้ารวมในปี 2012 อยู่ที่ 19.1 พันล้านหยวน (3.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ) และมีผู้คนจำนวนมากเข้ามาหาผมแล้วบอกว่าควรทำให้ได้มากกว่า 20 พันล้านหยวนนะ

ในทำนองเดียวกันราคาหุ้นของบริษัท มักถูกใช้เป็นตัวชี้วัดในการตัดสินประสิทธิภาพของ CEO แต่สำหรับผมตัวเลขนี้ไม่สำคัญ โดยราคาหุ้นต่ำไม่จำเป็นต้องสะท้อนถึงสภาพบริษัทที่ไม่ดี ในขณะที่ราคาหุ้นที่ปรับตัวสูงขึ้นอาจจะสะท้อนภาพบริษัทที่ดีกว่าที่ควรจะเป็นก็ได้

6. พักผ่อนเสียบ้าง แล้วคุณจะฝันถึงสิ่งที่ยิ่งใหญ่ได้

ความเครียดในที่ทำงานเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ถึงแม้มันจะเข้ามากระทบตัวคุณมากแค่ไหนก็ตาม การนอนหลับได้สนิทก็เป็นเรื่องที่สำคัญมาก

บางทีการแข่งขันที่เราได้เปรียบกว่าหลายๆ คนก็คงหนีไม่พ้นการนอนหลับได้สนิทไม่ว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นก็ตาม ที่สำคัญผมมีความสามารถพิเศษในการนอนหลับได้ตามปกติโดยไม่ต้องใช้อะไรช่วย และตื่นขึ้นมาเองตามธรรมชาติโดยไม่ต้องใช้นาฬิกาปลุกอีกด้วย

ถึงแม้ว่าสิ่งที่ผมพูดไป มันดูไม่ง่ายที่คุณจะทำได้เหมือนผม แต่อย่างไรเสียคุณก็ตามไม่ลืมว่าคุณต้องการการนอนที่มีคุณภาพดี ผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพทุกคนก็คงต้องการรักษาพลังงานและความชัดเจนในการตัดสินใจเรื่องที่ยากและวางแผนสำหรับอนาคต เพื่อที่จะสร้างฝันอันยิ่งใหญ่ในทุกๆ วัน

เรียบเรียงข้อมูลจาก Fast Company via Alizila

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ท่องเที่ยวไทยมีดี แต่ SME ยังไม่พร้อม ?

ธุรกิจท่องเที่ยวจะปรับตัวยังไง เมื่อเจอความท้าทายรุมล้อม ไม่ว่าจะเป็นการปรับใช้เทคโนโลยีในธุรกิจ การรับมือธุรกิจจีนที่เข้ามารุกตลาด และการสร้างบริการท่องเที่ยวให้ตอบโจทย์นักเดินทาง...

Responsive image

อินโดนีเซีย เปิดรับเทคโนโลยีอย่างไร เพื่อสร้างเศรษฐกิจยุคใหม่ ถอดบทเรียนจากงาน Bali International Airshow

อินโดนีเซีย กลายเป็นประเทศเนื้อหอมที่บิ๊กเทคฯ ต่างประเทศแห่เข้าไปลงทุนมากมาย ซึ่งหากนับแค่ช่วงครึ่งแรกของปี 2023 เพียงปีเดียวอินโดนีเซียสามารถสร้างมูลค่าถึง 34,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ...

Responsive image

รู้จัก “Phygital” การตลาดยุคใหม่แห่งอนาคต ผ่านเทคโนโลยี Immersive Experience ของ Translucia

Techsauce จึงอยากพาไปทำความรู้จักกับเทคโนโลยี ‘โลกเสมือน’ ผ่านหนึ่งในผู้เล่นคนสำคัญอย่าง Translucia บริษัทเทคโนโลยีที่พัฒนา Immersive Experience ซึ่งเป็นแนวคิดที่จะเปลี่ยนวิธีการเ...