เสวนา Smart City Development จับคู่ปัญหากับนักพัฒนาจากโครงการ depa accelerator 2019 | Techsauce

เสวนา Smart City Development จับคู่ปัญหากับนักพัฒนาจากโครงการ depa accelerator 2019

Smart City เป็นอีกหนึ่งโครงการระยะยาวที่ทาง สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) มุ่งมั่นที่จะพัฒนาให้เกิดขึ้นจริงโดยมีเป้าหมายสำคัญในการ “สร้างคุณภาพชีวิตของผู้คนให้ดีขึ้น” ร่วมกับการหา Solution จากหลากหลายด้านเพื่อเข้ามาช่วยขับเคลื่อนโครงการ Smart City ที่ตอบโจทย์ผู้คนได้อย่างเเท้จริง หนึ่งในภาคส่วนที่ทาง depa ให้ความสำคัญคือ การสนับสนุนภาคประชาชนผ่านตัวเเทนจังหวัด  และภาคเอกชนอย่าง Startup ผ่านโครงการ depa accelerator 2019 โดยคำนึงอยู่เสมอว่า การพัฒนาเมืองไม่สามารถทำได้เพียงภาคส่วนเดียวแต่ต้องร่วมมือกันระหว่างภาคประชาชนผู้อยู่ในพื้นที่  ภาครัฐ และภาคเอกชน 

ซึ่งช่วงเวลาของการค้นหา Solution ที่จะเข้ามาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้าง Smart City ของโครงการ depa accelerator 2019 ได้เปิดรับและคัดเลือกทีม Startup ที่ใช่ เพื่อมาร่วมโครงการเป็นที่เรียบร้อยเเล้ว 

ในตอนนี้ทางโครงการได้เข้าสู่ช่วงกิจกรรมที่มีในทุกอาทิตย์เพื่อเสริมความเเกร่งด้านความรู้ และเตรียมตัวสร้าง Solution พัฒนา Smart City ซึ่งทีม Techsauce ได้มีโอกาสเข้าไปร่วมกิจกรรมกับผู้เข้าเเข่งขันเพื่อตามติดข่าวการทำกิจกรรมของ depa accelerator 2019 และเก็บข้อมูลอัพเดทการพัฒนาเมืองในจังหวัดที่เข้าร่วมโครงการ Smart City มาอัพเดทให้ทุกคนได้รู้กัน รวมถึงแนวทางของ Startup จาก depa accelerator 2019 ซึ่งแต่ละทีมจะเข้าไปช่วยแต่ละจังหวัดอย่างไร?

Smart City  4 จังหวัด “ชลบุรี  ขอนเเก่น เชียงใหม่ ภูเก็ต” กับโจทย์ปัญหาที่ต้องการให้ Startup เข้ามาช่วยพัฒนา

จังหวัดชลบุรี 

เราเริ่มวางเเผนโครงการ Smart City ที่ครอบคลุมในหลายพื้นที่ของจังหวัดโดยสร้างความร่วมมือระหว่างเทศบาลและภาคเอกชน ตอนนี้วางผังเมืองเพื่อพัฒนา Smart City ในเขต EEC อย่าง บางแสน ศรีราชา พัทยา เรียบร้อยเเล้ว ซึ่งต่อไปเรากำลังวางผังของอีก 11 อำเภอในจังหวัดชลบุรีเพื่อเตรียมพัฒนาในแต่ละเขต โดยในวันที่ 29-30 เมษายน 2563 นี้ จะมีงานที่จัดเเสดง โดยเนื้อหาจะเกี่ยวกับว่าเราพัฒนา Smart City ของชลบุรีไปถึงไหนแล้ว ซึ่งเราเดินหน้าไปค่อนข้างเยอะพอสมควรในปัจจุบัน

ในจังหวัดชลบุรีมีโมเดลการพัฒนาเยอะมากรวมถึงงบที่พร้อมลงมือทำในด้าน Logistic “เรือ, รถ, ราง” ให้ถูกนำมาพัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุดแต่สิ่งที่ทางจังหวัดยังขาดคือ บุคลากรหรือ Startup ในการคิดแก้ปัญหา รวมถึงมาพัฒนาสิ่งเหล่านี้ได้จริง

จังหวัดเชียงใหม่

ตอนนี้เชียงใหม่เราได้เริ่มพัฒนาบริเวณพื้นที่เมือง เช่น บริเวณคูเมืองก่อน และกำลังค่อยๆ พัฒนาไปทีละส่วน แต่ด้วยวัฒนธรรมดั้งเดิมของคนพื้นเมือง เป็นอีกส่วนที่ทางเชียงใหม่ต้องการพัฒนาควบคู่กันไปด้วยการหันไปใช้เทคโนโลยีมาพัฒนาหรือปรับวิถีชีวิตเเบบเดิม เลยอาจยังไม่ตอบโจทย์ ดังนั้นการพัฒนาในรูปแบบของเชียงใหม่จึงค่อยๆ พัฒนาไปทีละนิด ไม่เร็วมากให้ตอบโจทย์ Culture ของคนเชียงใหม่ ดังนั้น ตอนนี้สิ่งที่กำลังทำคือ การพูดคุยกับภาคประชาชนถึงสิ่งที่ต้องการ เพื่อดำเนินการพัฒนาไปได้ถูกจุด

ปัจจุบันมีคนจากต่างจังหวัดรวมถึงนักท่องเที่ยวเข้ามาเยอะมาก ทำให้คนในเชียงใหม่ต้องการตอนนี้คือ ความปลอดภัย ที่ครอบคลุมมากพอรองรับนักท่องเที่ยวที่เข้ามาและคนที่อยู่ในจังหวัด เเละอีกส่วนที่เป็นปัญหาอยู่ในตอนนี้ คือ การจราจร เนื่องจากเมืองเชียงใหม่บริเวณคูเมืองซึ่งเป็นพื้นที่เก่า ถนนจะค่อนข้างเเคบทำให้เกิดรถติดจากปริมาณคนที่เข้ามามากขึ้น นอกจากนี้ยังมีปัญหาการจอดรถบริเวณถนนเส้นหลักในคูเมืองที่มีคนจอดรถทำให้รถติด, ปัญหาสิ่งเเวดล้อม ฝุ่น PM2.5, ชุมชนหลักในเมืองที่เป็นผู้สูงอายุ และเด็ก ต้องการการดูแลสุขภาพเป็นอีกเรื่องที่อยากเน้น

จังหวัดขอนเเก่น

การพัฒนาของขอนเเก่นเริ่มจากการรวมตัวของแต่ละภาคส่วนที่ต้องการพัฒนา Smart City จริง เเล้ววางแผนรูปแบบการพัฒนาออกมา ซึ่งตอนนี้เริ่มได้ผู้ร่วมทีมทั้งจากกลุ่มบริษัทในจังหวัด ภาคการศึกษาจากมหาวิทยาลัย ซึ่งเราเริ่มพัฒนาจากการขนส่ง ตอนนี้เรามี Smart Bus ที่ได้ทำเเล้วเเละกำลังพัฒนาและปรับปรุงข้อเสียให้ตอบโจทย์มากขึ้น 

นอกจากนี้ยังมีโปรเจคใหม่ที่แต่เดิมเคยเป็นงานของภาครัฐอย่างรถไฟฟ้าที่กำลังจะยื่นแผนงาน หากไม่ติดปัญหาอะไรในปีหน้าอาจได้ดำเนินการอย่างจริงจัง อีกด้านที่กำลังดำเนินการคือเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพ ซึ่งทางโรงพยาบาลขอนเเก่นอยากเก็บข้อมูลสุขภาพบุคคลเพื่อนำข้อมูลมาสร้างสุขภาวะที่ดีในคนขอนเเก่น จึงอยากได้ Solution ด้านสุขภาพด้วย อีกส่วนที่อยากดำเนินการคือ สถานที่รองรับการท่องเที่ยวและการจัดประชุม เป็นส่วนที่ยังไม่พัฒนามากนัก ทางจังหวัดจึงกำลังผลักดันเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน

ทางขอนเเก่นเองตอนนี้ปัญหาเรื่องการพัฒนาในแต่ละด้านยังต้องการ Startup ที่มี Solution เข้ามาร่วมกันอยู่เสมอ เเต่ปัญหาหลักๆ อาจเป็นระบบการทำงานเเต่ละภาคส่วนของภาครัฐที่ต้องใช้เวลาและการทำงานร่วมกับชุมชนเเต่ละพื้นที่ที่เเตกต่างกัน ซึ่งกว่าจะคุยกันเเต่ละครั้งเพื่อพัฒนาบางอย่างต้องใช้เวลานานมาก

จังหวัดภูเก็ต 

ในตอนนี้สิ่งที่ทางเรากำลังมุ่งเน้นคือ การยกระดับการขนส่งสาธารณะของจังหวัด ซึ่งปัจจุบันไม่ค่อยมี ทำให้ทางเลือกการขนส่งมีเเค่ Taxi ที่ต้องเหมา หรือการเช่ารถ ทำให้เวลาเดินทางต้องมีค่าใช้จ่ายสูง 

ในอีกทางคือในด้านของความปลอดภัยที่อยากหา Solution มาช่วยตำรวจหรือหน่วยงานด้านความปลอดภัยเพราะไม่ใช่เเค่ในเมืองแต่อาจครอบคลุมถึงทางน้ำ เนื่องจากวิถีชีวิตของคนจะเกี่ยวข้องกับทางน้ำค่อนข้างเยอะ  

และอีกด้านที่กำลังมุ่งเน้นคือ ด้านพลังงานเพราะภูเก็ตเองเป็นเกาะ แต่หลังๆมา มีคนเข้ามาท่องเที่ยวและทำธุรกิจมากขึ้น ทำให้พลังงานมีไม่เพียงพอ สุดท้ายคือ ในด้านการท่องเที่ยว ซึ่งปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวเยอะแต่ไม่มี Solution ที่เข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกให้นักท่องเที่ยว หากพูดถึงบริบทเมืองค่อนข้างมีหลายเรื่องที่อยากแก้ไขและพัฒนา แต่เอาในตอนนี้เรื่องที่อยากให้เข้ามาช่วยมากสุดคงต้องเป็นเรื่อง การขนส่ง

เเลกเปลี่ยนมุมมอง Smart City กับตัวเเทนภาคเอกชน 'siri ventures' สู่การพัฒนาร่วมกับการตอบโจทย์ภาคธุรกิจ

นอกจากการได้พูดคุยเกี่ยวกับปัญหาที่ทั้ง 4 ตัวเเทนจังหวัดได้มาเล่าให้เหล่า Startup ฟังทางโครงการยังมี siri ventures ตัวเเทนของภาคเอกชนที่ได้เข้ามาเเลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับการพัฒนาที่อยู่อาศัยในส่วนของ Digital Solution ที่เข้ามาตอบโจทย์ Smart Living ของคนกรุงเทพ ซึ่ง siri ventures มีแกนหลักที่อยากพัฒนา  การลงทุนในด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์คุณภาพชีวิตของคน อาทิ ในด้านของการก่อสร้างที่มีประสิทธิภาพ, ในด้านการดูแลสุขภาพของผู้อยู่อาศัย จึงได้เลือกเข้าร่วมกับโครงการ depa Accelerator ที่มีเเกนที่ต้องการพัฒนาอย่าง Smart City ซึ่งเป็นเเกนที่ทาง siri ventures ได้มองว่าเป็นโอกาสสำคัญในการได้โซลูชั่นใหม่ๆ จาก Startup ของโครงการ

หลังจากรับฟังเสียงตัวเเทนจาก 4 จังหวัดแล้วก็ถึงเวลาที่เหล่า Startup จากโครงการ depa Accelerator 2019 จะนำโจทย์สำคัญจากข้อมูลที่ได้ฟังของเเต่ละจังหวัดมาคิดต่อว่า Solution ที่แต่ละทีมมีจะตรงกับปัญหาของจังหวัดไหนหรือสามารถนำมาใช้ในการพัฒนางานของตนได้หรือไม่ มาดูกันว่าเเต่ละทีมมีไอเดียที่น่าสนใจอย่างไรบ้าง

Solution จากเหล่า Startup ของ depa Accelerator 2019

1.Alarmi

Solution สร้างความปลอดภัยจากเหตุเพลิงไหม้ด้วยเครื่องเเจ้งเตือนเหตุไฟไหม้ที่สามารถเเจ้งเตือนเข้าไปที่สถานีปลายทางที่ตั้งไว้ เช่น สถานีดับเพลิง สถานีตำรวจ โดยสถานีดับเพลิงสามารถติดตามสถานการณ์ในสถานที่เกิดเพลิงไหม้ผ่าน Application ซึ่งจะระบุข้อมูลไว้ว่า 1.สถานที่เกิดเหตุอยู่ที่ไหน 2. ไฟไหม้ไปกี่นาทีเเล้ว 3.ไฟไหม้ไปแล้วกี่เปอร์เซ็นในอาคารนั้น 4.ต้นเพลิงอยู่บริเวณไหน 5. สามารถระบุจุดต้นเหตุเพลิงไหม้ว่าอยู่บริเวณไหน นอกจากการติดตามสถานการณ์โดยสถานีดับเพลิงเเล้วเจ้าของสถานที่ที่ติดตั้งเครื่องเเจ้งเตือนสามารถดูได้ว่า ตอนนี้รถดับเพลิงกำลังมาที่เกิดเหตุเเล้วหรือยังผ่าน Application 

2.Bitkub

การเชื่อมโยงโลกการเงินด้วย Blockchain และ Cryptocurrency ที่มีเป้าหมายในการเข้ามาพัฒนาในด้านการท่องเที่ยวที่เป็นรายได้หลักของประเทศ การย้ายสิ่งที่มีมูลค่าให้กลายเป็น Tokenization รวมถึงการสร้างความปลอดภัยในด้าน Data ให้มีความ Security  หากมองในมุมของการเเลกเปลี่ยนเงินระหว่างประเทศที่ต้องใช้เวลานาน เเละค่าเงินที่ปรับอยู่ตลอดเวลาอาจเป็นอุปสรรคหนึ่งของชาวต่างชาติในการเข้ามาเที่ยวในไทยโดยเฉพาะเวลาจ่ายเงินค่าสินค้าต่างๆ หากเปลี่ยนเป็น Token ที่สามารถเเลกเปลี่ยนผ่าน App ได้เลยและสามารถใช้จ่ายในร้านค้าที่เข้าร่วมก็จะอำนวยความสะดวกมากขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถเเลกเปลี่ยนจาก Token เป็นอสังหาริมทรัพย์ หรือสินทรัพย์อื่นๆ ได้

3.Creative power

Solution ด้านการใช้พลังงานโดยการสร้างอุปกรณ์ e-trix@Larm ที่สามารถป้องกันเหตุร้ายที่เกิดจากไฟฟ้าลัดวงจรด้วยคุณสมบัติที่เฝ้าระวังและตรวจสอบอันตรายทุกรูปแบบในระบบไฟฟ้า 5,760 ครั้งต่อวัน สามารถเเจ้งเตือนเหตุการณ์ผิดปกติทุกประเภทผ่าน Email, Line message, SMS และเก็บข้อมูลการใช้ไฟฟ้าและความผิดปกติไว้ใช้ตรวจสอบภายหลังได้ 12 เดือน นอกจากนี้ยังสามารถกำหนดเป้าหมายการใช้พลังงานในแต่ละเดือนได้ 

4.ENRES

การนำคุณสมบัติของ AI, Big Data, IoT มาใช้ออกเเบบระบบจัดการข้อมูลซึ่งจะทำร่วมกับการออกเเบบพื้นที่ให้ครอบคลุมเพื่อแก้ไขปัญหาภายในอาคาร เรื่อง ระบบไฟฟ้า น้ำ อากาศ และพลังงานไฟฟ้า โดยระบบนี้จะทำงานเเบบเรียลไทม์ ทำให้สามารถควบคุมระบบต่างๆ ในพื้นที่ได้ค่อนข้างดี

5.Haupcar

Solution ที่ตอบโจทย์การเดินทางของคนยุคใหม่ที่ไม่มีรถส่วนตัวด้วยเทคโนโลยีจาก HAUPTECH บริการ เช่า และแชร์รถยนต์ ผ่านระบบ application ที่สามารถเช็คจุดการให้บริการ การจอง รวมถึงคำนวนราคาตามช่วงเวลาการใช้งาน

6.Hisobus

Solution ที่เข้าใจการเดินทางของคนกลุ่มใหญ่และต้องการความปลอดภัยด้วยการคัดกรองรถบัสที่น่าเชื่อถือ   ซึ่ง Hisobus เกิดจากคนรุ่นใหม่ที่ต้องการยกระดับอุตสาหกรรมรถบัสและรถตู้ด้วยเทคโนโลยี รวมถึงสร้างความสะดวกด้วยการจองผ่านระบบ

7.IoT HUB

Solution การบริหารจัดการพลังงานในอาคารที่สามารถดูการใช้พลังงานเเบบเรียลไทม์ที่สามารถใช้การสั่งงานเปิด ปิด ได้ด้วยตัวระบบที่สามารถคำนวนความคุ้มค่าของการใช้ไฟและยังสามารถป้องกันไฟดับ ซึ่งปัจจุบันมีการร่วมมือกับทางโรงพยาบาลในการนำไปใช้ ซึ่งทางทีมจะดูเเลให้ทั้งซอร์ฟแวร์และฮาร์ดแวร์ ซึ่งในอนาคตหากมีการติดตั้งเยอะ จะสามารถเชื่อมโยงข้อมูลได้หลายภาคส่วน

8.Jordsabuy

เป็น Solution ตัวกลางเกี่ยวกับการจองพื้นที่จอดรถที่สามารถเปิดพื้นที่ที่มีให้เช่าเพื่อจอดรถผ่าน Platform ได้ สามารถสร้างรายได้ ตอบโจทย์วิถีชีวิตคนเมือง เเละช่วยให้คนที่กำลังหาพื้นที่จอดรถสามารถเข้ามาค้นหาที่จอดรถบริเวณที่ต้องการได้ ปัจจุบันสามารถใช้งานผ่าน Application ได้โดยสามารถจัดการเปิด ปิด พื้นที่จอดรถได้โดยควบคุมผ่านออนไลน์

9. Kochii

Platform การสอนทักษะความรู้ดิจิทัลด้าน E-Sport ออนไลน์ที่มีเป้าหมายในการส่งเสริมอาชีพที่เกี่ยวกับ E-Sport ในประเทศไทยเพื่อให้สามารถนำทักษะความรู้ที่ได้มาสร้างอาชีพในอนาคตโดยทีมอยากสร้าง Hub ของ E-Sport ในพื้นที่หนึ่งเพื่อพัฒนาทักษะในด้านนี้

10.Loops

ตอบโจทย์ปัญหาการสัญจรสาธารณะด้วยรถตู้ที่สามารถรับส่งในช่วงมีงาน Event ต่างๆ ในแต่ละพื้นที่โดยสามารถสร้างเส้นทางใหม่ๆ ตามความต้องการในเวลานั้นจากบ้านสู่ปลายทางที่ต้องการ ปรับ เสริม จำนวนรถด้วยระบบการจองที่จะประเมินสถานการณ์ความต้องการของลูกค้าได้ผ่านการเก็บ Data แล้วนำมาวิเคราะห์สร้างเส้นทางให้ตอบโจทย์พื้นที่นั้น

11.Memeal

Startup ของเหล่าคนรักอาหารสุขภาพโดยคุณหมอ นักโภชนาการ โปรเเกรมเมอร์ที่ใช้ความรู้ด้านอาหารสุขภาพร่วมกับเทคโนโลยีที่สามารถให้ความรู้ด้านสุขภาพพร้อมเเนะนำด้านการกินอย่างถูกจุดของเเต่ละบุคคลผ่าน Application ระบบวิเคราะห์อาหาร โดยเริ่มจากการวิเคราะห์สุขภาพของแต่ละบุคคล แนะนำอาหารที่เหมาะสม และสามารถบอกได้ว่า วันนี้กินอะไรไปเท่าไหร่ แล้วสุดท้ายในแต่ละสัปดาห์จะมีการวิเคราะห์ให้ว่า สุขภาพเป็นอย่างไร มีสารอาหารที่ขาดหรือเกินหรือไม่ นอกจากนี้ยังมีระบบ Nutrition ที่จะสามารถ consult เพิ่มเติมเกี่ยวกับอาหารเฉพาะโรคโดยมีเป้าหมายในการตอบโจทย์กลุ่มผู้สูงอายุและผู้ป่วยในโรงพยาบาล ซึ่งโฟกัสไปที่โรค NCDs (เบาหวาน ความดันไขมัน และคนที่มีน้ำตาลในเลือดสูง) 

12.Moovby

Startup ที่ตอบโจทย์การเดินทางด้วยบริการเช่ารถที่สามารถสร้างรายได้ให้เจ้าของรถที่ลงทะเบียนผ่านเเพลตฟอร์มนี้ ซึ่งเป้าหมายที่ทาง Moovby อยากทำคือการเข้าร่วมเป็น Partner กับทุกเมืองรวมถึงในด้านการท่องเที่ยว เพื่อให้บริการเช่ารถ เเชร์รถที่ตอบโจทย์เหล่านักเดินทาง

13.Refun

Solution จัดการขยะที่สามารถรับซื้อขยะผ่าน 3 Produce ซึ่งขยะเหล่านี้จะถูกนำมา Recycle ดังนี้

1. ตู้ Refun (Refund Machine) ติดตั้งแล้วใน กทม. และระยอง เอาขยะที่สามารถ recycle ได้มาหยอดตู้ สะสมแต้มแล้วนำไปแลกของรางวัล 

2.Refun bank แอพพลิเคชั่นธนาคารขยะ  เอาไว้จัดการขยะภายในร.พ. ร.ร. และชุมชน

3.Refun me, Refun man เป็นการจับคู่คนที่ต้องการขาย กับ คนที่อยากจะซื้อขยะโดย Application นี้ที่ใช้เรียกคนที่มารับซื้อขยะ มีการเก็บ data ในการขายขยะแต่ละหน่วยนั้น ๆ 

14.Smart Travel Global

Startup ตอบโจทย์งาน Event ที่จัดทำระบบตั๋วสำหรับสถานที่ท่องเที่ยวงาน event และ activity เพื่อแก้ไขปัญหาช่องทางในการซื้อที่หลากหลายด้วยจุดเเข็งที่สามารถสร้างระบบเดียวทั้งหมดแบบ Real time สามารถยืนยันการจองได้ทันทีนอกจากมีระบบการจองแล้ว ยังมีระบบการออกตั๋วเป็น digital ticket สามารถ check ได้ว่า ตลาดไหนเข้ามาใช้เยอะ ข้อมูลผู้เข้าใช้ ช่วงเวลา สถานที่ไหนเป็นที่นิยม ซึ่งสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปปรับใช้ เพื่อปรับปรุงสถานที่ท่องเที่ยวนั้นๆ ได้ 

15.TIE Smart Solutions

Solution ประหยัดพลังงานด้วยการจัดการพื้นที่โดยเอาข้อมูลในอาคาร มารวบรวมแล้ววินิจฉัยหาข้อผิดพลาดต่าง ๆ ภายในอาคาร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องปรับอากาศให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เมื่อเพิ่มประสิทธิภาพแล้ว ค่าไฟก็จะลดลง แล้วเราก็สามารถนำระบบนี้ไปใช้กับระบบอื่นได้ด้วย เช่น เครื่องจักรในโรงงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องจักร 

16.Trash Lucky

Startup ที่มุ่งการเเก้ปัญหาขยะพลาสติกผ่านโครงการขยะ Recycle ลุ้นโชค ด้วยพฤติกรรมของคนไทยที่ชื่นชอบการลุ้นโชคจึงนำข้อดีส่วนนี้มาใช้ในด้านลดการผลิตขยะพลาสติก โดยโครงการนี้คนจากทางบ้านสามารถสมัครเข้ามาร่วมกับทางโครงการให้ไปรับขยะพลาสติกมาให้ทางโครงการ โดยผู้เข้าร่วมจะได้แต้มสะสมไว้ในการนำมาลุ้นรางวัลซึ่งจำนวนเเต้มขึ้นอยู่กับปริมาณขยะ การจับรางวัลแต่ละครั้งจะทำการจับรางวัลใครมีเเต้มมากก็มีสิทธิมาก ปัจจุบันได้ร่วมมือกับเมืองกรุงเทพมาสักระยะและผลตอบรับค่อนข้างดีซึ่งสามารถลดปริมาณขยะได้ในระดับหนึ่ง

17. Verily vision

ด้วยเเนวคิดลดปัญหาคอขวดของระบบ Logistic ด้วยเทคโนโลยี AI ที่สามารถทำงานลดปัญหาคอขวดของระบบในท่าเรือผ่านระบบอัตโนมัติทั้งหมดและสามารถเก็บ Data base ในเเต่ละครั้งของการเข้ามาใช้งานเพื่อนำมาวิเคราะห์และพัฒนาในเเต่ละครั้งได้ สามารถลดเวลาเเต่ละครั้งได้มากขึ้น

18. Via Bus

Solution ตอบโจทย์การขนส่งสาธารณะสร้างความสะดวกแก่ผู้ใช้รถขนส่งสาธารณะผ่านเทคโนโลยีที่รายงานสถานการณ์ตำแหน่งของรถโดยสารเเบบเรียลไทม์ รวมถึงรายละเอียดที่สร้างความสะดวกเเก่ผู้ใช้งานผ่าน Application ทำให้เราสามารถกำหนดเวลาเดินทางรวมถึงตำเเหน่งรถว่าเราควรไปรอรถช่วงเวลาไหน นอกจากนี้การติดตามรถยังครอบคลุมถึงการบริหารหลังบ้านให้กลุ่มบริษัทด้วย

19. Wisesight

ทีมผู้นำการวิเคราะห์ Big Data มาใช้ในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้เเบรนด์และธุรกิจในด้านต่างๆ โดยการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยให้ประสิทธิภาพการเข้าถึงผู้บริโภคตอบโจทย์ความต้องการของตลาดได้อย่างตรงจุด ด้วย ฺBig Data จากพฤติกรรมการใช้งานโซเชียลมีเดีย อาทิ Facebook, Twitter, Instagram, YouTube, Pantip และเว็บไซต์ข่าวต่างๆในยุคปัจจุบัน

20. Sharmble

Startup ด้านการเเพทย์ที่สร้าง Solution ตอบโจทย์การติดตามกลุ่มอาการป่วยเรื้อรัง โดยเเพทย์ผู้เชี่ยวชาญบน Platform ออนไลน์ที่เชื่อมต่อผู้ป่วยและทีมเเพทย์ผ่านเทคโนโลยีสร้างสะดวกและลดเวลาการเดินทางสำหรับผู้ป่วยโดยที่ผู้ป่วยไม่ต้องเดินทางไปถึงโรงพยาบาลแต่สามารถได้รับการตรวจและพูดคุยกับเเพทย์ผ่าน Platform Sharmble นอกจากนี้บน Platform ยังเป็นเหมือนตัวช่วยบุคลากรทางการเเพทย์ที่มีเครื่องมือให้เเพทย์สามารถใช้ประกอบการออกเอกสารประกอบผลการรักษาได้

เรียกได้ว่าพอแต่ละทีมได้ฟังปัญหาที่เปรียบเหมือนโจทย์หลักของการลงไปทำจริงใน 4 จังหวัดแต่ละทีมคงได้ไอเดียนำไปใช้ปรับหรือพัฒนาเเนวคิดของงานให้ตอบโจทย์ความต้องการมากขึ้น โดยเหล่า Startup จากโครงการ depa Accelerator 2019 จะได้นำ Solution ของตนไปใช้อย่างจริงจัง  การนำเสนอผลงานของเเต่ละทีมเรียกได้ว่าน่าสนใจสำหรับตัวเเทนทั้ง 4 จังหวัดเพราะต่างมีข้อดีและจุดเเข็งของงานที่สามารถนำไปใช้ได้หลายภาคส่วน 

สุดท้ายเเล้ว Startup ทีมใดจะถูกเลือกและตอบโจทย์ปัญหาในจังหวัดใดคงต้องมารอลุ้นกันต่อในรอบ Online Demo Day ที่จะจัดขึ้นในวันศุกร์ที่ 24 กรกฎาคม 2563 เวลา 13.00 - 16.30 น. โดยงานนี้เราเปิดให้คนที่สนใจสามารถเข้ามาฟังการนำเสนอผลงานรอบตัดสินแแบบออนไลน์มาลุ้นกันว่าทีมใดจะเป็น The Winner ของโครงการ depa Accelerator 2019 อย่าลืมมาร่วมให้กำลังใจเเต่ละทีมกันนะ!

ลงทะเบียนเข้าร่วมงานฟรีได้ที่ https://www.hubbathailand.com/depa-accelerator พร้อมลุ้นรับของรางวัลสุดพิเศษระหว่างเข้าร่วมกิจกรรมในงานนี้ อย่ารอช้ากดเข้ามาลงทะเบียนร่วมงานฟรีได้ที่นี่เลย!

**ทีมงานจะส่งลิงค์เข้าร่วมดูการนำเสนอและกิจกรรม Online Networking ก่อนเวลาเริ่มงาน 1 ชั่วโมง

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘Yindee’ แชตบอตในแอป ttb Touch ใช้ Gen AI จับความรู้สึก ตอบเร็วและฉลาดกว่าที่เคย

Yindee แชตบอตที่อยู่บน Mobile Banking ของ ttb ทำงานผ่านแอป ttb Touch สามารถจับ Mood & Tone ของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ ว่าขณะแชตนั้น ลูกค้าอยู่ในอารมณ์ไหน ด้วย Generative AI โดย Azur...

Responsive image

คนอยากใช้พลังงานเยอะ แต่โลกอยากได้ปล่อยคาร์บอนน้อย บริษัทพลังงานแก้ไขความย้อนแย้งนี้อย่างไรดีในยุค AI

The Energy/Prosperity Paradox หรือภาวะย้อนแย้งแห่งพลังงาน และความเจริญ ถือเป็นความท้าทายระดับโลกที่บริษัทด้านพลังงานกำลังพบเจอ เพราะในตอนนี้โลกกำลังต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างไม่เ...

Responsive image

เศรษฐกิจไทย ‘ฟื้นตัว’ แล้วหรือยัง ? ฟังความเห็นจาก 3 ผู้นำธุรกิจยักษ์ใหญ่ไทย

ค้นพบศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงไทย จีน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม และกัมพูชา พร้อมโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจในภาคอุตสาหกรรม การเงิน และเทคโนโลยี...