กรณ์ จาติกวณิช : ความเชื่อมั่นในระบบ Digital Payment คือปัจจัยหลักสำคัญที่นำไปสู่การเติบโตของ E-commerce | Techsauce

กรณ์ จาติกวณิช : ความเชื่อมั่นในระบบ Digital Payment คือปัจจัยหลักสำคัญที่นำไปสู่การเติบโตของ E-commerce

ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคสำคัญที่สุดต่อของการเติบโตของ E-commerce ในประเทศไทยคือ ความขาดความเชื่อมั่นในระบบ Digital payment ของผู้บริโภคซึ่งนายกรณ์ จาติกวณิช อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เชื่อว่า ระบบ PromptPay หรือบริการตัวใหม่ ของรัฐบาล สำหรับการบริการโอนเงินและรับเงินออนไลน์ จะสามารถเข้ามาแก้ไขปัญหานี้ได้

eIQ-Logo-final

“หนึ่งในอุปสรรคที่ใหญ่ที่สุดของ E-commerce ในประเทศไทย คือความไม่ใว้ใจในระบบการจ่ายเงินแบบดิจิตัล” นาย กรณ์ จาติกวณิช ได้ให้สัมภาษณ์ไว้กับ ecommerceIQ เว็บไซต์แหล่งรวมข่าวสาร และ งานวิจัย เกี่ยวกับ ecommerce ในแถบ Southeast Asia

จากงานวิจัยของ Google และ Investment firm Temasek พบว่ามูลค่าตลาด ecommerce ของประเทศไทย มีมูลค่าสูงถึง 0.9 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2015 และมีแนวโน้มว่าจะเติบโตขึ้นถึง 33% ในปีนี้ นอกจากนี้บริษัท ACI ผู้นำในเรื่อง Realtime Electronic Payment และ ให้คำปรึกษากับธนาคาร ยังมีงานวิจัยที่ชี้ให้เห็นว่า มีคนเพียง 17% เชื่อว่าการจ่ายเงินกับ Mobile commerce นั้นปลอดภัยจากการโกงและมิจฉาชีพ และเพียง 12%  เท่านั้นที่เชื่อมั่นในการจ่ายเงินในการซื้อขายของออนไลน์ผ่านธุรกิจ E-commerce

อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งของ Thai FinTech Association นายกรณ์ จาติกวณิช เชื่อว่า PromptPay จะสามารถเข้าถึงกลุ่มคนที่ไม่มีบัญชีธนาคาร และชักนำเข้าสู่โลกของ Digital payment ได้ และเมื่อพวกเขาเริ่มชินและคุ้นเคยกับมันมากขึ้น E-commerce ก็จะเติบโตตามไปด้วย

PromptPay ในเบื้องต้นจะช่วยทำให้การโอนเงินออนไลน์เป็นไปได้อย่างปลอดภัย และจะช่วยสร้างความไว้วางใจในระบบการชำระเงินแบบดิจิตัลให้กับผู้ประกอบการธุรกิจออนไลน์เช่น ร้านค้าบน Facebook หรือ Instagram และลูกค้าเป็นอย่างมาก ซึ่งจะช่วยในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคให้ค่อยๆ หันมาซื้อของออนไลน์มากขึ้น เนื่องจากความคุ้นชินและความเชื่อมั่นในความปลอดภัยของระบบที่มากขึ้น

Khun-Korn-Chatikavanij-on-PromtPay.jpg

นายกรณ์ จาติกวณิชยังได้กล่าวอีกว่า “ระบบการชำระเงินคือหัวใจหลักสำคัญ”

“ในตอนที่ผมประกอบธุรกิจขายข้าว ผ่าน E-commerce ทุกๆ อย่างเป็นไปด้วยความยากลำบาก ระบบขนส่งแบบ Physical goods มีความท้าทายอย่างมาก ณ ตอนนั้น เรามีธุรกิจทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ซึ่งถือว่าประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง ข้อมูลของสินค้าอยู่บนออนไลน์ รวมถึงการซื้อขายเช่นเดียวกัน แต่การส่งสินค้าจะเป็นออฟไลน์ ซึ่งเราจะต้องสร้างจุดรับสินค้าในสถานที่ที่ลูกค้าสะดวกสบายที่สุด เราสามารถสร้างระบบของการรับสินค้าที่ไม่ต้องมีเรื่องของเอกสารที่วุ่นวายได้ ทำให้ปัญหาการระบบขนส่งเป็นไปได้ง่ายดายขึ้น แต่ถึงกระนั้นปัญหาเรื่องการชำระเงินยังคงเป็นสิ่งที่ต้องแก้ไขต่อไป”

“ทุกวันนี้ การจ่ายเงิน ยังคงเป็นปัญหาสำคัญสำหรับลูกค้าออนไลน์ เพราะระบบการชำระเงินยังไม่เป็นระบบออโต้เสียทีเดียว โดยการทำธุรกรรมทางการเงินของผู้บริโภคนั้นยังคงเกิดขึ้นในตามสถานที่ออฟไลน์ เช่นร้าน 7/11 และเมื่อไหร่ที่ผู้คนคุ้นชินกับการจ่ายเงินดิจิตัลมากขึ้น ธุรกิจ E-commerce จะพัฒนาได้อย่างมีนัยยะ และทำให้ E-commerce เป็นทางเลือกที่สำคัญมากยิ่งขึ้น”

ข้อมูลอ้างอิงจาก World Bank บอกว่า 80% ประชากรที่บรรลุนิติภาวะแล้วในประเทศไทย มีบัญชีธนาคาร แต่น้อยกว่า 10% ใช้บัญชีเพื่อการรับค่าจ้าง และทำธุรกรรมการเงินให้กับรัฐบาล และน้อยไปกว่านั้นใช้บริการชำระเงินออนไลน์

นายกรณ์ จาติกวณิช เชื่อว่า FinTech จะเป็นทางออกสำหรับการเพิ่มฐานลูกค้าที่จะใช้บริการทางการเงินได้

“เมื่อการจ่ายเงินแบบดิจิตัลกลายเป็นพฤติกรรมประจำวันของคนทั่วไปนั้น การซื้อขายสินค้าผ่าน ecommerce ก็จะเป็นสิ่งที่ทุกคนหันมาใช้เช่นเดียวกัน” นายกรณ์ จาติกวณิชได้พูดไว้

งานวิจัยล่าสุดของ Moody’s Analytics พบว่า เศรษฐกิจในประเทศไทยเติบโตสูงสุดในแถบ Southeast Asia จากการเติบโตของ Electronic payments ซึ่งการใช้จ่ายของบัตรธนาคาร ในระดับมูลค่าสูง คิดเป็น 0.19% หรือ 3.18 พันล้านเหรียญสหรัฐ ของ GDP ประเทศไทยช่วงเวลาปี 2011 – 2015

PromptPay บริการใหม่ของรัฐบาลไทย คาดว่าจะสามารถดำเนินการได้สำเร็จใน เดือนตุลาคมนี้ และจะทำให้การชำระเงินระหว่างบุคคล สามารถทำได้ด้วย เลขโทรศัพท์มือถือ หรือ เลขประจำตัวประชาชนแทน เลขบัญชีธนาคาร ซึ่งรายละเอียดอื่นๆ จะเพิ่มเติมมาทีหลัง

ในช่วงที่ PromptPay กำลังเปิดให้ลงทะเบียนอยู่นั้น ก็ยังมีเสียงวิตกกังวลจากผู้คนในเรื่องของความปลอดภัยของระบบนี้เช่นเดียวกัน

นาย กรณ์ จาติกวณิช ตระหนักดีถึง ผู้คนที่กำลังกังวลว่า สถาบันการเงิน หรือ รัฐบาล จะนำข้อมูลส่วนตัวไปใช้ แต่ถึงกระนั้น เขาชี้ให้เห็นถึงข้อเท็จจริงที่ว่า ไม่ว่าระบบใหม่นี้จะเป็นอย่างไร สถาบันการเงิน หรือ รัฐบาล ก็สามารถเข้าถึงข้อมูลเหล่านั้นได้เหมือนกัน

“ในระบบมีความเสี่ยงบางอย่าง ที่ต้องจัดการแก้ไข แต่ถ้าจะให้พูดโดยรวมแล้ว การจัดการระบบแบบนี้ไม่ได้ต่างอะไรกับระบบที่เราใช้กับ Internet banking ที่มีอยู่ทุกวันนี้ ซึ่งนั่นก็คือการให้ความสำคัญกับการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลนั่นเอง” กล่าวโดย นาย กรณ์ จาติกวณิช

บทสัมภาษณ์นี้มาจากทีมงาน ecommerceIQ

eIQ-short-Logo-final

About ecommerceIQ

ecommerceIQ is a research initiative formed out of aCommerce, one of Southeast Asia’s leading ecommerce solutions providers whose clients include L’Oreal, Hewlett-Packard, Samsung, Nestle, Lazada, MatahariMall, LINE and other global brands and retailers. We are dedicated to providing objective insights and data to help businesses investigating or already operating in the region address the most critical challenges and identify the best opportunities when growing online. While ecommerce is relatively fresh in Southeast Asia, we have the advantage of working closely with the actual operators, not external consultants, that  empower our work with data driven and expert learnings, consolidated from the top brands and suppliers across the region. ecommerceIQ produces sector and customized reports, clinics and conferences, a weekly Ecommerce in Southeast Asia brief and a news portal. Skip the learning curve with us.

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เปิดกลยุทธ์ธุรกิจยุคใหม่ พลิกข้อมูล สู่ขุมทรัพย์ด้วย analyticX ด้วยพลัง Telco Data Insights และ GenAI

ยุคนี้ใคร ๆ ก็พูดถึง Data แต่จะใช้ Data อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่างหากคือกุญแจสำคัญ! ในสัมมนาสุดเอ็กซ์คลูซีฟ "Unlocking Data-Driven Decisions with Telecom Data Insights" ที่จั...

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...