ทอมมี่ เหลียง ประธานบริษัท Schneider Electric ประจำภาคพื้นเอเชียตะวันออกและญี่ปุ่น ที่หลายคนรู้จักกันในโซลูชั่นด้าน Digital Transformation สำหรับการจัดการพลังงาน และระบบ Automation ตั้งแต่ บ้าน อาคาร Data Center ระบบโครงสร้างพื้นฐาน และอุตสาหกรรมต่างๆ ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นถึงการพัฒนาทักษะบุคลากรในยุคดิจิทัลผ่านกรณีศึกษาของบริษัท Schneider Electric เอง
Digital Transformation ถูกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี เช่น Cloud, ปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence หรือ AI) และ IoT สำหรับอุตสาหกรรม (IIoT) ซึ่งหลายอุตสาหกรรมต่างค่อยๆ ทยอยกันปฏิรูปสู่ดิจิทัล นอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลงรูปแบบธุรกิจในปัจจุบัน สิ่งจำเป็นสำหรับธุรกิจคือต้องแน่ใจด้วยว่าบุคลากรจะต้องได้รับการ "ปฏิรูปทางดิจิทัล" ด้วยเช่นกัน ดังนั้นผู้ที่สามารถปรับใช้เทคโนโลยีได้ดีหรือผู้ที่ก้าวทันโลก จะมีความสามารถนำโอกาสที่เกิดในยุค IoT มาใช้กับการทำงานเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
แม้ว่าบริษัทมากมายต่างตระหนักดีถึงความสำคัญของการปรับโฉมให้กับคนทำงาน แต่ก็ยังคงมีช่องว่างในเรื่องของทักษะอยู่มาก จากรายงานของ Accenture ระบุว่า 40 เปอร์เซ็นต์ของนายจ้างพูดถึงการขาดแคลน Talent และตัวเลขนี้จะเพิ่มขึ้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ ในภาพรวมของเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว บริษัทต่างๆ จำเป็นต้องดูแลและสร้างคนทำงานที่พร้อมสำหรับอนาคต ด้วยการลงทุนเรื่องของการฝึกอบรม เพิ่มทักษะให้กับพนักงานและส่งเสริมวัฒนธรรมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องในระยะยาว
ตัวอย่างเช่น ชไนเดอร์ อิเล็คทริคให้โอกาสกับพนักงานในการฝึกอบรมต่างออฟฟิศ เพื่อให้ได้ทักษะที่แตกต่างรวมถึงมีมุมมองใหม่ๆ ซึ่งมีส่วนช่วยเร่งให้เกิดความก้าวหน้าในสายอาชีพ พร้อมส่งเสริมการเติบโตทางธุรกิจ ผู้นำธุรกิจในปัจจุบันต้องทำมากกว่าการพัฒนาทักษะด้าน Hard Skill โดยการเพิ่มทักษะ Soft Skill เช่น การแก้ปัญหาและ Critical Thinking
บริษัทฯ ยังมีอีกบทบาทสำคัญในการดูแลผู้ที่มีความสามารถพิเศษก่อนเข้าสู่การทำงาน ด้วยการเข้าไปมีส่วนร่วมกับสถาบันการศึกษาต่างๆ ซึ่งอาจรวมถึงความร่วมมือกับทางมหาวิทยาลัย เพื่อให้นักเรียนมีทักษะด้านเทคนิคจากโปรแกรมฝึกงานและการฝึกอบรมในที่ทำงาน รวมถึงการจัดแข่งขันนำเสนอแผนธุรกิจในการทำงานจริง
คนทำงานที่มีความพร้อมในการใช้ประโยชน์จาก IoT จะมีอนาคตไกล เพื่อพิสูจน์ว่าบริษัทไปได้ดีในยุคดิจิทัล การเปลี่ยนธุรกิจสู่ดิจิทัลจะปูทางไปสู่การหลอมรวมข้อมูลจากการวางแผนและการดำเนินการจริงเข้าด้วยกัน เพื่อการบริหารจัดการสินทรัพย์และความสูญเสีย โดยใช้เทคโนโลยีการบริหารข้อมูลและระบบวิเคราะห์ข้อมูลมาช่วยให้ผู้ประกอบการมองเห็นภาพของความสามารถในการทำกำไรในโครงการนั้นๆ ก่อนที่จะเริ่มดำเนินการ หรือทนุบำรุงดูแลสินทรัพย์ก่อนที่จะเกิดความเสียหาย
การผสานรวมเทคโนโลยีต่างๆ เช่นอุปกรณ์ AR (augmented-reality) ที่ใช้ IoT ช่วยเพิ่มศักยภาพให้แก่ผู้ใช้งาน ด้วยทักษะและความรู้ใหม่ๆ ที่ช่วยให้สามารถบริหารจัดการกับสินค้าคงคลังได้ดียิ่งขึ้น ด้วยความสามารถในการเชื่อมต่อที่มากขึ้นจากการใช้ IoT ช่วยให้ผู้ผลิตสามารถบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ โดยนำข้อมูลมาใช้คาดการณ์ถึงความล้มเหลวได้ล่วงหน้า บุคลากรสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเท่าทันเหตุการณ์มากขึ้น ด้วยการดำเนินการซ่อมแซมและเปลี่ยนอุปกรณ์ก่อนที่เครื่องจะทำงานผิดปกติซึ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน ความก้าวหน้าด้านความฉลาดของเครื่องจักรยังช่วยให้มนุษย์สามารถทำงานโต้ตอบกับระบบเซ็นเซอร์ได้ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของงานและให้ผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้น
ตัวอย่างเช่น เทคโนโลยีบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ กระทั่งโซลูชัน AI และเทคโนโลยี ML (machine learning) ล้วนใช้การจดจำรูปแบบขั้นสูง เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับโปรไฟล์การปฏิบัติงานที่เป็นอัตลักษณ์ของสินทรัพย์และกระบวนการต่างๆ ข้อมูลที่ได้จากอุปกรณ์เซ็นเซอร์ของเครื่องจักรถูกนำมาเปรียบเทียบกับข้อมูลการดำเนินงานได้ในแบบเรียลไทม์ โดยให้การแจ้งเตือนล่วงหน้าเกี่ยวกับปัญหาของอุปกรณ์ต่างๆ ช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถระบุปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ล่วงหน้า
เทคโนโลยีในวันนี้จะถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยีที่ใหม่กว่าในวันพรุ่งนี้ คนทำงานยุคใหม่จำต้องมีความสามารถในการควบคุมการใช้เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดได้ เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของบริษัท องค์กรจำต้องลงทุนในเรื่องของการอบรมและพัฒนาผู้ที่มีความสามารถโดดเด่น พร้อมกันนี้ สิ่งสำคัญคือการฝึกอบรมให้กับผู้มีความสามารถที่เพิ่งเข้ามาเริ่มงานใหม่ เพื่อสร้างความมั่นใจว่าจะมีบุคคลที่พร้อมด้วยความสามารถและทักษะความชำนาญเข้ามาร่วมทีมและสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างต่อเนื่อง การเปลี่ยนแปลงคือสิ่งเดียวที่เกิดขึ้นตลอดเวลาในชีวิตและเราจำเป็นต้องดำเนินบทบาทในการสร้างความมั่นคงให้กับอนาคต
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด