คำต่อคำ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ บนเวที Techsauce Global Summit 2017 | Techsauce

คำต่อคำ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ บนเวที Techsauce Global Summit 2017

หลังจากที่ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ ประธานสถาบันออกแบบอนาคตประเทศไทย อดีตเลขาธิการอาเซียน และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ อีกทั้งยังเคยเป็น Speaker ในงาน Techsauce Summit 2017 ได้ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคหัวใจเฉียบพลันในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2560 เวลา 15:30 น. ด้วยวัย 68 ปี

Techsauce ขอร่วมรำลึกถึงการจากไปของ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ ด้วยการนำคำพูดของท่าน เมื่อครั้งที่ท่านเป็น Speaker ในงาน Techsauce Summit 2017 มาให้อ่านกัน เพื่อที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในวงการต่าง ๆ จะได้สานต่อแนวคิดของท่านให้เป็นจริงได้ในอนาคต

เนื้อหามีดังนี้

"ขอบคุณครับ ขอผมเริ่มด้วยการเล่าให้ฟังแบบนี้ครับ ผมตอบรับคำเชิญมาร่วมงานนี้ด้วยความรู้สึกที่ค่อนข้างหวั่น ๆ เหมือนกันเพราะงานนี้ได้วางตัวเองเป็นงาน Tech conference ที่อันตรายที่สุดในเอเชีย และผมก็คิดว่าคนมองว่าว่า startup และเทคโนโลยีนั้นเป็นสิ่งที่ disruptive และอันตราย แต่สำหรับผมแล้วมันไม่ใช่เป็นเพราะอายุอย่างที่คุณกรได้กล่าวเมื่อซักครู่ แต่เป็นเพราะเรื่องของ mentality และ mindset มากกว่า

ผมมองว่าถ้าคุณมีความกระหายใคร่รู้ในสิ่งต่าง ๆ มากพอว่าสิ่งต่าง ๆ ทำงานอย่างไร และเทคโนโลยีจะเข้ามาช่วยได้อย่างไร ซึ่งจากประสบการณ์ของผมที่ได้ทำงานกับรัฐบาลมาแล้ว 4 รัฐบาลรวมถึงในระดับภูมิภาคนี้ ผมคิดว่าถ้าเรามีความเชื่อมั่นว่ารัฐบาลนั้นไม่ได้รู้ไปเสียทั้งหมด ไม่รู้ถึงวิธีการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่อาจจะอยู่รอบตัวเราที่ไหนสักแห่ง ถ้าภาครัฐมีความเชื่อมั่นและอ่อนน้อมถ่อมตนมากพอที่จะมองหาหรือร้องขอ รัฐบาลควรจะต้องค้นหาให้พบว่าตรงไหนที่มีช่องว่าง ตรงไหนที่มีการกระจุกตัวของปัญหาที่ควรจะได้รับการแก้ไข และเปิดเผยสิ่งเหล่านั้น

ซึ่งจริง ๆ ก็มีตัวอย่างมากมายที่เกิดขึ้นรอบโลกที่รัฐบาลมีความเชื่อมั่นมากพอที่จะออกมายอมรับว่าเรามีปัญหาเช่นนี้ ต้องการการแก้ไข แต่รัฐไม่สามารถทำได้ด้วยตัวเองเพราะรัฐไม่มีบุคลากรที่มี mentality หรือมีประสบการณ์ที่จำเป็น หรือ mindset เช่นนั้นในการแก้ปัญหาและรัฐบาลเปิดใจยอมรับ เช่น City Mapper ในลอนดอนสามารถที่จะเปลี่ยนเส้นทางการเดินรถจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งได้ เพราะหน่วยงานรัฐของลอนดอนเปิดเผยข้อมูลว่าคนต้องการที่จะเดินทางจากที่ไหนไปที่ไหนในเวลาใดของวัน และเส้นทางการเดินรถไม่จำเป็นต้องถูกจัดไว้ตายตัวตลอดเวลาแต่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามปริมาณความต้องการในแต่ละช่วงของวัน

การเปิดใจของภาครัฐและการเติบโตของเมืองนั้นเป็นเรื่องเดียวกัน การทดลองทำในสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ทั่วโลกทำให้ผมเชื่อว่ามีหนทางแก้ปัญหามากมายให้ภาครัฐซึ่งเป็นองค์กรที่ถูกคาดหวังว่าจะต้องให้บริการที่ดีขึ้นแก่ภาคประชาชน สามารถที่จะใช้หรือพึ่งพาเพื่อที่จะแก้ปัญหาที่ประชาชนคาดหวัง ซึ่งประชาชนก็อยากจะมีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้น ดังนั้นความอ่อนน้อมถ่อมตนของภาครัฐจึงสำคัญมาก และภาครัฐควรยอมที่จะเปิดเผยข้อมูลข้อเท็จจริงต่าง ๆ เพื่อให้ข้อมูลกับคนที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ มี passion หรือ มีความต้องการที่จะเข้ามาช่วยเหลือ จึงเป็นสาเหตุที่ว่าทำไม Govtech ซึ่งเป็นกองทุนที่ระดมเงินเพื่อจะเข้ามาช่วยภาครัฐในการเข้าใจและวิเคราะห์ปัญหาของตัวเองถึงมีมูลค่าสูงถึง 4 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งนั่นเยอะมากสำหรับรัฐบาลต่าง ๆ ในการที่จะเข้าถึงและเข้าใจปัญหา เพื่อการวิเคราะห์และเพื่อหาหนทางที่จะแก้ไขปัญหา และหาวิธีการที่ดียิ่งขึ้นในการแก้ปัญหาที่ภาครัฐไม่สามารถทำได้

ปัญหาของภาครัฐคือการที่คิดว่าตัวเองมีอำนาจโดยชอบธรรมที่คนอื่นไม่สามารถก้าวล่วงได้ และพวกเขาก็ระแวงกับความมั่นคงของอำนาจตัวเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่รัฐบาลที่ควรมีส่วนร่วมกับภาคส่วนต่าง ๆ ไม่ควรจะเป็น รวมถึงไม่ใช่สิ่งที่ทำให้เราใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ ที่มีอยู่ได้ ผู้คนจะมีความต้องการมากขึ้น คาดหวังมากขึ้น อยากมีส่วนร่วมและลงมือทำในสิ่งต่าง ๆ มากขึ้น

เราควรที่จะเปิดพื้นที่สำหรับพวกเขา"

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...

Responsive image

GAC รถแห่งเมืองกวางโจว ขวัญใจแท็กซี่ยุคใหม่ | Tech for Biz EP. 30

แบรนด์รถยนต์ที่เป็นความภูมิใจของคนกวางโจว สู่ขวัญใจแท็กซี่ยุคใหม่ คลิปนี้ Tech for Biz จะพาไปรู้จัก GAC ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าสัญชาติจีนอีกเจ้าที่กำลังบุกตลาดเมืองไทย...

Responsive image

เปิดดีล NVIDIA ปี 2024 ในอาเซียนไปร่วมมือใครมาบ้าง ?

NVIDIA ขยายอิทธิพลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปี 2024 ด้วยการลงทุน AI Centers และการพัฒนาระบบ AI ร่วมกับพันธมิตรในอินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม และไทย ขับเคลื่อนภูมิภาคสู่การเป็นศูนย์...