"ความหายนะที่ใหญ่ที่สุด อาจมาจากความสำเร็จของตัวเอง" บทเรียนจาก Startup ชื่อดัง Dropbox ที่อาจกำลังเจอวิกฤติ? | Techsauce

"ความหายนะที่ใหญ่ที่สุด อาจมาจากความสำเร็จของตัวเอง" บทเรียนจาก Startup ชื่อดัง Dropbox ที่อาจกำลังเจอวิกฤติ?

เป็นเรื่องที่น่าตกใจอย่างมากเมื่อก่อนหน้านี้ Dropbox ออกมาประกาศปิดตัวบริการในเครืออย่าง Mailbox และ Carousel ทั้งที่เพิ่งจ่ายไปถึง 100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อขอซื้อ Mailbox มาได้ไม่ถึง 2 ปี (ยังไม่นับประเด็นก่อนหน้านี้ที่มีข่าวว่าลูกค้ากว่า 68 ล้านคนโดน Hack ชื่อผู้ใช้และพาสเวิร์ดไป) เกิดอะไรขึ้นกับ Dropbox? ถึงขนาดมีสื่อออกมาวิจารณ์ว่า Decacorn (Startup ที่มีมูลค่าบริษัทถึง 10,000 ล้านเหรียญฯ) รายนี้อาจกำลังประสบปัญหาบางอย่างอยู่...

วันนี้ เรามีบทความวิเคราะห์เหตุการณ์ดังกล่าวที่น่าสนใจและชวนขบคิด โดย Mike Trigg COO แห่ง Hightail ธุรกิจ File sharing ที่มีลักษณะคล้ายๆ กับ Dropbox แต่เล็กกว่าและเฉพาะกลุ่มมากกว่า ซึ่งเขาจะมาวิเคราะห์ถึงปัญหาที่ Dropbox อาจจะกำลังเผชิญอยู่ และเปรียบเทียบให้ฟังถึงวิธีการในการรับมือกับสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นในธุรกิจกลุ่มนี้

dropbox-Mailbox-team

ความจำเป็นต้อง “โฟกัส”

เหตุผลหลักที่ Dropbox ปิดตัวแอปพลิเคชั่นเหล่านี้ลง เริ่มขึ้นจากคำชี้แจงของบริษัทที่เขาต้องการโฟกัส ( ใช้คำว่าโฟกัสถึงสามครั้งในบทความที่มี 279 ตัวอักษร) ช่วงสองสามเดือนที่ผ่านมา เราโฟกัสไปยังการร่วมมือและการทำให้ผู้คนทำงานร่วมกันง่ายขึ้น ในที่สุดแล้ว เราคิดว่าการโฟกัสที่มากขึ้นช่วยให้เราได้ประสบการณ์ที่ดีขึ้นเพื่อพวกคุณในอนาคต

ปัญหายิ่งเห็นชัดขึ้นเพราะดูเหมือนว่าจะไม่ใช่แค่เรื่องโปรดักส์อย่างเดียว ผู้ร่วมก่อตั้ง Mailbox ได้แก่ Gentry และ Scott Cannon เองก็กำลังจะออกจาก Dropbox ดังนั้นไม่ใช่แค่แอปพลิเคชั่นที่กำลังจะปิดตัว แต่ทีมนักพัฒนาส่วนใหญ่ก็มีแนวโน้มที่จะอำลาวงการด้วยเช่นกัน  เจตนาของการตัดสินใจของ Dropbox คือการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการสร้างความหลากหลายให้กับผลิตภัณฑ์ แม้ Dropbox จะแถลงเป็นนัยว่า นี่คือการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์เพื่อสร้างความหลากหลายให้กับผลิตภัณฑ์ก็ตาม

เมื่อธุรกิจหลักของคุณกำลังไปได้สวย ก็เป็นเรื่องปกติที่จะเข้าครอบครอง (acquire) ธุรกิจอื่นในราคาหลาย 100 ล้านดอลล่าร์ (แบบเดียวกับ Facebook หรือ Oculus ทำ) แต่เมื่อคุณตัดสินใจปิดตัวธุรกิจที่ได้ acquire มา นั่นอาจเป็นเพราะคุณกำลังมีความจำเป็นต้องโฟกัส และเร่งแก้ไขตัวธุรกิจหลักของคุณโดยด่วนหรือเปล่า ซึ่งเมื่อฟังจากคำชี้แจงของ Dropbox แล้ว ก็ทำให้เกิดข้อสงสัยได้ว่า แล้วมันเกิดอะไรขึ้นกับธุรกิจหลักของ Dropbox กันแน่?

วิกฤติอะไร?

หลายคนคาดการณ์ว่าธุรกิจหลักของ Dropbox กำลังวิกฤติ ซึ่งคุณ Mike ยกตัวอย่างกรณีบริษัท Hightail ของเขาในช่วงที่เผชิญวิกฤติในตลาดให้ฟังว่า เขาใช้วิธีการ Rebrand พยายามลดค่าใช้จ่ายต่างๆ และปล่อยผลิตภัณฑ์ตัวใหม่เพื่อตอบสนองปัญหาที่เกิดขึ้น และมองว่าถึงแม้ว่าธุรกิจของ Dropbox จะใหญ่กว่า แต่ดูเหมือนความท้าทายก็มีไม่ต่างกัน

ข้อแรก ตลาดไอทีเริ่มกลายเป็นตลาดโภคภัณฑ์มากขึ้นทุกที พื้นที่เก็บข้อมูลออนไลน์ของ Dropbox เปิดให้ใช้ฟรีมากขึ้น บริษัทไอทีรายใหญ่ต่างก็มาขับเคลื่อนเจ้าเทรนด์ของฟรีนี้ กลุ่มผู้ใช้งานก็เริ่มชินกับของฟรีและยอมจ่ายน้อยลง ช่างเป็นสภาพตลาดที่โหดร้าย ที่บริษัทด้านเทคโนโลยีมักจะต้องเผชิญกัน ต้องพัฒนา Innovation ต่อไปเรื่อย ในขณะที่เริ่มกลายเป็นตลาดโภคภัณฑ์และเสรีเรื่อยๆ เช่นกัน

ข้อสอง กับกลุ่มผู้ใช้ทั่วไป (consumer) ก็ยากแล้ว กับกลุ่มลูกค้าบริษัท (enterprise) ก็ไม่ง่ายอีก เพราะกลุ่มลูกค้าบริษัทก็มองภาพ Dropbox เป็นโปรดักส์สำหรับผู้ใช้ทั่วไป มากกว่าโปรดักส์สำหรับองค์กร  และทั้ง Carousel และ Mailbox ต่างก็เป็นโปรดักส์สาย consumer

ถึงแม้สื่อจะบอกว่า Dropbox แข่งกับ Box ที่จะครอบครองตลาด Enterprise  แต่คู่แข่งจริงๆ คือ Microsoft มากกว่า  อย่างการที่ Microsoft จับโปรแกรม IE มารวมไว้ใน Windows เพื่อทอนความนิยมของโปรแกรม Netscape ในตลาดบราวเซอร์ และตอนนี้ Microsoft ให้ใช้โปรแกรม OneDrive ที่ติดมากับ Office 365 ฟรี OneDrive มีพื้นฐานเหมือน Dropbox เว้นแต่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการจากกลุ่มไอที และใช้ได้ฟรี

ข้อสาม Dropbox (พร้อมทั้ง Hightail, Box, และอื่นๆ) กำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงพื้นฐานทางคอมพิวเตอร์ เปลี่ยนจาก ไฟล์ไปเป็นแอพพลิเคชั่นที่ใช้เฉพาะทาง  ขณะที่ Dropbox ดั้งเดิมเป็นเหมือน thumb drive ในระบบ cloud เก่าเกินไปแล้วเมื่อผู้ใช้ใช้เวลาส่วนใหญ่คิดถึงแต่ไฟล์ของพวกเขา แต่ตามที่ได้อธิบายลงในบทความนี้ (Dropbox : Startup มูลค่าสูงที่กำลังจะตาย) คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยคิดถึงการจัดการไฟล์เท่าไหร่แล้ว

ไม่ว่าจะเป็นเอกสารแบบข้อความใน  Google Docs หรือ รูปภาพและเพลงใน iPhoto และ Spotify แนวคิดที่เก็บไฟล์ไว้ในระบบเก็บไฟล์ดูเหมือนจะสิ่งที่ล้าสมัย และแนวคิดนี้ทำให้ Dropbox เสียคุณค่าหลักของตัวเองไป  

ความหายนะที่ใหญ่ที่สุด อาจมาจากความสำเร็จของตัวเองก็ได้

Drew และทีมได้ทำหลายสิ่งที่ยอดเยี่ยมเยอะมาก ความสำเร็จของ Dropbox ทุกวันนี้น่าประทับใจอย่างยิ่ง กล่าวกันว่า ความหายนะที่ใหญ่ที่สุดของ Dropbox อาจจะเป็นความสำเร็จของตัวเองก็ได้ Dropbox ได้เติมเต็มสิ่งที่ผู้ใช้ต้องการและได้รับการประเมินค่าจากสื่อถึงหนึ่งหมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ปัญหาคือ เมื่อตลาดให้ราคาถึงระดับนั้น ความคาดหวังก็สูงขึ้นมากตามลำดับ

แต่ความคาดหวังนั้นมาจากไหนกัน ปัจจัยอะไรบ้างที่จะทำให้บริษัทเจริญเติบโตตามที่ต้องการ

  • การมีผู้ใช้มากขึ้นหรือ?  ผู้ใช้ Dropbox กว่าล้านคนได้รับความพึงพอใจ และตัวบ่งชี้แสดงให้เห็นว่า Dropbox มีผู้ใช้จำนวนมากในระดับที่อยู่ตัวแล้ว
  • จะเพิ่มจำนวนผู้ใช้หรือรักษากลุ่มลูกค้าเดิมไว้ ทางไหนดีกว่ากัน? การได้ผู้ใช้จำนวนมากที่จ่ายเงินและยังคงจ่ายต่อไป ไม่เหมือนแนวโน้มการตลาดที่กล่าวมาข้างต้น
  • การเติบโตที่ได้ มาจาก ARPU (Average Revenue Per user) ที่มากขึ้นหรือเปล่า? ก็อาจเป็นได้ หาก Dropbox สามารถนำเสนอนวัตกรรมและฟีเจอร์ใหม่ๆให้กับลูกค้าได้ แต่จนถึงปัจจุบัน ก็ยังไม่มีฟีเจอร์ใหม่แบบนั้น (ฟีเจอร์ Paper ก็ยังอยู่แค่ในขั้นทดลอง)
  • หรือจะมีผลิตภัณฑ์ใหม่ ? ดูเหมือนเป็นกลยุทธ์เมื่อสองสามปีที่แล้ว แต่ไม่ใช่ปัจจุบันแน่นอน เพราะบริษัทกำลังจะปิดตัวสายผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เพิ่มขึ้นมา

สถานการณ์ยิ่งแย่ลง เมื่อการประเมินค่าของ Dropbox ทำให้บริษัทโฟกัสไปที่ตลาดเฉพาะกลุ่มยากขึ้น เนื่องจากตลาดใหญ่เกินกว่าที่จะทำผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับทุกคน หนึ่งพันหนึ่งร้อยล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ที่ Dropbox หามาได้จะช่วยซื้อเวลาเพื่อที่จะหาทางแก้ไข และต้องรีบจัดการโดยไว  หรือไม่แน่ว่าบริษัทอาจจะเปลี่ยนไป Focusอย่างอื่นแทน

ที่มา: VentureBeats

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...

Responsive image

GAC รถแห่งเมืองกวางโจว ขวัญใจแท็กซี่ยุคใหม่ | Tech for Biz EP. 30

แบรนด์รถยนต์ที่เป็นความภูมิใจของคนกวางโจว สู่ขวัญใจแท็กซี่ยุคใหม่ คลิปนี้ Tech for Biz จะพาไปรู้จัก GAC ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าสัญชาติจีนอีกเจ้าที่กำลังบุกตลาดเมืองไทย...