Enterprise Object Storage ข้ามขีดจำกัดให้ทุกธุรกิจไทยไปสู่ Data-Driven Company | Techsauce

Enterprise Object Storage ข้ามขีดจำกัดให้ทุกธุรกิจไทยไปสู่ Data-Driven Company

Enterprise Data Storage

ทุกวันนี้ Data ถือเป็นทรัพยากรที่ธุรกิจให้ความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งยังขยายขอบเขตออกจากอุตสาหกรรมดิจิทัลไปยังอุตสาหกรรมที่มีผลผลิตจริงมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพ การเงิน การผลิต หรือแม้แต่อุตสาหกรรมสื่อ เหล่านี้ก็เป็นกลุ่มที่หันมายก Operation ไปจนถึง Product ให้เป็นข้อมูลดิจิทัลเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ธุรกิจ

เมื่ออุตสาหกรรมเหล่านี้ให้ความสนใจในการใช้ Data วิธีการบริหารจัดการข้อมูลภายในองค์กรจึงเป็นประเด็นที่อยู่ในความสนใจของผู้เกี่ยวข้องในทุกระดับ โดยเฉพาะการเลือก Infrastructure ที่เหมาะสมกับลักษณะธุรกิจ รูปแบบการใช้ และอยู่ในงบประมาณที่สอดคล้องกับความต้องการ ในวันนี้ เราจะชวนมาทำความเข้าใจระบบจัดเก็บข้อมูลสำหรับธุรกิจ

3 Pain Point ที่ระบบจัดเก็บข้อมูลขวางศักยภาพสูงสุดของธุรกิจ

อันที่จริง Data Storage สำหรับองค์กรธุรกิจเป็นเรื่องที่มีมานานมากแล้ว แต่สาเหตุที่การใช้ Data มาได้รับความนิยมช่วงหลังๆ ก็เนื่องมาจากเทคโนโลยีหลายอย่างมีส่วนทลายข้อจำกัดของระบบจัดเก็บข้อมูลแบบเดิมๆ ได้ ซึ่งก่อนที่เราจะไปทำความรู้จักกับระบบใหม่ที่เหมาะสมกับธุรกิจ เรามาสำรวจ Pain Point ของระบบจัดเก็บข้อมูลแบบเดิมๆ กันก่อน

การเป็น “เจ้าของระบบ” แม้ปลอดภัยแต่มีค่าใช้จ่ายสูง

องค์กรธุรกิจบางประเภทเช่น กลุ่มองค์กรขนาดใหญ่ หรืออยู่ในอุตสาหกรรมที่มีมาตรฐานความปลอดภัยสูง จำเป็นต้องติดตั้งระบบจัดเก็บข้อมูลสำหรับภายในองค์กรเป็นการเฉพาะ ซึ่งระบบดังกล่าว บริษัทต้องลงทุนเองทั้งส่วนของ Hardware และ Software ตัว Hardware ก็ต้องใช้พื้นที่จำนวนไม่น้อย ส่วน Software เองก็ต้องจ้างผู้ดูแลเป็นการเฉพาะ เป็นค่าใช้จ่ายที่สูงมาก อีกทั้ง Hardware ของระบบที่ติดตั้งเองยังมีราคาเริ่มต้นต่อหน่วยที่สูง แม้ว่าจะได้ราคาต่อหน่วยที่ต่ำลงเมื่อติดตั้งด้วยปริมาณมาก แต่หากมากเกินความต้องการ ก็จะเป็นงบประมาณที่เสียไปโดยเปล่าประโยชน์สำหรับองค์กร

กฎหมายการใช้ Data เฉพาะในประเทศ

อีกทางเลือกหนึ่งขององค์กรคือการใช้ Cloud Storage ที่มีการจัดเก็บข้อมูลบน Storage ในแต่ละจุดของโลก ซึ่ง Cloud Storage เป็นที่นิยมสำหรับธุรกิจมากขึ้น เนื่องจากยืดหยุ่นทั้งในแง่คุณภาพการใช้งานและราคา แต่สำหรับบางธุรกิจ ยังมีข้อบังคับที่ทำให้ไม่สามารถใช้บริการ Cloud Storage ทั่วๆ ไปได้ เช่น กลุ่มอุตสาหกรรมการเงินบางประเทศมีกฎหมายบังคับให้ผู้ให้บริการต้องเก็บข้อมูลของลูกค้าไว้ในภายในประเทศที่ให้บริการเท่านั้น ซึ่งหาก Service ที่ใช้อยู่ ไม่มี Data Center ในประเทศนั้น ก็จะไม่สามารถให้บริการต่อได้

ค่าใช้จ่ายที่คาดไม่ถึงจากการใช้งานทั่วไป

ในบางธุรกิจ แม้ว่าจะไม่ถูกบังคับให้ต้องเก็บข้อมูลไว้ภายในประเทศ แต่การใช้งานจัดเก็บข้อมูลข้ามประเทศมักจะมีค่าใช้จ่ายในการโอนย้ายข้อมูล ซึ่งถือเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงและควบคุมได้ยาก ยิ่งหากธุรกิจของเราให้บริการแค่ในประเทศของเราอย่างเดียว แต่กลับเลือกเก็บข้อมูลในต่างประเทศ ก็จะเสียค่าใช้จ่ายส่วนนี้โดยไม่จำเป็น

โดยสรุปแล้ว ทั้ง 3 ข้อ ถือเป็นข้อจำกัดทางธุรกิจที่ขัดขวางการใช้ประโยชน์จาก Data ให้สูงที่สุด จะดีกว่าไหม ถ้าเราสามารถทำลายข้อจำกัดทั้งหมดนี้ โดยเรายังสามารถเก็บรักษาข้อมูลได้อย่างปลอดภัย บนระบบที่ยืดหยุ่น มีค่าใช้จ่ายที่ควบคุมได้ และสอดคล้องกับกฎหมายข้อบังคับต่างๆ ในประเทศไทย

รู้จัก Enterprise Object Storage ระบบจัดเก็บไฟล์เพื่อ Data-Driven Company

Object storage คือ รูปแบบการจัดเก็บไฟล์แบบหนึ่งที่จะแบ่งไฟล์ออกเป็นวัตถุย่อย กระจายทั่ว Hardware กลายเป็น Storage pool แล้วใช้ Metadata เป็นตัวระบุความเชื่อมโยงของ Object วิธีการนี้ทำให้ทำให้เกิดความปลอดภัยสูง เพราะข้อมูลจะไม่ประกอบร่าง หากไม่ได้เข้าด้วย Metadata ที่ถูกต้อง และยังสามารถเพิ่มและลด Storage ได้เสมอ

ด้วยการเก็บและจัดการข้อมูลที่ยืดหยุ่น ทำให้อุตสาหกรรมต่างๆ ทั้ง อุตสาหกรรมการผลิต ประกันภัย สื่อต่างๆ ทั้งโฆษณาและสื่อบันเทิง นำไปใช้มากมาย โดยสามารถสรุปจุดเด่นได้ 4 ข้อ ดังนี้

  1. ทำ Analytics ได้ดียิ่งกว่า Metadata ของข้อมูลที่เก็บมาจะช่วยให้นักวิเคราะห์ส่องข้อมูลได้หลากหลายมุมมากขึ้น
  2. ความยืดหยุ่นไร้ขีดจำกัด ระบบ Storage pool ทำให้เราสามารถเพิ่มพื้นที่ของ Data ได้มากขึ้นเรื่อยๆ หรือจะลดขนาด Storage ลงโดยไม่ต้องกังวลถึงผลกระทบต่อข้อมูลมากเท่าระบบอื่นๆ
  3. ดึงข้อมูลออกมาใช้ได้อย่างรวดเร็ว การออกแบบโครงสร้างระบบของ Object storage ช่วยให้การเรียกใช้ข้อมูลเป็นไปอย่างรวดเร็วกว่าแบบอื่นๆ
  4. จัดการทรัพยากรภายในได้ดีกว่า เนื่องจาก Storage pool ไม่ได้จำกัดการไหลเวียนของข้อมูลและ Metadata ก็ยังรอบรับการดัดแปลงและเคลื่อนย้าย ทำให้การจัดสรรทรัพยากรภายในทำได้ดีกว่าระบบอื่นๆ ที่มีข้อจำกัดเรื่องลำดับความสำคัญ หรือต้อง fix รูปแบบของข้อมูลเอาไว้เท่านั้น

ปัจจุบัน Object Storage เป็นที่นิยมอย่างมากบน Cloud Storage ซึ่งด้วยความนิยมนี้ ผู้ให้บริการหลายรายหันมายกระดับ Object storage ให้รองรับการใช้งานขององค์กรธุรกิจกลายเป็นร Enterprise Object Storage ที่มีมาตรฐานด้านต่างๆ สูงกว่าเดิม โดยเฉพาะการเรียกใช้ข้อมูลและการดูแลความปลอดภัยเพื่อปกป้องข้อมูลสำคัญของธุรกิจ

ครั้งแรกในไทย กับ Enterprise Object Storage ที่ตั้งในไทยโดย AIS

ปัจจุบันธุรกิจไทยมีความต้องการใช้งาน Data มากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นเทรนด์ของธุรกิจที่ต้องตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า รวมถึงความสามารถของบุคลากรด้าน Data ที่พร้อมจะใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอย่างเต็มที่ แต่ผู้ให้บริการ Data Storage ในไทยกลับยังมีไม่มากพอจะให้ธุรกิจปลดปล่อยศักยภาพสูงสุดได้ 

AIS และ CSL ผู้ให้บริการด้าน Digital Infrastructure ของไทย มองเห็นความต้องการดังกล่าว จึงได้ร่วมกับพันธมิตรสำคัญอย่าง VMware ผู้ให้บริการ Cloud platform ระดับโลก และ Cloudian ผู้ให้บริการ Object storage ชั้นนำ นำเสนอบริการ Enterprise Object Storage โดยถือเป็นผู้ให้บริการในไทยรายแรกที่จัดเก็บข้อมูลไว้ในไทย เหมาะสำหรับภาคธุรกิจและองค์กรของไทยโดยเฉพาะ

สำหรับ Enterprise Object Storage ของ AIS มีจุดเด่นที่ตอบโจทย์ความต้องการของธุรกิจในไทย ดังนี้

  • ออกแบบรองรับกฎเกณฑ์การจัดเก็บข้อมูลดิจิทัลใหม่ของธุรกิจไทยโดยเฉพาะ เนื่องจากเป็นผู้ให้บริการในประเทศไทย AIS จึงคิดออกแบบฐานข้อมูลให้สอดคล้องกับมาตรฐานใหม่ที่จะบังคับใช้ในไทยตั้งแต่แรก ทั้งการเก็บข้อมูลสำคัญย้อนหลังไม่ต่ำกว่า 5 ปี ถึง 10 ปี และการจัดเก็บข้อมูลในประเทศไทยจะช่วยให้บางธุรกิจที่มีข้อบังคับเรื่องที่ตั้งของฐานข้อมูล สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างไร้กังวล
  • ต้นทุนต่ำกว่าเป็นเจ้าของระบบเอง เมื่อธุรกิจไม่จำเป็นต้องจัดซื้อระบบทั้งหมดเอง ก็จะช่วยลดต้นทุนการบริหารจัดการภายในองค์กรเป็นอย่างมาก อีกทั้ง AIS ยังพร้อมให้บริการแบบ Pay per use หรือจ่ายตามที่ใช้งานจริงทำให้องค์กรประเมินค่าใช้จ่ายได้แม่นยำ นอกจากนี้ การจัดเก็บข้อมูลในประเทศไทยเองยังตัดความกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในการ Transfer Data ระหว่างประเทศด้วย
  • รองรับการบริหารจัดการโดยตัวผู้ใช้เอง ระบบ Cloud ส่วนใหญ่มักเป็นระบบปิดที่ไม่เปิดให้องค์กรควบคุมดูแลการใช้งานมากนัก ทำให้การบริหารจัดการเป็นไปอย่างล่าช้า ไม่ทันความต้องการ ซึ่ง Enterprise Object Storage ของ AIS ถือเป็นผู้ให้บริการรายแรกของไทยที่มี Feature รองรับการบริหารจัดการได้ตัวผู้ใช้เอง และการเชื่อมต่อได้ในหลากหลายรูปแบบจาก on premise cloud หรือ public cloud
  • ระบบการใช้งานและความปลอดภัยมาตรฐานโลก Enterprise Object Storage ของ AIS ใช้ระบบจาก Cloudian ที่เป็นมาตรฐาน S3 เพื่อการ Implement ที่สมบูรณ์แบบ และสามารถป้องกันการโจมตีรูปแบบต่างๆ ทั้งนี้ ยังทำงานร่วมกับ VMWare เพื่อใช้งานใน Feature สำคัญ เช่น DR site และ Backup site ที่มีประสิทธิภาพและเป็นมาตรฐาน และหากมีปัญหาทางเทคนิค AIS มีทีมงานคนไทย พร้อม Support ตลอด 24 ชั่วโมง

สำหรับธุรกิจองค์กรที่สนใจสมัครใช้บริการ หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ AIS Business ที่ดูแลองค์กรของท่าน หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ทางเว็บไซต์ของ AIS Business Cloud ที่ https://business.ais.co.th/solution/enterprise-objectstorage.html หรือทางอีเมลที่ [email protected]

บทความนี้เป็น Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

รู้จัก Physical AI เอไอยุคใหม่ที่ Jensen Huang กล่าวถึงคืออะไร ? มีประโยชน์อย่างไร ?

หนึ่งในไฮไลต์สำคัญของงาน CES 2025 คือการที่ Jensen Huang ซีอีโอของ NVIDIA ได้มีการพูดถึงยุคต่อไปของ AI นั่นก็คือ ‘Physical AI’ ซึ่งนับเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญยิ่งที่ AI กำลังจะเข...

Responsive image

4 เทรนด์เทคโนโลยีสุดล้ำที่อาจเปลี่ยนโลกจาก CES 2025

สำรวจเทรนด์เทคโนโลยีล่าสุดจาก CES 2025 ตั้งแต่ AI อัจฉริยะ ยานยนต์ล้ำสมัย ไปจนถึงการพัฒนาชิปกราฟิกและเทคโนโลยีหน้าจอแห่งอนาคตที่เปลี่ยนโฉมการใช้ชีวิตประจำวัน!...

Responsive image

เปิดตัว ‘รถบินแยกร่าง’ XPeng ผสมเครื่องบินกับรถตู้ รุ่น Land Aircraft Carrier ราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาท

XPeng Aero HT เปิดตัว Land Aircraft Carrier รถบินได้แบบแยกร่างสุดล้ำที่ CES 2025 พร้อม eVTOL พับเก็บได้ ใช้งานง่าย ราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาท วางแผนผลิตเชิงพาณิชย์ในปี 2026...