Hackathon: Finding the Best Enabler โอกาสของ Service Provider ร่วมพัฒนา e-Solution เตรียมพร้อม SMEs ไทยบนวิถีใหม่ | Techsauce

Hackathon: Finding the Best Enabler โอกาสของ Service Provider ร่วมพัฒนา e-Solution เตรียมพร้อม SMEs ไทยบนวิถีใหม่

การปรับเปลี่ยนเข้าสู่ยุคดิจิทัล Service Provider ถือเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนให้เกิด ในฐานะบทบาทของผู้ผลิตนวัตกรรมที่จะเข้ามาสนับสนุนบรรดาผู้ประกอบการ SMEs ให้สามารถปรับเปลี่ยนการ ทำงาน และการดำเนินธุรกิจ ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ  

ETDA hackathon press conference

อีกประเด็นสำคัญจากการเสวนาใน งานแถลงข่าวเปิดตัวกิจกรรม Hackathon: Finding the Best Enabler ภายใต้โครงการ e-Solution: Opportunity Enabler for SMEs ที่เป็นการผลักดันการดำเนินงานโดย ETDA และได้ร่วมมือกับ Techsauce ซึ่งเป็นการพูดคุยในมุมมองของทางฝั่ง Service Provider ในหัวข้อ “ร่วมพัฒนา e-Solution เตรียมพร้อม SMEs ไทยบนวิถีใหม่” 

โดย

  1. คุณชินาวุธ ชินะประยูร ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa)

  2. คุณณัฐพล สุวรรณศิริ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์ธุรกิจตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

  3. คุณปริวรรต วงษ์สำราญ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรม NIA (องค์กรมหาชน)

  4. คุณอรรณพ ศิริติกุล Enterprise Business Lead Amazon Web Services (AWS)

  5. คุณตฤณ  ทวิธารานนท์ ที่ปรึกษา/ประธานกรรมการโครงการทดสอบนวัตกรรมฯ ETDA 

ทำไม Service Provider ต้องเข้ามาร่วมแก้ปัญหา ช่วยเหลือ SMEs

ด้วยจำนวนผู้ประกอบการ SMEs ในประเทศไทยที่มีเกือบ 3 ล้านรายและยังมีผู้ประกอบการรายย่อยอีกจำนวนมาก ซึ่งทั้งหมดจำเป็นจะต้องปรับตัวเพื่อให้สามารถค้าขายและสามารถสร้างโอกาสใหม่ๆ ได้ แต่การปรับตัวด้วยการลงทุน หรือพัฒนาเทคโนโลยีเองก็อาจจะไม่คุ้มทุนสำหรับ SMEs เพราะฉะนั้นจึงเกิดการทำงานร่วมกันในยุคที่เราเรียกว่าเป็น Co-creation ซึ่งคือการร่วมกันสร้างสรรค์ โดยเรามีผู้ประกอบการกลุ่มที่เรียกว่าเป็น SI (System Integrator) และผู้ประกอบการ Startup ที่ให้บริการเทคโนโลยีต่างๆ เกิดขึ้นจำนวนมาก 

ทำให้วันนี้กลุ่มที่เป็นผู้บริโภค ได้รับความสะดวกสบายมากขึ้นในการที่จะเข้าถึงบริการและสินค้าต่างๆ ด้วยต้นทุนที่ต่ำลงและบริการที่ดีขึ้น ขณะเดียวกันถ้าเป็นกลุ่มที่เป็นผู้ประกอบการ SMEs ก็สามารถเข้าถึงโซลูชันต่างๆ ได้ง่ายมากขึ้น โดยคุณชินาวุธยกตัวอย่างว่าเมื่อก่อนถ้า SMEs หนึ่งรายจะทำบัญชีจะต้องไปจ้างนักบัญชี แต่วันนี้ SMEs ทุกคนสามารถทำระบบบัญชีที่เรียกว่าเป็น Cloud Computing ได้ด้วยต้นทุนที่ต่ำลง เป็นการเปิดโอกาสใหม่ๆ ให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs ส่วนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เช่น depa ที่ได้ช่วยสนับสนุนเหล่า Digital Service Provider ให้สามารถเติบโตและเข้มแข็งมากขึ้น และมีการส่งเสริมทำให้สามารถเจาะตลาดที่เป็นกลุ่ม B2B ได้มากขึ้น

คุณชินาวุธมองว่าตอนนี้ B2B เป็นตลาดที่น่าสนใจสำหรับ Service Provider เพราะว่าลูกค้าที่เป็น SMEs มีความต้องการปรับเปลี่ยนสู่ยุคดิจิทัล ต้องมีหน้าร้านทั้งออนไลน์และออฟไลน์ และต้องเป็น Omni Channel ที่สามารถเข้าถึงผู้บริโภคไม่ใช่แค่คนไทยเท่านั้นแต่เป็นทั่วโลก คุณชินาวุธมองว่านี่เป็นโอกาสที่ Service Provider จะนำเทคโนโลยีโซลูชันของตนเอง มาช่วยลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพ หรือหาโอกาสใหม่ๆ จาก SMEs

“ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมาโดยเฉพาะช่วงหลังโควิด มีการตื่นตัวขึ้นเยอะมาก SMEs ไทยก็รู้ตัวว่าต้องปรับตัว แต่คำถามคือเราจะทำยังไงให้บริการพวกนี้เข้าสู่ SMEs อย่างทั่วถึง เพราะอย่างที่บอกว่าเราไม่ได้มี SMEs แค่หลักหมื่นหลักแสนราย เรามีทั่วประเทศหลายล้านราย เราจะทำยังไงให้เขาเข้าถึงได้ อันนี้ก็เป็นสิ่งที่ต้องขบคิดกันแล้วก็ต้องหาโซลูชันต่างๆ มาเพื่อช่วยให้ SMEs ทั้งหมดสามารถที่จะปรับเปลี่ยนได้ทันกาล”

ธุรกิจในตลาดหลักทรัพย์ปรับเปลี่ยนสู่การทำงานแบบดิจิทัล

ในมุมของตลาดหลักทรัพย์หรือภาคตลาดทุนถึงการปรับเปลี่ยนของทั้ง SMEs และ Service Provider ในการเข้าสู่การทำงานในรูปแบบดิจิทัล คุณณัฐพลได้แบ่งปันให้ฟังว่าการนำเทคโนโลยีมาใช้ หรือ Digital Transformation ในองค์กรนั้นมีมาประมาณ 2-3 ปีแล้ว โดยก่อนหน้าจะมีแรงกดดันจากปัจจัยภายนอกคือภาวะเศรษฐกิจและ เมื่อเจอสถานการณ์โควิดก็เป็นแรงกระตุ้นเพิ่มเติมให้บริษัทต้องมีการพยายามปรับตัวนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเพิ่มยอดขาย ส่วนฝั่ง Service Provider ก็เริ่มมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อมุ่งตอบโจทย์ทั้งกลุ่ม B2B และ B2C 

อีกส่วนหนึ่งคือการพัฒนา Omni Channel ของหลายบริษัทเนื่องจากสถานการณ์โควิด และที่เป็นกระแสอย่างมากในตอนนี้คือการนำเทคโนโลยีมาขับเคลื่อนประสิทธิภาพขององค์กร ซึ่งเราจะเห็นหลายบริษัททำ Machine Learning Technology หรือการพยายามปรับปรุงกระบวนการ Automation ต่างๆ นำเทคโนโลยีมาช่วยทำให้กระบวนการทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะฉะนั้นเราจะเห็นว่า e-Solutions จะมาช่วยบริษัทจดทะเบียนที่มีความคาดหวังจากทั้งผู้ลงทุนและผู้ถือหุ้นให้สามารถขับเคลื่อนผลประกอบการของบริษัทตนเองอย่างต่อเนื่อง และยังอยู่ในสถานการณ์ที่มีแรงกดดันจากภายนอก ทั้งจากภาวะเศรษฐกิจ สถานการณ์โรคระบาดที่หยุดยั้งการเติบโตธุรกิจ เพราะฉะนั้นโซลูชันหรือว่าเทคโนโลยีต่างๆ ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนธุรกิจไปแล้ว

คุณณัฐพลยังได้พูดถึงเรื่อง New Way of Working ที่ปัจจุบันคือการ Work from Home ซึ่งบางบริษัทจดทะเบียนมีการออกเป็นนโยบายเลยว่าพนักงานไม่ต้องเข้าออฟฟิศ ต่อให้สถานการณ์จะคลี่คลายแล้วก็ตาม เพราะฉะนั้นจึงมีการนำพวก e-Solutions ต่างๆ เข้ามาใช้ในการทำงานมากขึ้น เราจะเห็นทั้ง Meeting Platform ที่ใช้อำนวยความสะดวกในการประชุมออนไลน์ หรือเทคโนโลยีอย่าง e-workflow, e-Signature หรือ Digital Signature ที่มาช่วยอำนวยความสะดวกในช่วงที่ไม่ได้เข้าออฟฟิศ ธุรกิจต่าง ๆ ในตลาดหลักทรัพย์หน่วยงานภาครัฐ ฝ่ายงานกำกับดูแล และสำนักงาน ก.ล.ต. ก็มุ่งเน้นเรื่องการนำเอา Digital Solution หรือ Digital Technology มาใช้เช่นเดียวกัน

Service provider รู้ทันนวัตกรรมตอบโจทย์ความต้องการ SMEs ไทย

คุณปริวรรตก็ได้บอกเล่าประเด็นความท้าทายสำหรับ SI หรือ Service Provider ว่าลูกค้าเริ่มปรับเปลี่ยนตัวเองไม่ว่าจะเป็นบริษัทขนาดใหญ่หรือจะเป็น SMEs พอเจอวิกฤตโควิดจึงต้องหารูปแบบการดำเนินธุรกิจแบบใหม่ขึ้นมา ซึ่งนวัตกรรมจะเข้ามามีบทบาทสำคัญเนื่องจากเป็นการสร้างคุณค่าใหม่ให้กับลูกค้า เพราะฉะนั้นสิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจลูกค้าให้ได้ 

“เราอาจจะต้องลงไปคลุกคลีกับลูกค้ามากขึ้น ทำความเข้าใจเรื่องของการปรับ Transformation หรือ Resilience ของเขามากขึ้น แล้วเราก็มาดูว่าเทคโนโลยีที่มีอยู่ในตลาดมันสามารถที่จะมาเป็น Integrate ให้กับทางด้านของลูกค้าได้หรือเปล่า หรือเราจะใช้องค์ความรู้ของเราที่สั่งสมมาในการเป็น Service Provider หรือ System Integrator พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ของเราเองก็ถือเป็นโอกาส และโดยเฉพาะ startup เองอาจจะใช้โอกาสนี้ในการทำความเข้าใจลูกค้าและพัฒนาโซลูชันอะไรขึ้นมาใหม่เพื่อตอบโจทย์ ไม่ว่าจะเป็นแบบ B2B B2B2C หรือจะรวมไปถึงลักษณะของ B2C เลยก็ได้”

“ผมคิดว่าสำคัญเลยคือ นวัตกรรมจำเป็นจะต้องสร้างคุณค้าใหม่ให้กับลูกค้าให้ได้ แล้วมันสำคัญเพียงพอที่เค้ายอมจะมาเป็นลูกค้าของเรา เพราะว่า สนามการแข่งขันเปลี่ยนไปแล้วแต่เรายังไม่เปลี่ยนแปลงเนี่ยไม่ได้ เราต้องเปลี่ยนแปลงทั้ง Mindset เปลี่ยนแปลงทั้งโซลูชันที่นำเสนอ แล้วก็ติดตามผล คิดว่านี่จะเป็นคีย์สำคัญที่ทำให้ SI และ Service Provider ยังคงอยู่ในตลาดนี้ได้”

กิจกรรมครั้งสำคัญที่จะเป็นประโยชน์ให้กับทั้ง SMEs และ Service provider 

เมื่อถามถึงจุดประกายสำคัญในการจัดทำกิจกรรม Hackathon: Finding The Best Enabler ในครั้งนี้ ทางคุณตฤณเล่าให้ฟังว่าได้มีการพูดถึง Digital Transformation ระดับองค์กรกันมานานแล้ว และเมื่อมีการระบาดของโควิด ทำให้เกิดการ Work from Home ซึ่งคุณตฤณมองว่าเป็นความท้าทายที่สำคัญ แต่ว่าในทางกลับกันก็เป็นตัวชี้วัดที่สำคัญสำหรับ SMEs บ้านเราเหมือนกันว่าองค์กรไหนสามารถที่จะก้าวผ่านไปได้ในช่วงวิกฤต และจะเห็นว่า SMEs หลายๆ รายที่ไม่ได้ปรับเปลี่ยนจะไม่สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างเดิมร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ในทางกลับกันธุรกิจที่ปรับตัวได้โดยมีพาร์ทเนอร์ มีดิจิทัลโซลูชันก็จะทำให้รอดได้ในช่วงวิกฤต

และเมื่อถามว่าทำไมเราถึงยกเรื่อง SMEs เป็นโจทย์ของการทำ Hackathon ครั้งนี้ เราจะเห็นได้ชัดว่า SMEs เป็นองค์กรขนาดเล็กถึงกลาง แต่ว่ามีจำนวนมาก และเป็นกลไกขับเคลื่อนสำคัญของเศรษฐกิจไทย ซึ่งหากไม่สามารถฟื้นฟูได้ก็จะทำให้เศรษฐกิจไทยเดินหน้าต่อไปช้า โดยคุณตฤณคิดว่า e-Solution จะเข้ามาช่วย SMEs ให้ปรับเปลี่ยนได้จนสามารถทัดเทียมและแข่งขันได้ทั่วโลก นอกจากนี้ยังเป็นการช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจได้อีกทางหนึ่ง 

“เพราะฉะนั้นก็อยากจะเชิญชวนทาง SI ก็ดี Startup ก็ดีที่เล็งเห็นโอกาสในการ connect กับ SMEs ไม่ว่าจะเป็น B2B หรือ B2B2C เข้ามา เพราะว่าในงานนี้สิ่งสำคัญที่สุดคือเราจะได้เห็นทั้ง Ecosystem ที่เข้ามาร่วมกันทำงานในลักษณะที่เป็น Bussiness Matching”

แนวทางสำหรับ Service Provider ในการเข้าร่วมการแข่งขันในครั้งนี้

คุณตฤณได้แนะนำ Service Provider ที่จะเข้าร่วมในครั้งนี้ว่า จากการทำ Virtual Talk มาสามครั้งนั้นได้มีการเก็บผลสำรวจมาจากทาง SMEs ทำให้พบว่าประมาณ 50% ของ SMEs เล็งเห็นในเรื่องของ Process Efficiency เป็นหลัก ซึ่งอาจจะพอเป็นสัดส่วนที่จะเป็นแนวทางให้กับ SI หรือ e-Solution Provider ที่จะเข้ามาได้ รองลงมาคือเรื่องของการทำ Connectivity หรือ Mobility Office เช่น การติดต่อสื่อสาร การทำ e-HRM การบริหารจัดการต่างๆ และลำดับสุดท้ายเป็นเรื่องของการทำพาร์ตเนอร์หรือว่าความรู้จากข้างนอก เช่น การทำ Cloud Sourcing 

สำหรับเกณฑ์การคัดเลือกคร่าวๆ คือเรื่องของการเข้าใจลูกค้า  การเข้าใจตลาด และต้องมี Market Traceability ที่ชัดเจน มี Ability to Scale มี Right Problem Solution ที่สำคัญที่สุดคือต้องมี Unique Selling Point ที่ชัดเจน โดยความเกี่ยวข้องกับ e-Document e-Meeting ซึ่งทาง ETDA ทำเรื่องนี้อยู่แล้ว และ Process Automation ก็เป็นอีกอันที่ ETDA มองไว้หมือนกัน ที่เหลือก็จะเป็นโซลูชันเฉพาะทาง ไม่ว่าจะเป็น e-Finance การจัดการเรื่องของการเงินภายในองค์กร e-HRM, Logistic, Marketing Sales CRM แล้วก็พวก e-Procurement ต่างๆ สามารถเข้ามาสมัครกับเราได้

อย่าพลาดโอกาสครั้งสำคัญในการหาพาร์ทเนอร์พร้อมต่อยอดธุรกิจให้เติบโต 

ในช่วงสุดท้ายคุณชินาวุธได้ฝากโครงการนี้ว่าจะเป็นอีกโครงการหนึ่งที่เป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญที่ช่วยทำให้เกิดการเชื่อมต่อกันระหว่าง Service Provider, SI, Startup และ SMEs ซึ่ง คุณชินาวุธอยากต่อยอดคำว่า Finding The Best Enabler ไปสู่การ Finding The Best Partner และสุดท้ายมันจะเป็นการ Finding The Best Co-creator หรือคนร่วมกันสร้างสรรค์ และหากสามารถตอบโจทย์ SMEs ได้ก็จะเป็นอีกหนึ่งโอกาสใหม่ของทั้ง SI Startup และ Service Provider

เช่นเดียวกันคุณณัฐพลก็ได้ฝากไว้ในมุมของตลาดหลักทรัพย์ซึ่งถือเป็นตัวแทนทางฝั่ง Demand ว่า นอกเหนือจาก SET และ MAI ที่มีบริษัทจดทะเบียนที่ต้องการมองหา e-Solution ต่างๆ ซึ่งทุกวันนี้ทุกคนจะมองหา Service Partner ในการมาร่วมขับเคลื่อนหรือเปลี่ยนแปลงองค์กร และทางตลาดหลักทรัพย์เองก็ได้ร่วมกับสำนักงาน ก.ล.ต. โดยพยายามเพิ่มการเข้าถึงตลาดทุนให้กับ SMEs Startup เพราะฉะนั้นจึงมีอีกหนึ่งตัวเร่งที่จะทำให้ SMEs Startup มองหา Infrastructure และ IT Platform ที่ดีที่จะช่วยทำให้สามารถเติบโตเป็นบริษัทขนาดใหญ่ได้ 

สุดท้ายนี้ทางฝั่งของคุณตฤณก็ได้ฝากไว้ว่าโครงการนี้จะเป็นเหมือนกับประตูเปิดรับโซลูชันต่างๆ ให้มาอยู่ใน Sandbox ของทาง ETDA โดยพร้อมส่งเสริม ดูแลความเสี่ยงและร่วมเดินไปด้วยกันกับ Service Provider ซึ่ง ETDA จะช่วยส่งเสริมในเรื่องของมาตรฐาน ส่งเสริมด้านกฎหมาย พร้อมหาพาร์ทเนอร์ และขยายตลาดสู่สเกลธุรกิจที่เติบโตยิ่งขึ้น

สำหรับทุกทีมที่เข้าร่วมสามารถติดตามกิจกรรมการแข่งขัน Hackathon: Finding the Best Enabler ได้ตามกำหนดการข้างล่างนี้

  • ประกาศผลผู้เข้ารอบ 40 ทีม : 15 พฤศจิกายน 2564

  • ผู้เข้ารอบ 40 ทีม เข้าร่วมพรีเซนต์ Solution กับคณะกรรมการ : 17 พฤศจิกายน 2564

  • AWS Workshop : 18 พฤศจิกายน 2564

  • ประกาศผลผู้เข้ารอบ 10 ทีม : 18 พฤศจิกายน 2564

  • Openhouse & Workshop ครั้งที่ 1 : 20 พฤศจิกายน 2564

  • Workshop ครั้งที่ 2 และ 3 & Mentoring sessions : 21 พฤศจิกายน 2564

  • Pitch Day & Business Matching : 30 พฤศจิกายน 2564

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ [email protected]

หรือโทร 02-286-7646, 06-4658-9500

สำหรับบุคคลทั่วไปที่สนใจสามารถร่วมส่งแรงเชียร์และกำลังใจให้กับผู้เข้าแข่งขันได้ใน  Pitch Day & Business Matching ในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 

โปรดติดตามรายละเอียดการลงทะเบียนเข้าร่วมงานอีกครั้งทางเฟซบุ๊กเพจของ Techsauce และ ETDA Thailand

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

พลิกโฉมการจัดการโรคด้วย AI เปลี่ยนการรักษาสู่การป้องกันเชิงรุก

AI กำลังเข้ามามีบทบาทอย่างมากในการเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมสุขภาพและการแพทย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการจัดการโรค ซึ่งไม่ได้จำกัดอยู่แค่การรักษาอีกต่อไป แต่ยังครอบคลุมไปถึงการตรวจหาโรคตั้งแ...

Responsive image

Translucia ใช้ Generative AI อย่างไร ให้ผู้คนมีสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ที่ดี

ชวนดูแนวทางที่ Translucia บุกเบิกการใช้เทคโนโลยี AI เพิ่มความสามารถให้ AI Agent เรียกว่า ‘Empathetic AI’ ที่เข้าใจและใส่ใจความรู้สึกของผู้ใช้ ทั้งยังโต้ตอบได้แบบเรียลไทม์ใน Metaver...

Responsive image

7 เหตุผลที่ไทยต้องลุยอุตสาหกรรม Semiconductor ก่อนตกขบวนเศรษฐกิจโลกอีกครั้ง !

ค้นพบ 7 เหตุผลสำคัญที่เซมิคอนดักเตอร์กำลังกลายเป็นหัวใจของการพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีในประเทศไทย ตั้งแต่การส่งออก การลงทุน จนถึงการสนับสนุนอุตสาหกรรม EV...