อนาคตยานยนต์ไฟฟ้าของไทย จะดีแค่ไหน ? ถ้าเมืองไทยมี EV Ecosystem ที่ตอบโจทย์ผู้ใช้ได้จริง | Techsauce

อนาคตยานยนต์ไฟฟ้าของไทย จะดีแค่ไหน ? ถ้าเมืองไทยมี EV Ecosystem ที่ตอบโจทย์ผู้ใช้ได้จริง

จากปัญหาความผันผวนของค่าน้ำมันและราคาพลังงาน ต้นทุนทั้งการบำรุงรักษาและมลพิษของรถยนต์สันดาบ ตลอดจนความตระหนักรู้ต่อความสำคัญของสิ่งแวดล้อม นำมาซึ่งนโยบายด้าน ESG (Environmental, Social, Governance) ที่ให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม และความต้องการที่จะลดคาร์บอนเป็นศูนย์ (Net Zero)

ส่งผลให้ Electric Vehicle (EV) หรือ ยานยนต์ไฟฟ้า กลายเป็นประเด็นที่ทั้งโลกจับตามองในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้ด้วย ในฐานะที่เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่สำคัญที่มีค่าใช้จ่ายด้านพลังงานที่ต่ำกว่า เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่า ค่าบำรุงรักษาที่ต่ำกว่า และมีหน้าตาที่โฉบเฉี่ยวทันสมัย 

จากปัญหาความผันผวนของค่าน้ำมันและราคาพลังงาน ต้นทุนทั้งการบำรุงรักษาและมลพิษของรถยนต์สันดาบ ตลอดจนความตระหนักรู้ต่อความสำคัญของสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้ Electric Vehicle (EV) หรือ ยานยนต์ไฟฟ้า กลายเป็นประเด็นที่ทั้งโลกจับตามองในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้ด้วย

เหล่ามหาเศรษฐีคนสำคัญระดับโลก ทั้ง Bill Gates, Jeff Bezos, Jack Ma และรายอื่น ๆ ล้วนได้ร่วมลงทุนในธุรกิจที่จะส่งผลต่อระบบนิเวศน์ของรถ EV โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการผลิตแบตเตอรี่สำหรับรถ EV ที่ต้องอาศัยแร่หายากมาใช้ในการผลิต

และจากปัจจัยที่ราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ในช่วงที่ผ่านมานี้ พบว่ายอดขายของ EV จากค่ายต่าง ๆ นั้นเพิ่มขึ้น ด้วยความหวังของผู้ใช้งานที่ต้องการจะลดค่าใช้จ่ายลง และด้วยสภาพอากาศที่แย่ลงเรื่อย ๆ จากการปล่อยมลพิษ เป็นผลให้แนวโน้มการใช้งานรถ EV เพิ่มสูงขึ้น

ประเทศไทย อยู่จุดไหนของการมี EV Ecosystem?

ในช่วงที่ผ่านมา ความนิยมในการใช้รถ EV ของคนไทยเริ่มเพิ่มมากขึ้น จากที่เห็นในสื่อโฆษณาต่าง ๆ ที่เริ่มมีการโปรโมตยานยนต์ไฟฟ้า มีการตั้งสถานีชาร์จไฟในพื้นที่ต่าง ๆ มากขึ้น จึงนับว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของการก้าวเข้าสู่สังคมแห่งยานยนต์ไฟฟ้าในอนาคต

เช่นเดียวกันกับองค์กรต่าง ๆ ของไทย โดยเฉพาะองค์กรด้านพลังงานรายใหญ่หลายรายของไทย ที่ได้ไปจับมือกับองค์กรต่างชาติเพื่อนำเข้าและผลิตยานยนต์ไฟฟ้า รวมไปถึงการร่วมกันเปิดโรงงานเพื่อที่จะผลิตรถ EV เองในประเทศไทย มีการขยายพื้นที่ในการติดตั้ง EV Charging Station เพื่อรองรับการใช้งานรถ EV ที่เพิ่มมากขึ้นในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ

จากปัญหาความผันผวนของค่าน้ำมันและราคาพลังงาน ต้นทุนทั้งการบำรุงรักษาและมลพิษของรถยนต์สันดาบ ตลอดจนความตระหนักรู้ต่อความสำคัญของสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้ Electric Vehicle (EV) หรือ ยานยนต์ไฟฟ้า กลายเป็นประเด็นที่ทั้งโลกจับตามองในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้ด้วย

ในขณะที่ผู้ให้บริการอย่างเดลิเวอรีส่งอาหารและสินค้าบางราย ก็ได้มีการขยายบริการที่นำเอารถ EV มาใช้งานมากขึ้น อย่างเช่น การเปิดให้ไรเดอร์สามารถใช้งานรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าในการทำงาน พร้อมกับมอบสวัสดิการอย่างการเปิดสถานีเปลี่ยนแบตเตอรี่สำหรับ EV Bike ในหลายพื้นที่ให้ครอบคลุมการบริการ เป็นต้น 

และในส่วนของรัฐบาลไทยเอง ก็ได้ให้การสนับสนุนในหลายด้าน โดยเมื่อช่วงที่ผ่านมาก็ได้มีการอนุมัติแพคเกจ EV โดยลดภาษีนำเข้าและสรรพสามิตสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า รัฐบาลไทยพยายามที่จะบรรลุเป้าลดการปล่อยคาร์บอน ทำให้มีการเร่งผลักดันให้มีการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าเร็วขึ้น โดยได้มีการเริ่มศึกษาทดลอง และวางแผนพัฒนารถ EV ตามนโยบาย 30/30 

จะดีกว่าไหม ? ถ้าประเทศไทยมี EV Ecosystem ที่แข็งแรง

จากรายงานของ Arcadis พบว่ามี 3 ปัจจัยที่เป็นตัวเร่งให้เกิด EV Ecosystem ที่แข็งแกร่ง ได้แก่

  • การสนับสนุนและกระตุ้นจากรัฐบาล: กฎหมายและข้อบังคับของรัฐบาล เป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่จะช่วยสนับสนุนให้เกิดระบบนิเวศน์สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า ด้วยแรงกระตุ้นในด้านสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้หลายประเทศเริ่มออกกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ชัดเจนมากขึ้น ตัวอย่างเช่น การที่จะแบนการจำหน่ายรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายใน หรือ ICE Car ลงภายในปี 2030 ในขณะที่บางประเทศก็เริ่มนำเอารถ EV มาใช้งานแทนรถแบบเดิม  นอกจากนี้ ยังมีการกระตุ้นให้ประชาชนหันมาใช้รถ EV ผ่านการลดภาษีต่าง ๆ รวมไปถึงการเพิ่มสวัสดิการพิเศษให้ผู้ใช้ EV

  • มีตลาดรถ EV ที่เติบโตและแข็งแรง: ในช่วงที่ผ่านมา ถึงแม้ว่าตลาดรถ EV ในแต่ละประเทศจะมีการเติบโตมากขึ้น แต่หากเทียบกับตลาดของรถแบบ ICE ทั่วไป จะพบว่าตลาดรถ EV ยังเล็กมาก และไม่ได้มีตัวเลือกที่หลากหลายให้กับผู้ที่สนใจ ซึ่งส่งผลให้รถ EV มีราคาสูง และไม่รองรับกับการใช้งานที่หลากหลาย

  • มีสถานีชาร์จที่ครอบคลุม: การมีสถานีชาร์จสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า นับเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้คนตัดสินใจเลือกใช้งานรถ EV มากขึ้น เมื่อมีสถานีชาร์จไฟในหลากหลายพื้นที่ให้คนพร้อมใช้งาน ทั้งที่ใกล้บ้าน ใกล้ที่ทำงาน มีอยู่ในหลายสถานที่ตลอดการเดินทาง ทั้งใจกลางเมือง ชาญเมือง และในต่างจังหวัด เพื่อรองรับการใช้งานของผู้คนในทุกพื้นที่

จากปัญหาความผันผวนของค่าน้ำมันและราคาพลังงาน ต้นทุนทั้งการบำรุงรักษาและมลพิษของรถยนต์สันดาบ ตลอดจนความตระหนักรู้ต่อความสำคัญของสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้ Electric Vehicle (EV) หรือ ยานยนต์ไฟฟ้า กลายเป็นประเด็นที่ทั้งโลกจับตามองในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้ด้วย

ซึ่งเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างสิงคโปร์แล้ว ประเทศไทยยังตามหลังในด้านของการสนับสนุนข้องกฎหมายจากทางรัฐบาล และเรื่องของสถานีชาร์จที่ยังถือว่าน้อยกว่าจำนวนรถ EV โดย Arcadis ได้ศึกษาและพบว่า ในประเทศไทยมีอัตราส่วนรถ EV ต่อสถานีชาร์จอยู่ที่ 12.1:1 (หรือรถ EV 12.1 คันต่อสถานีชาร์จ 1 จุด) และภายในปี 2025 จะมีจำนวนผู้ใช้รถ EV อยู่ที่ 90 คนใน 1,000 คน (หรือประมาณ 9%)

แล้วจะช่วยยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าของไทยได้อย่างไร?

อย่างที่ทราบกันดีว่าทั้งภาครัฐและเอกชนต่างก็ให้ความสำคัญกับการยกระดับ EV Ecosystem ของไทยเป็นอย่างมาก แต่ละฝ่ายต่างเร่งเดินหน้าวางแผนให้กับอนาคตของประเทศ รวมไปถึง MG ที่มีวิสัยทัศน์ในการยกระดับให้ประเทศไทยก้าวเข้าสู่ EV Ecosystem ที่สมบูรณ์ตอบโจทย์ความต้องการใช้งานของผู้บริโภคมากขึ้น ผ่านการเดินหน้าใน 4 ด้านหลัก ดังนี้

  • เพื่อให้ตอบรับกับรูปแบบการใช้งานความต้องการและไลฟ์สไตล์ที่หลากหลายของทุกคน MG มีแผนที่จะขยาย EV Portfolio ด้วยการพัฒนาและนำเสนอยานยนต์ไฟฟ้าที่หลากหลาย โดยรถ EV ทุกรุ่นจะมาพร้อมเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อมอบประสบการณ์ที่ไม่เหมือนเดิมให้ทุกคน 

  • การจัดการแบตเตอรี่ที่คิดอย่างครบวงจร ที่ MG ได้ลงทุนกว่า 2,500 ล้านบาท ในการสร้างโรงงานผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า และอยู่ในระหว่างการศึกษาวิจัยในเรื่องของการพัฒนาและการจัดการแบตเตอรี่รถยนต์พลังงานไฟฟ้า ซึ่งรวมไปถึงเรื่องของการจัดการแบตเตอรี่รถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว 

  • เมื่อผู้ซื้อหลายคนยังกังวลกับความจุแบตเตอรี่ เนื่องจากปัญหาที่สถานีชาร์จอาจจะไม่เพียงพอ และไม่ครอบคลุมในพื้นที่ต่าง ๆ MG จึงได้มีแผนที่จะขยายพื้นที่ให้บริการสถานีชาร์จออกไปให้ทั่วถึงกับผู้ใช้งานทั่วประเทศ

  • MG ยังได้เดินหน้าเร่งสร้างความรู้พื้นฐานและความเข้าใจเกี่ยวกับรถยนต์พลังงานไฟฟ้าไปยังกลุ่มคนรุ่นใหม่ โดยมีแผนที่จะร่วมมือกับสถาบันการศึกษา เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และเตรียมความพร้อม ให้คนรุ่นใหม่เป็นกำลังสำคัญในการผลักดันให้เกิด EV Ecosystem ได้เร็วขึ้น อีกทั้งยังเร่งสร้างบุคลากรที่มีความชำนาญด้าน EV โดยเฉพาะ เพื่อเข้าสู่ตลาดแรงงานในอนาคต

จากปัญหาความผันผวนของค่าน้ำมันและราคาพลังงาน ต้นทุนทั้งการบำรุงรักษาและมลพิษของรถยนต์สันดาบ ตลอดจนความตระหนักรู้ต่อความสำคัญของสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้ Electric Vehicle (EV) หรือ ยานยนต์ไฟฟ้า กลายเป็นประเด็นที่ทั้งโลกจับตามองในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้ด้วย

จากกรณีของ MG นี้ นับว่าเป็นตัวอย่าง และสัญญาณที่ดีของประเทศไทย ที่ชี้ให้เห็นว่า อนาคตอันใกล้นี้ ประเทศไทยจะสามารถมี EV Ecosystem ที่แข็งแรงมากขึ้น มีการดึงเอามือของคนรุ่นใหม่เข้ามาเป็นผู้ร่วมขับเคลื่อนให้เกิดระบบนิเวศน์ที่สมบูรณ์มากขึ้น และจะดีขึ้นไปยิ่งกว่า หากคนไทยได้เห็นภาพและเข้าใจความสำคัญของรถ EV ที่ตอนนี้เรียกได้ว่าเป็น ยานยนต์แห่งอนาคต

บทความนี้เป็น Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

คนอยากใช้พลังงานเยอะ แต่โลกอยากได้ปล่อยคาร์บอนน้อย บริษัทพลังงานแก้ไขความย้อนแย้งนี้อย่างไรดีในยุค AI

The Energy/Prosperity Paradox หรือภาวะย้อนแย้งแห่งพลังงาน และความเจริญ ถือเป็นความท้าทายระดับโลกที่บริษัทด้านพลังงานกำลังพบเจอ เพราะในตอนนี้โลกกำลังต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างไม่เ...

Responsive image

เศรษฐกิจไทย ‘ฟื้นตัว’ แล้วหรือยัง ? ฟังความเห็นจาก 3 ผู้นำธุรกิจยักษ์ใหญ่ไทย

ค้นพบศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงไทย จีน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม และกัมพูชา พร้อมโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจในภาคอุตสาหกรรม การเงิน และเทคโนโลยี...

Responsive image

นวัตกรรมใหม่ จะสร้างโอกาส หรือเข้ามา Disrupt ธุรกิจแบบเดิมๆ ? ส่องความเห็นจาก CEO ชั้นนำในยุคนวัตกรรม

อนาคตกำลังมาถึงเร็วขึ้นเรื่อยๆ นวัตกรรมใหม่ๆ ผุดขึ้นมากมาย และกำลังเปลี่ยนโฉมธุรกิจทั่วโลกอย่างรวดเร็ว แต่คำถามสำคัญคือ นวัตกรรมอะไรบ้างที่กำลังขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงนี้? ใครคือผ...