มองอนาคตยานยนต์ไฟฟ้าหลังวิกฤต กับ ดร.ยศพงษ์ นายกสมาคม EVAT ก่อนลาตำแหน่ง | Techsauce

มองอนาคตยานยนต์ไฟฟ้าหลังวิกฤต กับ ดร.ยศพงษ์ นายกสมาคม EVAT ก่อนลาตำแหน่ง

ในช่วงเวลาเกือบ 5 ปีที่ผ่านมา หนึ่งในผู้มีส่วนขับเคลื่อนการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทย วันนี้เรามาพูดคุยกับ ดร.ยศพงษ์ ลออนวล หนึ่งในผู้ก่อตั้ง เเละ นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทยท่านแรก (EVAT) ถึงเเนวทางการดำเนินงานของ สมาคม ฯ ตั้งเเต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน แนวคิดในการผลักดันยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม รวมไปถึง มุมมองในอนาคตของยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย หลังจากสถานการณ์การเเพร่ระบาดชะลอตัวลง  

ตลอดระยะเวลา ปีที่ผ่านมา ในฐานะนายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย ได้มีบทบาทในการลักดันเรื่องยานยนต์ไฟฟ้า ให้เกิดขึ้นในประเทศไทย อย่างไรบ้าง 

ดร.ยศพงษ์ กล่าวว่า สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย เริ่มก่อตั้ง อย่างเป็นทางการตั้งเเต่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 (ค.ศ.2015) เป็นความร่วมมือระหว่างกลุ่มคนจากภาควิชาการและ ภาคเอกชน ภายใต้การสนับสนุนของภาครัฐ โดยใน ช่วงต้นปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) ผมได้มีโอกาสเข้าไปเป็นหนึ่งในที่ปรึกษา คณะอนุกรรมาธิการปฏิรูปพลังงานทดแทน พลังงานหมุนเวียนและอนุรักษ์พลังงาน ในคณะกรรมาธิการปฏิรูปพลังงาน สภาปฏิรูปแห่งชาติ  ซึงได้จัดทำข้อเสนอ การส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าให้ทางรัฐบาล และเป็นช่วงเวลาที่เริ่มมีนโยบายในการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าอย่างเป็นทางการ เเละมองว่า ณ ช่วงเวลาดังกล่าวถือเป็นการเริ่มต้นที่ดี เพราะในฐานะนักวิชาการ เราทราบปัญหาของประเทศไทย โดยเฉพาะเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ที่มีปัญหามลพิษจากการจราจรที่ติดขัด รวมทั้งปัญหา การปลดปล่อยก็าซเรือนกระจกที่เป็นตัวการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศหรือที่รู้จักกันว่าโลกร้อนซึ่งเป็น ปัญหาและความท้าทายระดับโลก การส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าจะช่วยบรรเทาปัญหาดังกล่าว และประเทศไทย เป็นหนึ่งในฐานการผลิตยานยนต์ที่สำคัญของโลก การส่งเสริมให้เกิดการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและ ชิ้นส่วนสำคัญ เช่น แบตเตอรี่ ภายในประเทศ การส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมในประเทศ พร้อมด้วยการส่งเสริม ผู้ประกอบการไทยให้สามารถไปแข่งขันในระดับโลกได้ในอนาคต โดยหวังว่าประเทศไทยจะเป็นฐานการผลิต ยานยนต์ไฟฟ้าของโลก ซึ่งจะช่วยทำให้ความสามารถในการแข่งขันของประเทศสูงขึ้น นำไปสู่ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และเป็นการเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ยั่งยืน ที่มีความต้องการใช้ยานยนต์สมัยใหม่และสามารถแก้ปัญหา สิ่งแวดล้อมที่กำลังเผชิญในระดับโลกได้ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวภายหลัง นำมาเป็นเป้าหมายหลักในการดำเนินงาน ของสมาคมฯในเวลาต่อมาอย่างต่อเนื่อง

สมาคมฯ  ยังได้เข้าไปมีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วนในการผลักดันโครงการและกิจกรรมในหลายเรื่อง อาทิ การสนับสนุน ให้เกิดโครงสร้างพื้นฐาน อย่างเช่น สถานีอัดประจุไฟฟ้า การส่งเสริมการวิจัยและพัฒนายานยนต์ไฟฟ้า ของประเทศ การทำงานในเชิงวิชาการในเรื่องมาตรฐานยานยนต์ไฟฟ้า หรือหลักสูตรในสถาบันการศึกษา การให้ความรู้แก่ประชาชน การส่งเสริมให้เกิดการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าและอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยควบคู่กัน และได้จัดทำ 8 ข้อเสนอการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าต่อภาครัฐในการผลักดันยานยนต์ไฟฟ้าให้เป็นรูปธรรม ได้แก่ การ จัดทำ EV Roadmap อย่างเป็นรูปธรรม ส่งเสริมการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า สนับสนุนให้มีการจัดทำมาตรฐานของยานยนต์ไฟฟ้า เเละชิ้นส่วน ที่เกี่ยวข้อง ส่งเสริมการออกมาตรการกระตุ้นการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า รวมถึงส่งเสริมศักยภาพเเละพัฒนาบุคลากรไทย ด้านการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า เป็นต้น  รวมทั้งได้จัดพิมพ์ข้อเสนอเหล่านี้ลง EVAT Directory 2020 อีกด้วย ซึ่งทางสมาคมฯ จะยังคงยึดมั่นเป้าหมายในการส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าให้แพร่หลายมากยิ่งขึ้น เพื่อลดปัญหามลพิษอย่างฝุ่นละออง ขนาดเล็ก (PM 2.5) ที่ส่งผลต่อสุขภาพประชาชน ตามที่ทราบกันดีนั้น ซึ่งที่ผ่านมา ทางสมาคมก็ได้มีการทำงานร่วมกับ ภาครัฐตามข้อเสนอดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง 



จากสถานการณ์โควิด 19 ส่งผลอย่างไรกับอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า 

ดร.ยศพงาษ์ กล่าวว่า ในระยะนี้ เศรษฐกิจของประเทศย่อมมีผลกระทบเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้  และลักษณะของ อุตสาหกรรมยานยนต์มีห่วงโซ่อุปทานที่ยาว ย่อมมีผลกระทบต่อเนื่องกันเป็นลูกโซ่ ซึ่งพอเกิดผลกระทบ การฟื้นตัวอาจจะ ต้องใช้เวลาพอสมควร แต่อย่างไรก็ดี เนื่องจากข้อจำกัดในเรื่องการลงทุนในช่วงนี้ ทำให้ผู้ผลิตต้องพิจารณาการลงทุน อย่างรอบคอบที่สามารถตอบโจทย์ได้ในระยะยาว กระเเสยานยนต์ไฟฟ้ากำลังจะกลายเป็นกระเเสหลัก ซึ่งเชื่อว่า อุตสาหกรรมยานยนต์ไทย จะมุ่งไปทางยานยนต์ไฟฟ้าด้วย โดยเฉพาะหากภาครัฐสนับสนุนเรื่องนี้อย่างจริงจังและต่อเนื่อง โดยใช้งบประมาณหรือทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดมุ่งเน้นในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน หากมีการชะลอในเรื่องที่เกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมสุดท้ายจะย้อนกลับเป็นปัญหาในระยะยาว ดังนั้น มองว่าแม้ว่าช่วงนี้จะมี ผลกระทบกับอุตสาหกรรมยานยนต์ที่มีผลประกอบการตกต่ำ แต่หากมองในภาพใหญ่และในระยะยาว ยานยนต์ไฟฟ้า เป็นสิ่งคำตอบอย่างแน่นอน ดังนั้นที่เราคิดว่าไกลตัว อาจจะ เริ่มใกล้ตัวเรามากขึ้น เพราะเป็นเรื่องของการเปลี่ยนเเปลงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ภาคเอกชนที่ปรับเปลี่ยนเเปลงตัวได้ทันเวลา จะทำให้รอดพ้นวิกฤตและเปลี่ยนเป็นโอกาสในการ เปลี่ยนแปลงครั้งนี้ และมองว่าในช่วงปีค.ศ. 2025-2030 ตลาดของยานยนต์ไฟฟ้า จะมีสัดส่วนไม่น้อยกว่า 30 %  และแน่นอนในตลาดแห่งการแข่งขัน ผู้ปรับตัวได้ก่อน จะสามารถยืนหยัดอยู่ได้ เเละผู้ที่ไม่สามารถปรับตัวได้ทัน อาจจะต้องเป็นผู้สูญเสียตลาดนี้ไป  ขณะเดียวกันเราก็จะพบผู้เล่นใหม่ในตลาดเช่นกัน อีกทั้งในอนาคต ยานยนต์สมัยใหม่จะไม่ได้มีเเค่เรื่องยานยนต์ไฟฟ้าเเต่จะมีเรื่องการขับขี่อัตโนมัติ การเชื่อมต่อสื่อสารกับภายนอกยานยนต์  เเละเกิดรูปแบบธุรกิจยานยนต์ใหม่ เช่น การเเบ่งปัน (Mobility Sharing ) เรื่องนี้เป็นแนวโน้มของยานยนต์สมัยใหม่ ไม่มีใครสามารถคาดการณ์ได้ทั้งหมดแต่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน ต้องพร้อมปรับตัวและก้าวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงนี้

ดรยศพงษ์ ลออนวล กับบทบาทใหม่

ดร. ยศพงษ์ ลออนวล ในฐานะ บทบาทใหม่หัวหน้าศูนย์วิจัย Mobility and Vehicle Technology Research Center มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มจธ. หรือ เรียกสั้นๆว่า MOVE (มูฟ)  โดยมีวิสัยทัศน์นำ MOVE ให้ก้าวเป็น ผู้นำด้านยานยนต์สมัยใหม่ที่ยั่งยืนผ่านการวิจัย นวัตกรรม และการศึกษา และ มีพันธกิจ การพัฒนา เทคโนโลยี เเละ นวัตกรรมด้านยานยนต์สมัยใหม่ ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับผู้ประกอบการเพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้ รวมไปถึง การพัฒนาเเละสร้างห้องปฎิบัติการวิจัยที่ทันสมัยเพื่อรองรับการวิจัยโดยมีจะช่วยขับเคลื่อน มจธ. สู่การพัฒนา ที่ยั่งยืน โดย เสนอแนวคิด “การขนส่งแบบไร้มลพิษ เพื่อก้าวไปสู่การเดินทางที่ยั่งยืน” โดยการใช้ มหาวิทยาลัย เป็นสนามทดสอบ (Test Bed) และแหล่งเรียนรู้และวิจัยในวิถีชีวิต (Living Lab) ซึ่งในปัจจุบัน ศูนย์วิจัย นี้ได้มีการดำเนินงาน ร่วมเป็น พันธมิตร ทั้งกับภาครัฐเเละภาคเอกชนหลายภาคส่วน

(https://move.kmutt.ac.th)

เเละ ในขณะเดียวกันยังไปช่วยในส่วนของงานบริหารมหาวิทยาลัย ด้วยล่าสุด ดร.ยศพงษ์ เพิ่งได้รับแต่งตั้งเป็น ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายพัฒนาความยั่งยืน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี  (มจธ.) โดยมจธ.มีนโยบาย การพัฒนา มหาวิทยาลัยที่ยั่งยืนโดยเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวและการเป็น Entrepreneruial University  และการสร้าง ผู้นำ แห่งการ เปลี่ยนแปลงออกสู่สังคม (social change agent) โดยมหาวิทยาลัยมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้นำการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในทุกกิจกรรม ตั้งแต่การดำเนินงาน การเรียนการสอน การทำวิจัยและนวัตกรรม จนถึงการบริการวิชาการ เพื่อชุมชน และผู้ประกอบการ  และมี 5 เป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อน ได้แก่

เป้าหมายที่ 1 สร้างการมีส่วนร่วมของนักศึกษา 

เป้าหมายที่ 2 สร้างผลกระทบจากผลงานวิจัยและนวัตกรรม

เป้าหมายที่ 3 สร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชน

เป้าหมายที่ 4 สร้างโครงสร้างพื้นฐานและสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

เป้าหมายที่ 5 สร้างสรรค์ระบบการบริหารที่ยั่งยืน

สิ่งเหล่านี้ถือเป็นพันธกิจสำคัญของมหาวิทยาลัยเเละผู้บริหารที่จะต้องเดินหน้าเเละสานต่อไปพร้อมกัน 

ดร. ยศพงษ์ ลออนวล ยังได้ทิ้งท้ายไว้ว่า การสิ้นสุดตำแหน่งไม่ได้หมายถึงการสิ้นสุดการทำงาน เพราะเรื่องเทคโนโลยี ยานยนต์ไฟฟ้าหรือยานยนต์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ที่จะแนวโน้มของยานยนต์สมัยใหม่ เป็นสิ่งที่ตนทำมาเป็นเวลามากกว่า 10ปี ก่อนจะเกิดสมาคมหรือมีตำแหน่งใดๆ ดังนั้นยังทำงานในเชิงวิชาการอย่างต่อเนื่องแน่นนอน นอกจากนี้ในฐานะ ที่ยัง ทำหน้าที่ในกรรมการผู้ทรงคุณวุติในคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ  จะช่วยผลักดันให้เกิดการส่งเสริม ยานยนต์ไฟฟ้าอย่างต่อเนื่องได้อีกด้วย 

สำหรับการส่งไม้ต่อ ให้กรรมการชุดใหม่นั้น กล่าวว่า ที่ผ่านมาการทำงานของสมาคมฯเน้นการมีส่วนร่วมของสมาชิกทุกคน ผ่านกระบวนการทำงานในรูปแบบคณะทำงานและผ่านการกลั่นกรองและมติของกรรมการสมาคมฯมาโดยตลอด ดังนั้น การดำเนินงานของนายกสมาคมหรือกรรมการใหม่ ย่อมต้องสานต่อความต้องการของสมาชิกสมาคมฯ และข้อเสนอ 8 ข้อ ของสมาคมฯ ยังเป็นสิ่งที่ต้องติดตามและทำงานร่วมกับทุกภาคส่วนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของสมาคมฯ นอกจากนี้ การมี คนใหม่ถือเป็นโอกาสที่ดีที่สมาคมฯมีการพัฒนาที่ต่อเนื่องและเป็นการเปิดโอกาสให้สมาชิกเข้ามาสานต่อการทำงานของสมาคมฯ และการส่วนร่วมในการผลักดันและส่งเสริมให้ประเทศไทยมี การใช้ยานยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อมาบรรเทา ปัญหามลพิษของประเทศรวมทั้งการส่งเสริมการพัฒนาระบบนิเวศของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าที่มั่นคงเเละยั่งยืนต่อไป 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...

Responsive image

GAC รถแห่งเมืองกวางโจว ขวัญใจแท็กซี่ยุคใหม่ | Tech for Biz EP. 30

แบรนด์รถยนต์ที่เป็นความภูมิใจของคนกวางโจว สู่ขวัญใจแท็กซี่ยุคใหม่ คลิปนี้ Tech for Biz จะพาไปรู้จัก GAC ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าสัญชาติจีนอีกเจ้าที่กำลังบุกตลาดเมืองไทย...

Responsive image

เปิดดีล NVIDIA ปี 2024 ในอาเซียนไปร่วมมือใครมาบ้าง ?

NVIDIA ขยายอิทธิพลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปี 2024 ด้วยการลงทุน AI Centers และการพัฒนาระบบ AI ร่วมกับพันธมิตรในอินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม และไทย ขับเคลื่อนภูมิภาคสู่การเป็นศูนย์...