Exclusive: สัมภาษณ์พิเศษไขความลับอิสราเอลกับการสร้าง Startup ด้านนวัตกรรม | Techsauce

Exclusive: สัมภาษณ์พิเศษไขความลับอิสราเอลกับการสร้าง Startup ด้านนวัตกรรม

Barak (1)

ทุกครั้งที่ทีมงานนึกถึงประเทศอิสราเอลทีไร มักทำให้ต้องนึกถึงประเทศที่สามารถสร้างบริษัทที่มาพร้อมนวัตกรรมชั้นสูง ก่อนหน้าที่ Tech Startup จะบูมในบ้านเรา ถ้าใครทำงานอยู่ในภาคธุรกิจไอทีและสื่อสารโทรคมนาคม มักจะเจอซัพพลายเออร์ที่นำเสนอโซลูชั่นที่มีเทคโนโลยีเชิงลึกจากประเทศนี้อยู่บ่อยๆ  อะไรเป็นปัจจัยสำคัญที่ให้ประเทศถูกขับเคลื่อนไปในทิศทางดังกล่าวได้ วันนี้เราจะไปค้นหาคำตอบกันกับหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจและผู้แทนทางการค้าสถานทูตอิสราเอล ประจำประเทศไทย

ก่อนอื่นช่วยบอกให้เราทราบเกี่ยวกับบทบาทของคุณในสถานทูตอิสราเอลหน่อย?

ผม Barak Sharabi เป็นหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจและผู้แทนทางการค้าที่ทำงานกับสถานทูตอิสราเอล โดยผมรับผิดชอบในการส่งเสริมและสนับสนุนการค้าและเศรษฐกิจของอิสราเอลในประเทศไทยพม่าและกัมพูชารวมทั้งส่งเสริมความร่วมมือทางธุรกิจระหว่างประเทศและลดอุปสรรคทางการค้า

เป็นคำถามที่หลายคนสนใจมากอิสราเอลผลิต Startup ที่มีความโดดเด่นในเชิงนวัตกรรมได้อย่างไร ผมว่าจุดแข็งทางด้านเทคโนโลยีของเรามาจากหลายๆ ปัจจัยนะครับ ตั้งแต่

ความคิดสร้างสรรค์ และเรามีสิ่งแวดล้อมที่สนับสนุน เราสร้างวัฒนธรรมให้คนพัฒนาสิ่งใหม่ๆ ขึ้นมา ซึ่งสะท้อนออกมาในการจัดอันดับต่างๆ เช่น อิสราเอลติดอันดับ 1 ของโลกในด้าน Innovative Capacity โดยการจัดอันดับของ IMD Global competitive year book เราติดอันดับ 3 ของโลกในด้าน Innovation จัดโดย WEF Global competitive yearbook 2013-2014

วัฒนธรรม เรากระตุ้นให้คนออกจาก Comfort Zone และออกมาทำในสิ่งใหม่ๆ ที่คนไม่เคยทำมาก่อน ให้ลองแหกกฎ กล้าเสี่ยง และอดทนต่อความล้มเหลวให้ได้ เพราะสิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่จะนำพาสู่ความสำเร็จ สิ่งเหล่านี้จึงทำให้

อิสราเอลติดอันดับ 1 ในแง่ของจำนวน Startup ต่อประชากร (รองลงมาจาก Silicon Valley) Tel-Aviv เมืองศูนย์กลางทางธรกิจของอิสราเอล เป็นอันดับ 2 ของโลกที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นเมืองที่มี Innovation Ecosystem ที่ดีที่สุด จัดอันดับโดย startup Ecosystem Report 2012.

Ecosystem และการศึกษา อิสราเอลเราเป็นประเทศเล็กๆ ที่มีการนำ Ecosystem มาช่วยในการเติบโตธุรกิจ เราปลูกฝังจิตวิญญาณผู้ประกอบการตั้งแต่ในระดับครอบครัวไปจนกระทั่งระบบการศึกษา

โดยระบบการศึกษาในประเทศอิสราเอลเน้นการส่งเสริมความเป็นเลิศ กระตุ้นให้มีส่วนร่วม สนับสนุนให้คิดอย่างสร้างสรรค์และรู้จักคิดนอกกรอบ ประเทศอิสราเอล มี Startups ด้านนวัตกรรมใหม่ๆ  ประมาณ 1,000 รายต่อปี (เรียกว่าเกิดกันทุกๆ 8ชม) อิสราเอลติดอันดับต้นๆ ด้าน Educational & Academic Institutions (อันดับ 1 ในด้านจำนวนวิศวรและนักวิทยาศาสต์ต่อจำนวนประชากรทั้งหมด - ตามหลังสหรัฐฯ)

มากกว่า 250 บริษัทต่างชาติที่เปิดศูนย์วิจัยในอิสราเอล หลายบริษัทใช้ที่นี่เป็นศูนย์หลักรองลงมาจากสำนักงานใหญ่

ประสบการณ์และการฝึกแก้ปัญหา การได้รับคำสั่งเข้ารับราชการทหารของกลุ่มคนในอิสราเอลล (ชายและหญิง)  หลังจากที่พวกเขาอายุถึง 18 ปี เป็นแรงขับเคลื่อนพวกเขานำไปสู่ความสำเร็จ บางกลุ่มจะได้ทำงานกับเทคโนโลยีชั้นสูง บางส่วนก็ยังคงปฎิบัติงานและฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำให้พวกเขาได้ฝึกในการแก้ปัญหาและคิดวางแผนให้เป็นกลยุทธ์

กลุ่มผู้อพยพ อิสราเอลมีผู้อพยพและมีความหลากหลายทางด้านเชิ้อชาติและวัฒนธรรม แล้วเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างไร? กล่าวคือ เราเปิดรับมุมมองที่แตกต่างนี้ เป็นการสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมใหม่ๆ  เราสนับสนุนไอเดียการทำงานแบบร่วมมือกันจากมุมมองที่แตกต่างกันผู้อพยพมีโอกาสในการสร้างชีวิตใหม่ได้ ณ ที่แห่งนี้

แนวทางจากภาครัฐ ในอิสราเอลมีความร่วมมือเฉพาะระหว่างรัฐบาล, สถาบันการศึกษารวมถึงภาคเอกชน โดยรัฐบาลอิสราเอลมีส่วนช่วยในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ที่สำคัญหลายๆ จุด เริ่มต้นจากพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์ โดยมีการสนับสนุนทางการเงินสำหรับ งานวิจัยและพัฒนา

อิสราเอลมีโปรแกรมต่างๆ ที่คอยสนับสนุนการวิจัยและพัฒนารวมทั้งการลงทุนคือ โปรแกรมที่จะสนับสนุนด้านวิจัยและพัฒนา (R&D) ในด้านอุตสาหกรรม , การลงทุนและการจ้างงาน ,การสนับสนุนด้านภาษีสำหรับนักลงทุนในอิสราเอล, การสนับสนุนการฝึกอบรมวิชาชีพ เป็นต้น นั่นทำให้เราติดอันดับ 1 ในประเทศที่ใช้จ่ายเงินเพื่อการวิจัยและพัฒนา (% ของ GDP)

ธุรกิจประเภทไหนที่ตอนนี้ทางอิสราเอลให้ความสนใจเป็นพิเศษ? อิสราเอลมีระบบนวัตกรรมที่หลากหลายในหลายภาคของธุรกิจ ซึ่งสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  Israel Innovative Technologies (I.I.T.) โดยหมวดที่เราสนใจมีดังนี้ครับ

- IT - Telecom - Cyber Security - Internet and New Media - Life Science and Health Industries - Home Land Security (HLS) and Aerospace - Industrial Technologies - Agricultural - Food Technologies - Clean-Tech (เทคโนโลยีน้ำและพลังงานทดแทน)

นวัตกรรมเหล่านี้ช่วยปรับปรุงการดำเนินชีวิตประจำวัน เชื่อมโยงพวกเขาถึงกันด้วยเทเลคอมและเทคโนโลยีการบินและอวกาศ, การวินิจฉัยและการรักษาด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์, การผลิตอาหารและน้ำ (Agro, Water and Clean Tech) ระบบรักษาความปลอดภัย(HLS) และอื่นๆ อีกมากมาย เราได้รับการสนับสนุนเงินทุนทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมกว่า 15 พันล้านเหรียญฯ ต่อปีจากทั่วโลก

เนื่องจากคุณเป็นหนึ่งในผู้สนับสนุน Startup Ecosystem ช่วยเล่ามุมมองที่มีต่อ Startup ไทยและความแตกต่างที่คุณเห็น ผมขอแบ่งออกเป็นหลายๆ มุมนะครับ

โอกาส / ความท้าทาย ของธุรกิจ ประเทศไทยเป็นประเทศที่กำลังพัฒนา และต้องการเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในด้านการจัดการ อย่างไรก็ตามตัวประเทศเองก็มีความแตกต่างในตัวเอง ความเจริญนั้นกระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพ แต่ถ้าพูดถึงประเทศไทยสิ่งสำคัญคือต้องมองในภาพรวมทั้งประเทศ แม้มันจะไม่ง่าย แต่ผมมองว่าทุกที่และทุกอย่างมีโอกาสอยู่ครับ ในขณะที่ตลาดสื่อสารโทรคมนาคม การพัฒนาโครงข่ายและการแข่งขันที่สูงของผู้ให้บริการเปิดโอกาสให้ Startup สามารถพัฒนาบริการจากที่ไหนก็ได้

โซเชียลมีเดียมีบทบาทสำคัญ ประเทศไทยเป็นผู้นำในภูมิภาคนี้ที่มีการใช้โซเชียลมีเดียเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น LINE, Facebook, Twitter และ Instagram ในขณะที่อัตราการใช้โทรศัพท์มือถือสูง และมีโมเดลธุรกิจบนโลกโซเชียลเกิดขึ้นมากมาย การที่คนเข้ามาจากต่างจังหวัดสู่กรุงเทพ กรุงเทพจึงกลายเป็นศูนย์กลางหลัก ประเทศไทยยังคงถูกมองเป็นมุมผู้ใช้มากกว่าเป็นผู้สร้างแอปฯ อย่างไรก็ตามไทยยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โซเชียลมีเดียมีบทบาทสำคัญที่จะช่วยพัฒนาอุตสหกรรมและตลาดของประเทศต่อไป

ผมได้เห็นการเปลี่ยนแปลงต่างๆ มากมายในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา  ผมเห็นผู้บริหารหนุ่ม ที่มีความรู้, ประสบการณ์, และกล้าที่จะลุกขึ้นมาทำ! ซึ่งตรงนี้อาจเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญครับ ผู้ประกอบการเหล่านี้ตัดสินใจสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ด้วยมือของพวกเขาเอง อาทิเช่น aCommerce, Hubba, PocketPlay, Ookbee และ 500TukTuks นี่เป็นเพียงตัวอย่างของการกระตุ้นจาก Ecosystem

MatJakobNatBarak

Ecosystem กำลังได้รับการพัฒนาอย่างที่กล่าวไว้ แต่ก็ยังมีอีกหลายสิ่งหลายอย่างที่ต้องทำ ไม่ว่าจะเป็นการจัดอีเว้นท์ที่มากขึ้น มีตัวอย่างผู้ประสบความสำเร็จมากขึ้น กล้าเสี่ยงมากขึ้น และสิ่งสำคัญที่สุดต้องการการสนับสนุนมากขึ้น

ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษาควรร่วมมือกันในการสร้าง Ecosystem นี้ให้แข็งแรง เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ และลงทุนในส่วนของการวิจัยและพัฒนา (R&D)

หากประเทศไทยได้รับการสนับสนุนและถ่ายทอดความรู้ จะนำไปสู่รายได้ที่เพิ่มขึ้น GDP สูงขึ้น ดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศมากขึ้น โดยเป้าหมายทั้งหมดที่ตั้งไว้จะทำให้บรรลุเป้าหมายภายในปี 2020

ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงในการเข้าถึงเงินทุน เราเห็นว่ามีเงินทุนที่มาจากองค์กรขนาดใหญ่, Crowdfunding นอกเหนือจาก Venture Capital, Angels และ ภาครัฐ

ด้านนวัตกรรม ในด้านวิจัยและพัฒนา (R&D) เป็นส่วนสำคัญของการสร้างนวัตกรรม ไม่ใช่แค่การสร้างสิ่งใหม่ๆ ให้กับโลกแต่ยังสำคัญกับการสร้างสิ่งใหม่ๆ ให้กับองค์กรด้วย อย่างไรก็ตามนวัตกรรมนั้นมีอยู่ทุกที่ ไม่ใช่แค่ R&D แต่อยู่ที่แนวคิด และวิถีทางของการสร้าง ประเทศไทยมีนวัตกรอยู่ไม่น้อยแต่ต้องค้นหาให้พบและสนับสนุนพวกเขา

อิสราเอลมี Angels และ VC เป็นจำนวนมาก ช่วยแชร์หน่อยว่าระหว่างสถานฑูตและ Startup ไทยจะร่วมมือกันอย่างไรได้บ้าง

การนำ Israel Innovation Technologies (IIT) มาประยุกต์ใช้จะช่วยอุตสหกรรมไทยในมุมของการลดต้นทุนการผลิต มีความเป็นไปได้หลายอย่างที่บริษัทไทยจะร่วมมือกับบริษัทอิสราเอล ไม่ว่าจะเป็นการทำ R & D ร่วมกัน ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยสำนักงานของผมเป็นช่องทางใหม่ของการระดมทุนเพื่อผู้ประกอบการ SMEs และอีกมุมคือการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในตลาดไทย

ผมเชื่อว่าการที่มีอีเว้นท์มากขึ้น การสนับสนุนจากทั้งภาครัฐ และเอกชนในกลุ่มผู้ประกอบการรุ่นใหม่ การเปิดคอร์สด้านนวัตกรรมให้กลายเป็นส่วนหนึ่งในโปรแกรมผู้ประกอบการของมหาวิทยาลัย การพัฒนาศักยภาพด้านภาษาต่างประเทศ สนับสนุนให้มีการแบ่งปันไอเดียและระดมสมองจะช่วยให้ไทยก้าวไปอีกขั้น และทางเราภูมิใจและยินดีที่จะสนับสนุนและขับเคลื่อนไปด้วยกันครับ

BS YV

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เปิดกลยุทธ์ธุรกิจยุคใหม่ พลิกข้อมูล สู่ขุมทรัพย์ด้วย analyticX ด้วยพลัง Telco Data Insights และ GenAI

ยุคนี้ใคร ๆ ก็พูดถึง Data แต่จะใช้ Data อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่างหากคือกุญแจสำคัญ! ในสัมมนาสุดเอ็กซ์คลูซีฟ "Unlocking Data-Driven Decisions with Telecom Data Insights" ที่จั...

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...