สัมภาษณ์พิเศษ : เชลล์ กับการพัฒนา EnergyTech และ CleanTech สู้การเปลี่ยนแปลงในธุรกิจน้ำมัน

ที่งาน “NTCC Business 4.0, Innovation Award Dinner 2017” จัดขึ้นโดย The Netherlands-Thai Chamber of Commerce ทีมงาน Techsauce มีโอกาสได้เข้าไปพูดคุยกับคุณอัษฎา หะรินสุต ประธานกรรมการ บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด ถึงมุมมองต่อการพัฒนา EnergyTech และ CleanTech ของเชลล์ รวมถึงมุมมองต่อเทคโนโลยีที่จะมา Disrupt ธุรกิจน้ำมัน

อนาคตของ EnergyTech และ CleanTech

โลกของเรากำลังเข้าสู่ยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงานครั้งสำคัญ เนื่องด้วยการเจริญเติบโตของจำนวนประชากร จาก 7500 ล้านคน เป็นหมื่นล้านคนภายในปี 2050 ซึ่งนั่นส่งผลให้ความต้องการด้านพลังงานเพิ่มขึ้นตามไปด้วย อาจจะเพิ่มมากขึ้นถึงสองเท่า และประชากรที่เพิ่มมากขึ้นนั้น ก็เป็นคนชั้นกลางที่เพิ่มมากขึ้นด้วย คนเหล่านี้จะมีความต้องการใช้พลังงานมากขึ้น ทั้งเพื่อการเดินทาง และการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน อย่าง ตู้เย็น เครื่องล้างจาน เป็นต้น

ปัญหาที่โลกเรากำลังเผชิญ ทั้งปัญหาโลกร้อน และสภาพแวดล้อม ทำให้เราต้องการพลังงานสะอาดที่มีคาร์บอนไดออกไซด์น้อยลง และมีความยั่งยืนมากขึ้น ดังนั้นเวลาที่เชลล์คิดถึงเรื่องพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ เรามักจะคำนึงถึงผลกระทบต่อผู้คน ผลกระทบต่อสังคมและเศรษฐกิจ และอีกหลายๆ ด้านเสมอ ว่าเทคโนโลยีใหม่นี้มันจะใช้ได้หรือไม่ได้ เรามักจะมองในภาพรวมของสังคม ว่าเทคโนโลยีนี้จะถูกนำไปใช้อย่างไร และจะมันจะถูกเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรเมื่อเวลาผ่านไปในอนาคต เพราะฉะนั้น มันจึงไม่ได้เกี่ยวข้องแค่ตัวเทคโนโลยีเท่านั้น แต่มันรวมถึงความเข้าใจว่าเทคโนโลยีจะทำงานอย่างไร และมีผลอย่างไรต่อสังคมด้วย

นอกจากนี้ เรายังมองนวัตกรรมที่เกี่ยวกับผู้คน ทั้งการพัฒนาคนให้สามารถสร้างนวัตกรรมได้เร็วขึ้น การทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์เพื่อแก้ปัญหาใหญ่นี้ เนื่องจากแค่เราตัวคนเดียว ไม่สามารถแก้ไขปัญหาทั้งหมดได้ เราจึงร่วมงานกับทั้งภาครัฐ และบริษัทเทคโนโลยีเพื่อร่วมกันแก้ปัญหา ซึ่งทั้งหมดนี้คือสิ่งที่เราคำนึงถึงเสมอเมื่อพัฒนานวัตกรรมใหม่

Tony Seba นักเศรษฐศาสตร์ของ Stanford กล่าวว่า "ยานยนต์ไฟฟ้าจะฆ่าธุรกิจน้ำมันภายในปี 2030" คุณคิดว่าอย่างไร ?

เชลล์ตระหนักดีถึงความเปลี่ยนแปลงของความต้องการด้านพลังงาน ที่ต้องการพลังงานสะอาด ดีต่อสภาพอากาศ และหนึ่งในสิ่งที่ผู้คนพูดถึงกันมาก ก็คือยานยนต์ไฟฟ้า แต่ผมคิดว่าเวลาที่เราพูดถึงยานยนต์ไฟฟ้า คนส่วนใหญ่จะยังไม่ค่อยรู้ว่า จริงๆ แล้ว มันสามารถแบ่งได้ออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ อย่างแรกคือ แบบที่ใช้แบตเตอรี่ อย่างที่สองคือ ยานยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิง และ เทคโนโลยีเซลล์เชื้อเพลิงเอทานอล ซึ่งทั้งสามอย่างนี้มีแหล่งเก็บพลังงานต่างกันออกไป แต่ก็ถือเป็นยานยนต์ไฟฟ้าเช่นกัน

เชลล์ได้ตั้งบริษัทหน่วย New Energies ขึ้นมาเพื่อศึกษาและลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ๆ และจากสตาร์ทอัพ เพื่อเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลมากขึ้น โดยเรามีแผนใช้งบประมาณ 1-2 พันล้านดอลลาร์ต่อปี เพื่อลงทุนในพลังงานใหม่ ที่รวมถึงพลังงานสะอาด ก๊าซ เชื้อเพลิงชีวภาพที่มีคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำ และ Ethanol ที่ประเทศไทยกำลังใช้อยู่ โดยเราสามารถผลิตพลังงานเหล่านี้ ให้มีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมน้อยที่สุด ซึ่งที่ผ่านมาเชลล์ได้ร่วมกับเกรษตรกรนับพันคน เพื่อผลิตน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยไม่บุกรุกพื้นที่ป่าและไม่ปล่อยมลพิษลงแม่น้ำ

สิ่งที่เชลล์กำลังทำในประเทศไทยเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับพลังงานใหม่ที่ยั่งยืน โดยเฉพาะกับประเทศเราที่ปัจจุบันรัฐบาลกำลังมุ่งเน้นให้มีการใช้ เชื้อเพลิงชีวภาพ และผลักดันให้เป็นผู้นำอุตสาหกรรมชีวภาพในระดับโลก ตามนโยบาย Thailand 4.0

เทคโนโลยี DYNAFLEX คืออะไร? ทำไมถึงพัฒนาเทคโนโลยีนี้ขึ้นมา?

DYNAFLEX เป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุด และเป็นเชื้อเพลิงที่ถูกพัฒนามาอย่างดีที่สุดของเชลล์ ตั้งแต่เริ่มทำการคิดค้นมาเป็น 100 ปี โดยเชลล์มีความเชื่อมั่นในเรื่องการพัฒนานวัตกรรมมาตั้งนานแล้ว และเราได้ทำการทดลองเทคโนโลยีและเชื้อเพลิงใหม่อยู่ตลอด เราทดลองกับประเทศต่างๆ ทั่วโลก และนำมาปรับใช้กับประเทศไทย ซึ่ง DYNAFLEX นี้ สามารถให้ความแรงและประสิทธิภาพที่มากขึ้นกว่าน้ำมันเชื้อเพลิงเกรดธรรมดา คืนพลังให้เครื่องยนต์ได้สูงสุดถึง 100% มีสารทำความสะอาด ลดแรงเสียดทาน และช่วยขจัดสิ่งสกปรกที่บั่นทอนสมรรถนะของเครื่องยนต์ในชิ้นส่วนสำคัญของระบบน้ำมันเชื้อเพลิงได้ถึง 80% นอกจากนั้นยังช่วยประหยัดมากขึ้นด้วย

ในฐานะที่เป็นบริษัทเก่าแก่ คุณมีข้อแนะนำอะไรให้กับองค์กรใหญ่อื่นๆ เกี่ยวกับการพัฒนานวัตกรรมองค์กรบ้าง?

อย่างแรกคือเราต้องตระหนักก่อนว่าเทคโนโลยีดิจิทัลจะกลายมาเป็นส่วนสำคัญของสังคม และจะเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของผู้คน รวมถึง disrupt โมเดลธุรกิจที่มีในปัจจุบัน

ดังนั้นองค์กรใหญ่ๆ จึงควร disrupt ตัวเองก่อนที่คนอื่นจะมา disrupt เรา

เช่นเดียวกับที่เชลล์ ได้ตั้งหน่วย New Energies ขึ้นมา เพื่อเปลี่ยนแปลงตัวเองให้ตามทันโลกปัจจุบันและอนาคต ดังนั้นการรวบรวมความคิดจากหลายๆ คนก็เป็นสิ่งสำคัญ มันเหมือนกับการออกไปดูว่าจะมีอะไรมา disrupt เราบ้าง แล้วเราจะกลับมาทำอะไรใหม่ให้กับธุรกิจหลักของเรา เราจึงต้องมองไปที่ความเสี่ยงต่างๆ และลดความเสี่ยงนั้นด้วยธุรกิจใหม่

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Noland Arbaugh มนุษย์คนแรกที่ควบคุมคอมพิวเตอร์ด้วยความคิดผ่าน Neuralink

Noland Arbaugh วัย 30 ปี เป็นผู้ป่วยรายแรกของ Neuralink ได้ออกมาเล่าถึงประสบการณ์หลังการฝังชิปลงสมองในพอดแคสต์ของ Joe Rogan พอดแคสเตอร์ผู้โด่งดังในสหรัฐฯ...

Responsive image

ปฐมา จันทรักษ์ ฝาก 5 ข้อถึงผู้หญิง สู่ตำแหน่ง 'ผู้นำ' ในงาน EmpowerHer Asia LEADERSHIP FORUM 2025

สรุปจากที่คุณปฐมา จันทรักษ์ Country Managing Director, Accenture Thailand กล่าวในงาน 'EmpowerHER ASIA LEADERSHIP FORUM 2025, BRIDGING THE LEADERSHIP GAP IN TECH' เวทีสนับสนุนและส่ง...

Responsive image

คมความคิดของผู้หญิงสายเทค และความท้าทายที่ต้องเผชิญ จากงาน SCBX Tech Horizon EP15

สรุปแนวคิดผู้นำที่เป็นผู้บริหารหญิงจากงาน SCBX Tech Horizon EP15 ช่วง Panel Session : Breaking Barriers & Leading the Future เวทีที่เจาะลึกความท้าทายของผู้หญิงในบทบาทการบริหารกลยุท...