สัมภาษณ์พิเศษ GoBear สตาร์ทอัพเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์การเงิน ที่ขยายสู่ 6 ประเทศภายใน 3 ปี | Techsauce

สัมภาษณ์พิเศษ GoBear สตาร์ทอัพเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์การเงิน ที่ขยายสู่ 6 ประเทศภายใน 3 ปี

วันนี้ Techsauce มีบทสัมภาษณ์พิเศษที่น่าจะเป็นประโยชน์ต่อสตาร์ทอัพที่ต้องการขยายไปสู่ต่างประเทศมาเล่าสู่กันฟัง โดยเราได้มีโอกาสพูดคุยกับ Andre Hesselink CEO ของ GoBear สตาร์ทอัพเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์การเงิน ที่ขยายธุรกิจอย่างรวดเร็ว เปิดให้บริการในกว่า 6 ประเทศ และเพิ่งเปิดตัว GoDigital by GoBear ไปเมื่อต้นเดือนธันวาคม เราลองมาฟังว่าเขามีความคิด เป้าหมาย และวิธีการอย่างไร ในการบุกตลาดต่างประเทศ รวมถึงข้อแนะนำต่อสตาร์ทอัพ

ในฐานะสตาร์ทอัพที่ขยายธุรกิจไปถึง 6 ประเทศ มีข้อแนะนำอะไรบ้าง ต่อสตาร์ทอัพอื่นๆ ที่กำลังมองหาทางขยายไปสู่ต่างประเทศ?

ช่วงแรกๆ มันยากที่จะตัดสินใจว่าควรไปทางไหนดี ส่วนใหญ่ทุกคนแค่รู้ว่าอยากจะขยายไปต่างประเทศ ซึ่งสิ่งสำคัญคือ การที่จะต้องมีรากฐานของธุรกิจที่สามารถเติบโตได้ (scalable) และ มีความพร้อมในการขยาย (expansion) มันไม่ได้เกี่ยวกับแค่ผลิตภัณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเกี่ยวกับภาษาที่ใช้ ซึ่งคุณควรจะพัฒนาและปรับตัวให้เข้ากับผู้ใช้หรือลูกค้าของคุณอยู่เรื่อยๆ

ทำไมถึงมาพัฒนาเว็บไซต์เปรียบเทียบผลิตภัณฑ์การเงิน?

เราอยากเป็นเหมือน TripAdvisor ในด้านการเงิน ไม่ค่อยมีใครอยากจะซื้อผลิตภัณฑ์การเงินที่ขายจากธนาคารเท่าไหร่ ซึ่งเป้าหมายของเราคืออยากจะให้ความรู้ต่อผู้คนในการตัดสินใจเลือก และเป็นกลางในการให้ข้อมูลโดยไม่ผูกกับเจ้าใดเจ้าหนึ่ง และไม่ได้เป็นตัวแทนหรือโบรกเกอร์

คุณทำเงินจากโมเดลธุรกิจนี้อย่างไร?

เรามีโมเดลเหมือนกับ Google คือ ‘click model’ เราได้รับเงินจากการคลิ๊กในแต่ละครั้ง โดยไม่มีค่า commission ซึ่งขณะนี้เรามีผู้ใช้งานเกือบ 4 ล้านคนต่อเดือน เพราะเราได้เพิ่มจำนวนบริษัททางเลือกเข้าไป ทำให้เราโตเร็วขึ้นกว่าที่คาดไว้

ตอนนี้มีประเทศไหนไหม ที่คุณกำลังจับตามองเป็นพิเศษ ?

เรากำลังจะเปิดบริการในอินโดนีเซียในอีก 6- 8 เดือนข้างหน้านี้ รวมถึง ฮ่องกง และ ไต้หวัน ซึ่งในอนาคต เรามีเป้าหมายที่จะขยายไปอีก 60 ประเทศทั่วโลก ซึ่งจะทำให้เรากลายเป็นเหมือน TripAdvisor ในด้านการเงิน มันมีหลายอย่างที่เราต้องทำ แต่ผมมองว่ามันคุ้ม

คุณดูอะไรเป็นหลัก เวลาที่จะขยายไปยังประเทศใหม่?

เราไม่สามารถทำเหมือนๆ กันหมดในทุกประเทศได้ เราสามารถใช้เทคโนโลยีแบบเดียวกัน แต่ต้องมีการ localize หรือปรับตัวให้เข้ากับแต่ละประเทศ โดยเฉพาะการสร้างเนื้อหาที่เข้าถึงคนในประเทศนั้นได้

ข้อแนะนำต่อสตาร์ทอัพที่ต้องทำงานกับต่างวัฒนธรรม?

ต้องเริ่มจากการเปิดใจรับสิ่งใหม่ๆ เวลาไปต่างประเทศ และถ้าหากมีคนทำธุรกิจในประเทศนั้น ที่มีประสบการณ์ในการทำงานกับต่างประเทศมาช่วย จะยิ่งเสริมให้ทีมแข็งแกร่งมากขึ้น ถึงแม้โมเดลนี้จะไม่ค่อยเป็นที่นิยม แต่สำหรับเรามันค่อนข้างเวิร์ค เพราะมันทำให้เราได้รู้ข้อมูลของลูกค้าในพื้นที่ และออกบริการที่เหมาะสมกับความต้องการได้

ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งบริษัทมากว่า 2 ปีครึ่ง คุณคิดว่าลูกค้ามีพฤติกรรมเปลี่ยนไปอย่างไร?

พวกบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Grab และ Lazada ช่วยให้ผู้คนเข้าถึงและมีพฤติกรรมซื้อของออนไลน์มากขึ้น วงการ E-Commerce และการค้นหาบนออนไลน์เพิ่มขึ้นถึงสามเท่า ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่น่าสนใจสำหรับเรา ประเทศกำลังพัฒนาใหญ่ๆ อย่าง เวียดนาม และ ประเทศไทยนั้น เปิดกว้างต่อธุรกิจของเรามาก หากคุณดูที่ภาคการเงิน ธนาคาร และ Fintech อย่างเดียว จะเห็นว่า มีการขายผ่านออนไลน์เพียงแค่ 10% หรือน้อยกว่า ซึ่งในปีหน้ามันจะเพิ่มขึ้นถึง 30% เป็นอย่างน้อย ผู้คนอยากจะมีอิสระในการเลือก แต่พอมันเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเงินโดยตรงแล้ว มันจะค่อนข้างยากในการตัดสินใจ ซึ่งแพลตฟอร์มของเราจะช่วยชี้แนะ ให้ข้อมูลต่อผู้คนอย่างครบถ้วนเพื่อช่วยในการตัดสินใจ เราเขียนบทความเกี่ยวกับการเงินเป็นร้อยบทความต่อเดือน เพราะเราคิดว่าการให้ความรู้นั้นสำคัญมากๆ เพื่อจะให้ผู้ใช้มีความเข้าใจที่ถูกต้องที่สุด

มีเป้าหมายสำคัญอะไรบ้าง ในการขยายไปตลาดอื่น?

แน่นอนว่าเราอยากจะเป็นที่รู้จักของทั้งโลก แต่ว่าตอนนี้เรายังอยู่ใน comfort zone ซึ่งก็คือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ในอนาคตเราอยากจะขยายออกไปแน่ๆ

มีคำแนะนำอะไรต่อสตาร์ทอัพในประเทศไทยไหม ?

แค่ลองทำตามความฝันของคุณ คุณเป็นเจ้าของชีวิตตัวเองและจงสร้างความสุขของคุณเองขึ้นมา

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เปิดกลยุทธ์ธุรกิจยุคใหม่ พลิกข้อมูล สู่ขุมทรัพย์ด้วย analyticX ด้วยพลัง Telco Data Insights และ GenAI

ยุคนี้ใคร ๆ ก็พูดถึง Data แต่จะใช้ Data อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่างหากคือกุญแจสำคัญ! ในสัมมนาสุดเอ็กซ์คลูซีฟ "Unlocking Data-Driven Decisions with Telecom Data Insights" ที่จั...

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...