การเติบโตและอนาคตของ FinTech ในไทย | Techsauce

การเติบโตและอนาคตของ FinTech ในไทย

บทสรุปจาก Talk session : The Rising Trend of Fintech and Its Future in Thailand  ในงาน Virtual Event FinTech Trends in the Era of the Cloud เจาะโลกอนาคตการเงินในยุค Cloud โดยคุณพรทิพย์ กองชุน ผู้ร่วมก่อตั้งและผู้บริหารของบริษัท จิตตะ ดอท คอม จํากัด

โลกการเงินที่เปลี่ยนโฉม 

คุณจับธนบัตรครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่ ? 

คุณพรทิพย์เริ่มต้นด้วยการตั้งประโยคคำถาม ที่สามารถอธิบายแนวโน้มการเติบโตของเทรนด์การเงินในยุคใหม่ โดยเฉพาะในประเทศไทย เพราะสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 มาบีบให้ผู้บริโภคต้องเปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกรรมการเงินของตัวเองไปอย่างสิ้นเชิง เห็นได้ชัดว่าปัจจุบันเราสามารถใช้ชีวิตได้โดยไม่ต้องจับเงินสดแล้ว 

ในปี 2021 ประเทศไทยมีอัตราการใช้จ่ายผ่าน Mobile Banking สูงขึ้นเป็นเท่าตัวจากปีก่อน ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีที่สามารถบอกเราได้ว่าเทคโนโลยีดิจิทัลกำลังจะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันมากขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนั้นในฟากของกลุ่มธุรกิจ เรายังมีอัตราของกลุ่ม corporates และอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ใช้ระบบคลาวด์ เพิ่มมากขึ้นถึงสองเท่าตัว แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐานของธุรกิจ

นอกจากนั้นประเทศไทยยังมี Internet penetration rate หรืออัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตสูงที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมีอัตราการใช้งานแอพพลิเคชันด้านการให้บริการทางการเงินสูงที่สุดในโลก

ไม่ใช่ FinTech แต่เป็น TechFin 

คุณพรทิพย์กล่าวว่าโลกของ FinTech กำลังจะจบไป และจะถูกแทนที่ด้วยภาพใหม่ นั่นคือ TechFin ซึ่งเป็นการที่บริษัทเทคโนโลยี ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการบริการเกี่ยวกับการเงิน โดยคุณพรทิพย์ยกตัวอย่างจากสิ่งที่กลุ่มบริษัทเทคยักษ์ใหญ่อย่าง  Google,Facebook หรือ Amazon กำลังทำ นั่นคือการให้บริการด้านการเงิน หรืออย่างที่เราอาจเคยใช้กันแล้วในปัจจุบัน เช่น Line paymeny และ Grab payment ก็นับเป็นกลุ่ม TechFin เช่นเดียวกัน

เช่นเดียวกันเราได้เห็นการขับเคลื่อนครั้งใหญ่ในไทย เช่น บริษัทผู้ให้บริการด้านการเงินยักษ์ใหญ่อย่าง SCB ก็ประกาศตัวขอขึ้นยานแม่ลำใหม่ ที่ขอเป็นมากกว่าธนาคาร นอกจากนั้นเรายังมี Fintech startup อย่าง Ascend Money ที่เพิ่งประกาศตัวเป็น FinTech Unicorn อีกด้วย อาจจะเป็นสัญญาณที่บอกเราว่า ในอนาคตสถาบันการเงินอย่างธนาคาร อาจจะไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป

ส่องอนาคตการเติบโตของ FinTech ในไทย 

FinTech

คุณพรทิพย์ได้ฉายภาพใหญ่ให้เราเห็น ecosystem ของธุรกิจ FinTech ในไทย และโอกาสในการเติบโต โดยปัจจุบันเรามี FinTech startups มากขึ้น นอกจากนั้นกลุ่มสถาบันการเงินใหญ่ๆ ก็เริ่มเดินเข้าสู่อุตสาหกรรมนี้มากขึ้น รวมถึงบริษัทด้านเทคโนโลยีด้วย 

โดยกลุ่มธุรกิจที่เรียกว่า ‘หอมหวาน’ ที่สุด คือกลุ่ม Payment mobile banking และ e-Wallet ซึ่งผู้เล่นคนสำคัญก็มีทั้งสถาบันการเงิน,Telco,ธุรกิจในอุตสาหกรรมค้าปลีก, และ Mobile operator และที่สำคัญคือ ผู้เล่นหลักๆ ในกลุ่มนี้ มีข้อมูลของผู้บริโภคอยู่ในมือ สามารถเข้าถึงพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคได้ทั้งหมด ซึ่งคุณพรทิพย์กล่าวว่านับเป็นข้อได้เปรียบสำคัญ เพราะในปัจจุบันการมีข้อมูลอาจจะมีค่าพอๆ กับการมีทองหรือน้ำมันเลยทีเดียว 

ส่วนในกลุ่มธุรกิจอื่นๆ เช่น Blockchain ก็เริ่มมี startups และธนาคารเข้ามามากขึ้น และกลุ่ม Digital Lending เราก็ได้เห็นหลายบริษัทร่วมกันสร้างระบบการกู้ยืมเงินแบบดิจิทัล เช่น การจับมือระหว่าง Grab และธนาคารกรุงศรี เป็นต้น ส่วนอีกกลุ่มธุรกิจที่กำลังมาแรงคือ Peer to Peer lending หรือ Cloud funding ซึ่งตอนนี้สำนักงานก.ล.ต.  ก็มีการออกกฎเกณฑ์มาควบคุม และมีการทำ sandbox ให้ผู้ประกอบการเริ่มเข้ามาใช้บริการ Cloud Funding มากขึ้น 

รูปแบบการลงทุนโฉมใหม่ 

สำหรับกลุ่ม WealthTech หรือเทคโนโลยีการลงทุนบริหารความมั่งคัง ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจที่ภาครัฐให้การสนับสนุน เพราะประเทศไทยกำลังจะเข้าสู่สังคมสูงอายุโดยคุณพรทิพย์ได้ให้มุมมองที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า ซึ่งภายในปี2025  กลุ่ม WealthTech จะมีเม็ดเงินลงทุนมากขึ้นถึงสองเท่า เหตุผลสำคัญมาจากการใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยในการลงทุน อย่างเช่น Automation หรือ AI  ทำให้คนลงทุนได้ง่ายขึ้น สะดวกสบายมากขึ้น อีกทั้งยังช่วยให้ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากนักลงทุนต่ำลง ทำให้นักลงทุนเข้าถึงการลงทุนได้ง่ายขึ้น นอกจากนั้นยังสามารถเลือกลงทุนกับสินทรัพย์ได้ทั่วโลก ไม่ได้จำกัดอยู่ในเฉพาะประเทศไทย 

สุดท้ายแล้ว คุณพรทิพย์กล่าวว่าธุรกิจ FinTech ในประเทศไทยนั้น จะมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก โดยยกตัวอย่างแนวโน้มที่เราจะได้เห็น แบ่งเป็น B (All Banks go to Fintech), C (Collaboration X-Industries), D (Next-gen Data infrastructure), E (Embedded Finance Services) และ F (Financial Inclusion for all )  




ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ทำไมคนสหรัฐฯ เดือดร้อนกับการแบน TikTok ? 3 เหตุผลที่ TikTok สำคัญกับชาวสหรัฐฯ มากกว่าที่คิด

เจาะลึก 3 เหตุผลที่การแบน TikTok อาจส่งผลกระทบต่อชาวอเมริกันมากกว่าที่คิด ทั้งด้านเศรษฐกิจ อาชีพ และการเชื่อมโยงในยุคดิจิทัล...

Responsive image

รู้จัก Physical AI เอไอยุคใหม่ที่ Jensen Huang กล่าวถึงคืออะไร ? มีประโยชน์อย่างไร ?

หนึ่งในไฮไลต์สำคัญของงาน CES 2025 คือการที่ Jensen Huang ซีอีโอของ NVIDIA ได้มีการพูดถึงยุคต่อไปของ AI นั่นก็คือ ‘Physical AI’ ซึ่งนับเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญยิ่งที่ AI กำลังจะเข...

Responsive image

4 เทรนด์เทคโนโลยีสุดล้ำที่อาจเปลี่ยนโลกจาก CES 2025

สำรวจเทรนด์เทคโนโลยีล่าสุดจาก CES 2025 ตั้งแต่ AI อัจฉริยะ ยานยนต์ล้ำสมัย ไปจนถึงการพัฒนาชิปกราฟิกและเทคโนโลยีหน้าจอแห่งอนาคตที่เปลี่ยนโฉมการใช้ชีวิตประจำวัน!...