ในงาน Singapore Fintech Festival 2018 ไม่เพียงแต่ Showcase และนำเสนอ Content ผ่าน Session ภายในงานเท่านั้น เรายังได้รับเกียรติจาก Speaker ผู้มากประสบการณ์ด้านการเงินมาร่วมมอง Trend ของ Fintech ที่ในปี 2019 เป็นต้นไป
สำหรับบทความนี้ เราได้รับโอกาสจาก Mr. Brian Thung, Managing Partner, ASEAN Financial Service จาก Ernst and Young ผู้มีประสบการณ์ด้าน Financial Service กว่า 20 ปีมาร่วมพูดคุยถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นทั้งกับ Finance และ Fintech กัน
Mr.Thung: ตอนนี้มีเทรนด์ด้าน Fintech เกิดขึ้นมากมาย และมีจำนวนไม่น้อยที่เพิ่มคุณค่าทางการค้า แต่วันนี้ เราจะเจาะลงไปในในเรื่องของ Data การใช้งาน Data และการผสานการใช้งาน Data เข้ากับ AI ทั้งที่เป็น Artificial Intelligence และ Augmented Intelligence ซึ่งอันหลังเป็นอีกรูปแบบที่เกิดขึ้นกับ AI การใช้ AI มีความหมายทั้งกับพวกเราและภาคธุรกิจ มันแสดงถึงว่าบริษัทที่ใช้ AI สามารถแก้ปัญหาได้ หรืออย่างน้อยๆ ก็ใช้มันประกอบการตัดสินใจ นำไปสู่การเลือกที่ดีขึ้น
เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น ขอยกตัวอย่างบริษัทจัดการสินทรัพย์ (Asset Management Company) ในการทำงานเบื้องหน้า การผสานระหว่าง Data และ AI ช่วยให้ข้อมูลที่ชัดเจนขึ้นอันนำไปสู่การประเมินได้ว่าควรตัดสินใจจัดการ Portfolio การลงทุนอย่างไร โดยเน้นที่การมอง Key Area ให้ออกและเห็นสิ่งที่ควรทำเพื่อให้เกิดผลสูงสุด ซึ่งการมอง Key Area เองก็มีความแตกต่างกันตามลักษณะของผู้ใช้งาน AI ธนาคารขนาดเล็ก, ธนาคารขนาดใหญ่ระดับประเทศ หรือธนาคารข้ามชาติ ล้วนมี Key Area ที่แตกต่างกัน
สำหรับธนาคารหรือสถาบันการเงินขนาดเล็กหรือรายใหม่ ความท้าทายของพวกเขาอยู่ที่การมีส่วนร่วมในตลาดและ Ecosystem พวกเขาต้องทำอย่างไรเพื่อนำ Product และ Service เข้าสู่ตลาด ด้วยการใช้งาน Data และ AI จะช่วยให้พวกเขาเจอวิธีที่ดีที่สุดได้ ส่วนธนาคารขนาดใหญ่ระดับประเทศที่มีส่วนแบ่งในตลาด มี Partner ใน Ecosystem แล้ว อาจใช้งาน AI เพื่อแก้ไข Pain Point ของ Operation ภายในองค์กร
และกับธนาคารระดับข้ามชาติ การใช้ AI ของพวกเขาอาจมองถึงความต้องการให้เกิดนวัตกรรมในแต่ละส่วนงานของธนาคารอย่างแน่ชัด ซึ่งผมคิดว่านี่คือ Key Area ที่ผู้ใช้แต่ละแบบควรจะหาให้เจอ พวกเขาควรประยุกต์ใช้ Data ที่พวกเขามีและใช้ AI แก้ปัญหาอย่างไร
Mr.Thung: เทคโนโลยีมีความเปลี่ยนแปลงเสมอ ผมคงไม่เจาะไปที่เทคโนโลยีชนิดใดชนิดหนึ่ง เมื่อดูข้อมูลและการสำรวจ เราบอกได้ว่า Fintech ถูกนำมาใช้ทำ Payment มากที่สุด ส่วน InsureTech ที่กำลังจะเข้ามาก็ไม่ได้มีแต่ Robo Adviser เท่านั้น ยังมีเรื่องของ Data Analytic และ AI เข้ามาช่วยเพื่อให้ตัดสินใจได้ดีขึ้น ในอีกด้านหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเทคโนโลยีก็หนีไม่พ้น Alternative Data Point (แหล่งข้อมูลนอกเหนือจากการเก็บแบบดั้งเดิม เช่น ข้อมูลพฤติกรรมบน Social Network) ที่ต้องใช้เทคโนโลยีช่วยสกัดให้เหลือแต่ข้อมูลที่จำเป็นเพื่อนำมาสะท้อนภาพได้ตรงขึ้น ยกตัวอย่างเช่น หากต้องการหาไอเดียการลงทุน ก็ต้องสกัดข้อมูลให้เหลือแต่สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน
ให้ลองนึกถึงการวิ่งมาราธอน องค์กร์ทั้งหลายคือนักวิ่งที่ต้องนอกจากจะต้องคิดถึงแต่ละก้าวในตอนนี้แล้ว ยังต้องมองว่าพวกเขามีทรัพยากรและบุคลากรที่พร้อมสำหรับอนาคตหรือไม่ พวกเขาต้องใช้บทเรียนบางชิ้นเท่านั้น ไม่ใช่ทั้งหมด เพราะบางอย่างอาจะได้ผลดีแค่ตอนนี้ โดยอาจไม่มีประโยชน์ในอนาคต ซึ่งเทคโนโลยีจะช่วยพาเราก้าวข้ามเรื่องนี้ได้
Mr.Thung: ในมุมของความท้าทาย เมื่อสัก 1-2 ปีก่อน สถาบันทางการเงินรู้สึกว่าการเข้ามาของ Non-Bank หรือ Non-Finance ที่พัฒนา Fintech จะแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดไป แต่เมื่อมีความเข้าใจ Fintech มากขึ้นก็เริ่มเห็นถึงสิ่งที่ทำได้ รวมถึงเห็นพัฒนาการของ Ecosystem ผมรู้สึกว่าสถาบันการเงินในปัจจุบันมองว่า Fintech คือโอกาสร่วมมือที่ดี โดยเฉพาะธนาคารในประเทศไทยและเวียดนามที่เริ่มต้นโปรแกรมบ่มเพาะ (Incubation) Fintech Startup ทั้งเพื่อแก้ Pain Point และหาหนทาง Engage ลูกค้าแบบใหม่ๆ เช่น ทำระบบ Customisation Service หรือ Product เพื่อให้ทันความเร็วของลูกค้า ช่วยแก้ปัญหาทั้ง Operation ภายในและ Engagement ลูกค้าไปพร้อมกัน
ดังนั้น ที่บอกว่าธนาคารมอง Non-Bank ที่มี Fintech เป็นภัยนั้น ผมคิดว่าไม่ ธนาคารกำลังมองว่าเป็นโอกาสประสานความร่วมมือ แต่นอกเหนือจากความร่วมมือแล้ว พวกเขายังต้องคิดอีกหลายคำถาม เช่น ทำอย่างไรจึงมั่นใจได้ว่ากำลังก้าวไปข้างหน้า ต้องเป็นอย่างไรจึงจะมั่นใจได้ว่าอยู่ในเทรนด์ที่ถูกต้องเหมาะสม และจะต้องไม่โดน Non-Bank หรือบริษัทเทคโนโลยีอื่นๆ ไล่ตามหรือตัดหน้าไป เราจึงเห็นว่าสถาบันการเงินหลายแห่งลงทุนตั้ง Innovation Centre หรือ Lab ของตัวเอง แต่ผลลัพธ์ยังคงห่างไกลจากที่เราเห็นภาพในตอนนี้ ตั้งแต่เสียงสะท้อนจากลูกค้าที่ค่อนข้างกระจัดกระจาย จึงยังมองไม่เห็นว่าการมุ่งเป้าไปยัง Innovation Lab จะนำไปสู่อะไร ผมคิดว่าเราควรทำอะไรสักอย่างที่แปลงนวัตกรรมเป็นอุตสาหกรรมหรือ “Industrialising Innovation”
ผมรู้ว่ามันฟังดูแปลก คุณจะทำให้นวัตกรรมที่ต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์เข้าสู่กระบวนการทางอุตสาหกรรมได้อย่างไร แต่ผมคิดว่ามันเป็น Mindset ตราบใดที่สถาบันการเงินอย่างธนาคารขนาดใหญ่ให้ความสำคัญกับแผนงานเกี่ยวกับนวัตกรรม พวกเขาบอกได้ว่าทำไปทำไม มีเป้าหมายอะไร และต้องการจะได้อะไร หลังจากที่สร้างและตรวจสอบ มีโมเดลการทำงาน ในมุมผมที่อยู่ในองค์กรระดับมืออาชีพ เรามักมีแผนงาน มีโมเดลการทำงานที่ดีเสมอ แต่ก็ยังมีช่องว่าง เราต้องการอะไรเพื่อพาตัวเองก้าวขึ้นไปอีกขั้น ซึ่งนั้นก็คือ “ความต่อเนื่อง” ของความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมที่เกิดขึ้นในองค์กร
และนอกจากจากนี้ คุณจะรู้ได้อย่างไรว่าสิ่งไหนถูกเมื่อเจอไอเดียนวัตกรรมหลายชิ้นที่ขัดแย้งกัน เราให้ความสำคัญกับลูกค้าก่อน หรือจะให้ความสำคัญกับผลกำไรขาดทุนก่อน ซึ่งสิ่งนี้ต้องการมากกว่าแค่ก้าวข้าม แต่ต้องอาศัยการควบคุม ว่าธนาคารควรมองถึงการใช้นวัตกรรมอย่างไร
Mr.Thung: แน่นอน ธนาคารได้พัฒนาขึ้นมาก ตั้งแต่การหันมาขายสินค้าไปจนถึงเปลี่ยน Business Model ไปเลย ซึ่งก็แตกต่างกันไปตามแต่ประเภทและลูกค้า สำหรับธนาคารเพื่อลูกค้ารายย่อย ก็มี Platform ให้คำปรึกษาที่ผสานทั้งคนและ Robo Advisors ในฝั่ง Operation พวกเขาต้องหาว่าจะเข้าหาลูกค้าได้เร็วที่สุดอย่างไร และยังต้องเติมเต็มความต้องการเท่าที่มาตรการเอื้ออำนวย เช่น การทำ e-KYC และการเก็บข้อมูลทรัพย์สินเพื่อประเมินสินเชื่อ ธนาคารได้เริ่มนำนวัตกรรมต่างๆ มาใช้แล้ว ซึ่งทั้งหมดก็มาจากการร่วมมือกับ Fintech นั่นเอง
Mr.Thung: ผมว่าประเทศในภูมิภาคนี้อย่างสิงคโปร์และไทย มี Payment System ให้ใช้จำนวนมาก ซึ่ง Payment เป็นภาคส่วนหนึ่งของ Fintech ที่เติบโตสูงที่สุด แต่คุณคิดดูว่าถ้าเรามี Payment App เยอะมากบนมือถือ ก็คงไม่ค่อยสะดวกเท่าไร
ประโยชน์ของ Cashless Transaction และการเติบโตของ Cashless Society นั้นต้องดูจากความต้องการของรัฐบาล เพราะประโยชน์นั้นมีหลายทิศทาง ทั้งการลดต้นทุนของธุรกรรม ไปจนถึงทำให้ธุรกรรมที่เกิดขึ้นปลอดภัย ผมคิดว่ามันแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้จ่ายด้วยเงินสดที่ยังคงนิยมกันในภูมิภาคนี้
แต่หากถามถึงกลไกขับเคลื่อน ผมไม่รู้ว่าจะเรียกว่ากลไกได้ไหม แต่สำหรับผมมองว่ามี 3 เรื่องด้วยกัน ได้แก่ ความเร็ว (Speed) ความปลอดภัย (Security) และความยืดหยุ่น (Scalabilty) ที่พาเราข้าม Platform ไปมาได้ ความเร็วหมายถึงทำได้ทันที ยกตัวอย่าง ผมสามารถคืนเงินที่ยืมมาจ่ายค่าอาหารเย็นเมื่อวานได้ทันที เป็นต้น อีกส่วนหนึ่งคือความปลอดภัยที่เราต้องคิดถึงให้ดี เพราะเกี่ยวข้องกับทุกคน มันเป็นเรื่องง่ายถ้าเราจะโอนเงินจำนวนเล็กๆ ให้กัน แต่เมื่อเราพูดถึงการซื้อบ้านหรือรถที่มูลค่าสูง เช่น ผมจะซื้อบ้านที่กรุงเทพ กระบวนการที่เกิดขึ้นคือผมต้องกรอกข้อมูลจากบัญชีของผมที่สิงคโปร์แล้วกดยืนยัน จากนั้นธนาคารก็จะโทรมายืนยันข้อมูลถึงจะทำการโอนเงินไปยังที่กรุงเทพได้ ผมคิดว่า Cashless Transaction สามารถทำให้เกิดขึ้นได้ง่ายกว่านั้น แต่เราต้องมี IT และ Data Infrasutructure ที่ดี ซึ่งส่วนนี้ก็จะไปตอบโจทย์ด้านความยืดหยุ่นโดยทันที
Mr.Thung: ผมอาจบอกได้ไม่หมดแต่หากให้เล่าถึงส่วนนี้ผมขอพูดถึง Digital Strategy Roadmap ที่หลายองค์กรใช้งานเพื่อนำ Digital มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด มันช่วยให้องค์กรรู้ว่าพวกเขาควรใช้เทคโนโลยีอย่างไร ช่วยให้ตัดสินใจได้ว่าควรใช้ในฐานะลูกค้าหรือควรจะถือครองไปเลย
และทั้งนี้คุณยังสามารถศึกษาเรื่องนี้ได้ที่ EY Fintech Hub ซึ่งเราเพิ่งได้ออก Report EY Fintech Ecosystem Playbook ฉบับล่าสุดที่ EY ได้ความร่วมมือกับ Singapore Fintech Association นำเสนอตัวเลขและกรณีศึกษาของ Fintech ทั่วโลก โดยรายงานฉบับนี้เปิดให้ได้อ่านกันฟรีครับ
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด