ไวรัส สิ่งมีชีวิตที่สามารถแพร่กระจายในวงกว้าง และมีวิวัฒนาการเช่นเดียวกันกับมนุษย์ พร้อมปรับตัวเปลี่ยนแปลงให้อยู่รอดได้ตามสภาพแวดล้อมแต่ละประเทศตลอดเวลา กว่า 1 ปี ที่ทั่วโลกต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 เมื่อไวรัสได้มีการแพร่กระจายไปยังทั่วโลกและอยู่ในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันในช่วงที่ผ่านมาทำให้เกิดปรากฎการณ์ “ไวรัสกลายพันธุ์” ซึ่งส่งผลกระทบในแง่ของความเร็วในการแพร่เชื้อ ความรุนแรงของเชื้อ รวมไปถึงการลดประสิทธิภาพของวัคซีนด้วย
ย้อนกลับไปที่ไวรัส COVID-19 สายพันธุ์ดั้งเดิม เป็นการกลายพันธุ์ของไวรัสที่ทำให้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจในตระกูล Corona ที่เกิดขึ้นในปี 2019 ต่อมาภายหลังได้ตั้งชื่อใหม่ว่า SARS-CoV-2 และเมื่อสายพันธุ์ดั้งเดิมอย่าง SARS-CoV-2 ได้แพร่กระจายไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ของโลก ก็เกิดกลายพันธุ์ไปตามแต่ละพื้นที่ ทางศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐฯ (Centers for Disease Control and Prevention - CDC) ได้แบ่งระดับความรุนแรงของการกลายพันธุ์ไว้ 3 ระดับดังต่อไปนี้
ชื่อเรียกโดยทั่วไป : สายพันธุ์อังกฤษ
ชื่อจริง : สายพันธุ์ B.1.1.7
แหล่งค้นพบ : สหราชอาณาจักร เมื่อเดือนกันยายน 2020 และได้กระจายไปหลายประเทศทั่วโลก
ลักษณะการกลายพันธุ์ : มาจากการกลายพันธุ์ของหนามโปรตีน N501Y ทำให้ไวรัสเกาะติดเซลล์มนุษย์ได้ง่าย กระจายได้เร็ว
ระดับการกลายพันธุ์ : Variant of Concern
อัตราการแพร่เชื้อ : แพร่กระจายได้เร็วกว่าสายพันธุ์เดิมถึง 40-90%
ความรุนแรง : งานวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษชี้ให้เห็นว่า ส่งผลให้อัตราการเสียชีวิตสูงขึ้นกว่าสายพันธุ์อื่นได้ราว 1.65 เท่า
ชื่อเรียกโดยทั่วไป : สายพันธุ์แอฟริกาใต้
ชื่อจริง : สายพันธุ์ B.1.3.5.1
แหล่งค้นพบ : เนลสัน มันเดลาเบย์ แอฟริกาใต้ โดยตัวอย่างเชื้อที่พบเชื้อเริ่มกลายพันธุ์ถึงช่วงตุลาคม 2020
ลักษณะการกลายพันธุ์ : มาจากการกลายพันธุ์จากหนามโปรตีน N501Y, E484K ที่ทำให้กระจายง่ายและลดประสิทธิภาพแอนติบอดี้
ระดับการกลายพันธุ์ : Variant of Concern
อัตราการแพร่เชื้อ : แพร่เชื้อไวขึ้นราว 50%
ความรุนแรง : เบื้องต้นนักวิจัยเผยว่าจำนวนผู้ป่วยที่อาการหนักยังน้อยกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิม
* Oxford-AstraZeneca ไม่สามารถป้องกันสายพันธุ์ B.1.3.5.1ได้
ชื่อเรียกโดยทั่วไป : สายพันธุ์บราซิล
ชื่อจริง : สายพันธุ์ P.1
แหล่งค้นพบ : รายงานครั้งแรกจากสถาบันโรคติดต่อแห่งชาติญี่ปุ่น (NIID) เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ซึ่งค้นพบจากนักเดินทางชาวบราซิลจำนวน 4 ราย
ลักษณะการกลายพันธุ์ : เป็นสายพันธุ์ที่กลายพันธุ์ตำแหน่งโปรตีนหนาม N501Y, K417T, E484Kยึดเกาะกับเซลล์ร่างกายมนุษย์ได้ดี ลดประสิทธิภาพของแอนติบอดี
ระดับการกลายพันธุ์ : Variant of Concern
อัตราการแพร่เชื้อ : แพร่เชื้อง่ายกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิม 2.5 เท่า ติดเชื้อซ้ำได้ราว 25% -61% ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่อโควิด-19 สายพันธุ์เดิมสามารถเป็นซ้ำได้
ความรุนแรง : เป็นปัจจัยหลักในการแพร่ระบาดโควิดระลอกสองในบราซิล ยอดผู้เสียชีวิตสูงขึ้นเป็นอันดับ 2 ของโลกรองลงมาจากสหรัฐฯ กว่าครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยอายุต่ำกว่า 40 ปี และเป็นสายพันธุ์ที่รุนแรงกว่าสายพันธุ์อื่นๆ
ชื่อเรียกโดยทั่วไป : สายพันธุ์อินเดีย
ชื่อจริง : สายพันธุ์ B.1.6.7
แหล่งค้นพบ : พบครั้งแรกในเมืองนาคปุระ รัฐมหาราษฎระ ประเทศอินเดีย เมื่อเดือนธันวาคม 2020
ลักษณะการกลายพันธุ์ : กลายพันธุ์บริเวณหนามของอนุภาคไวรัสหลายตำแหน่งเป็นการกลายพันธุ์แบบคู่ 'double mutant' ตรงตำแหน่ง E484Q คล้ายกับที่พบในแอฟริกาใต้และบราซิล รวมตัวกับ L452R ที่พบในการกลายพันธุ์ในแคลิฟอร์เนียของสหรัฐฯ ซึ่งสามารถหลบภูมิคุ้มกันที่มีการติดเชื้อก่อนได้
ระดับการกลายพันธุ์ : Variant of Interest
อัตราการแพร่เชื้อ : คาดว่าแพร่เชื้อได้ง่ายกว่าสายพันธุ์ปกติราว 20%
ความรุนแรง : ไวรัสแพร่กระจายเร็ว และส่งผลให้อาการของผู้ที่ติดเชื้อแย่ลง รวมถึงสามารถหลบหนีวัคซีนได้ และในขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจนของข้อมูลในการตอบสนองต่อการระบาดของโรค
ชื่อเรียกโดยทั่วไป : สายพันธุ์เบงกอล
ชื่อจริง : สายพันธุ์ B.1.6.1.8
แหล่งค้นพบ : พบใน 4 รัฐของอินเดียได้แก่ มหาราษฎระ เดลี เบงกอลตะวันตก และฉัตติสครห์ เจอเชื้อครั้งแรกวันที่ 25 ต.ค. 2020 และเจอล่าสุดวันที่ 17 มี.ค.
ลักษณะการกลายพันธุ์ : เป็นการกลายพันธุ์ 3 ตำแหน่ง (Triple Mutation) กล่าวคือ ลดตำแหน่ง H146 และ Y145 (Deletion) และได้กลายพันธุ์ที่ตำแหน่งหนามโปรตีน E484K, D614G ซึ่งหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้และส่งผลต่อประสิทธิภาพวัคซีนที่มีอยู่เดิม
ระดับการกลายพันธุ์ : Variant of Interest
อัตราการแพร่เชื้อ : มีหลักฐานการแพร่เชื้อที่เร็วขึ้นมากในรัฐเบงกอลตะวันตก ยอดผู้ติดเชื้อพุ่งขึ้น 829 ราย และจากนั้นเพิ่มขึ้น 7,000 รายทุกวัน
ความรุนแรง : รุนแรงกว่าเชื้อสายพันธุ์ดั้งเดิม และขณะนี้ยังไม่มีผลที่แน่นอนเกี่ยวกับความรุนแรงของสายพันธ์ุนี้ออกมา
* ยังไม่มีหลักฐานมากพอว่าวัคซีนจะมีประสิทธิภาพป้องกันได้หรือไม่
รวบรวมข้อมูลจาก
https://www.wsj.com/articles/the-new-covid-19-strain-in-south-africa-what-we-know-11609971229
https://www.nytimes.com/interactive/2021/health/coronavirus-variant-tracker.html#B1351
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด