สรุป 5 ความเข้าใจผิดมากที่สุดเกี่ยวกับ Blockchain พร้อม use case นอกเหนืออุตสาหกรรมการเงิน | Techsauce

สรุป 5 ความเข้าใจผิดมากที่สุดเกี่ยวกับ Blockchain พร้อม use case นอกเหนืออุตสาหกรรมการเงิน

Blockchain เทคโนโลยีการประมวลผลและจัดเก็บข้อมูลแบบกระจายศูนย์ ทำให้สามารถทำธุรกรรมต่างๆได้โดยไม่ต้องอาศัยคนกลาง เพราะนำมาซึ่งความปลอดภัยและมีความน่าเชื่อถือ แต่ด้วยความที่ Blockchain เป็นเทคโนโลยีใหม่ จึงมีหลายคนเข้าใจผิดเกี่ยวกับเทคโนโลยีนี้ บทความนี้เราจึงได้มีการสรุปความเข้าใจผิดมากที่สุด 5 อันดับแรก  ได้แก่ 

Blockchain  ทำให้สามารถทำธุรกรรมต่างๆได้โดยไม่ต้องอาศัยคนกลาง แต่เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีใหม่ จึงมีหลายคนเข้าใจผิดเกี่ยวกับเทคโนโลยีนี้ บทความนี้เราจึงได้มีการสรุปความเข้าใจผิดมากที่สุด 5 อันดับแรก

เข้าใจผิดว่า Blockchain คือ Bitcoin 

ในความจริงแล้ว Bitcoin เป็นเพียงสกุลของ Cryptocurrency หนึ่งใน Blockchain เท่านั้น และเทคโนโลยี Blockchain ยังสามารถใช้งานด้านอื่นได้มากมาย ไม่ใช่เฉพาะ Cryptocurrency

เข้าใจผิดว่า Blockchain ดีกว่า Database ทั่วไป 

Blockchain สามารถใช้งานได้ดีสำหรับระบบที่ต้องใช้การแลกเปลี่ยนข้อมูลต่างๆ และ เพิ่มความน่าเชื่อถือ แต่หากต้องการระบบที่ต้องการการประมวลผลอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง Database ทั่วไปจะดีกว่า

เข้าใจผิดว่า Blockchain ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ 

Data Structure ของ Blockchain ทำให้ Data ไม่สามารถลบออกได้ แต่ Blockchain สามารถเปลี่ยนแปลงได้เมื่อมากกว่า 50% ของ networkcomputing power ถูกควบคุมและ Transaction ก่อนหน้าทั้งหมดถูกเขียนใหม่

เข้าใจผิดว่า Blockchain มีความปลอดภัย 100% 

Blockchain ใช้โครงสร้างข้อมูล รูปแบบ immutable  เช่น protected cryptography ความปลอดภัยของระบบ Blockchain นั้นจึงขึ้นอยู่กับ Block ที่อยู่ติดกัน ซึ่งทำให้การแก้ไขข้อมูลใน Block ใด ๆ จะส่งผลกระทบต่อข้อมูลของ Block ที่เชื่อมโยงในภายหลังตลอดทั้งชุดข้อมูล

เข้าใจผิดว่า Blockchain เป็น “Truth Machine” 

Blockchain สามารถตรวจสอบธุรกรรมและข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่ทั้งหมดและดั้งเดิมใน Blockchain ได้ แต่ไม่สามารถประเมินได้ว่า Input จากภายนอกนั้นถูกต้องหรือเป็นความจริง

Blockchain  ทำให้สามารถทำธุรกรรมต่างๆได้โดยไม่ต้องอาศัยคนกลาง แต่เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีใหม่ จึงมีหลายคนเข้าใจผิดเกี่ยวกับเทคโนโลยีนี้ บทความนี้เราจึงได้มีการสรุปความเข้าใจผิดมากที่สุด 5 อันดับแรก

Blockchain กับประโยชน์ด้าน Supply Chain

นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ที่ไม่ใช่แค่เพียงในอุตสาหกรรมการเงิน แต่สามารถใช้ประโยชน์ในด้านศุลกากร รวมถึงการบริหารจัดการ Supply Chain ได้อีกด้วย 

สำหรับประโยชน์ด้านศุลกากร สามารถที่จะใช้เทคโนโลยี Blockchain ในกระบวนการกำกับดูแลของศุลกากรเพื่อปรับปรุงการปฏิบัติตามกฎระเบียบ  รวมถึงสามารถใช้ในการอำนวยความสะดวกทางการค้า และการตรวจจับการฉ้อโกง ด้านกฎระเบียบในธุรกิจ E-commerce, การค้าที่ผิดกฎหมาย, การหลีกเลี่ยงภาษีอากรและภาษีมูลค่าเพิ่ม, การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา, การฟอกเงิน และอาชญากรรมทางการเงินอื่นๆ

ขณะที่ความสามารถในการปรับปรุงประสิทธิภาพของ Supply Chain นั้น สามารถลดตัวกลางและเอกสาร รวมไปถึงช่วยปรับปรุงความสามารถในการคาดการณ์ ที่มาจากข้อมูลที่เก็บแบบ Real-time อีกทั้งยังสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ตั้งแต่ต้นจนจบ ซึ่งช่วยเพิ่มความปลอดภัยและการอำนวยความสะดวกใน Supply Chain มากขึ้น โดยเฉพาะการช่วยบริหารจัดการ Supply Chain ระหว่างประเทศ เช่น

  • ทำงานบน Distribute Platform ทำให้ผู้เข้าร่วมแต่ละ Node มีสิทธิ์เข้าถึง Ledger เดียวกันได้ 
  • มีความน่าเชื่อถือ เพิ่มความไว้วางใจระหว่างแต่ละฝ่ายที่ทำธุรกรรมทางธุรกิจและแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกันโดยไม่มีคนกลาง อีกทั้งยังรับประกันความสมบูรณ์ของข้อมูลและให้หลักฐานการตรวจสอบอย่างครบถ้วน
  • โกงได้ยาก เนื่องจากธุรกรรมได้รับการตรวจสอบและอนุมัติโดยฉันทามติของผู้ที่อยู่ใน Chain เดียวกัน ทำให้ฉ้อโกงได้ยาก
  • ติดตามสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมดใน Blockchain โดยทุกคนรวมถึงหน่วยงานกำกับดูแล สามารถติดตามหรือตรวจสอบธุรกรรมที่เกิดขึ้นได้

อย่างไรก็ตามการใช้งาน Blockchain ในปัจจุบันก็ยังมีความท้าทายเนื่องจากความสามารถในด้าน Scalability ที่มีข้อจำกัด อีกทั้งเครือข่ายและแพลตฟอร์ม Blockchain แต่ละ Chain นั้นไม่เชื่อมต่อกันและมีปัญหาทางกฎหมายอยู่ เช่น สถานะทางกฎหมายของธุรกรรม Blockchain และความรับผิดชอบ ด้วยเช่นกัน ดังนั้นในแง่ของการนำไปใช้อย่างแพร่หลาย รวมถึงการยอมรับอย่างเป็นวงกว้างในทุกอุตสาหกรรมยังคงต้องใช้เวลาในการสร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป 

อ้างอิง World Customs Organization

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image
Responsive image

9 ทักษะดิจิทัล ปี 2024 สร้างมูลค่าให้บริษัทด้วย Tech Skills แห่งอนาคต

ทักษะดิจิทัล หรือทักษะด้านเทคโนโลยี (Tech Skills) ถือเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยผลักดันให้ทีมทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็วและแม่นยำ ส่งผลให้ธุรกิจเติบโตแบบก้าวกระโดด...

Responsive image

AI ล้ำหน้าหรือภัยอนาคต? แล้วมนุษย์จะเป็นผู้ล่าหรือเหยื่อ | Tech for Biz EP.17

ในยุคที่ AI เติบโตอย่างรวดเร็ว จนมีการคาดการณ์ว่ากว่า 300 ล้านตำแหน่งจะหายไป คำถามคือ คุณจะยืนอยู่ฝ่ายไหนระหว่างเหยื่อที่ถูกแทนที่ หรือนักล่าที่ใช้ AI เป็นเครื่องมือ? แล้วต้องปรับต...