5 บทเรียนความล้มเหลวของการทำ Startup จาก Lumos | Techsauce

5 บทเรียนความล้มเหลวของการทำ Startup จาก Lumos

หากใครที่กำลังสนใจทำ Startup  เรามีบทความแนะนำจาก Yash Kotak กับ Startup ที่ชื่อ Lumos ที่มาแชร์เรื่องราวการทำ Startup ด้าน Hardware ของเขาโดยตรง เหตุใดถึงไม่เกิด? เหตุใดถึงล้มเหลว? พวกเรามักเรียนรู้จากคนสำเร็จมาเยอะ แต่การเรียนรู้จากความล้มเหลวก็สำคัญเช่นเดียวกัน เพื่อป้องกันการเดินซ้ำรอยเก่า...

Yash ได้พยายามพัฒนาสวิตซ์ที่เชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ตได้ ทำงานจากการเรียนรู้พฤติกรรมผู้ใช้ และสั่งเปิดปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าอัตโนมัติอย่าง หลอดไฟ พัดลม แอร์และเครื่องทำน้ำอุ่นเป็นต้น จนกระทั่งเขากับเพื่อนได้เจอปัญหาต่างๆ ที่ทำให้โครงการต้องล้มเหลว

ความผิดพลาดที่ 1 : เราไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญหรือแม้กระทั่งอยู่ในกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ในผลิตภัณฑ์ที่เรากำลังทำอยู่

1*b1KHqkcdTq-0Rn6K4nidBA

ขณะที่เราสร้างอุปกรณ์ดังกล่าว แต่เราไม่เคยมีประสบการณ์ในการใช้อุปกรณ์พวกนี้ในบ้านของเรามาก่อนเลย อีกทั้งพวกเราก็ยังไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้าน IoT อีกด้วย เมื่อเราเป็นหน้าใหม่ในอุตสาหกรรมใดก็แล้วแต่ บางทีเราจะมองข้ามว่าตัวเองยังบกพร่องด้านไหนบ้าง แล้วลืมไปว่าคนอื่นๆ ก็มีความสามารถ แต่จะมารู้ตัวอีกทีก็ตอนที่เราต้องเริ่มเข้าไปศึกษาอย่างจริงจัง ถ้าคุณพวกเราเคยได้ใช้อุปกรณ์เหล่านี้ ก็จะรู้ว่าสิ่งที่เราทำนั้นยังให้คุณค่ากับผู้ใช้น้อยไป ถ้าเราเชี่ยวชาญด้าน IoT เราก็จะรู้การตั้งราคาของอุปกรณ์และความยากในการสร้างมันขึ้นมา

 

สิ่งที่ได้เรียนรู้ :

ทำอะไรในสิ่งที่เราเป็นผู้เชี่ยวชาญ หรืออย่างน้อยก็ต้องเป็นผู้ใช้งานผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่องจนรอบรู้ หากคุณยังไม่เป็นทั้งสองอย่างนี้ ให้ลองเข้ามาเป็นเสียก่อน แล้วค่อยเริ่มสร้างผลิตภัณฑ์ของตน

ความผิดพลาดที่ 2 : ไม่ได้ตรวจสอบไอเดีย และทำการบ้าน รู้จัดตลาดให้ดีพอ

เรายังไม่เข้าใจตลาดและคู่แข่งของเราดีพอ เรายังไม่รู้ด้วยว่าลักษณะของลูกค้าเป็นอย่างไร รวมไปถึงลูกค้ากำลังมองหาอะไรในผลิตภัณฑ์ของเรา และถ้าลูกค้ากำลังมองหาสิ่งใด เราก็ไม่รู้ว่าจะสามารถให้ตามที่ต้องการได้หรือไม่ มันมีวิธีมากมายในการ Validate สมมติฐานทั้งด้านผลิตภัณฑ์ ตลาด คู่แข่ง โดยไม่จำเป็นต้องสร้างผลิตภัณฑ์ที่สมบูรณ์ขึ้นมา

สิ่งที่ได้เรียนรู้ :

แนะนำว่าลองทำ Hinge-breaking assumption คือการตั้งสมมติฐานใน 3 เรื่อง ทั้งผลิตภัณฑ์ ตลาด และคู่แข่ง พยายามคำนึงถือความเป็นไปได้ และความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น แล้วค่อยๆ Validate ในแต่ละข้อ

1*PiJusFjOi2pAPfeA6qyzVQ

ความผิดพลาดที่ 3 : เราถูกจำกัดเรื่องการกำหนดทิศทางของบริษัท

ไม่ใช่ว่าเราไม่รู้ถึงปัญหาที่มีเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของเรา แน่นอนว่าการเป็น Startup คุณต้องมีความสงสัยอยู่ในตัวอยู่แล้ว แต่เรามัวแต่หมกมุ่น และไปไกลเกินกว่าที่จะกล้ากลับมาดูปัญหาต่างๆ ซึ่งมันไม่เป็นไรที่จะตั้งคำถามเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ หรือมีข้อสงสัยใดๆ เพียงแต่เราต้องพร้อมที่จะพูด และปรึกษากันภายในทีม

สิ่งที่ได้เรียนรู้ :

จำเป็นมากที่ผู้ก่อตั้งทั้งหลายต้องมีความเชื่อในสิ่งที่ทำอยู่ แน่นอนว่าย่อมมีหลายวิธีที่จะทำให้งานบรรลุ อย่าเพิ่งไปคิดว่ามันต้องมีเพียงวิธีเดียว บางทีก็ต้องยอมรับว่าเราอาจจะต้องกลับไปเริ่มใหม่ตั้งแต่ต้น และพยายามสร้างวัฒธรรมการทำงานที่โปร่งใสในบริษัท ทำให้คนข้างในได้ออกความคิดเห็นกัน

ความผิดพลาดที่ 4 : เราพยายามทำทุกอย่างเพื่อทุกคน

เราพยายามพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่จะควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านเช่น พัดลม แอร์และหลอดไฟ แม้กระทั่งเราพยายามจะทำให้มันช่วยควบคุมตู้เย็น ไมโครเวฟและรถยนต์ เราพยายามจะทำทุกๆ อย่างเยอะไปหมด ซึ่งมันทำให้ผลิตภัณฑ์ของเรามีความซับซ้อนเกินไป

สิ่งที่ได้เรียนรู้ :

Startup จะมีทรัพยากรที่ค่อนข้างจำกัด เพราะฉะนั้นเราควรจะทำให้มันชัดเจนไปเลย ว่าเราต้องการจะทำอะไร ตอบโจทย์อะไร อย่าไปพยายามจะแก้ไข้ปัญหาหลายๆ อย่าง ในเวลาเดียวกัน

ความผิดพลาดที่ 5 : เราประเมินความยากของการทำ hardware ต่ำไป

1*4OLP4gDeOpZMQwBwKjFmdw

(ข้อนี้อาจจะโดนตรงๆ กับคนที่ทำสาย Hardware) การทำธุรกิจ tech startups ให้สำเร็จก็ว่ายากแล้ว แต่จะทำให้ Hardware startup ประสบความสำเร็จมีความยากกว่าถึง 10 เท่าทีเดียว ส่วนที่ง่ายที่สุดของ hardware startup ก็คือการสร้าง prototype แต่ส่วนที่ท้าทายคือการออกแบบผลิตภัณฑ์ โครงสร้างด้านวิศวกรรม การผลิตและการกระจายสินค้า จนไปถึงการขายนั้นเอง ยังไม่รวมถึงความยากในการขอเงินทุน เพราะ Hardware startups มีความเป็นไปได้ที่จะล้มเหลวสูงทีเดียว นอกจากนี้เงินทุนหมุนเวียนก็เป็นเรื่องสำคัญ เพราะเราต้องเสียเงินไปกับค่าใช้จ่าย ค่าจ้างและรวมไปถึงค่าผลิตสิ่งของขึ้นมา แล้วคุณถึงจะเอาไปขายได้

สิ่งที่ได้เรียนรู้ :

ทำความเข้าใจเสียก่อนว่าคุณกำลังจะเอาตัวเข้าไปยุ่งกับเรื่องอะไร และวางแผนการให้ดี หาคนที่มีประสบการณ์เข้ามาในทีม ไม่อย่างนั้นคุณก็ต้องไปศึกษาตาม accelerator และ incubator ต่างๆ

ที่มา: Yash Kotak's blog

แม้เรื่องราวนี้เป็นเรื่องของกลุ่มคนทำ Hardware Startup แต่หลายๆ บทเรียนสามารถใช้ได้กับทุก Startup เลยทีเดียว ตั้งแต่ข้อ 1 ถึงข้อ 4 ยังมีบทเรียนความล้มเหลวที่น่าติดตามอีกหลายเรื่อง ซึ่งเราจะนำมาถ่ายทอดให้ทุกท่านได้อ่านกันที่นี่เช่นเคย อย่าลืมติดตามกันครับ

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...

Responsive image

GAC รถแห่งเมืองกวางโจว ขวัญใจแท็กซี่ยุคใหม่ | Tech for Biz EP. 30

แบรนด์รถยนต์ที่เป็นความภูมิใจของคนกวางโจว สู่ขวัญใจแท็กซี่ยุคใหม่ คลิปนี้ Tech for Biz จะพาไปรู้จัก GAC ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าสัญชาติจีนอีกเจ้าที่กำลังบุกตลาดเมืองไทย...