"ทำอย่างไรให้บริษัทก้าวทันโลก โดยไม่จำเป็นต้องสร้างอะไรขึ้นมาใหม่" ทฤษฎีจาก Gabor George Burt | Techsauce

"ทำอย่างไรให้บริษัทก้าวทันโลก โดยไม่จำเป็นต้องสร้างอะไรขึ้นมาใหม่" ทฤษฎีจาก Gabor George Burt

Gabor George Burt ผู้ก่อตั้ง Slingshot Group และผู้เขียนหนังสือ ‘Slingshot: Re-Imagine Your Business, Re-Imagine Your Life’ กล่าวเตือนบริษัททั้งหลายไม่ให้หลงทางไปกับเทรนด์ที่มาเร็วไปเร็ว พร้อมแนะให้โฟกัสอยู่กับการพัฒนาตัวเองเพื่อตามให้ทันโลกปัจจุบัน

Read English Version : Beware of illusive trends, re-imagine boundaries, and be the disruptor

ในทุกๆ ปี จะมีคนกล่าวถึง ‘เทรนด์’ หรือ ‘buzzwords’ ที่กำลังร้อนแรง ไม่ว่าจะเป็นคำอย่าง ‘Blockchain’ หรือ ‘Machine Learning’ แน่นอนว่าบริษัทต่างๆ คงจะไม่พลาดอัพเดทในเรื่องเหล่านี้ แต่ถึงกระนั้น การที่บริษัทขวนขวายเพียงแต่สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต อาจทำให้ไม่สามารถพัฒนาได้เต็มขีดความสามารถ ดังนั้นเขาจึงแนะนำให้ทุกคนให้ความสำคัญกับสภาพตลาดที่เป็นอยู่

แม้บริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมที่แตกต่างกัน ต่างก็พัฒนาไปในทิศทางเดียวกันหมด เพราะทุกคนตามเทรนด์อันเดียวกันไป ซึ่ง Gabor George Burt ให้ความเห็นว่า สิ่งนี้แหละที่เป็นอุปสรรคต่อการเติบโตของบริษัทหลายแห่ง

เขากล่าวในงาน VMWare CIO Forum 2018 ที่สิงคโปร์ว่า หนทางเดียวที่จะปรับ mindset ให้เข้ากับยุคดิจิทัลได้ก็คือการโฟกัสที่ตัวลูกค้าอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหมายความว่าคุณไม่จำเป็นต้องผลิตหรือสร้างอะไรขึ้นมาใหม่ แต่คือการสร้างนวัตกรรมหรือการพัฒนาตัวบริการที่ตอบโจทย์ต่อลูกค้า

เขายกตัวอย่างความสำเร็จของการจัดคอนเสิร์ตแห่งหนึ่งที่ใช้หมอนแทนที่นั่ง ซึ่งได้สร้างความทรงจำที่ประทับใจ โดยไม่ต้องประดิษฐ์อะไรขึ้นมาใหม่ คอนเสิร์ตสามารถตอบโจทย์ใน 3 เรื่อง คือ

  1. ลดความไม่สะดวกสบาย : การนั่งบนเก้าอี้ไม้ไม่ได้การันตีว่าผู้ชมจะได้วิวการมองเห็นที่ดีที่สุด ดังนั้นการให้หมอนกับผู้ชม จึงเป็นการเพิ่มความสะดวกสบาย และทำให้มองเห็นได้ชัดขึ้น
  2. การเพิ่มคุณค่ากับสิ่งที่มีอยู่แล้ว โดยไม่ต้องประดิษฐ์ของใหม่เพิ่มเติม : เพียงแค่ใช้หมอนทั่วๆไป มาสร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับผู้ชม
  3. การสร้างประสบการณ์แก่ลูกค้า มากกว่าที่ควรจะได้รับปกติ ซึ่งก่อให้เกิดความประทับใจยาวนาน

วิธีการนี้พบเห็นได้จากบริษัทที่ประสบความสำเร็จหลายๆ แห่งทั่วโลก อย่างเช่น Skype, Google หรือ Airbnb

จาก ‘Blue Oceans’ สู่ ‘Blue Waters’

หลังจากที่เขาเคยสร้าง ‘Slingshot Framework’ เมื่อ 7 ปีก่อน Burt กล่าวว่าบริษัทต่างๆ ล้วนพยายามดิ้นรนเพื่อจะออกจาก comfort zone ของตน และพยายามจะสร้างอะไรใหม่ขึ้นมาทำลายตัวเองก่อนจะโดนคนอื่นมาทำลาย

เขาจำแนก 3 Concept หลักๆ ที่จะช่วยให้บริษัทบรรลุเป้าหมายของตนได้

Blue Lake : เป็นขั้นตอนแรกสำหรับบริษัทที่ต้องแสวงหาความแปลกใหม่จากสิ่งเดิมที่ทำอยู่ โดยการตอบให้ได้ว่าอะไรคือปัญหาที่ลูกค้าเจออยู่ และหาทางปรับเปลี่ยนมันให้กลายเป็นเสน่ห์หรือจุดเด่นของบริษัทแทน

Blue Sea : ศึกษาว่าคุณจะสามารถขยายขอบเขตออกไปอย่างไร ด้วยการให้ความจำกัดความใหม่ของตัวคุณเพื่อเพิ่มคุณค่าต่อกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

Blue Ocean : การสร้างบางสิ่งขึ้นมาใหม่อย่างสิ้นเชิง ขั้นตอนนี้คือส่วนที่ยากที่สุดสำหรับบริษัทที่อยากจะคงอยู่ใน comfort zone ของตน ซึ่งเรากำลังเห็นสิ่งนี้มากขึ้นในยุคดิจิทัล

ซึ่งในท้ายที่สุดแล้ว Burt กล่าวว่า มันมีอะไรที่มากกว่าแค่ Ocean / Sea หรือ Lake แต่สิ่งสำคัญคือการสร้าง ‘Blue water’ ที่ไม่ยึดติดกับแบบใดแบบหนึ่ง

เพิ่มความสุขและแบ่งเบาความทุกข์

Burt กล่าวอ้างคำพูดของ Dave Grossman นักเขียนชาวอเมริกันว่า

“สมการของมนุษย์คือการเพิ่มความสุขและแบ่งเบาความทุกข์ การแบ่งปันความทุกข์ซึ่งกันและกันจะช่วยลดความเจ็บปวดลงได้ ส่วนการแบ่งปันความสุขจะช่วยให้ความสุขเพิ่มขึ้น”

หากนึกถึงในแง่ของธุรกิจ กุญแจสำคัญคือการแบ่งปันความสัมพันธ์กับคนอื่นในตลาดและกับผู้บริโภค เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีและหลีกเลี่ยง "ประสบการณ์ที่เจ็บปวด" ซึ่งมักมีราคาแพง

ผลการวิจัยหนึ่งเผยสถิติของลูกค้าที่ไม่พอใจกับการบริการของบริษัทต่างๆ ในอเมริกา รวมกันแล้วคิดเป็นค่าเสียหายกว่า 5.9 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ หรือกว่า 1 ใน 3 ของ GDP ประเทศเลยทีเดียว

51% ของผู้บริโภคในอเมริกา เลิกใช้บริการของบริษัทหนึ่งๆ และหันไปใช้บริการของบริษัทคู่แข่ง ล้วนด้วยเหตุผลจากการได้รับบริการแย่ๆ อาทิ การต้องติดต่อบริษัทหลายต่อหลายครั้งเพื่อแจ้งปัญหาบางอย่าง หรือต้องรอเพื่อรับบริการนานเกินไป หรือ การบริการที่ไม่ต่อเนื่องกัน ซึ่ง Burt กล่าวว่า แม้แต่ปัญหานี้ก็ยังเกิดขึ้นกับบริษัทที่ประสบความสำเร็จแล้ว อย่างเช่น Starbucks ที่ไม่สามารถแก้ปัญหา ความยากในการสั่งเครื่องดื่มได้

สูตรการทำให้บริษัทก้าวทันโลก

  1. รู้ปัญหา : เรียนรู้และตอบปัญหาของลูกค้าให้ได้ พร้อมทั้งเปลี่ยนมันให้กลายเป็นจุดแข็ง
  2. ขยายขอบเขตให้กับสิ่งที่คุณทำ : ขยายการบริการของคุณไปสู่ตลาดใหม่ๆ
  3. สร้างนวัตกรรมแบบเร่งด่วน : สร้างคุณค่าจากทั้งภายในและภายนอกของบริษัท ที่ยังไม่เคยมีมาก่อน

ตั้งเป้าให้ชัดเจน แล้วเริ่มออกบิน

เช่นเดียวกับการลดน้ำหนัก การทำให้บริษัทก้าวทันโลกนั้น ไม่ได้มีวิธีแก้ไขแค่เพียงหนทางเดียวที่ตายตัว แต่มันคือการพัฒนาตนแบบไม่หยุดยั้ง เพื่อ disrupt ตัวเองก่อนที่จะถูกคนอื่นมา disrupt

เขาย้ำในตอนจบว่าบริษัททั้งหลายควรจะ “ตั้งเป้าหมายให้ชัด ออกบิน และทำซ้ำ”

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เปิดกลยุทธ์ธุรกิจยุคใหม่ พลิกข้อมูล สู่ขุมทรัพย์ด้วย analyticX ด้วยพลัง Telco Data Insights และ GenAI

ยุคนี้ใคร ๆ ก็พูดถึง Data แต่จะใช้ Data อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่างหากคือกุญแจสำคัญ! ในสัมมนาสุดเอ็กซ์คลูซีฟ "Unlocking Data-Driven Decisions with Telecom Data Insights" ที่จั...

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...