Startup 101 : การเติบโตของธุรกิจ บอกได้ด้วยบัญชีและการเงิน | Techsauce

Startup 101 : การเติบโตของธุรกิจ บอกได้ด้วยบัญชีและการเงิน

บัญชีและการเงิน คือ นาฬิกาวัดชีพจรของธุรกิจ เป็นกระจกที่สะท้อนความเป็นมาในอดีตและความน่าจะเป็นในอนาคตได้ดีที่สุด

“การเงินเป็นเรื่องยาก แต่ถ้าเราผ่านไปได้ เราจะโตขึ้น”

วอร์เรน บัฟเฟตต์ มีทรัพย์สินที่เติบโตจากการลงทุนในหุ้นได้ด้วยการอ่านงบการเงิน เพื่อประเมินแนวโน้มของธุรกิจก่อนตัดสินใจลงทุน แม้ว่าการลงทุนใน Startup จะมีความแตกต่าง แต่ก็ยังเป็นสิ่งที่นักลงทุนให้ความสำคัญ ดังนั้น มาให้ความสำคัญกับบัญชีและการเงินกันเถอะ!

คุณราชิด ไชยรัตน์ บริษัท AccRevo ได้พูดบรรยายในหัวข้อ Good Accounting for Strong Financial ในโครงการ The Future of Startup อนาคต Startup ไทย เอาไว้อย่างน่าสนใจ

  • Founder หรือ Co-Founder ควรมีความรู้ความเข้าใจเรื่องบัญชีและการเงิน เนื่องจากนักบัญชีโดยทั่วไปมักจะคุ้นเคยตลาดซื้อมาขายไป ซึ่งอาจจะทำให้วางตำแหน่งทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัทผิดไป หาก Founder หรือ Co-Founder สามารถตรวจสอบความถูกต้องได้ จะช่วยให้นักลงทุนเห็น Value ที่แท้จริงขององค์กรมากยิ่งขึ้น
  • Startup มักโฟกัสการทำธุรกิจให้เติบโต แต่หลายครั้งกลับพบว่า เงินหมดและหมุนเงินไม่ทัน ปัญหานี้แก้ได้ด้วยการใส่ใจบัญชีและการเงิน สูตรสำเร็จของ Startup คือควรเว้นช่องว่างต่อการระดมทุน 18 เดือน โดยที่มีแผนการใช้งบประมาณอย่างมีเหตุและผล นักลงทุนถามส่วนไหนก็ตอบได้อย่างชัดเจน
  • สรรพากร DBD ศุลกากร ปปช กลต และอื่น ๆ มีข้อมูลเชื่อมถึงกันแล้ว ดังนั้น หากต้องการให้ธุรกิจสามารถเดินต่อได้ ควรมีความโปร่งใสและตรวจสอบได้ นั่นคือ มีความชัดเจนในที่มาที่ไปของทั้งรายรับและรายจ่าย

  • ในอนาคตอันใกล้ การเงินจะสามารถตรวจสอบบน Online ได้ทั้งหมด แม้ว่า Startup จะไม่ค่อยมีปัญหาการเลี่ยงภาษี มีแต่การหักภาษีผิด หักรายจ่ายไม่ถูกต้อง แต่การเลี่ยงภาษี ขอคืนภาษีเป็นเท็จ และฉ้อโกงภาษี ก็มีความผิดฐานฟอกเงิน ดังนั้น ควรทำบัญชีอย่างระมัดระวัง
  • พฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการโดนสรรพากรเพ่งเล็ง เช่น จ่ายเงินเดือนพนักงานด้วยเงินสด ฐานข้อมูลไม่เชื่อมโยง หรือนำ VAT ที่ไม่เกี่ยวข้องมาหักภาษี เป็นต้น ซึ่งหากตกอยู่ในกลุ่มเสี่ยง นอกจากจะโดนเพ่งเล็งแล้ว อาจจะได้ภาษีคืนช้า ถูกตรวจสอบเพิ่ม เจ้าหน้าที่ติดตาม หรือถูกประเมินย้อนหลังด้วย
  • จ่ายยังไงให้สรรพากรยอมรับ ก็คือการทำบัญชีรายรับรายจ่ายให้โปร่งใสและถูกต้อง เช่น โอนเงินเข้าบัญชี จ่ายเช็คให้ขีดคร่อม มีใบเสร็จหรือใบรับรองแทนใบเสร็จ หรือบิลเงินสด ที่ถูกต้อง และแนบสำเนาบัตรประชาชน
  • ความคาดหวังต่อบริษัทที่เตรียมเข้า IPO คือ บริษัทที่มีโครงสร้างธุรกิจและผู้ถือหุ้นชัดเจน มีระบบควบคุมภายในที่ดี มีการเตรียมพร้อมด้านภาษี มีฐานะทางการเงินที่มั่นคง และมีการดำเนินงานที่โปร่งใส

ดังนั้น ถ้าอยากโตแบบไม่สะดุด อย่าลืมใส่ใจเรื่องบัญชีและการเงินด้วย เพราะธุรกิจไม่ใช่แค่เรื่องหน้าบ้าน หลังบ้านก็ต้องดีด้วย

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

RELATED ARTICLE

Responsive image

CHANGAN เผยโฉม EV รุ่น Deepal L07 และ S07 พร้อมเปิดจองในไทยแล้ว

เปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่! Changan Automobile ผู้ผลิตรถยนต์ชั้นนำจากจีน จัดงานแถลงข่าว 'Touch the Future' – the 2023 Changan Southeast Asia press conference พร้อมส่ง EV สองรุ่นแรกบุกตลา...

Responsive image

การค้นพบ AI ที่ฉลาดจนน่ากลัว ? เบื้องลึกไล่ Sam Altman ที่ OpenAI ไม่ยอมบอก

Sam Altman ได้กลับมานั่งเก้าอี้ CEO อีกครั้ง พร้อมเดินหน้าสะสางปัญหาโครงสร้างบริษัทต่อ แต่คำตอบหนึ่งที่สังคมยังไม่ได้รับ ยังไม่กระจ่างแจ้งชัดเจนก็คือ เหตุผลจริงๆ ที่ Sam Altman ถูก...

Responsive image

ทำ Startup ยังไงให้รุ่ง ? ถอดรหัสความสำเร็จของสตาร์ทอัพเกาหลี จากบริษัทจัดเก็บนามบัตร สู่แอปฯระดับโลก

ถอดบทเรียนการเริ่มต้นธุรกิจ Startup กับคุณชเวแจโฮ ซีอีโอบริษัท Drama& company บริษัทที่มีมูลค่าการลงทุนไปถึงระดับ Series D ที่เริ่มต้นจากบริษัททำนามบัตร ไปสู่ Remember แอปพลิเคชันค...