5 เทรนด์ HealthTech ที่สามารถพลิกชีวิตคนไทย ด้วย 5G | Techsauce

5 เทรนด์ HealthTech ที่สามารถพลิกชีวิตคนไทย ด้วย 5G

True 5G ผู้นำเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงได้ร่วมกับ Huawei ASEAN ACADEMY และ Techsauce จัดงาน True 5G Tech Talk สัมมนา 5G พลิกโฉมประเทศไทย  โดยรวมเอาผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมทั้งไทยและนานาชาติจากหลากหลายอุตสาหกรรม ตั้งแต่ Health & Wellness, Education, Retail, Agriculture, Industrial และ Smart City มาร่วมเสวนาในหลากหลายมิติ กับการขับเคลื่อนและพลิกโฉมประเทศไทยด้วยเทคโนโลยี 5G 

โดยในวันอังคารที่ 23 มิ.ย. 64 ที่ผ่านมา การสัมมนา True 5G Tech Talk ได้ประเดิมกับหัวข้อแรก Health & Wellness 5G พลิกโฉมประเทศไทย ด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านคุณภาพชีวิต ซึ่งเป็นการนำเครือข่ายความเร็วสูง 5G มาใช้อำนวยความสะดวกในด้านการแพทย์และสาธารณสุข รวมไปถึงยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับคนทุกเพศ ทุกวัย แน่นอนว่าประเด็นด้านสุขภาพเป็นกระแสที่ร้อนแรงด้วยเหตุการแพร่ระบาดโควิด-19 ได้ทำให้คนได้ตระหนักถึงความสำคัญด้านสุขภาพและการรับมือกับโรคภัยต่าง ๆ โดยผู้เชี่ยวชาญที่มาร่วมพูดคุยในประเด็นดังกล่าว ได้แก่ Dr. Chern Chet Yong, Expert Mentor at ICP (Innovators Commercialisation Program)  พญ. พิรญาณ์ ธำรงธีระกุล CEO ของ Chiiwii และ คุณพงศ์เทพ คงศักดิ์ Head of Business Development ของ True Digital Health

5 เทรนด์ HealthTech แห่งอนาคต ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี 5G

Dr. Chern Chet Yong, Expert Mentor at ICP (Innovators Commercialisation Program) กล่าวถึงศักยภาพของเครือข่ายความเร็วสูง 5G ว่า สามารถพัฒนาประสิทธิภาพการรักษาของบุคลากรสาธารณสุข และคุณภาพชีวิตของคนทั่วไป จากเดิมที่ประเทศนั้นต้องอาศัยสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อบริการประชาชน เช่น การสร้างโรงพยาบาลหรือศูนย์ดูแลรักษาผู้ป่วย จนกระทั่งการจ้างงานบุคลากรทางการแพทย์จำนวนมาก ดังนั้นการมาของเทคโนโลยี 5G ทำให้คนทุกระดับสามารถเข้าถึงบริการด้านสุขภาพได้ง่ายขึ้น และลดค่าใช้จ่ายด้านการรักษาและการดูแลสุขภาพลง ด้วย 5 โซลูชั่นดังนี้  

  1. Beyond 4 walls setups อุปกรณ์ไอทีตรวจสุขภาพที่ส่งข้อมูลไปยังรพ. ได้ทันที

ปัจจุบันจะเห็นได้ว่า อุปกรณ์เทคโนโลยีที่สวมใส่ได้ไม่ว่าจะเป็น นาฬิกาอัจฉริยะ แว่นตา กำไลข้อมือไม่เพียงแต่แสดงข้อมูลขณะที่เราออกกำลังกายเพียงอย่างเดียวแล้ว ยังแสดงสถานะของสุขภาพร่างกายทั้งตรวจสุขภาพหัวใจ ความเข้มข้นของออกซิเจน ติดตามสุขภาพของรอบประจำเดือนอีกด้วย ดังนั้นการมาของ 5G จะช่วยปรับปรุงอุปกรณ์ทั้งหมดนี้ และเพิ่มคุณสมบัติของอุปกรณ์ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของ machine learning, ระบบอัลกอริทึม ในการเชื่อมต่อส่งข้อมูลของเราไปยังแพทย์ได้อย่างรวดเร็ว หากตรวจจับได้ว่าสุขภาพของเราอยู่ในสภาวะฉุกเฉิน แพทย์ที่ดูแลก็จะนำข้อมูลทั้งหมดไปวิเคราะห์หาความเป็นไปได้ของโรคได้ทันที 

  1. Model to better serve our needs ระบบสาธารณสุขที่ป้องกันคนไม่ให้เจ็บป่วยตั้งแต่แรก

ระบบสาธารณสุขปัจจุบันต่างมุ่งมั่นไปกับการคิดค้นหาวิธีรักษาโรคและอาการป่วยที่ดีที่สุดและช่วยให้ผู้ป่วยหายจากอาการนั้น ๆ ไวที่สุด  แต่แนวทางการพัฒนาดังกล่าวกลับเป็นการรักษาที่ปลายเหตุ เพราะแท้จริงแล้วอาการเจ็บป่วยของทุกคนที่เกิดขึ้นนั้นไม่ได้เกิดขึ้นอย่างไร้สาเหตุ หรือเกิดขึ้นชั่วคราว แต่มาจากพื้นฐานร่างกายของแต่ละคนว่ามีความแข็งแรงและยืดหยุ่นเพียงใด ซึ่งถ้าร่างกายรับกับกิจกรรมหนัก ๆ ไม่ได้ ก็จะแสดงอาการออกมา 

ดังนั้นหากนำเทคโนโลยีความเร็วสูง 5G มาประยุกต์ร่วมกับการนำ Data ทางสุขภาพของคนทุกเพศทุกวัยมาสร้างเป็นโมเดลรักษาสุขภาพที่ศึกษาไปยังต้นตอของสุขภาวะองค์รวมของคน ไม่ว่าจะเป็นร่างกาย สติปัญญา จิตใจ และอารมณ์ เพื่อได้ผลลัพธ์ไปแก้ไขสุขภาวะของคนในประเทศ รวมไปถึงหาแนวทางรักษาโรคภัยที่เกิดขึ้น ก็จะช่วยแก้ไขปัญหาปัญหาสาธารณสุขที่ตรงจุด สร้างสุขภาพที่แข็งแรงในระยะยาว 

  1. New User Experiences ต่อยอดประสบการณ์การปรึกษาแพทย์แบบเสมือนจริง

ยกตัวอย่างจากโครงการ Starline ที่ Google คิดค้นขึ้น โดยสร้างรูปภาพเสมือนจริง 3 มิติสำหรับการใช้งานวิดีโอคอล เพื่อสร้างประสบการณ์การสื่อสารที่สมจริง คนรู้สึกได้ใกล้ชิดกับคู่สนทนายิ่งกว่าที่เคย เสมือนได้เจอหน้าตัวเป็น ๆ ซึ่งโครงการนี้จะช่วยลดความเหงาที่เกิดขึ้นระหว่างอยู่บ้านในช่วงสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ได้เป็นอย่างดี ในโครงการนี้

ด้วยประสิทธิของเครือข่ายความเร็วสูงของ 5G จะช่วยสร้างโครงการรูปแบบเดียวกันนี้สามารถเกิดขึ้นได้ในวงการอุตสาหกรรมการแพทย์ โดยเฉพาะในกรณีของการที่ผู้ป่วยสามารถปรึกษาแพทย์จากที่ใดก็ได้ แต่ได้รับประสบการณ์การรักษาเสมือนอยู่ในโรงพยาบาลเลยทีเดียว ซึ่งในส่วนนี้จะตอบโจทย์ความต้องการของทั้งผู้ป่วยและแพทย์ ที่ต่อให้สนทนาผ่านหน้าจออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ก็รู้สึกเชื่อใจมากพอที่จะบอกเล่าความเป็นจริงได้ทุกประการ เทียบเท่ากับเวลาปรึกษาแพทย์แบบตัวต่อตัว

  1.  Remote, Real-time & Reliable Devices เครื่องมือแพทย์พร้อมการรักษาแบบครบวงจร

ปัจจุบันในแวดวงการแพทย์และสาธารณสุข เราได้เห็นเครื่องมือแพทย์ที่สามารถใช้งานได้เองที่บ้านแล้ว เช่น ที่ตรวจวัดความดันโลหิต เครื่องพ่นยา เครื่อง AED หรือเครื่องวัดระดับน้ำตาลในเลือด แต่ถึงอย่างไรก็ตามเครื่องมือเหล่านี้ช่วยในการตรวจสอบสภาวะต่าง ๆ และสัญญาณของโรคในร่างกายได้เพียงเบื้องต้นเท่านั้น ท้ายที่สุดแล้วยังคงต้องปรึกษาแพทย์ต่อไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 

ดังนั้นหากใช้เทคโนโลยี 5G ร่วมกับเครื่องแพทย์ดังกล่าว ก็จะเพิ่มประสิทธิภาพในตรวจจับสัญญาณฉุกเฉินได้แม่นยำยิ่งขึ้น และมีความสามารถในการจัดการโรคที่เกิดขึ้นได้ในเครื่องมือเดียว เช่นกรณีเครื่องมือวัดระดับน้ำตาลในเลือดสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานในอนาคตไม่ได้มีแค่แสดงตัวเลขและเก็บข้อมูลให้ผู้ป่วยเท่านั้น ยังอาจตรวจสอบได้ถึงอาการที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วย และวิธีรักษาได้ 

  1. Assistance & Augmentation ระบบผู้ช่วยเสมือน ลดขั้นตอนไม่จำเป็นสำหรับแพทย์

ในช่วงเวลาผ่าตัด แพทย์จะต้องใช้สมองสำหรับ 2 หน้าที่ ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมมือทั้งสองข้าง เลือกอุปกรณ์ในการผ่าตัดแต่ละส่วนของร่างกายผู้ป่วยให้เกิดความปลอดภัยสูงสุด ยังต้องคิดอีกว่าต้องผ่าตัดอย่างไรอาการของผู้ป่วยจะหายโดยเร็ว เพื่อลดขั้นตอนอันซับซ้อนนี้ หากเรานำเทคโนโลยีความเร็วสูง 5G มาเชื่อมต่อกับข้อมูลทางการแพทย์ขนาดใหญ่ในการส่งต่อสำหรับระบบผู้ช่วยเสมือนได้อย่างเรียลไทม์ ตอบสนองทันที และเสนอวิธีการรักษาได้อย่างรวดเร็ว ก็จะช่วยประหยัดเวลาแพทย์พอสมควร และแพทย์ก็จะไปโฟกัสกับความปลอดภัยของผู้ป่วยมากขึ้น ในอนาคตเราอาจได้เห็นหุ่นยนต์ตัวเป็น ๆ ที่จะช่วยแพทย์ศัลยกรรมทำการผ่าตัดก็เป็นได้ 

5G สามารถยกระดับศักยภาพ HealthTech ในประเทศไทยได้อย่างไร

การนำเทคโนโลยีด้าน Healthcare เข้ามาประยุกต์ใช้ในประเทศไทยนั้น พญ. พิรญาณ์ ธำรงธีระกุล CEO ของ Chiiwii กล่าวว่า ปัจจุบันเราจะเห็น Health Tech Startup ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย แบ่งออกเป็น 5 กลุ่มด้วยกัน  ได้แก่ telehealth ระบบการแพทย์ทางไกล personal healthcare การดูแลสุขภาพในมือถือส่วนตัว remote monitoring การติดตามตัวจากระยะไกลระบบบริหารจัดการในองค์กร โรงพยาบาล คลินิก ร้านขายยา และกลุ่มของื Deep tech เช่น Bio tech, AI

นอกจากนี้เราได้เห็นการพาร์ทเนอร์กันระหว่าง Startup กับโรงพยาบาลรวมถึงคลินิก ร้านยา บริษัทยา มากขึ้นด้วย ไม่ว่าจะเป็นการนำเทคโนโลยีเข้าไปช่วยเรื่องของการทำนัดหมาย ระบบจองคิว ระบบบริหารจัดการคลังยา โครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ รวมถึง AI ด้วยเช่นกัน

ด้านคุณพงศ์เทพ คงศักดิ์ Head of Business Development ของ True Digital Health ในฐานะของ Service Provider ด้าน HealthTech ได้ให้มุมมองเสริมว่า  ในช่วง 2-3 ที่ผ่านมามีคนให้ความสนใจในเรื่องนี้มากขึ้น ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะเทคโนโลยี ทั้งจาก Device และ 5G นอกจากกลุ่ม startup แล้ว บางองค์กรเริ่มมีการสร้าง unit ย่อย ซึ่งมีการทำงานคล้ายกลุ่ม Startup เพื่อให้ทันกับความเปลี่ยนแปลง โดยเทคโนโลยีส่วนมากเป็นเรื่องของซอฟต์แวร์ เป็นการพัฒนาให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน

ในขณะที่ความก้าวหน้าของการพัฒนา Telemedicine ในประเทศไทยนั้น ได้มีการนำมาใช้อย่างหลากหลายมากขึ้นจากการเข้ามาของเทคโนโลยี  5G โดยพญ. พิรญาณ์ ได้ให้มุมมองว่า หลายคนอาจจะคิดว่าถามคุณหมอได้แค่ผิวเผิน แต่ด้วยเทคโนโลยีที่พัฒนาไปไกล ทั้ง 5G และโทรศัพท์มือถือ บ้านแต่ละคนก็มีอุปกรณ์ที่ advance ขึ้น เพราะฉะนั้น telemed จึงทำได้มากกว่าที่คิด หากเอา remote monitoring และ AI มารวมกัน จะทำให้การดูแลคนไข้ครบสูตร ซึ่งปัจจุบันจะเห็นภาพรวมที่ telehealth สามารถทำได้จะมีอยู่ 5 ระดับ ดังนี้

  1. Prevention การดูแลสุขภาพทั่วไป เช่น ควรกินและออกกำลังกานอย่างไร ซึ่งเมื่อรวมกับ personal healthcare จะทำให้เกิด personal coach ต่าง ๆ 

  2. Early detection เช่น cancer screening, anti-aging ตรวจสุขภาพประจำปี สามารถทำได้จากที่บ้าน

  3. การเจ็บป่วยเล็กน้อย โดยปกติคนจะเสิร์ชอาการจาก Google ซึ่ง telemed มาตอบโจทย์ส่วนนี้ ทำให้ได้เจอหมอตัวจริงเลย และส่งยาถึงบ้านได้

  4. คนที่ป่วยเรื้อรัง หรือมีโรคประจำตัว สามารถ follow up อาการได้ เพราะรู้อยู่แล้วว่าต้องไปโรงพยาบาลเป็นประจำทุกเดือน หรือ 3 เดือน 

  5. Long term care ที่ต้องการผู้เชี่ยวชาญหลายสาขามาดูแลร่วมกัน โดยให้แพทย์มาดูแลคนไข้แบบ patient centric ทำให้คนไข้ไม่ต้องไปหลายที่

ด้านกรณีศึกษาจากการนำเทคโนโลยี 5G เข้ามาพัฒนาด้าน  Healthcare นั้นคุณพงศ์เทพ กล่าวในประเด็นนี้ว่า หากเราดูจากโมเดลในหลายประเทศ ในยุโรป telemed เป็นเรื่องแรกที่มีการนำเอา 5G เข้ามา ภายใต้เทคโนโลยี 5G มีเรื่องซ่อนอยู่เบื้องหลัง ในมุมของนักพัฒนา 5G เหมือนเป็นเส้นทางใหม่ที่ค่อนข้างรวดเร็ว ดังนั้นยุโรปและเอเชียจึงหยิบเรื่องนี้มาใช้

สำหรับ Telemed ไม่ได้จำกัดเฉพาะคนไข้กับหมอเท่านั้น แต่ยังสามารถใช้กับนักโภชนากร เทนเนอร์ในการดูแลสุขภาพได้ด้วย สำหรับในประเทศไทยเราได้เห็นความสำคัญของการขยายการใช้งานเทคโนโลยีดังกล่าวให้เกิดผลเป็นวงกว้าง ที่จะทำให้ผู้คนมีผู้เชี่ยวชาญอยู่ใกล้ตัว โดย True จะเป็นตรงกลางเชื่อมทั้งสองฝ่ายในทุกด้าน ดังนั้นเราจึงมีแผนทำ offline service เพื่อเข้าถึงพื้นที่ต่าง ๆ นอกจากนี้เราจะพยายามสนับสนุนให้มีผุ้เชี่ยวชาญด้านอื่น ๆ ด้วย ทั้งผู้ให้คำปรึกษาตั้งแต่ก่อนการเจ็บป่วย หรือตอนเจ็บป่วย ซึ่งทาง True ก็ได้มีการร่วมมือกับ Chiiwii เพื่อให้หมอที่มีคุณภาพมาอยู่บนแพลตฟอร์มของเรา หากเราร่วมมือกันจะช่วยให้เราอยู่ใกล้กันยิ่งขึ้น 

ด้านพญ. พิรญาณ์ กล่าวเสริมว่า ในแง่ของการใช้บริการที่ได้ร่วมกับ  True นั้น ไม่ได้จำกัดพื้นที่การใช้งาน แค่เพียงมีอินเทอร์เน็ตก็เข้าถึงได้ ในอนาคตเราจะร่วมกับประกันสุขภาพให้สามารถเบิกจ่ายได้ และมีการติดต่อองค์กรเพื่อเป็นสวัสดิการสำหรับพนักงาน หากทำได้คาดว่าจะไปซัพพอร์ตสวัสดิการภาครัฐด้วย

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

รู้จัก LLMs’ Explainability การเข้าใจกลไกสมอง AI หนึ่งใน Tech Trends 2025 ที่จะมาเปลี่ยนโลกเอไอ

เจาะลึกเบื้องหลัง Large Language Models (LLMs) และเทคโนโลยี LLMs’ Explainability ที่ช่วยเปิดเผยกระบวนการทำงานของ AI จากกล่องดำสู่ความโปร่งใส ความก้าวหน้าที่เปลี่ยนโลก AI ในอนาคต!...

Responsive image

รู้จัก AI Product Management สายงานที่ Andrew Ng ชี้มาแรง

สำรวจบทบาท AI Product Management และเหตุผลที่ Andrew Ng ยกให้เป็นตำแหน่งสำคัญในการขับเคลื่อนผลิตภัณฑ์ AI ตั้งแต่การพัฒนาแนวคิดจนถึงการนำไปใช้งานจริง...

Responsive image

เปิดกลยุทธ์ธุรกิจยุคใหม่ พลิกข้อมูล สู่ขุมทรัพย์ด้วย analyticX ด้วยพลัง Telco Data Insights และ GenAI

ยุคนี้ใคร ๆ ก็พูดถึง Data แต่จะใช้ Data อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่างหากคือกุญแจสำคัญ! ในสัมมนาสุดเอ็กซ์คลูซีฟ "Unlocking Data-Driven Decisions with Telecom Data Insights" ที่จั...