ในยุคสมัยที่ Generative AI กำลังเปลี่ยนวิถีการทำงานและการใช้ชีวิตของเรา ชื่อของ Andrew Ng ผู้คร่ำวอดด้าน AI และผู้ก่อตั้ง DeepLearning.AI เมื่อเร็ว ๆ นี้ เขาได้โพสต์บน Facebook ส่วนตัวเกี่ยวกับบทบาทงานที่กำลังมาแรง นั่นก็คือ AI Product Management
ด้วยความที่ตำแหน่งนี้ไม่ได้เป็นเพียง “ผู้จัดการ” ในความหมายเดิม ๆ แต่คือหัวใจสำคัญที่ขับเคลื่อนโครงการ AI ให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานได้จริง Techsauce จึงอยากพาคุณมาทำความรู้จักให้ลึกขึ้น ว่าหน้าที่ของ AI Product Manager คืออะไร และทำไม Andrew Ng ถึงให้ความสำคัญกับเรื่องนี้จนต้องออกมาแชร์
AI Product Management คือ ตำแหน่งที่พัฒนามาจากบทบาทของ Product Management ทั่วไป ซึ่งมักทำหน้าที่ในกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่การระดมไอเดียไปจนถึงการนำไปใช้จริง โดยยึดตามหลักการของ Product Management
สำหรับ AI Product Management บทบาทนี้มีความซับซ้อนและต้องอาศัยความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านมากขึ้น โดยเนื้องานครอบคลุมการดูแลพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับ AI, Machine Learning หรือ Deep Learning แม้จะไม่ได้เจาะลึกถึงขั้นลงมือพัฒนาเทคนิคเชิงลึก แต่ AI Product Manager ต้องมีความเข้าใจในศักยภาพของเทคโนโลยีเหล่านี้ รวมถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์
AI Product Management จึงเป็นบทบาทที่ต้องผสานความรู้ทั้งด้านเทคโนโลยี AI และการจัดการผลิตภัณฑ์ เพื่อเชื่อมโยงความซับซ้อนของนวัตกรรมกับความต้องการทางธุรกิจ ซึ่งก็จะมีหน้าที่ ดังนี้
แต่ในอนาคต Andrew Ng ชี้ว่าจะมี 3 ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ตำแหน่ง AI Product Management นำผลิตภัณฑ์ AI ออกสู่ตลาดได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
Andrew Ng ชี้ว่าศาสตร์แห่งการกำหนดว่าเราควรสร้างอะไรเพื่อให้ตอบโจทย์ผู้ใช้งานได้ดีที่สุดในฐานะ AI Product Management จำเป็นที่จะต้องคิดอยู่บน 3 ปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่
การเริ่มต้นด้วยแนวคิดที่ชัดเจนช่วยให้ทีมทำงานได้เร็วขึ้น ตัวอย่างเช่นหาก AI Product Manage เสนอไอเดียว่าจะสร้าง “แชตบอตเพื่อตอบคำถามเกี่ยวกับบัญชีธนาคาร” การเสนอไอเดียแบบนี้ถือเป็นข้อแนวคิดที่ค่อนข้างคลุมเครือ
เพราะมันสามารถตีความได้หลากหลาย เช่น แชตบอตจะตอบได้แค่ยอดเงินคงเหลือในบัญชี หรือรวมถึงอัตราดอกเบี้ย วิธีการโอนเงิน และอื่นๆ ด้วย ? ซึ่งอาจทำให้ทีมพัฒนาสับสนว่าผลิตภัณฑ์ควรทำอะไรได้บ้าง ทาง Andrew Ng จึงแนะนำว่า AI Product Manager ควรที่จะระบุสเปคหรือรายละเอียดแนวคิดของตนเองให้ชัดเจน
ตัวอย่างของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ “แชตบอทตอบคำถามทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับบัญชีธนาคาร”
ตัวอย่างเหล่านี้ช่วยให้ทีมพัฒนาเข้าใจว่าแชทบอทต้องทำอะไรบ้าง และช่วยกำหนดขอบเขตงานได้ชัดเจน เหมือนกับที่อัลกอริทึม Machine Learning ต้องการตัวอย่างข้อมูลในการเรียนรู้ ทีมพัฒนาผลิตภัณฑ์ AI ก็ต้องการตัวอย่างที่ชัดเจนเพื่อเข้าใจว่าระบบ AI ควรทำอะไร
เวลาที่ AI Product Management มีไอเดียที่จะสร้างผลิตภัณฑ์ AI สักชิ้นหนึ่ง สิ่งสำคัญที่ต้องดูคือ แอปพลิเคชันนี้สร้างได้จริงไหม? หรือความเป็นไปได้ทางเทคนิคนั่นเอง
ซึ่งจะช่วยให้สามารถตัดสินใจได้ว่าควรจะเดินหน้าหรือปรับแนวทางต่อไปยังไง ด้าน Andrew Ng เผยว่าปัจจุบัน AI Product Management ที่อาจไม่ได้เชี่ยวชาญด้านเขียนโปรแกรมสามารถลองใช้งาน LLM ด้วยการ Prompt ง่ายๆ หรือเขียนโค้ดเล็ก ๆ เพื่อประเมินว่าไอเดียนั้นเป็นไปได้แค่ไหน
ตัวอย่างเช่น
สมมติ AI Product Management อยากสร้างระบบที่ช่วยส่งอีเมลของลูกค้าไปยังแผนกที่เกี่ยวข้อง (เช่น บริการลูกค้า ฝ่ายขาย ฯลฯ) ก็สามารถทดสอบด้วยการลอง Prompt ให้ LLM อ่านอีเมล แล้วเลือกแผนกให้ถูกต้องไหม ถ้าผลออกมาดี แปลว่าระบบนี้มีโอกาสสร้างได้จริง และสามารถส่งต่อให้ทีมวิศวกรพัฒนาต่อได้
แต่ถ้าผลไม่ดี PM ก็จะรู้เร็วและสามารถปรับแก้หรือเปลี่ยนแนวคิดได้ไวขึ้น โดยไม่ต้องเสียเวลาขอให้ทีมเขียนโค้ดต้นแบบก่อน บางระบบอาจต้องการฟีเจอร์เพิ่มเติม เช่น หากระบบส่งอีเมลต้องการความสามารถในการดึงข้อมูล (RAG - Retrieval-Augmented Generation) เพื่อช่วยตัดสินใจ ในกรณีนี้ AI Product Management อาจต้องเขียนโค้ดเล็กน้อยเพื่อทำให้ระบบสมบูรณ์ขึ้น
Andrew Ng เผยว่าทุกวันนี้การเขียนโค้ดพื้นฐานไม่ยากเหมือนเดิม เพราะมี AI ช่วยแนะนำการเขียนโค้ด (AI Coding Companion) ทำให้ AI Product Management สามารถทดสอบความเป็นไปได้ของไอเดียได้เองแบบเบื้องต้นได้ง่ายขึ้น
การนำความคิดเห็นจากผู้ใช้งาน (User Feedback) มาใช้ร่วมกับต้นแบบ (Prototype) เป็นสิ่งสำคัญในการกำหนดทิศทางของผลิตภัณฑ์ ปัจจุบันการสร้างต้นแบบง่ายขึ้นมาก เพราะผู้จัดการผลิตภัณฑ์ (Product Manager หรือ PM) สามารถพัฒนาต้นแบบได้เองโดยไม่ต้องพึ่งพานักพัฒนาซอฟต์แวร์
Andrew Ng ได้กล่าวถึงเครื่องมือและเทคโนโลยีที่ช่วยให้การสร้างต้นแบบเป็นเรื่องง่าย เช่น:
เครื่องมือเหล่านี้ออกแบบมาเพื่อช่วยให้คนที่ไม่มีพื้นฐานด้านการเขียนโค้ด สามารถสร้างและทดลองต้นแบบได้อย่างสะดวก อย่างไรก็ตาม หากมีพื้นฐานด้านการเขียนโค้ดเบื้องต้นก็จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเครื่องมือเหล่านี้ได้ดียิ่งขึ้น
Andrew Ng เล่าว่า สมาชิกในทีมของเขาหลายคนใช้เครื่องมือเหล่านี้สร้างต้นแบบ รับฟังความคิดเห็นจากผู้ใช้งาน และปรับปรุงต้นแบบได้อย่างรวดเร็ว ช่วยให้กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์เดินหน้าได้ไวและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
Andrew Ng ผู้เชี่ยวชาญด้าน AI ชี้ว่า AI Product Management กำลังเป็นศาสตร์ที่น่าจับตามอง และเขายังคงเดินหน้าศึกษาและแบ่งปันแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดในอุตสาหกรรมนี้อย่างต่อเนื่อง
อ้างอิง: simplilearn , deeplearning.ai
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด