ระบบสาธารณสุขทั่วโลกกำลังเผชิญกับความท้าทายครั้งใหญ่ ความต้องการทางการแพทย์ที่เพิ่มมากขึ้น สวนทางกับข้อจำกัดด้านงบประมาณและปัญหาการขาดแคลนบุคลากร ทำให้ภาคสาธารณสุขต้องเร่งปรับตัว ขณะเดียวกันผู้ป่วยก็มีความคาดหวังสูงขึ้น ทั้งในด้านความสะดวก รวดเร็ว และคุณภาพการรักษาที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ในสถานการณ์เช่นนี้เทคโนโลยีจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง ไม่เพียงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ลดภาระงานที่ไม่จำเป็น แต่ยังช่วยยกระดับมาตรฐานการดูแลสุขภาพให้ตอบโจทย์ความต้องการของทั้งแพทย์และผู้ป่วย อย่างไรก็ตามการนำเทคโนโลยีมาใช้ในระบบสาธารณสุขไม่ใช่เรื่องง่าย ยังมีประเด็นด้านความปลอดภัยของข้อมูล การพัฒนาทักษะบุคลากร และการบริหารจัดการที่ต้องคำนึงถึง นี่จึงเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้วงการ HealthTech กำลังก้าวเข้าสู่ยุคใหม่
เทคโนโลยีใดที่จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในอนาคต? แนวโน้มของ HealthTech จะไปในทิศทางไหน? Techsauce ได้มีโอกาสสัมภาษณ์ทีม ‘Disrupt Health Impact Fund’ ทั้งคุณณรัณภัสสร์ ฐิติพัทธกุล General Partner, คุณวิริยา ศักดิ์เจริญชัย Investment Associate และคุณธัญรดา ปานสุวรรณ Investment Associate ที่ได้เผยถึงบทบาทของเทรนด์ที่น่าจับตามองในวงการสุขภาพอย่าง Wearable, Deep Tech และ AI พร้อมฉายภาพให้เห็นถึงอนาคต และความสำคัญของ Healthtech ที่หลายคนอาจจะมองข้ามไป
Disrupt Technology Ventures (DTV) เป็นทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนในสตาร์ทอัพ (Venture Capital) ที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการลงทุนในหลากหลายอุตสาหกรรม โดยก่อนหน้านี้ DTV ได้มุ่งเน้นการลงทุนในสตาร์ทอัพด้านการศึกษาและธุรกิจอื่นๆ มาแล้วหลายโครงการ ซึ่งนำโดย คุณเรืองโรจน์ พูนผล ประธานของ DTV, คุณจันทนารักษ์ ถือแก้ว กรรมการผู้จัดการ DTV, และคุณณรัณภัสสร์ ฐิติพัทธกุล General Partner ด้วยประสบการณ์ในการบริหารกองทุน VC มาแล้วถึง 7 กองทุน
จากความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ ทีม Disrupt ได้เปิดตัวกองทุนใหม่ในชื่อ Disrupt Health Impact Fund โดยมีเป้าหมายหลักในการลงทุนในสตาร์ทอัพด้าน Health Tech โดยเฉพาะ กองทุนนี้เกิดขึ้นจากความเชื่อมั่นว่าอุตสาหกรรม Health Care กำลังเติบโตและมีศักยภาพในการสร้างผลกระทบเชิงบวกอย่างมหาศาล โดยเน้นการลงทุนในนวัตกรรมที่สามารถแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพและยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คน
Disrupt Health Impact Fund ให้ความสำคัญกับการลงทุนใน Deep Technology โดยเน้น 5 ด้านหลัก ได้แก่ Self-care, Preventive care, Holistic Wellness, Silver Age, และ Smart Hospital ซึ่งที่ผ่านมา Disrupt Health Impact Fund ได้ลงทุนใน DiaMonTech สตาร์ทอัพ DeepTech สัญชาติเยอรมันที่พัฒนาเทคโนโลยีวัดน้ำตาลในเลือดโดยไม่ต้องเจาะเลือด อีกทั้งกำลังมองหาโอกาสในการลงทุนในนวัตกรรมอื่นๆ ที่มีศักยภาพอย่างต่อเนื่อง
Health Care เป็นอุตสาหกรรมที่อ่อนไหว จะเอาเทคโนโลยีมาใช้ มันไม่ใช่แค่ทำได้ แต่ต้องคิดหนักเรื่องข้อมูลส่วนตัวคนไข้ แล้วก็เรื่องจริยธรรม เพราะข้อมูลมันไม่ใช่แค่รู้ว่าคนไข้ชอบอะไร แต่มันรู้ลึกไปทั้งหมดของร่างกายคนไข้ AI ในวงการ Health ถึงดูเหมือนจะช้ากว่าที่อื่นทั้งๆ ที่จริงๆ มันอาจจะมีอยู่แล้วก็ได้ แต่ที่มันยังไม่ออกมาให้คนไข้ใช้กันง่ายๆ ก็เพราะเกณฑ์มันเยอะ แล้วก็ต้องโชว์ให้เห็นว่ามันปลอดภัยจริงๆ”— คุณณรัณภัสสร์ ฐิติพัทธกุล General Partner
การเปิดตัวกองทุนนี้มุ่งหวังในการสร้างการเปลี่ยนแปลงในวงการสุขภาพ โดยการนำเทคโนโลยีที่สามารถเข้ามาช่วยในการแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพ ซึ่งที่ผ่านมา Disrupt Health Impact Fund ได้ลงทุนใน DiaMonTech สตาร์ทอัพ DeepTech สัญชาติเยอรมัน ไปแล้ว ซึ่งเป็นนวัตกรรมวัดน้ำตาลโดยไม่ต้องเจาะเลือด และกำลังมองหาโอกาสในการลงทุนในนวัตกรรมอื่นๆ ที่มีศักยภาพอย่างต่อเนื่อง
เทรนด์ HealthTech มีการเปลี่ยนแปลงในหลายด้าน โดยเฉพาะในส่วนของ Wearables เช่น แว่นตา, สมาร์ทวอทช์, หรือ แหวน ที่สามารถวัดข้อมูลสุขภาพได้หลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นการหลับ, การเต้นของหัวใจ, การออกซิเจนในเลือด โดยในอนาคตจะสามารถวัดข้อมูลอื่นๆ ได้มากขึ้น รวมถึงการแนะนำด้านสุขภาพที่ง่ายและไม่ซับซ้อนผ่าน AI ที่ใช้ในอุปกรณ์เหล่านี้
หนึ่งในแนวโน้มที่น่าสนใจคือการใช้ AI ในการให้คำแนะนำด้านสุขภาพ เช่น แนะนำให้พักผ่อนหรือออกกำลังกายเมื่อระบบตรวจจับพฤติกรรมสุขภาพของผู้ใช้งานได้ AI จะเข้ามามีบทบาทในการช่วยเสริมการดูแลสุขภาพด้วยการ Personalized Health Care ที่สามารถแนะนำและปรับปรุงพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคในอนาคตได้
การเชื่อมต่อระหว่าง Data Integration และอุปกรณ์ที่มีอยู่ เช่น สมาร์ทโฟน หรือ Wearables จะทำให้เกิดการวิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพได้ลึกขึ้นและให้คำแนะนำที่แม่นยำขึ้น นอกจากนี้ AI จะช่วยในการพัฒนาการค้นพบยาใหม่ๆ และมีส่วนช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพในโรงพยาบาลอย่าง Smart Hospital และทำให้การบริการทางการแพทย์มีประสิทธิภาพ
อีกหนึ่งแนวโน้มที่ควรพูดถึงคือการที่ AI จะช่วยให้การรักษาทางการแพทย์ดีขึ้น โดยเฉพาะในกรณีของ Aging Society ที่ประชากรกำลังมีอายุยืนขึ้นอย่างมาก ทำให้เกิดการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งระบบ AI จะเข้ามาช่วยเติมเต็มในส่วนนี้และในอนาคตเทคโนโลยีที่เชื่อมต่อกับ Wearable Devices และ AI จะส่งผลให้ Self-care และ Preventive care อาจกลายเป็นส่วนสำคัญของการรักษาสุขภาพของคนในสังคม
เมื่อพูดถึงเทรนด์ Healthcare ที่มาแรง หลายคนอาจนึกถึง Wearable อย่าง Smart Watch เป็นอันดับแรก แต่แท้จริงแล้วยังมี Medical Device ในรูปแบบอื่นๆ ที่ช่วยให้เรา Monitor สุขภาพได้จากที่บ้านอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้มีขนาดเล็กลง ราคาถูกลง และมี AI เข้ามาช่วยประมวลผล ทำให้เราสามารถติดตามค่าต่างๆ ได้เอง เช่น ความดันโลหิต ซึ่งช่วยลดข้อจำกัดของการเก็บข้อมูลสุขภาพแบบ "Snapshot" ที่โรงพยาบาล ที่มักจะเก็บข้อมูลเพียงครั้งเดียวเมื่อเราไปพบแพทย์
เทคโนโลยีเหล่านี้ยังเป็นเหมือน "ส่วนเสริม" ที่ทำให้เราได้ข้อมูลเชิงลึกด้านสุขภาพ (Health Insight) ที่ได้จากบ้านของเราเอง ข้อมูลที่ได้เหล่านี้สามารถเชื่อมต่อกับโรงพยาบาล เพื่อให้แพทย์มีข้อมูลที่รอบด้านมากขึ้นในการดูแลรักษาผู้ป่วย
“เมื่อก่อนถ้าเราไปโรงพยาบาล ก็จะได้ข้อมูลสุขภาพแค่ตอนนั้น วัดเสร็จก็จบ แต่เดี๋ยวนี้มีอุปกรณ์เล็กๆ ราคาไม่แพง แถมมี AI ช่วยวิเคราะห์ ทำให้เราเช็คสุขภาพตัวเองได้ที่บ้าน ไม่ต้องรอ 3 เดือนไปเจอหมอ แล้วโรงพยาบาลก็เอาข้อมูลที่เราเก็บเองไปใช้ ทำให้หมอเห็นภาพสุขภาพเราได้ชัดเจนกว่าเดิม” คุณณรัณภัสสร์ ฐิติพัทธกุล General Partner กล่าว
คุณวิริยา ศักดิ์เจริญชัย Investment Associate กล่าวว่าการมาของ Wearable และ Medical Device ต่างๆ ทำให้เกิดแนวคิดของแพลตฟอร์มที่ทำหน้าที่ "Gather" หรือรวบรวมข้อมูลสุขภาพจากแหล่งต่างๆ แล้วนำมาประมวลผลเพื่อสร้าง Predictive Model หรือ Use Case ต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการดูแลสุขภาพ ซึ่งแพลตฟอร์มเหล่านี้ช่วยให้เราสามารถ Monitor พฤติกรรมของผู้ป่วยได้อย่างต่อเนื่อง
“อย่างคนที่เป็นโรค NCDs พอออกจากโรงพยาบาลมาก็ยังต้องคอยดูแลตัวเอง แต่ช่วงที่อยู่บ้าน ไม่ได้เจอหมอ บางทีมันก็มีโอกาสทีอาจการจะกลับมาเป็นซ้ำหรือแย่ลง ถ้าเรามีแพลตฟอร์มหรือโซลูชันที่ช่วยมอนิเตอร์ตรงนี้ มันก็จะช่วยลดการเกิดปัญหาที่เกิดขึ้นตรงนี้ได้”
ซึ่งความแตกต่างของแต่ละแพลตฟอร์มจะอยู่ที่ Indicator หรือฐานข้อมูล Data ที่แต่ละเจ้ามี เช่น บางแพลตฟอร์มเน้น Continuous Monitoring ในขณะที่บางแพลตฟอร์มอาจเน้นการ Gather Genetic Data ซึ่งเป็นข้อมูลที่ยากและเฉพาะเจาะจงมากขึ้น
นอกจากเทรนด์ Selfcare ที่กำลังมาแรง เทรนด์ Longevity ก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่น่าจับตาเช่นกัน โดย Longevity คือ แนวคิดที่มุ่งเน้นการดูแลสุขภาพเชิงลึก เพื่อชะลอความเสื่อมของร่างกายและเพิ่มคุณภาพชีวิตให้ยืนยาวขึ้น
คุณณรัณภัสสร์ ฐิติพัทธกุล กล่าวว่าตอนนี้เทรนด์ Longevity มาแรงมาก ทุกคนรู้ว่าคนจะอายุยืนขึ้น แล้วก็มีนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เข้าไปจัดการถึงระดับยีน ระดับเซลล์ เช่นการตรวจจับความเสี่ยงมะเร็งแต่เนิ่นๆ เทคโนโลยีพวกนี้มีอยู่แล้ว แต่แพงมากคนก็เข้าถึงได้น้อย เราเชื่อว่าอนาคต Gene Sequencing จะถูกลง ถ้าคนรู้ความเสี่ยงมะเร็งตั้งแต่เนิ่นๆ ก็จะรักษาได้ก่อนไม่ต้องรอถึงขั้นเป็นเยอะแล้วต้องมาคีโม ผมร่วง คุณภาพชีวิตแย่ มันจะเป็น Game Changer มากๆ แต่ก็ต้องใช้เวลาหน่อย
นอกจากนี้ ยังมีการวิจัยเกี่ยวกับเรื่อง Anti-aging ที่มุ่งเน้นการชะลอความเสื่อมของวัยหรือแม้แต่การ Reverse Aging ซึ่งเป็นเทรนด์ที่น่าสนใจและมีการพูดถึงอย่างกว้างขวางในวงการวิทยาศาสตร์
อีกหนึ่งเทรนด์ที่สำคัญคือการนำ AI มาใช้ในการวินิจฉัยโรค (AI Diagnostic) โดย AI สามารถช่วยคุณหมอในการวิเคราะห์ผล CT Scan หรือ MRI Scan เพื่อให้วินิจฉัยโรคได้รวดเร็วและแม่นยำขึ้น ซึ่งจะช่วยลดระยะเวลาในการรอผลและทำการรักษา
คุณธัญรดา ปานสุวรรณ Investment Associate กล่าวว่าสิ่งที่น่าสนใจเพิ่มขึ้นอีกอย่างนึง คือ Prognosis หรือการคาดการณ์ว่าโรคนั้นจะไปในทิศทางไหน ซึ่งจะช่วยให้คุณหมอวางแผนการรักษาได้
และจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางการแพทย์ เพราะ AI จะสามารถช่วยให้แพทย์ทั่วไปมีความเชี่ยวชาญเทียบเท่ากับแพทย์ Specialist ได้ โดยการนำเสนอข้อมูลและ Insight เพิ่มเติม ทำให้การดูแลรักษาผู้ป่วยเป็นไปอย่างมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
มีหลายปัจจัยที่ส่งผลให้เทรนด์ Selfcare และ Longevity น่าจับตามองในช่วงนี้ ทั้งความใส่ใจในสุขภาพที่เพิ่มขึ้นและการตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมและมลพิษ
“ที่เทรนด์ Longevity, Selfcare, Prevention มาแรงช่วงนี้ เพราะคนสนใจสุขภาพมากขึ้น แล้วเทคโนโลยีก็พร้อมด้วย สมัยก่อน Smart Watch แพง แต่ตอนนี้มีให้เลือกเยอะ คนเข้าถึงง่าย มันเป็นตัวช่วยดูแลสุขภาพ เพราะเรื่องสุขภาพมันคือการปรับพฤติกรรม ซึ่งเป็นอะไรที่ยาก การมี Digital Solution กับ AI ที่ฉลาดๆ มันเลยทำให้ Self-Care เป็นไปได้จริง” คุณณรัณภัสสร์ ฐิติพัทธกุล กล่าว
นอกจากนี้การมาของ COVID-19 ก็เป็นตัวเร่งที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งโรงพยายาลและผู้คน ทำให้คนส่วนใหญ่หันมาดูแลสุขภาพตัวเอง รวมถึงแนวโน้มที่คนมีลูกน้อยลง ทำให้คนหันมาลงทุนกับการดูแลสุขภาพตัวเองมากขึ้น เพื่อให้มีชีวิตที่ยืนยาวและมีคุณภาพชีวิตที่ดีในวัยชรา
“ปัจจุบันคนเริ่มเป็นห่วงสุขภาพชีวิตของตัวเอง และ Ageing Society น่าจะเป็นสิ่งที่ทำให้คนตระหนักมากขึ้นด้วย” คุณธัญรดา เสริม
คุณณรัณภัสสร์ กล่าวว่า AI เข้ามามีบทบาทใน Healthcare มากขึ้นเรื่อยๆ แต่ก็ต้องยอมรับว่า Healthcare เป็นอุตสาหกรรมที่ Sensitive เพราะเกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคล และต้องคำนึงถึง Ethics อย่างมากในการใช้ AI ดังนั้น การนำ AI มาใช้ใน Healthcare จึงต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบมากกว่าอุตสาหกรรมอื่น
AI กับบทบาทในวงการสุขภาพ เช่น
"AI เข้ามาช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางการแพทย์ได้เยอะ เมื่อก่อนเราอาจจะคิดว่าหมอ Specialist คนนี้เก่งสุด อ่านภาพแม่นสุด แล้วหมอคนอื่นล่ะ เขาก็เก่งแต่ประสบการณ์อาจจะยังไม่เท่า แต่ถ้าเรามี AI ที่ถูกเทรนโดยหมอที่เก่งที่สุดแล้วให้ AI ช่วยหมอทุกคนให้เก่งขึ้นได้ใกล้เคียงกัน ก็หมายความว่าทุกคนที่มาโรงพยาบาลก็จะได้เจอหมอที่เก่ง เพราะก็ยังมีหมอที่ Junior และยังรักษาได้เบื้องต้น แต่การมี AI ก็เหมือนมีอาจารย์หมออยู่ข้างๆ ช่วยบอกว่าสิ่งที่เขาดูมันครบถ้วนหรือยัง มันช่วยให้หมอทำงานได้มีประสิทธิภาพ มีคุณภาพ แล้วยังเป็นการอัปสกิลให้หมอทั่วๆ ไปเก่งขึ้นได้ด้วย” คุณณรัณภัสสร์ กล่าว
คุณธัญรดา เสริมว่า AI จะเป็นคนลองวิเคราะห์ก่อน แต่สุดท้ายแล้วหมอ Specialist จะเป็นคนตัดสินใจเองว่าสิ่งที่ AI วิเคราะห์มานั้นถูกต้องหรือไม่
“ที่สำคัญคือ AI ไม่สามารถมาแทนที่หมอได้ทั้งหมด โดยเฉพาะเรื่องของ Empathy เพราะคนยังต้องการเจอคนอยู่ดี บางที AI ก็ให้ข้อมูลที่กว้างมาก จนบางครั้งอาจจะพลาดอะไรไป เพราะมนุษย์รู้ร่างกายหรือสุขภาพตัวเองดีที่สุด คุณอาจจะรู้สึกว่าคุณเจ็บตรงนี้ รู้สึกแบบนี้ อยากให้คุณหมอช่วยดูให้หน่อย ซึ่ง AI อาจจะทำตรงนี้ไม่ได้ AI ควรช่วยงานที่หมอไม่จำเป็นต้องทำเองมากกว่า แล้วเอาเวลาที่เหลือมาใส่ใจคนไข้ มาคุยกันให้ดีว่าคนไข้เป็นอะไรกันแน่” คุณธัญรดา กล่าว
Telemedicine เป็นเทรนด์ที่มาแรงในช่วงหนึ่ง แต่ปัจจุบัน Telemedicine ไม่ใช่เรื่องใหม่แล้ว แต่เป็นเหมือนส่วนหนึ่งของระบบ Healthcare ดังนั้น การสร้าง Telemedicine ใหม่เพื่อแข่งขันกับเจ้าตลาดเดิมๆ อาจไม่ใช่ทางออกที่ดีเท่าไหร่
อนาคตของ Telemedicine อาจจะเป็น Hybrid Model ที่ผสาน Telemedicine กับเทคโนโลยีอื่นๆ เช่น Wearable และ Medical Device หรืออาจจะเป็นการเชื่อมต่อกับโรงพยาบาล เพื่อให้เกิด Continuity of Care ที่ครบวงจรมากขึ้น ให้ผู้ป่วยได้รับการดูแล แม้จะไม่ได้ไปโรงพยาบาล
จากการสัมภาษณ์ทีม Disruput สามารถแบ่ง Wave ของ HealthTech ในช่วง 5 ปีที่หลังที่ผ่านมาได้ดังนี้:
Deep Tech เป็นเทคโนโลยีที่เน้นการวิจัยเชิงลึกที่ใช้เวลานานในการพัฒนา แต่ก็มีข้อดีคือสามารถป้องกันการลอกเลียนแบบได้และมีโอกาสเติบโตสูง และสามารถเป็น Acquisition Target ของบริษัทใหญ่ๆ ที่ต้องการ Innovation แต่ก็มีความท้าทาย เนื่องจากต้องใช้เวลานานและมีต้นทุนที่สูง
Deep Tech ที่น่าสนใจในวงการ HealthTech เช่น
และแม้ว่า Deep Tech จะมีศักยภาพสูง แต่ก็มีความท้าทายที่ต้องเผชิญ เช่น การนำงานวิจัยเข้ามาใช้ในชีวิตจริงและ J Curve ที่ใช้เวลานานกว่าจะเห็นผลตอบแทน
Wearable กำลังพัฒนาไปมากกว่าแค่การ Tracking กิจกรรมต่างๆ เช่น การตรวจจับภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ซึ่งอาจรวมถึงการตรวจจับระดับน้ำตาล หรือแม้แต่สุขภาพจิตและระดับความเครียด การพัฒนา Passive Monitoring ที่ผู้ใช้ไม่ต้องทำอะไรมาก แต่ Wearable ก็จะสามารถเก็บ Data ได้เอง ซึ่งนับว่าเป็นสิ่งที่น่าสนใจ เพราะช่วยให้การดูแลสุขภาพเป็นไปอย่างสะดวกสบายและ Real-time มากขึ้น
HealthTech ไทยมีทั้ง Deep Tech และ Platform ที่น่าสนใจ มีหลายมหาวิทยาลัยที่ตื่นตัวในการวิจัยและสนับสนุน Startup ด้านนี้ และมีบุคคลากรทางการแพทย์ที่มีความสามารถและพร้อมที่จะพัฒนา Deep Tech
แต่สิ่งที่ยังเป็นความท้าทายคือ 1. ข้อจำกัดด้านงบประมาณของโรงพยาบาลที่จะนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาใช้ 2. ข้อจำกัดของตลาดในประเทศที่ยังมีขนาดเล็ก ทำให้ Startup ไทยส่วนใหญ่มองหาโอกาสในตลาดต่างประเทศมากกว่า 3. ความพร้อมของตลาดในไทย ที่อาจยังไม่พร้อมที่จะรับเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามา ทำให้ Scale ของ Startup ไทยเป็นไปได้ยาก
การที่จะพัฒนา HealthTech ให้ก้าวหน้าได้ สิ่งที่ต้องมีคือ Data ที่มีคุณภาพและจำนวนของ Data ที่มากพอ ซึ่ง Data ที่ได้มาจากการวิจัย หรือการเก็บข้อมูลจาก Wearable และ Medical Device ต่างๆ จะนำมาสู่การพัฒนา AI และ Analytics ที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
อนาคตของ HealthTech เต็มไปด้วยความน่าตื่นเต้นและโอกาสใหม่ๆ ตั้งแต่ Wearable ที่พัฒนาไปสู่การดูแลสุขภาพเชิงลึก, Deep Tech ที่เน้นการวิจัยเชิงลึก ไปจนถึง AI ที่เข้ามาพลิกโฉมวงการ Healthcare ทั้งหมดนี้จะช่วยให้เราสามารถดูแลสุขภาพตัวเองได้ดีขึ้น และมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้นอย่างมีคุณภาพ แต่ก็ต้องไม่ลืมว่า การพัฒนาเทคโนโลยีควบคู่ไปกับการคำนึงถึง Ethics และความปลอดภัยก็เป็นสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด