Blockchain กับการปฏิวัติวงการดนตรี พร้อมกรณีศึกษา | Techsauce

Blockchain กับการปฏิวัติวงการดนตรี พร้อมกรณีศึกษา

ก่อนหน้านี้เราเคยนำเสนอบทความจากบทเรียนของ Napster มาถึงยุคแห่ง Blockchain นับตั้งแต่เวลานั้นถึงปัจจุบันธุรกิจเพลงก็ยังคงยุ่งเหยิง ทั้งเรื่องรายได้ ขาดซึ่งความโปร่งใส การละเมิดลิขสิทธิ์ และความบาดหมางกันในเรื่องของการปันผลจากช่องทางการจัดจำหน่ายต่างๆ

ธุรกิจเพลงมักไม่ชอบบริการพวกสตรีมมิ่ง บริการสตรีมมิ่งก็เกลียดบริการแชร์ไฟล์ และทั้งหมดนี้ทั้งศิลปินและผู้ผลิตคอนเทนต์ก็มักจะเกลียดพวกเหล่าบรรดานักฉวยโอกาสในการหาประโยชน์จากพวกเขา เช่นพวกละเมิดลิขสิทธ์ ในขณะที่พวกเขาแทบไม่ได้อะไรกลับมาเลย

ดูเหมือนจะไม่มีบริการหรือโมเดลธุรกิจไหนที่สามารถตอบโจทย์ทุก party ได้ แต่ปัจจุบันเริ่มเปลี่ยนไป หลังจากช่วงแห่งความเจ็บปวดเข้ามาเพราะเทคโนโลยีต่างๆ แต่ครั้งนี้อาจไม่เหมือนเดิมด้วยเทคโนโลยีอย่าง Blockchain ซึ่งดูเหมือนจะเข้ามาปฏิวัติหลายวงการ รวมถึงมีสัญญาณว่าจะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาธุรกิจเพลงที่มีปัญหามาอย่างยาวนาน และตอบโจทย์แต่ละ Party ได้

ทำไม Blockchain เป็นเทคโนโลยีที่จะเข้ามาช่วยวงการเพลงได้?

เราพูดกันมาเยอะแล้วว่า Blockchain ทำงานเสมือนฐานข้อมูลที่กระจายส่วน ไม่มีการรวมศูนย์ แต่ละ party สามารถทำการแลกเปลี่ยนเดต้ากันโดยตรงได้ ไม่ว่าจะเป็นเงิน หรือสิ่งต่างๆ ที่มีค่าในรูปแบบที่ปลอดภัย ในโลกแห่งเสียงเพลงก็เช่นกันเพลงสามารถนำไปไว้บน Blockchain ที่มาพร้อม Unique ID และ การบันทึกเวลาที่อยู่ดีๆ จะมีใครเข้ามาเปลี่ยนแปลงได้ยาก ทำให้ปัญหาที่เดิมมีการดาวน์โหลดเพลงบ้าง คัดลอกเพลงบ้าง ดัดแปลงบ้าง จะหมดไป โดยข้อมูลที่ระบุความเป็นเจ้าของ และลิขสิทธิ์จะเปลี่ยนแปลงกันไม่ได้ ทำให้โปร่งใสทันทีสำหรับทุกคนที่เห็นและตรวจสอบ แถมมั่นใจได้ว่าเจ้าของจริงๆ จะเป็นคนที่ได้รับเงินค่าคอนเทนต์นั้นๆ

นอกจากนี้ Blockchain ยังเข้ามาปฏิวัติการคิดเงินในโลกธุรกิจเพลง ด้วยการชำระเงินแบบใหม่ทำให้ตอบโจทย์กลุ่มของ On-Demand Music Service ได้ โดยผู้ใช้เลือกฟังเพลงที่ต้องการและเงินจะถูกจัดส่งไปหาผู้ที่เกี่ยวข้องที่ได้รับสิทธิรายได้จากเพลงดังกล่าวในรูปแบบของ Cryptocurrency อย่าง Bitcoin หรือ Ethereum

และจุดที่สำคัญที่สุดคือ Blockchain เชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างผู้พัฒนาคอนเทนต์และผู้บริโภคเข้าด้วยกัน ผู้แต่งเพลงและศิลปินไม่ต้องผ่านพวกบรรดาแพลตฟอร์มซื้อขาย และพ่อค้าคนกลางที่ปกติคอยเอาส่วนแบ่ง แถมยังได้รับเงินเลยทุกครั้งที่มีผู้เล่นเพลง แล้วแบบนี้จะไม่เรียกว่าปฏิวัติวงการได้อย่างไรกัน

ตัวอย่างสตาร์ทอัพที่น่าสนใจ

อยากรู้กันแล้วสินะ ว่ามีตัวอย่างไหนน่าสนใจไป

blockchain-music

  • PledgeMusic เป็นแพลตฟอร์มด้านเพลงออนไลน์ที่ใช้ Blockchain แก้ปัญหาเรื่องความเป็นเจ้าของ การชำระเงิน และความโปร่งใสในธุรกิจเพลงโดยตรง ผู้ผลิตคอนเทนต์สามารถอัพโหลดเพลงขึ้นไปผูกกับ metadata บริษัทและผู้บริโภคสามารถค้นหาและเล่นเพลงตามที่ต้องการ ด้วย Smart Contract บน Blockchain จะทำให้มั่นใจได้ว่าเจ้าของลิขสิทธิ์ได้รับการชำระเงินอัตโนมัติ

blockchain-music2

  • PeerTracks เป็นอีกหนึ่งสตาร์ทอัพที่พัฒนาแพลตฟอร์มเพลงบน MUSE Blockchain ซึ่งผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดเพลงและ Playlist แบบออฟไลน์ได้ PeerTracks อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดเพลงใดๆ หรืออัลบั้มใดๆ จาก PeerTracks Catalogue ได้
  • BitTunes เป็น bitcoin-based peer-to-peer file sharing platform เข้ามาแก้ปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ ที่ให้คนทั่วไปสามารถเป็นช่องทางการจัดจำหน่ายสำหรับเพลงดิจิทัลที่พวกเขาเป็นเจ้าของ และหารายได้จากแพลตฟอร์มนี้
  • Imogen Heap นักดนตรีและแต่งเพลงผู้ได้รับรางวัลได้เริ่มสร้าง Music Ecosystem ใหม่ ที่เธอเรียกมันว่า Mycelia เป็นแพลตฟอร์มที่ทำให้มีการชำระเงินตรงไปถึงศิลปินได้เลย และทำให้พวกเขาสามารถควบคุมการส่งต่อเพลงไปหาแฟนๆ และนักดนตรีอื่นๆ เธอกล่าวว่าเป็นความพยายามที่จะดึงอำนาจจากกลุ่มเดิมๆ ที่มีอิทธิพลมาให้กับศิลปิน เพื่อช่วยอนาคตของพวกเขา

ดูเหมือนด้วยศักยภาพ Blockchain จะกลายเป็นคำตอบและเทคโนโลยีที่เข้ามาปฏิวัติวงการเพลงได้ โดยศิลปิน ผู้แต่งเพลง นักดนตรี ซึ่งเป็นเจ้าของจริงๆ ของภาคธุรกิจนี้ จะเป็นผู้สนับสนุนหลักเพื่อสุดท้ายแล้วให้ได้มาซึ่งความเป็นเจ้าของในสิ่งที่พวกเขาสร้างขึ้นมา อย่างไรก็ตามพวกเสียผลประโยชน์ในภาคธุรกิจนี้ก็อาจจะไม่เห็นด้วย หรือแม้แต่บริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ก็อยากครองส่วนแบ่งการตลาดมากกว่าการแชร์แบ่งปันให้คนอื่น ทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้นมาในภายหลัง อย่างไรก็ตาม Benji Roger แห่ง PledgeMusic กล่าวทิ้งท้ายว่า เม็ดเงินที่ทิ้งไว้บนโต๊ะ จะกลายเป็นเรื่องเล็กน้อย ไม่สำคัญเมื่อเทียบกับสิ่งที่เกิดขึ้นใต้โต๊ะ นั่นหมายถึง ระบบที่มีความโปร่งใสจะสร้างรายได้และเพิ่มโอกาสใหม่ๆ มากกว่าที่จะเป็นการทำลาย

ที่มา: techcrunch 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เปิดกลยุทธ์ธุรกิจยุคใหม่ พลิกข้อมูล สู่ขุมทรัพย์ด้วย analyticX ด้วยพลัง Telco Data Insights และ GenAI

ยุคนี้ใคร ๆ ก็พูดถึง Data แต่จะใช้ Data อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่างหากคือกุญแจสำคัญ! ในสัมมนาสุดเอ็กซ์คลูซีฟ "Unlocking Data-Driven Decisions with Telecom Data Insights" ที่จั...

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...