เราได้นำกรณีศึกษาต่างๆ ของ Blockchain มานำเสนออย่างต่อเนื่อง หลายคนเริ่มทราบกันดีกว่ามันไม่ใช่แค่เทคโนโนโลยีที่อยู่เบื้องหลัง Digital Currency อย่าง Bitcoin เพียงอย่างเดียว แต่ถูกนำมาใช้ในหลายภาคธุรกิจ ช่วยให้ธุรกรรมที่รับ/ส่ง และการเก็บข้อมูลมีความปลอดภัย ซึ่งเข้ามาปฏิวัติกระบวนการธุรกรรมต่างๆ บนโลกดิจิทัลอย่างสิ้นเชิง โดยครั้งนี้เราจะไปเจาะลึกในสายธุรกิจประกันกันบ้าง ว่า Blockchain นำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างไร โดยตัวอย่างที่น่าสนใจอยู่ที่ตลาดสหรัฐอเมริกา
ตลาดสายประกันที่ใหญ่ที่สุดของโลกเห็นจะหนีไม่พ้นตลาดสหรัฐอเมริกาที่มีมูลค่าสูงถึง 1.2 ล้านล้านเหรียญฯ โดยแบ่งออกเป็นประกันชีวิต และประกันรูปแบบอื่นๆ ดังกราฟ
Blockchain ก็เป็นเทคโนโลยีหนึ่งที่หลายคนกำลังให้ความสนใจว่าจะมาปฏิวัติสายประกันอย่างไร ที่เห็นได้ชัดคือด้วยเทคโนโลยีของ Blockchain ทำให้ทรัพย์สินต่างๆ ไม่ว่าจะอยู่บนโลกออนไลน์และออฟไลน์สามารถกำหนดสิทธิความเป็นเจ้าของได้ และสามารถโอนส่งต่อถึงกันช่วยกระบวนการเคลมประกันง่ายขึ้น เป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่อยู่อาศัยในที่ที่มีความเสี่ยงสูงกับภัยพิบัติ โมเดลประกันภัยในปัจจุบันอย่าง P2P Insurance, Parametric Insurance (การประกันภัยที่อ้างอิงพารามิเตอร์) และ Micro Insurance (การประกันภัยรายย่อย) สามารถนำ Blockchain มาประยุกต์ใช้ได้หมด
Blockchain จะเข้ามาเปลี่ยนโครงสร้างของตลาดใหม่ ตัวอย่างของ Startup ในกลุ่มนี้เช่น
ในอนาคตอันใกล้นี้ Peer-to-Peer Insurance แพลตฟอร์มจะเริ่มต้นใช้ Smart Contract กันมากขึ้นในการเคลมและจับคู่ความต้องการระหว่างลูกค้าบนตลาดออนไลน์ โดย Blockchain เข้ามาช่วยแก้ปัญหาปัจจุบันในการโอนสินทรัพย์ออนไลน์ หรือการเข้าถึง Private Data ที่เชื่อถือได้
อีกกรณีการใช้งานบน Blockchain คือ Parametric Insurance เป็นการประกันที่จ่ายเงินให้ผู้ทำประกันเมื่อเกิดเงื่อนไขต่างๆ ตามที่กำหนดไว้ ยกตัวอย่างเช่น มีแผ่นดินไหวที่ 5 ริกเตอร์ Smart Contract ที่ระบุเงื่อนไขจะจ่ายเงินประกันให้อัตโนมัติตามกฏที่ตกลงไว้
รูปแบบของ Parametric Insurance นั้นไปควบคู่กับการนำเทคโนโลยี Internet-of-Things และ Sensor เพื่อใช้เป็นตัว Trigger บอกเวลาเกิดเหตุขึ้นมาแบบเรียลไทม์ เช่น อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากรถยนต์ ซึ่งปัจจุบันทางบริษัทรถยนต์ก็เริ่มตระหนักและให้ความสำคัญกับจุดนี้มากขึ้น
จากงานวิจัยของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง ให้นิยาม Micro Insurance ไว้อย่างชัดเจนคือ "รูปแบบของการถ่ายโอนความเสี่ยงเพื่อบริหารจัดการความเสี่ยง ซึ่งมีลักษณะเป็นแหล่งเงินทุนทางเลือกที่ประชาชนระดับรากหญ้าสามารถเข้าถึงได้อย่างสะดวกและรวดเร็วหลังจากที่ภัยพิบัติธรรมชาติเกิดขึ้น หากไม่มีการประกันภัยรายย่อยประชาชนระดับรากหญ้าอาจต้องใช้แหล่งเงินทุนจากเงินออมทั้งหมด สินเชื่อฉุกเฉินที่มีอัตราดอกเบี้ยสูง ขายทรัพย์สิน ซึ่งทําให้เสียโอกาสในการใช้จ่ายเพื่อการศึกษาและติดอยู่ในกับดักของความยากจนในที่สุด แม้ว่าการประกันภัยรายย่อยได้พัฒนารูปแบบและขยายความครอบคลุมสู่ภัยพิบัติทางธรรมชาติ เพื่อสร้างหลักประกันให้กับประชาชนรากหญ้า แต่ข้อเท็จจริงมักปรากฏว่าประชาชนรากหญ้าไม่มีเงินเพียงพอที่จะจ่ายเบี้ยประกันถึงแม้ว่าการประกันภัยรายย่อยดังกล่าวจะคิดเบี้ยประกันต่ำก็ตาม รัฐบาลจึงมักจําเป็นต้องให้ การอุดหนุนทางการเงินกับสถาบันสินเชื่อรายย่อย หรือองค์กรเพื่อการกุศล เพื่อให้สถาบัน หรือองค์กร ดังกล่าวเข้ามาช่วยเหลือประชาชนรากหญ้าให้สามารถเข้าถึงการประกันภัยรายย่อยดังกล่าวได้"
Blockchain ในมุม Micro Insurance จะช่วยให้ธุรกรรมประกันที่มีการโอนเงินข้ามประเทศ เข้าถึงกลุ่มคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ต่างๆ ทั่วโลกที่ต้องการความช่วยเหลือจากภัยพิบัตินั้นโปร่งใสมากขึ้น ตัวอย่างเช่น
ในอนาคตเชื่อว่า Blockchain จะเข้ามีผลช่วยให้วงการธุรกิจสายประกันโปร่งใสมากขึ้น ป้องกันปัญหาการทุจริต และตรวจสอบได้ ซึ่งนั่นหมายถึงบริษัทประกันใหญ่ๆ ก็ต้องปรับตัวทั้งในเรื่องกระบวนการ, โครงสร้างกฏระเบียบ และอาจเกิดความร่วมมือระหว่าง Blockchain Startup, นายหน้าคนกลาง และแน่นอนบ้านเราคงต้องใช้เวลาอีกระยะใหญ่ๆ เลยทีเดียว
ที่มา: techcrunch, งานวิจัยสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด