องค์กรจะสร้างนวัตกรรมที่ไม่สามารถลอกเลียนแบบได้อย่างไร ในยุคที่ไอเดียล้นเมือง | Techsauce

องค์กรจะสร้างนวัตกรรมที่ไม่สามารถลอกเลียนแบบได้อย่างไร ในยุคที่ไอเดียล้นเมือง

จากความก้าวหน้าของการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี ทำให้ทุกวันนี้สิ่งต่างๆเหล่านี้กลับเป็นแหล่งขุมทรัพย์ชั้นดีของธุรกิจสมัยใหม่ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าหลายองค์กรต่างพยายามที่จะลงทุนในแผนกของการวิจัยและพัฒนา (Research and development หรือ R&D) อย่างหนัก เพื่อที่มีเทคโนโลยีเป็นของตนเอง และสร้างความได้เปรียบในเชิงธุรกิจ ซึ่งจะเห็นได้ว่าบริษัทในต่างประเทศส่วนใหญ่จะมีการแข่งขันกันในด้านนี้สูงมาก 

นวัตกรรมที่ไม่สามารถลอกเลียนแบบ

เมื่อมีการคิดค้นขึ้นมาสำเร็จ ก็จะนำไปจดสิทธิบัตร เพื่อคุ้มครองสิ่งประดิษฐ์ ซึ่งถือว่าเป็นทรัพย์สินทางปัญญาของบุคคลหรือองค์กรนั้น ๆ โดยตามความคุ้มครองของกฎหมายแล้วสิ่งประดิษฐ์หรือทรัพย์สินทางปัญญาที่นำไปจดสิทธิบัตรได้นั้น ล้วนแล้วแต่จะต้องเป็นสิ่งใหม่ ที่ต้องไม่ใช่สิ่งที่มีอยู่แล้ว การประดิษฐ์ที่มีขั้นตอนการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น รวมถึงเป็นการประดิษฐ์ที่สามารถประยุกต์ใช้ในทางอุตสาหกรรมได้

หนึ่งในปัญหาสำคัญที่มีการพูดถึงกันบ่อยครั้งสำหรับการมีไอเดีย หรือคิดค้นสิ่งใหม่ หรือผลิตภัณฑ์ใหม่ขึ้นมา คือ ความซ้ำซ้อน ซึ่งนำไปสู่การลงทุนที่ไม่คุ้มค่าขององค์กร เพราะในบางกรณีกลับกลายเป็นว่าสิ่งที่ทำขึ้นมานั้นมีอยู่แล้ว หรือไม่ก็มีคนจดสิทธิบัตรในสิ่งประดิษฐ์นั้นไปแล้ว หรือบางกรณีอาจจะถึงขั้น พัฒนาเสร็จก่อน แต่กลับกลายเป็นคู่แข่งที่พัฒนาด้วย นำสิ่งนั้นไปจดสิทธิบัตรก่อน ส่งผลให้องค์กรเสียโอกาสทางธุรกิจไปอย่างมหาศาล 

สิทธิบัตร (Patent) จึงกลายเป็นความจำเป็นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และองค์กรต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมากที่จะใช้เป็นสิ่งป้องกัน และสร้างความได้เปรียบจากคู่แข่ง ซึ่งองค์กรจะต้องมีการใช้เครื่องมือเพื่อวิเคราะห์สิทธิบัตร (Patent Analytics) ที่จะนำไปสู่การวางกลยุทธ์ที่ดีที่สุดให้กับธุรกิจ

ในยุคเทคโนโลยีเป็นตัวขับเคลื่อนความเป็นไปของโลกเช่นนี้ หากความไวในการพัฒนา คือ พระเจ้า การวิเคราะห์ข้อมูลสิทธิบัตร ก็คือ ทหารองครักษ์ชั้นเอก ที่ป้องกันการโจมตีของข้าศึกหรือคู่แข่ง

การวิเคราะห์สิทธิบัตร จะนำไปสู่การวางกลยุทธ์ที่ช่วยธุรกิจอย่างไร ?

องค์กรส่วนใหญ่มักจะมีแผนกวิจัยและพัฒนา หรือหน่วยงานนวัตกรรมในการคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ หาธุรกิจใหม่หรือ New S-curve ให้กับบริษัท ซึ่งแน่นอนว่าการวิเคราะห์สิทธิบัตรจะเป็นตัวช่วยในการวางกลยุทธ์ที่จะทำให้องค์กรสามารถลดความเสี่ยง และทุ่มเทเงินลงทุนได้อย่างถูกทิศทาง โดยภายในองค์กรจะเป็นเรื่องของการที่จะให้ได้มาซึ่งนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีขั้นสูงที่ไม่สามารถลอกเลียนแบบได้ รวมถึงยังสามารถวิเคราะห์ข้อมูลภายนอกองค์กรเกี่ยวกับกลยุทธ์ของคู่แข่ง และเทคโนโลยีในท้องตลาดที่ใช้กันอยู่ได้ 

ด้วยข้อมูลสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องกับกัญชา สามารถนำมา visualize และแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มความสนใจในการพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับกัญชา รวมถึงสถิติของการได้รับจดทะเบียน

ด้วยข้อมูลสิทธิบัตรที่ Spotify เป็นเจ้าของ สามารถแสดงให้เห็นถึงกลยุทธ์การปกป้องเทคโนโลยีในประเทศต่าง ๆ

สำหรับการวิเคราะห์ภายในจะทำให้องค์กรเข้าใจใน Portfolio ของบริษัท ซึ่งจะนำไปสู่ความเข้าใจในจุดอ่อนและจุดแข็งมากขึ้น อีกทั้งยังมีเรื่องของการจัดสรรงบประมาณในการลงทุน เพราะถือเป็นต้นทุนที่องค์กรต้องใช้ และเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ทางธุรกิจที่แข็งแกร่ง ซึ่งการวิเคราะห์ข้อมูลตรงนี้จะทำให้องค์กรสามารถประเมินค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

 ขณะที่การวิเคราะห์ภายนอกองค์กรนั้น คือ การวิเคราะห์คู่แข่ง โดยสามารถเปรียบเทียบสิทธิบัตรของตนเองและคู่แข่งได้ จะทำให้รู้ได้ว่าอะไรที่คู่แข่งทำแล้ว หรือใช้งานแล้วได้ผล องค์กรควรที่จะพัฒนาขึ้นใหม่ เข้าไปเป็นพันธมิตร หรือควรที่จะหลีกเลี่ยงสิ่งใด นอกจากนี้ในยุคที่เทคโนยีมีการพัฒนาขึ้นตลอดเวลา การวิเคราะห์สิทธิบัตร จะทำให้องค์กรรู้ตำแหน่งของสิ่งที่กำลังพัฒนาว่าอยู่จุดไหนของภูมิทัศน์ของสิทธิบัตร (Patent Landscape) สามารถที่จะมองเห็นภาพได้อย่างชัดเจนมากขึ้น เพื่อที่จะนำข้อมูลดังกล่าวมาสนับสนุนนโยบายที่สำคัญของบริษัท รวมไปถึงสามารถที่จะช่วยนักวิจัยหรือนักประดิษฐ์ในองค์กรเข้าใจความต้องการของตลาดได้อย่างแม่นยำมากขึ้นด้วย 

ข้อมูลการพัฒนาและนวัตกรรมต่าง ๆ ในเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับสารสกัดจากกัญชาของบริษัทต่าง ๆ แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยง และความร่วมมือในการพัฒนาเทคโนโลยี

PatSnap เครื่องมือที่องค์กรด้านวัตกรรมในไทยควรใช้

สำหรับประเทศไทย ปัจจุบันหลายองค์กรได้ให้ความสำคัญกับการลงทุนด้านการวิจัย และพัฒนา ในการค้นหานวัตกรรมใหม่ ๆ ให้กับธุรกิจไม่น้อยเลยทีเดียว ซึ่งเครื่องมือที่องค์กรจะสามารถใช้เป็นตัวช่วยได้นั้น คือ PatSnap แพลตฟอร์มสืบค้นและวิเคราะห์สิทธิบัตรที่มีการรวบรวมข้อมูลมากกว่า 100 ประเทศทั่วโลก ซึ่งเป็น Startup  สัญชาติสิงคโปร์ ก่อตั้งขึ้นโดย เจฟฟรี่ย์ เที่ยง ในปี 2550 และล่าสุดได้เพิ่งกลายเป็น Unicorn โดยได้รับเงินระดมทุนในรอบ Series E กว่า 300 ล้านเหรียญสหรัฐ จาก Venture Capital ชื่อดังระดับโลกหลายรายด้วยกัน เพื่อที่จะขยายธุรกิจให้เติบโตมากขึ้น 

PatSnap เริ่มต้นจากการเป็น Directory สำหรับทรัพย์สินทางปัญญา (intellectual property) ที่เป็นตัวช่วยให้บริษัทต่างๆเข้ามาดึงข้อมูลสำหรับการวิจัยและพัฒนาได้ ต่อมาได้มีการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในการเข้ามาช่วยประมวลผลภาษาธรรมชาติ สามารถวิเคราะห์เอกสารได้มากกว่า 500 ล้านฉบับและแหล่งข้อมูล 200 แหล่ง เชื่อมโยงที่มาของแหล่งข้อมูลของทรัพย์สินทางปัญญาที่แตกต่างกันออกไป ตลอดจนครอบคลุมการนำเสนอข้อมูลเชิงลึกที่สามารถเป็นแนวทางในการตัดสินใจด้านวิจัยและพัฒนาให้กับองค์กร เพื่อช่วยลดระยะเวลาในกรนำเสนอนวัตกรรมใหม่ ๆออกสู่ตลาดได้ โดยปัจจุบัน PatSnap มีลูกค้าทั่วโลกที่ใช้บริการมากกว่า 10,000 รายและผู้ใช้มากกว่า 100,000 รายทั่วโลก รวมถึงแบรนด์ชั้นนำทั่วโลกมากมายไว้วางใจใช้บริการ เช่น NASA, Tesla, Dyson, Spotify, Oxford University Innovation, The Dow Chemical Company และ  Disney  เป็นต้น 

การใช้งานและการสืบค้นข้อมูลสิทธิบัตรของ PatSnap มีตัวเลือกในการสืบค้นที่หลากหลายตามความเหมาะสมของผู้ใช้ที่มีความเชี่ยวชาญแตกต่างกัน ได้แก่ Simple Search การใช้งานโดยทั่วไป และ Advanced Search เหมาะกับผู้ใช้ที่มีความชำนาญด้านการสืบค้นสิทธิบัตร ที่สามารถเลือกสืบค้นเฉพาะเนื้อหาบางส่วนของสิทธิบัตรได้ 

หลังจากที่ได้สืบค้นแล้ว ก็นำไปสู่การวิเคราะห์ข้อมูล โดยจะมีเครื่องมือสำหรับช่วยในการตีความข้อมูลสิทธิบัตรในรูปแบบของกราฟและแผนภูมิในเชิงสถิติ เพื่อให้เข้าใจถึงแนวโน้มของเทคโนโลยี เครื่องมือสำหรับช่วยในการประเมินมูลค่าสิทธิบัตร เพื่อให้สามารถระบุแนวทางการพัฒนาที่อาจก่อให้เกิดมูลค่าสูงได้ และปัญญาประดิษฐ์ (AI) สำหรับช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผ่านการวิเคราะห์อักขระ (Text Analysis) เพื่อการจำแนกและวิเคราะห์ประเด็นสำคัญที่ได้รับความสนใจจากผู้ประดิษฐ์ทั่วโลก

นอกจากนี้ PatSnap จะสามารถช่วยเหลือองค์กรได้จากการวิเคราะห์สิทธิบัตรในฐานข้อมูลจำนวนมหาศาล ผ่านฟังก์ชั่นการใช้งานในส่วนของแผนที่ทางสิทธิบัตร (Patent Mapping) ให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าใจได้ง่ายขึ้น โดยแผนที่ดังกล่าวจะแสดงให้เห็นถึงกลุ่มของเทคโนโลยีต่างๆ จะช่วยให้เห็นได้ว่าบริเวณของเทคโนโลยีใดที่มีผู้เล่นสูง และ บริเวณใดที่ยังไม่ค่อยมีผู้เล่น เพื่อที่จะให้องค์กรสามารถตัดสินใจในการสร้างความร่วมมือทางธุรกิจ ที่เป็นกลุ่มชั้นนำของนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่กำลังพัฒนา รวมถึงการวางกลยุทธ์ในการพัฒนา นวัตกรรมเพื่อกลายเป็นผู้นำเทคโนโลยีต่อไปได้

อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่า PatSnap จะเป็นเครื่องมือชั้นดีที่ช่วยเหลือองค์กรในการวิเคราะห์ข้อมูลสิทธิบัตรได้นั้น แต่ก็ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญที่จะต้องคอยให้คำแนะนำและให้การปรึกษาในการนำข้อมูลมาเข้าสู่กระบวนการวิเคราะห์ เพราะสิ่งที่ถือเป็นหัวใจสำคัญของการวางกลยุทธ์ผ่านการใช้เทคโนโลยีเช่นนี้นั้น คือ ข้อมูลที่มีคุณภาพ ซึ่งจะทำให้สามารถประมวลผลได้อย่างแม่นยำ และมีประสิทธิภาพมากที่สุด 

ต้องอย่าลืมว่า... แม้จะมีเทคโนโลยีที่คุณสมบัติดีขนาดไหน แต่ถ้าหากไม่มีข้อมูลที่ใช่ และมีคุณภาพมากพอ เทคโนโลยีก็ไม่ได้สามารถช่วยเหลือมนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญเข้ามาช่วยเหลือ ในการดึงศักยภาพของเทคโนโลยีเหล่านั้นออกมา เพื่อที่จะให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กรได้เช่นกัน

สำหรับองค์กรที่ต้องการที่จะศึกษาการใช้เครื่องมือ PatSnap เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์สิทธิบัตร และวางกลยุทธ์ด้านการวิจัยและพัฒนา ในประเทศไทยสามารถปรึกษากับทาง Intellectual Design Group หรือ IDG ซึ่งเป็นองค์กรชั้นนำที่พร้อมด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพย์สินทางปัญญา และทีมงานคุณภาพในการช่วยเหลือองค์กรที่ต้องการมุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนา ตั้งแต่ขั้นตอนของการสำรวจ วิเคราะห์ วางแผน และออกแบบระบบเพื่อที่สามารถทำให้การลงทุนในนวัตกรรมใหม่ ๆ ขององค์กร สามารถดำเนินไปได้อย่างถูกทิศทางและมีความคุ้มค่ามากที่สุด 

บทความนี้เป็น Advertorial




ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เปิดกลยุทธ์ธุรกิจยุคใหม่ พลิกข้อมูล สู่ขุมทรัพย์ด้วย analyticX ด้วยพลัง Telco Data Insights และ GenAI

ยุคนี้ใคร ๆ ก็พูดถึง Data แต่จะใช้ Data อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่างหากคือกุญแจสำคัญ! ในสัมมนาสุดเอ็กซ์คลูซีฟ "Unlocking Data-Driven Decisions with Telecom Data Insights" ที่จั...

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...