จะทำยังไงให้ ‘สภาไทย’ เป็นรัฐสภาดิจิทัล ? และเป็นของประชาชนทุกคนอย่างแท้จริง | Techsauce

จะทำยังไงให้ ‘สภาไทย’ เป็นรัฐสภาดิจิทัล ? และเป็นของประชาชนทุกคนอย่างแท้จริง

Techsauce บุกรัฐสภา เข้าร่วมการสัมภาษณ์แบบกลุ่มสุดเอ็กซ์คลูซีฟ กับ ‘หมออ๋อง’ ปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 1 จากพรรคเป็นธรรม ในฐานะประธานการคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของรัฐสภา และ ‘สส.เท้ง’ ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ พรรคก้าวไกล

ร่วมเจาะปัญหารัฐสภาไทยกับอุปสรรคการทำ Digital Transformation และความสำคัญของการเป็น Open Parliament หรือรัฐสภาแบบเปิด โดยเฉพาะด้านข้อมูลภาครัฐ ที่จะทำให้สภาโปร่งใส และเป็นสภาของคนไทย เพื่อคนไทยทุกคนอย่างแท้จริง

เจาะปัญหา ทำไม ‘รัฐสภาไทย’ ยังเป็น รัฐสภาดิจิทัลไม่ได้ 

‘หมออ๋อง’ ปดิพัทธ์ สันติภาดา  เผยว่ามีเป้าหมายจะทำให้ข้อมูลรัฐสภาเป็นสาธารณะ เพื่อให้สภาโปร่งใส และให้ประชาชนสามารถมีส่วนร่วมกับทุกบริการของรัฐสภาได้ อย่างไรก็ตามการก้าวไปสู่เป้าหมายนี้มีอุปสรรคหลายข้อ

เช่น รัฐสภาไม่มี Digital Culture ในการทำงานที่พร้อมสมบูรณ์ ขาดเจตจำนงจากผู้บริหาร ไม่สามารถทลายกรอบวิธีการทำงานแบบราชการ ซี่งมีหลายขั้นตอน หลายสายบังคับบัญชา และต้องผ่านความเห็นชอบจากหลายฝ่ายได้ สุดท้ายแม้จะมีงบประมาณเพียงพอกับการสร้างแพลตฟอร์ม แอปพลิเคชัน หรือการเช่าซื้ออุปกรณ์ ก็ไม่สามารถตอบโจทย์การใช้งานจริง

ในด้านการเปิดข้อมูล แม้ปี พ.ศ. 2562 ไทยจะมีการประกาศใช้ พ.ร.บ. ที่เกี่ยวข้องกับธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ  (Data Governance for Government) เพื่อพัฒนาระบบข้อมูลภาครัฐให้มีการบูรณาการอย่างเป็นระบบ และเป็นศูนย์กลางข้อมูลเพื่อให้ประชาชนเข้าถึง และใช้ประโยชน์ได้ 

แต่จากการศึกษาพบว่า ‘รัฐสภาไทย’ ซึ่งเป็นหน่วยงานสำคัญ ในการตรากฎหมาย ควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน ฯลฯ ไม่สามารถพัฒนาระบบข้อมูลบนเว็บไซต์ให้เป็นไปตามมาตรฐานดังกล่าว

รัฐสภาต้องเป็นของประชาชน 

ด้าน ‘สส.เท้ง’ ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ พรรคก้าวไกล ได้ยกตัวอย่างการบังคับใช้ พ.ร.บ. ข้อมูลข่าว สาธารณะของเอสโตเนีย ซึ่งมีการนิยามว่า Database หรือ ฐานข้อมูลของรัฐถือเป็นข้อมูลข่าวสารของสาธารณะ หากเรามีการปรับแก้กฎหมายดังกล่าวในไทย ก็จะทำให้ข้อมูลภาครัฐเป็นประโยชน์กับประชาชนมากขึ้น

ยกตัวอย่างเช่น การติดตามสถานะการพิจารณากฎหมาย งบประมาณรัฐสภา เพื่อความโปร่งใสของการทำงาน หรือรายงานการประชุม คลังความรู้สภา เป็นต้น ในอนาคตเราอาจมีการพัฒนา AI รัฐสภา ให้บริการข้อมูลและความรู้แก่ประชาชน

โดยสรุปแล้ว ‘วิสัยทัศน์ของรัฐสภาประชาชน’ จึงแบ่งออกได้เป็นสามส่วนใหญ่ ได้แก่ 

  • ออกแบบ : ให้ประชาชนเป็นศูนย์กลาง ผ่านการทำ OPEN Parliament Hackathon ที่กำลังจะเกิดขึ้น    
  • พัฒนา : ส่งเสริมผู้ประกอบการไทย ด้วยนโยบาย Thai-First Digital Catalog ในการโครงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ 
  • รากฐาน : ระบบนิเวศเปิดของทุกคน ด้วย Cloud-First Open/Inner Source และ Agile Procurement

ดันรัฐสภาไทยให้เป็น Digital Parliament ใน OPEN Parliament Hackathon 2024

ด้วยอุปสรรค ปัญหา และเป้าหมายที่ต้องการทำให้สำเร็จ จึงเกิดเป็นที่มาของการจัดงาน Hackathon ในชื่อ OPEN Parliament Hackathon 2024

พร้อมเปิดโอกาสให้พี่น้องประชาชนที่มีทักษะและความสนใจในเรื่อง Tech เข้ามาช่วยกันหา Solutions เพื่อพารัฐสภาไทยเข้าสู่ Digital Parliament เช่น การใช้ซอร์ฟแวร์ การพัฒนาซอร์ฟแวร์ หรือการนำเทคโนโลยี AI, Big Data และ Machine Learning มาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาการทำงานของรัฐสภา ซึ่งปิดรับสมัครไปแล้ว ในวันที่ 31 กรกฎาคมที่ผ่านมา และมีผู้สนใจเข้าร่วมจำนวนมาก

หมออ๋องเผยว่าเป้าหมายของการจัด Hackathon ครั้งนี้ ต้องการ Service ที่ตอบโจทย์ภาระงานและมีประโยชน์กับประชาชนอย่างแท้จริง นอกจากนั้นจะเป็นการแสดงให้หน่วยงานรัฐสภา และข้าราชการเห็นถึงประโยชน์ของการทำ Open Data ที่จับต้องได้

นอกจากนั้นยังเล็งเห็นถึงการสร้างระบบข้อมูลเปิด ที่จะขจัดความเป็นไปได้ในการทุจริตทุกรูปแบบ และช่วยให้สภาตรวจสอบการทุจริตได้ง่ายขึ้น รวมถึงจะมีการเปิด โครงการจัดซื้อจัดจ้างทั้งหมดของรัฐสภา ตั้งแต่ปี 2568-2570 เพื่อเอื้อประโยชน์ให้ผู้ประกอบการในประเทศทุกระดับรับรู้อย่างเท่าเทียมกัน

ถ้าสตาร์ทอัพไทยได้โครงการหนึ่งของสภาไป 30 ล้าน …มันเปลี่ยนชีวิตเขาได้เลย 

หมออ๋องกล่าว โดยยกแนวคิด ‘Thai First Policy’ ที่ต้องการเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการไทย ผู้เล่นที่หลากหลาย ได้มีโอกาสรับงานของสภาไทย พร้อมขยายใหญ่ขึ้นกับหน่วยงานรัฐอื่นๆ 


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Ingram Micro ช่วยให้คุณทำงานแบบ Productive ได้อีก ด้วย AI ของ Microsoft และ Poly by HP

บทความนำเสนอเครื่องมือที่มีการติดตั้งเทคโนโลยี AI เข้าไป เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น การประชุมราบรื่นขึ้นผ่านโซลูชันของ Microsoft 365 Copilot และ Poly by HP จากงาน 'BETTER...

Responsive image

เปิดมุมมอง เมื่อการตลาดรวมเข้ากับเทคโนโลยี กับ Jeff Titterton CMO จาก Stripe

เปิดมุมมอง เมื่อการตลาดรวมเข้ากับเทคโนโลยี กับ Jeff Titterton CMO จาก Stripe...

Responsive image

AI ดมกลิ่นจาก osmo นวัตกรรมจมูกดิจิทัลเปลี่ยนโลก

หากเรามี AI ที่สามารถดมกลิ่นและแยกแยะกลิ่นต่างๆ ได้อย่างแม่นยำ โลกเราจะเปลี่ยนไปอย่างไร? นี่คือโจทย์ที่ Alex Wiltschko และทีม osmo กำลังพยายามพัฒนา...