บทสรุปโครงการ HUBBA Accelerator powered by I.P. Trading สู่ความร่วมมือแห่ง innovation | Techsauce

บทสรุปโครงการ HUBBA Accelerator powered by I.P. Trading สู่ความร่วมมือแห่ง innovation

"ตั้งแต่ที่บริษัทก่อตั้งมา เราทำงานบนพื้นฐานปรัชญาของเรื่อง innovation ซึ่งที่ผ่านมาเราทำการ innovate โดยภายในมาตลอด วันนี้เราเลยอยากร่วมมือกับทาง Startup เพื่อที่จะมี innovation จากภายนอกเข้ามา และร่วมกันส่งมอบเพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิตของผู้บริโภคให้ดีขึ้น" คุณธิติ ธเนศวรกุล Vice President จากทาง I.P. Trading ได้กล่าวถึงหัวใจสำคัญของการเริ่มต้นโครงการ 'HUBBA Accelerator powered by I.P. Trading' โครงการซึ่งเกิดขึ้นจากความร่วมมือของ I.P. Trading กับทาง HUBBA Thailand มุ่งเฟ้นหา Startup ที่จะมาร่วมมือกับทาง I.P. Trading สร้างสินค้าหรือบริการส่งมอบนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อพัฒนาชีวิตประจำวันของผู้บริโภคให้ดีขึ้น

ถึงตอนนี้โครงการก็ได้ดำเนินมาผ่านด่านสุดท้ายอย่าง Demo Day จนสิ้นสุดแล้ว ตลอดระยะเวลากว่าสามเดือนที่ผ่านมา Startup ในโครงการได้ผ่านการขัดเกลาโมเดลธุรกิจจากโจทย์ปัญหาต่างๆ ภายใต้ความดูแลของ Mentor และวิทยากรที่กล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่าภาพรวมของ Startup ในโครงการมีพัฒนาการที่น่าสนใจ โดยผลของการ pitch รอบสุดท้าย Choco CRM แพลตฟอร์ม CRM ที่มอบ solution สำหรับธุรกิจตั้งแต่ SME ไปจนถึง Corporate ได้รางวัลชนะเลิศอันดับที่หนึ่งไป สำหรับรางวัลรองชนะเลิศเป็นของ VitaSkin โดดเด่นด้วยผลิตภัณฑ์ personalized skin care และ LaundryLINE บริการ 'ซัก อบ รีด' on demand ตอบโจทย์ชีวิตคนเมืองที่ติดขัดทั้งปัญหาเรื่องการเดินทางและเวลาที่จำกัด และรางวัล Popular Vote ตกเป็นของ ArisLab ที่นำเสนอ Solution ยกระดับธุรกิจกลุ่ม Live Commerce

ในบทความนี้ Techsauce ขอเชิญชวนผู้อ่านทุกท่านไปพูดคุยกับ คุณธิติ ธเนศวรกุล Vice President จากทาง I.P. Trading และ คุณสิรสิทธิ์  สุริยพัฒนพงศ์ Founder และ CEO จากทีมชนะเลิศ Choco CRM ทั้งสองท่านจะมาแชร์ให้เราฟังถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตลอดสามเดือนในโครงการ ทั้งในมุมมองของ Corporate ที่เพิ่งเริ่มต้นทำโปรแกรมสนับสนุนและสัมผัสกับความเป็น Startup อย่างทาง I.P. Trading และในมุมของ Startup ที่ผ่านประสบการณ์เข้าร่วมโครงการบ่มเพาะ Startup มาไม่น้อย จนสามารถพัฒนาและแข็งแกร่งขึ้นเรื่อยๆ อย่าง Choco CRM

คุณธิติ ธเนศวรกุล / Vice President /  I.P. Trading

ธิติ ธเนศวรกุล / Vice President / I.P. Trading

รู้สึกอย่างไรกับ Startup ทั้งหมดที่ได้รับรางวัลในโครงการนี้

สำหรับ Choco CRM ผมคิดว่ามีโอกาสพัฒนาต่อได้สูง มีโมเดลธุรกิจที่ค่อนข้าง unique คือยังไม่มีใครทำ CRM ในลักษณะแบบนี้ มีหลายๆ องค์ประกอบใน ecosystem เดียวกัน ในขณะเดียวกันด้วยความที่ Choco CRM เป็นระบบ CRM เลยมี potential ในการ apply ในรูปแบบอื่นค่อนข้างสูง และสำหรับ ecosystem ของ I.P. Trading เองก็มี retail เป็นหนึ่งใน sector ด้วย ซึ่งในนั้นก็มีโอกาสมาก ถ้าเราสามารถสร้างความร่วมมือกับ Choco ได้ อีก value หนึ่งที่เราสามารถสร้างร่วมกันได้คือเรื่องของ data ผู้บริโภค ตรงจุดนี้มีโอกาสในการร่วมมือกันค่อนข้างสูง นอกจากนี้เรามองเห็นความมุ่งมั่นของตัว founder เองที่มี passion ค่อนข้างมาก โมเดลก็ค่อนข้างชัด สามารถ scale ได้ และมีความสอดคล้องกับ value ของ I.P. Trading

VitaSkin ผมคิดว่ามีความเป็น personalized สูง ทำให้มีโอกาสในการ explore หาโอกาสต่างๆ ต่อได้ คือในแง่ของ personal care เราเชื่อว่า 'one solution never fits all' อยู่แล้ว ทุกคนมีความเฉพาะตัวที่ต่างกัน ทีนี้ถ้าเราสามารถพัฒนาความเป็น tailor-made solution ให้เหมาะสมกับแต่ละคนได้ โอกาสในการ scale มันก็ค่อนข้างสูง นอกเหนือจากนั้น personal care มันยังหมายถึงการดูแลในองค์รวมที่ไม่ใช่แค่เรื่องของ skin ดังนั้นถ้าสามารถพัฒนาต่อยอดในอนาคต อาจจะไม่ใช่แค่เรื่องของ skin แต่คือการทำให้คนๆ หนึ่งมีบุคลิกภาพที่ดีขึ้น มากไปกว่านั้นอาจจะเป็นบุคลิกภาพที่ดีมาจากภายในก็ได้ นั่นอาจเป็นเรื่องของผลิตภัณฑ์อาหารเสริม คือเรามีเรื่องของ outside appearance แล้วก็คือเรื่องของ skin แต่เราเชื่อว่าท้ายที่สุดแล้วหากจะเป็นอะไรที่ยั่งยืน เราอาจต้องพัฒนาในเรื่องของการทำให้ผู้บริโภคดูดีขึ้นมาจากภายใน สำหรับ Vitaskin ตัว founder เองก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่เรามั่นใจว่าธุรกิจนี้ได้ถูกทุ่มเทให้อย่างเต็มที่ มีทั้งเรื่องของ passion และความเชี่ยวชาญในเทคโนโลยีที่นำมาใช้

สำหรับ LaundryLINE เราเชื่อว่าเป็นเพราะ digital landscape ที่เปลี่ยนไป พฤติกรรมคนก็เปลี่ยนไป ในแง่ของ laundry แน่นอนว่าอนาคตคนจะมีเวลาน้อยลง และเราก็เข้าใจ pain point ของคนในเรื่องนี้ laundry service เป็นอีกบริการหนึ่งที่น่าสนใจมาก ยังเป็นตลาดที่การแข่งขันมีผู้เล่นไม่ชัดเจน เรามองว่านอกเหนือจากธุรกิจหลักที่เราทำในการผลิตสินค้าอย่าง Hygiene ขาย laundry service ก็เป็นอีกหนึ่งทิศทางที่น่าสนใจ โดยเฉพาะเมื่อในวันนี้ lanscape ของพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไปค่อนข้างเยอะ ระหว่างบริการนี้กับสินค้า Hygiene ซึ่งต่างก็สนับสนุนกันและกันได้ ก็มีโอกาสที่จะไปต่อด้วยกันได้ค่อนข้างสูง

ArisLab ผมคิดว่าเขาตอบโจทย์ pain point ของ target group ของเขาได้ค่อนข้างดี ทุกวันนี้คนที่ live ขายของนั้นค่อนข้างขึ้นอยู่กับชั่วโมงบิน และสิ่งที่เป็น pain point คือระบบ payment โดยเฉพาะกับสินค้าที่มีราคาสูง ถ้าเกิดนำเอา payment system เข้าไปอยู่ในระบบของการ live ได้เลย ทำให้มันง่าย และมีความน่าเชื่อถือ ผมว่าสิ่งนี้จะตอบโจทย์ pain point ได้ ซึ่งผมคิดว่าคนที่นั่งอยู่ในห้องก็น่าจะเห็นการตอบโจทย์ตรงนี้อยู่ ก็เลยได้รับรางวัล popular vote ไปด้วย

โครงการนี้ถือเป็นครั้งแรกที่ทาง I.P. Trading ทำ Accelerator และเป็นครั้งแรกที่มีโอกาสสัมผัสกับการทำงานร่วมกับ Startup มีความรู้สึกอย่างไรบ้าง และอยากฝากอะไรไปถึงทาง Startup

คือรู้สึกว่าเราเรียนรู้จากโปรเจคนี้เยอะ เราแชร์ความรู้ให้กันค่อนข้างมาก ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่เรารู้เกี่ยวกับมุมมองจากธุรกิจ mentor ก็สามารถถ่ายทอดความรู้หลายอย่างให้กับทาง Startup ได้ Startup แต่ละเจ้าก็มีความ unique ที่แตกต่างกันออกไป เราได้เรียนรู้ถึงวิธีการที่จะทำงานต่อกับ Startup

ในมุมของเราคือเราอยากช่วย Startup คนไทย ถึงเราจะไม่ได้ร่วมงานกัน หรืออาจจะได้ร่วมงานกันในลักษณะที่แตกต่างกันออกไป แต่อยากจะบอก Startup ทุกท่านว่าอย่าหยุด ถ้าเราเชื่อมั่นในโมเดลธุรกิจของเรา ถึงแม้วันนี้จะไม่ได้รับรางวัล แต่ถ้ามีโอกาสในเวทีอื่นๆ มีโอกาสได้รับ feedback อื่นๆ ต่อเพื่อนำมา pivot ธุรกิจตัวเอง หรือนำมาปรับธุรกิจตัวเอง ก็ทำเลย อย่าหยุด

ผมว่าความพยายามครั้งแรกหากมัน fail ก็คือการเรียนรู้ มันมีน้อยมากที่จะคิด และพยายามครั้งแรกแล้วไปต่อได้เลย ไม่มีคนประสบความสำเร็จระดับสูงคนไหนที่ทำครั้งแรกแล้วไม่มีข้อผิดพลาดอะไรเลย ก็อยากให้ Startup ทุกคนถือว่าโปรแกรมนี้เป็นหนึ่งในบทเรียนที่จะทำไปปรับโมเดลธุรกิจของตัวเอง ปรับ unique selling point ขัดเกลาให้ตอบโจทย์ pain point กลุ่มลูกค้าแต่ละเจ้าให้ตรงจุดมากที่สุด ผมเชื่อว่ามันมีโอกาสตรงนี้ ถ้าเราไม่หยุดคิดในที่สุดก็จะพบกับสูตรความสำเร็จ mentor แต่ละคนเองก็แบ่งปันประสบการณ์ว่ามันต้องมีการเรียนรู้และปรับไปเรื่อยๆ ซึ่งผมคิดว่านี่แหละจะนำไปสู่เป้าหมายที่ทุกคนต้องการได้ ก็อยากจะให้กำลังใจกับทุกคน

ถ้ามีอะไรที่ทาง I.P. Trading พอจะช่วยเหลือได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ comment หรือ feedback หรือมีไอเดียบางอย่างที่อยากจะร่วมธุรกิจ ทางเราก็ยินดีเปิดรับเสมอ ถ้าช่วยเหลืออะไรได้เรายินดีเต็มที่ เพราะว่าเราเองก็เป็นคนไทยที่อยากจะเห็น Startup ไทยประสบความสำเร็จด้วยเหมือนกัน

อยากให้ Startup ทุกคนถือว่าโปรแกรมนี้เป็นหนึ่งในบทเรียนที่จะทำไปปรับโมเดลธุรกิจของตัวเอง ปรับ unique selling point ขัดเกลาให้ตอบโจทย์ pain point กลุ่มลูกค้าแต่ละเจ้าให้ตรงจุดมากที่สุด ผมเชื่อว่ามันมีโอกาสตรงนี้

หลังจากโครงการนี้ เราจะได้เห็นความร่วมมืออะไรระหว่างทาง I.P. Trading กับ Startup ในโครงการไหม

กับบาง Startup เราได้มีการคุยกันตั้งแต่ระหว่างโครงการแล้ว อาจจะมีการสานต่อในโปรเจคบางอย่างขึ้นมา ซึ่งก็มีไอเดียหลายอย่างที่ Mentor มาแชร์ ในหลายๆ Startup เราเห็นแล้วว่าเราจะร่วมมือกันเป็น partnership กันต่อได้อย่างไร ไม่แน่ในอนาคตอาจมีโอกาสที่จะ merge รวมกันเป็น unit เดียวกันก็ได้ ตอนนี้อย่างน้อยๆ น่าจะมีการร่วมมือกันในรูปแบบที่เป็นแคมเปญก่อน

คุณสิรสิทธิ์  สุริยพัฒนพงศ์  / Founder and CEO / Choco CRM

สิรสิทธิ์ สุริยพัฒนพงศ์ / Founder and CEO / Choco CRM

อยากจะให้แนะนำ Choco CRM ว่ากำลังทำอะไรอยู่บ้าง

เราพยายามจะเป็น CRM platform ให้กับทุกธุรกิจที่มีหน้าร้าน ธุรกิจที่เป็น consumer product และธุรกิจที่เป็น corporate เราจะดักลูกค้าทั้งสามกลุ่มเลย จริงๆ เราเกิดมาจาก Choco card ที่ทำเรื่องของบัตรสะสมแต้มทั่วไป แต่พอทำไปเรื่อยๆ เรารู้สึกว่ามี engine ที่นำไป apply กับ corporate ได้เยอะ ตอนนี้ก็ scale ขึ้นมากับฝั่งลูกค้าเจ้าใหญ่ๆ อย่าง IP Trading ก็คุยๆ กันอยู่

Choco CRM ผ่านโครงการต่างๆ ของ Startup มามากมาย มีความรู้สึกพิเศษอย่างไรไหมกับโครงการนี้

เยอะเลยครับ ผมว่าโครงการนี้ที่ทาง I.P. Trading ทำร่วมกับ HUBBA ค่อนข้าง engage มีการ follow up ค่อนข้างเยอะ มีการให้ framework ที่ผมไม่เคยได้มาปรับใช้ในการทำธุรกิจ เวลาให้โจทย์มาก็เป็นโจทย์จริงๆ ที่ทาง I.P. Trading ประสบปัญหาอยู่ มันเลยไม่ใช่แค่โจทย์ในกระดาษ ทางเราก็พยายามหา solution จาก tool ที่เรามีไปช่วยเขา

คิดว่าอะไรที่ทำให้ Choco CRM ได้รับรางวัลในเวทีนี้

จริงๆ ผมว่า Startup หลายๆ เจ้าก็มีความน่าสนใจมาก แต่เราอาจจะตั้งมานานกว่าเจ้าอื่นหน่อย ก็เลยอาจจะมีความเข้าใจตลาดที่มากกว่า ในช่วงสี่ปีที่ผ่านมาเราไปเจอลูกค้ามาเยอะมาก ตัวผมเองก็ไปขาย ไป pitch กับลูกค้าเยอะ เลยได้รู้เทรนด์ของตลาด รู้ว่าแต่ละกลุ่มมีความต้องการที่แตกต่างกันออกไป เวลาเราเจอความแตกต่างเหล่านี้จะทำให้ product มีความแข็งแรงมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะเราจะเก็บ  feedback จากลูกค้า คือจะคิดเองน้อยมาก พยายามคิดโจทย์จากลูกค้าอย่างเดียว

มีอะไรที่อยากจะแชร์กับ Startup อื่นๆ

ถ้าเพิ่งเริ่มเลย ผมอยากแนะนำให้เริ่มจากลูกค้า ผมเองเคยทำเว็บไซต์มาก่อนและมันก็ล้มเหลวไป เพราะคิดเอง ไม่ได้สร้างขึ้นมาจากความต้องการของลูกค้า ก่อนที่เราจะเขียนโค้ด ทำ UX, UI หรือดีไซน์อะไรต่างๆ ต้องถามก่อนว่าสิ่งที่เราทำจะมีคนซื้อหรือเปล่า ถึงที่สุดแล้วจะมีคนใช้งานจริงๆ หรือเปล่า ไม่งั้นมันอาจจะเสียเวลา พยายามเก็บ feedback จาก target group แต่อย่าทำกับคนใกล้ตัวเกินไป เพราะคนอื่นๆ จะให้ feedback ที่ตรงกว่า ทำให้เรากลับมาตั้งคำถามกับตัวเองได้ว่าตัว core value ใน product ของเราอาจจะยังไม่พอหรือเปล่า เพราะส่วนมากที่ผมเห็นคือ Startup จะคิดและทำเลย พอทำเสร็จก็พบว่ามันไม่ได้ตอบโจทย์ลูกค้าก็ต้องกลับมาแก้ ซึ่งถ้าไปคุยกับลูกค้ามาก่อนมันอาจจะง่ายกว่า ช่วงนี้ผมเลยพยายามรันบริษัทด้วยการไปคุยกับลูกค้าก่อนที่จะเปิด feature ใหม่ๆ แนะนำให้ทุกคนกล้าไปคุยกับลูกค้าก่อน

ส่วนมากที่ผมเห็นคือ Startup จะคิดและทำเลย พอทำเสร็จก็พบว่ามันไม่ได้ตอบโจทย์ลูกค้าก็ต้องกลับมาแก้ ซึ่งถ้าไปคุยกับลูกค้ามาก่อนมันอาจจะง่ายกว่า

ถึงบทสรุปสุดท้ายอาจบอกได้ว่าโครงการ HUBBA Accelerator powered by I.P. Trading เป็นหนึ่งในโครงการ Accelerator ที่ให้ผลลัพธ์ตอบโจทย์ทั้งทางของ Startup เองที่ได้เติบโตขึ้นระหว่างโครงการ และผู้จัดอย่าง I.P. Trading ที่มีโอกาสได้ริเริ่มสัมผัสการทำงานร่วมกับ Startup ถือเป็นอีกหนึ่งโครงการและความร่วมมือดีๆ ที่เกิดขึ้นเพื่อขับเคลื่อนพัฒนา ecosystem ของ Startup ไทย มากไปกว่านั้นคือโอกาสที่ I.P.Trading จะได้ต่อยอดไปสู่การสร้าง innovation ร่วมกับเหล่า Startup เพื่อส่งต่อไปยังมือผู้บริโภคอย่างที่ได้ทาง I.P.Trading ได้ตั้งเป้าเอาไว้ตั้งแต่จุดริเริ่มของโครงการนั่นเอง

 

บทความนี้เป็น Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ยิบอินซอย ทำอย่างไรถึงเป็นบริษัทไอทีที่อยู่มาเกือบ 100 ปี กับเป้าหมายใหม่โตต่อเนื่องไปอีกศตวรรษ

‘ยิบอินซอย’ (Yip In Tsoi) ชื่อของบริษัทเก่าแก่ที่อยู่คู่คนไทยมากว่า 100 ปี ทำมาหลายอย่างหลายอุตสาหกรรมจนทำให้คนอาจรู้จักกันไปในคนละมุม แต่แท้จริงแล้ว ยิบอินซอย ถือเป็น ‘บริษัทไอที...

Responsive image

KBTG Kampus ผนึก ลาดกระบัง ธรรมศาสตร์ มหิดล ดีไซน์ 3 หลักสูตร ป.โท สร้าง Tech Talent เก่งเชิงลึก

สำรวจหลักสูตร ป.โท Co-Master's Degree ที่ KBTG Kampus ร่วมกับ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดสอน มีสาขาวิชาอะไรให้เรี...

Responsive image

Ingram Micro ร่วมกับ Microsoft นำเสนอ ‘CAN Innovation’ ผู้ช่วย SMEs และองค์กร เก็บ Data ครบทุกการขาย ควบคุมได้ตลอดการกระจายสินค้า

Ingram Micro ร่วมกับ Microsoft นำเสนอ CAN Innovation ผู้ช่วยให้ธุรกิจของคุณทำงานได้ง่ายขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยเครื่องมือจัดการงานขายที่ครบครัน ช่วยให้คุณลดต้นทุน เพิ่มยอดข...