ความสำคัญของสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลาง (CBDC) สำหรับการโอนเงินข้ามพรมแดน | Techsauce

ความสำคัญของสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลาง (CBDC) สำหรับการโอนเงินข้ามพรมแดน

บทความ โดย ราฮูล แอดวานี (Rahul Advani) ผู้อำนวยการนโยบายภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (APAC) ของริปเปิล (Ripple)

วิธีหนึ่งที่ธนาคารกลางต้องการทำให้โครงสร้างพื้นฐานทางการเงินเป็น ดิจิทัลคือ การใช้สกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลาง (Central Bank Digital Currencies - CBDC) ซึ่งเป็นสกุลเงินดิจิทัล ที่ออกโดยธนาคารกลางซึ่งแสดงถึงภาระผูกพันของธนาคารกลาง

ในขณะที่โลกเปลี่ยนไปใช้การชำระเงินแบบดิจิทัลและสกุลเงินมากขึ้น ธนาคารกลางทั่วโลกกำลังสำรวจว่าเทคโนโลยีใหม่ๆ ดังกล่าวสามารถนำมาใช้เพื่อแก้ไขจุดบอดในระบบการเงินได้อย่างไร ในขณะเดียวกันก็ต้องสร้างความเชื่อมั่นและการปกป้องระบบของธนาคารกลางได้โดยปริยาย วิธีหนึ่งที่ธนาคารกลางต้องการทำให้โครงสร้างพื้นฐานทางการเงินเป็น ดิจิทัลคือ การใช้สกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลาง (Central Bank Digital Currencies - CBDC) ซึ่งเป็นสกุลเงินดิจิทัล ที่ออกโดยธนาคารกลางซึ่งแสดงถึงภาระผูกพันของธนาคารกลาง โดย CBDC แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบได้แก่ Retail CBDC (เงินสดเทียบเท่าดิจิทัลสำหรับธุรกรรมรายย่อยของภาคประชาชนและและธุรกิจ) และ Wholesale CBDC (สำหรับการ ทำธุรกรรมระหว่างสถาบันการเงินและเข้าถึงได้โดยสถาบันการเงินเท่านั้น ซึ่งคล้ายกับบัญชีการชำระเงินของ ธนาคารกลางที่มีอยู่)

ณ เดือนตุลาคม พ.ศ. 2564 ธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (Bank of International Settlements - BIS) รายงานว่ามี Retail CBDC ที่เริ่มใช้งานแล้ว 2 รายและโครงการนำร่อง CBDC ใน 26 เขตอำนาจรัฐ ในขณะที่ธนาคารกลาง  65 แห่งได้แจ้งต่อสาธารณะเกี่ยวกับโครงการ ทางด้าน CBDC ที่พวกเขากำลัง เตรียมความพร้อมสำหรับภูมิทัศน์ทางการเงินในอนาคต  หนึ่งในธนาคารกลางที่กล่าวถึงคือ ธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งเพิ่งหารือเรื่อง Retail CBDC เมื่อไม่นานมานี้

ภายใต้การสนับสนุนจากเทคโนโลยีบล็อคเชน มีหลายเหตุผลว่า ทำไม CBDC จึงเป็นคำตอบแห่งอนาคตสำหรับ ธนาคารกลาง ด้วยเป้าหมายนโยบายร่วมกันสำหรับ CBDC ในเอเชียแปซิฟิกคือ ความต้องการส่วนเสริมดิจิทัล ไปด้วยกันกับเงินของธนาคารกลาง (fiat) เพื่อที่จะสนับสนุนระบบการชำระเงินที่ยืดหยุ่นและหลากหลายมากขึ้น 

แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากธนาคารกลางได้ตระหนักถึงประโยชน์ที่พึงได้รับจาก CBDC เป้าหมายของนโยบายจึงได้รับ การพัฒนาต่อยอด เพื่อจัดการกับความท้าทายทางเศรษฐกิจและสังคมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในภูมิภาค เช่น การผลักดันให้มีการ เข้าถึงบริการทางการเงินที่มากขึ้นในหมู่ผู้ที่ไม่มีบัญชีธนาคาร  (unbanked) ซึ่งตามรายงานของธนาคารโลกอยู่ที่ ประมาณ 18% ของ ประชากรผู้ใหญ่ในประเทศไทย

ด้วยเหตุนี้ เมื่อไม่นานมานี้ ทางริปเปิลจึงได้ร่วมมือกับธนาคารกลางภูฏานในโครงการนำร่อง CBDC โดยมีเป้าหมายเพื่อ เพิ่มการเข้าถึงบริการทางการเงินจากปัจจุบัน 64% เป็น 85% ภายในปี 2566 นอกจากนี้ทางริปเปิลเพิ่งประกาศ ความร่วมมือกับสาธารณรัฐปาเลา เกี่ยวกับการพัฒนากลยุทธ์สำหรับการชำระเงินข้ามพรมแดน และสกุลเงินดิจิทัลที่ได้รับ การสนับสนุนจากดอลลาร์สหรัฐ (USD) เพื่อช่วยให้พลเมืองของปาเลาเข้าถึงบริการทางการเงินได้มากขึ้น

นอกจากนี้ CBDC ยังช่วยทบทวนวิธีที่เรากำหนดและแลกเปลี่ยนมูลค่า เพื่อสร้างระบบการชำระเงินภายในประเทศ ที่ยืดหยุ่นและหลากหลายมากขึ้น เราสามารถใช้ CBDC เป็นเครื่องมือเพื่อสนับสนุนเป้าหมายนโยบายที่เฉพาะเจาะจงได้ เช่น ให้การสนับสนุนการกระตุ้นภาคการใช้จ่ายเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมาย หรือเพื่อให้ความช่วยเหลือในยามวิกฤต โดย CBDC ที่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์นี้อาจจำกัดเวลา สร้างเฉพาะภูมิภาค และเชื่อมโยงกับผลลัพธ์ของนโยบายที่เฉพาะเจาะจง

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่มักถูกมองข้ามแต่มีความสำคัญอย่างยิ่งคือ การที่ CBDC สามารถเปลี่ยนแปลงการชำระเงินข้าม พรมแดนในตลาดแรงงานทั่วโลกที่เชื่อมโยงถึงกันมากขึ้นได้อย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่การส่งเงินกลับ ประเทศนั้น มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ

การจัดทำกรณีศึกษาสำหรับ CBDC ในการโอนเงินข้ามพรมแดน

เช่นเดียวกับประเทศกำลังพัฒนาหลายๆ แห่งทั่วเอเชียแปซิฟิก ในประเทศไทยนั้น การโอนเงินเป็นสายเลือดหลักทางเศรษฐกิจ แรงงานไทยในต่างประเทศส่งเงินกลับประเทศประมาณ 5.93 พันล้านดอลลาร์สหรัฐมายังประเทศไทย ในปี 2563 ซึ่งช่วยกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจและมีส่วนในการออมในระดับครัวเรือน ซึ่งเป็นตัวเลขที่เพิ่มขึ้น 39% จาก 4.26 พันล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับเงินที่ส่งเข้ามาในประเทศไทยในปี 2561

การวิจัยพบว่า การโอนเงินมีประสิทธิภาพในการลดความผันผวนของรายได้ครัวเรือนจำนวนมากโดยเฉลี่ย 5% ทำให้มี เสถียรภาพมากขึ้นแม้ในช่วงเวลาที่ไม่แน่นอน ครัวเรือนที่รับเงินโอนมีแนวโน้มที่จะออมเงินค่อนข้างสูงกว่าครัวเรือนที่ ไม่ได้รับเงินโอน

ถึงกระนั้น การส่งเงินจากต่างประเทศกลับมาที่ประเทศไทยก็ยังมีค่าใช้จ่ายสูง เต็มไปด้วยความยุ่งยากและดำเนินการ ล่าช้า ข้อมูลจากธนาคารโลกระบุว่า ต้นทุนการทำธุรกรรมเฉลี่ยในการส่งเงินไปยังประเทศไทยอยู่ที่ประมาณ 7.7% 

ในปี 2563 สาเหตุหลักมาจากข้อเท็จจริงที่ว่า ผู้ให้บริการโอนเงินบางแห่งมักมีขนาดเล็กเกินกว่าที่จะได้รับความสนใจ เพียงพอจากสถาบันการเงินรายใหญ่ ทำให้เป็นเรื่องยากที่พวกเขาจะสามารถลดต้นทุนต่อหน่วยที่จำเป็น (economy of scale)

ความยุ่งยากโดยธรรมชาติที่มีอยู่ในโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินทั่วโลกในปัจจุบัน ทำให้การโอนเงินข้ามพรมแดน มีค่าใช้จ่ายสูงและล่าช้า ทำให้เกิดปัญหากรณีการใช้งานที่สำคัญสำหรับ Retail CBDC 

อย่าลืมว่า ในขณะที่ภูมิภาคนี้ยังคงเป็นโลกาภิวัตน์ ผู้บริโภคและธุรกิจจำนวนมากขึ้นจะต้องทำธุรกรรมกับซัพพลายเออร์ และผู้ขายข้ามพรมแดนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่ง CBDC ยังมีศักยภาพพอที่จะช่วยสร้างความเชื่อมโยงและความร่วมมือ ระหว่างเศรษฐกิจในภูมิภาคและกลุ่มการค้า เช่น อาเซียน ได้ ที่สำคัญ CBDC สามารถรองรับไมโครเพย์เมนต์ (เช่น การชำระเงินจำนวนเล็กน้อยที่ต่ำกว่า 5 ดอลลาร์สหรัฐ) รวมถึงไมโครเพย์เมนต์ข้ามพรมแดน โดยในปัจจุบันพบว่าต้นทุน การทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับไมโครเพย์เมนต์สูงเกินไปที่จะรองรับการดำเนินการดังกล่าว

การเชื่อมต่อส่วนที่ขาดหายไปด้วย CBDC

เป็นที่ชัดเจนว่า การเข้ามาของ CBDC จะเป็นหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงที่ถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ทางการเงิน อย่างไร ก็ตามหากเราต้องการใช้ศักยภาพของ CBDC อย่างเต็มประสิทธภาพ ธนาคารกลางจะต้องลดช่องว่างดังกล่าวด้วยการ ทำให้มั่นใจว่า การทำงานข้ามพรมแดนเป็นไปอย่างราบรื่น เพื่อปรับปรุงการค้าโลกและการเข้าถึงบริการทางการเงิน และไม่ใช่รักษาไว้ซึ่งสถานะที่มีอยู่เดิม ความไร้ประสิทธิภาพ และความไม่เท่าเทียมกัน สิ่งนี้ทำให้การทำงานร่วมกัน (Interoperability) ระหว่าง CBDC มีความสำคัญอย่างมาก ด้วยการอนุญาตให้ CBDC เชื่อมต่อกับบริการ ภายในประเทศอื่นๆ ได้เช่นเดียวกันกับการเชื่อมต่อกับ CBDC อื่นๆ การทำงานร่วมกันจะช่วยเพิ่มอรรถประโยชน์ของ CBDC ในการลดต้นทุนการทำธุรกรรม และลดอุปสรรคสำหรับผู้เข้ามาในตลาดรายใหม่ ในขณะที่ธนาคารกลางแต่ละแห่ง สามารถรักษาอำนาจอธิปไตยทางการเงินของตนไว้ได้

หากปราศจากการทำงานร่วมกันข้ามพรมแดน (cross-border interoperability) อย่างราบรื่น โครงการ CBDC ส่วนใหญ่จะไม่สามารถบรรลุศักยภาพสูงสุดได้ ดังนั้นจึงจำเป็นที่ธนาคารกลางจะต้องจัดการกับความท้าทายใน การทำงานร่วมกันโดยใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมที่ภาคเอกชนนำเสนอ - เพื่อเร่งต่อยอดและพัฒนาความคิดริเริ่มใหม่ๆ และด้วยเหตุนี้จึงสามารถเก็บเกี่ยวผลตอบแทนจากเศรษฐกิจที่สดใส ราบรื่นและครอบคลุมมากขึ้น 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image
Responsive image

9 ทักษะดิจิทัล ปี 2024 สร้างมูลค่าให้บริษัทด้วย Tech Skills แห่งอนาคต

ทักษะดิจิทัล หรือทักษะด้านเทคโนโลยี (Tech Skills) ถือเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยผลักดันให้ทีมทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็วและแม่นยำ ส่งผลให้ธุรกิจเติบโตแบบก้าวกระโดด...

Responsive image

AI ล้ำหน้าหรือภัยอนาคต? แล้วมนุษย์จะเป็นผู้ล่าหรือเหยื่อ | Tech for Biz EP.17

ในยุคที่ AI เติบโตอย่างรวดเร็ว จนมีการคาดการณ์ว่ากว่า 300 ล้านตำแหน่งจะหายไป คำถามคือ คุณจะยืนอยู่ฝ่ายไหนระหว่างเหยื่อที่ถูกแทนที่ หรือนักล่าที่ใช้ AI เป็นเครื่องมือ? แล้วต้องปรับต...