Innovation Club Thailand 2021 ร่วมหาแนวทางในการพัฒนา Investment Ecosystem ของไทย | Techsauce

Innovation Club Thailand 2021 ร่วมหาแนวทางในการพัฒนา Investment Ecosystem ของไทย

“Innovation Club Thailand 2021” จัดการเสวนากลุ่มครั้งที่ 2 ประจำปี 2564 ของเหล่าผู้บริหารระดับสูงจากทั้งภาครัฐ และเอกชน ที่ได้มาร่วมวงพูดคุย หาแนวทางการพัฒนาระบบนิเวศผู้ประกอบการ เพื่อพัฒนาการเติบโตของธุรกิจ Startup ในประเทศไทย และในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก คุณสาระ ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) หรือ mtl มาเป็นผู้สนับสนุนหลักในการจัดเสวนาออนไลน์

ทั้งนี้ ประเด็นหลัก ๆ ที่ได้พูดคุยกันใน Innovation Club Thailand 2021 ได้เจาะลึกถึงประเด็นของ Startup Ecosystem ของไทยว่า ณ ขณะนี้มีการดำเนินการไปอย่างไร มีความเปลี่ยนทางด้านการลงทุนไปอย่างไรบ้าง ประเทศไทยควรจะพัฒนาต่อไปอย่างไร และมี Startup ในกลุ่มไหนที่น่าจับตามอง

โดยไฮไลท์ในการเสวนาครั้งนี้ คือ การนำเสนอถึงประเด็น การพัฒนาระบบนิเวศการร่วมลงทุนในธุรกิจฐานนวัตกรรมของประเทศไทย (IDEs Investment Ecosystem in Thailand) โดย ดร.กิตติพงศ์ พร้อมวงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ หรือ สอวช. พร้อมด้วย รศ.ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย รองอธิการบดี ด้านการวางและกำหนดยุทธศาสตร์ นวัตกรรม และพันธกิจสากล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

ปัจจัยสำคัญต่อ IDEs Investment Ecosystem ของไทย

จากการนำเสนอของ รศ.ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย ได้กล่าวถึงผลการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับ Ecosystem ด้านการลงทุนของไทยในธุรกิจ IDEs ที่ทำร่วมกับคณะวิจัยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยได้มาอัพเดตความเปลี่ยนแปลงว่ามีความก้าวหน้าไปอย่างไรบ้างในระบบนิเวศการลงทุนของไทย

ในการดำเนินงานวิจัยได้ทำการสำรวจผ่านการสัมภาษณ์เจ้าของธุรกิจ และนักลงทุนเพื่อศึกษาความเปลี่ยนแปลงที่กลุ่มคนเหล่านี้ต้องการ โดยสามารถสรุปผลว่ามีปัจจัยใดบ้างที่จำเป็นต่อความสำเร็จในการสร้าง Ecosystem ด้านการลงทุนของไทยได้ดังนี้

  • People: ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของ IDEs Investment Ecosystem มากที่สุด คือ ‘คน’ เริ่มต้นตั้งแต่ ผู้ก่อตั้งธุรกิจ (Founder) ทีม (Team) นักลงทุน (Investor) และพันธมิตรทางธุรกิจ (Partner) และปัจจัยของกลุ่มคนเหล่านี้จะส่งผลให้เกิดปัจจัยสำคัญอีก 2 อย่าง

  • Financial and Non-Financial Capital: ซึ่งก็คือทุน ทั้งที่เป็นทุนทางการเงิน ทางเทคโนโลยี และทุนในการเสริมสร้างความสามารถแข่งขัน ตัวอย่างเช่น โครงการ Incubation, Advisor รวมทั้งการสนับสนุนเครื่องมือเทคโนโลยี เป็นต้น

  • Culture and Business Model: ปัจจัยเรื่องวัฒนธรรมในองค์กรสามารถสร้างขึ้นมาได้โดย ‘คน’ และวัฒนธรรมจะเป็นตัวช่วยสนับสนุนการเติบโตขององค์กรต่อไป และเช่นเดียวกันกับ Business Model ก็จำเป็นจะต้องดึงปัจจัย ‘คน’ เข้ามาดำเนินการและขับเคลื่อน โดยการดึงเอาทุนด้านต่าง ๆ มาใช้งาน

ในขณะเดียวกันทางฝั่งของรัฐบาลก็จำเป็นที่จะต้องให้การสนับสนุนอย่างจริงจังทั้งในเรื่องของข้อกำหนดและกฎหมาย ที่จะมาช่วยให้เกิดโครงสร้างพื้นฐานที่มั่นคง และส่งเสริมให้คนสร้างทักษะทางดิจิทัล (Digital Skill) ที่จำเป็นในการพัฒนาธุรกิจให้สามารถ Scale up ไปได้ไกลมากขึ้น

ภาพรวมการลงทุนใน Startups ของประเทศไทย

ทาง รศ.ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย ได้กล่าวเพิ่มเติมถึงภาพรวมการลงทุนในธุรกิจ Startups ของอาเซียน โดยประเทศไทยมีมูลค่าการลงทุนในธุรกิจกลุ่มนี้อยู่ในลำดับที่ 5 ของอาเซียน ตามหลังสิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม และมาเลเซีย จากข้อมูลล่าสุดในไตรมาสที่ 2 ปี 2021 ประเทศไทยมีมูลค่าการระดมทุนของ Startups อยู่ที่ 1,320 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งคิดเป็นเพียง 0.3% ของ GDP ซึ่งดีขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่มีเพียง 0.2% ของ GDP เท่านั้น

นอกจากนี้ยังพบว่า มูลค่าการลงทุนใน Startups ไทยนั้นไม่ได้อยู่ในอุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม (Innovation Driven Industry) ซึ่งการลงทุนส่วนใหญ่นั้นจะลงไปที่ Logistic, FinTech, AdTech, Fashion และ InsurTech ถึง 80% ทำให้ธุรกิจกลุ่มนี้สามารถระดมทุนเข้าไปในรอบที่ลึกได้ถึง Series C ขึ้นไป ตัวอย่างเช่น Flash Express ที่ระดมทุนได้ถึงระดับ Series E และ Exit เป็นยูนิคอร์นรายแรกของประเทศไทย ในขณะที่ธุรกิจอย่าง BioTech, AgriTech, HealthTech, FoodTech, TravelTech และ EdTech ที่อยู่ในอุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมกลับมีการระดมทุนลงไปเพียง 10% เท่านั้น

สาเหตุที่ส่งผลให้ IDEs Investment Ecosystem มีปัญหา

จากผลการศึกษาวิจัยโดย รศ.ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย และคณะ พบว่า มี 3 ปัจจัยหลักที่เป็นผลให้การลงทุนใน IDEs ของไทยเป็นปัญหา ได้แก่

  • คุณภาพของผู้ประกอบการและทีม ตัวอย่างเช่น ทีมขาดความตั้งใจจริงและแรงบันดาลใจในการสร้างนวัตกรรม ขาดการปลูกฝังให้คนไทยแข่งขันกันตลอดเวลา

  • ความสอดคล้องของผลิตภัณฑ์และตลาด เช่น ผู้ประกอบการไม่เข้าใจขนาดของตลาด และเลือกตลาดที่ไม่สามารถขยายออกไปได้ รวมทั้งผลิตภัณฑ์ไม่ตอบสนองต่อความต้องการของตลาดนั้น ๆ

  • สิ่งสนับสนุนต่าง ๆ เช่น ขาดเงินทุนและการสนับสนุนที่ต่อเนื่อง ขาดต้นแบบธุรกิจในอุตสาหกรรม IDEs ที่ประสบความสำเร็จแล้วในประเทศ รวมทั้งขาดกฎหมายที่สนับสนุนการเติบโตของธุรกิจ IDEs เป็นต้น

ดังนั้น ปัญหาสำคัญที่ทำให้การเดินหน้า Ecosystem ทางการลงทุนของไทยมีหลัก ๆ  คือ ขาดการบริหารคนความสามารถสูง (Talent) ได้แก่ การจ้างงานคนที่มีความสามารถและทักษะระดับสูง การดึงดูดคนเก่งเข้าสู่ระบบนิเวศ รวมทั้งการพัฒนาทักษะของคนไทยให้พร้อม ทั้งในฐานะผู้ประกอบการ นวัตกร และนักลงทุน ขาดกลไกส่งเสริมให้ธุรกิจสามารถเติบโตเป็นสเกลอัพได้ (Ease of Doing Scaleup) ได้แก่  มาตรการทางภาษีจากรัฐบาล ข้อตกลงหรือกฎหมายที่เอื้อต่อการทำธุรกิจ และขาดกลไกสนับสนุนทางการเงินและแหล่งที่จะเข้าถึงทุน (Availability of Funding) ที่เหมาะสมซึ่งปัญหาเหล่านี้เป็นสิ่งที่ทุกภาคส่วนควรให้ความสนใจและเร่งดำเนินการแก้ปัญหาเพื่อให้ธุรกิจในกลุ่ม IDEs สามารถเติบโตได้เทียบเท่ากับต่างประเทศ และสามารถไปแข่งขันกับรายอื่น ๆ ในตลาดโลกได้

เป้าหมายของไทยในการขับเคลื่อน IDEs Investment Ecosystem

โดยทาง ดร.กิตติพงศ์ พร้อมวงค์ ได้มาเล่าถึงภาพรวมเป้าหมายของประเทศไทยเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรมในอีก 5-6 ปีข้างหน้า

  • เพิ่มการลงทุนไปในส่วนของการวิจัยและพัฒนา โดยจะเพิ่มค่าใช้จ่ายมวลรวมภายในประเทศ สำหรับส่วนนี้จะเพิ่มเป็น 2% ของ GDP หรือประมาณ 3.7 แสนล้านบาท (ภาครัฐ 30% ประมาณ 1.1 แสนล้านบาท และภาคเอกชน 70% หรือประมาณ 2.6 แสนล้านบาท)

  • เพิ่มจำนวนธุรกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม ทั้งประเภทธุรกิจ SMEs และ Startups อีก 1,000 ธุรกิจ โดยตั้งเป้าให้แต่ละธุรกิจมีรายได้กว่า 1 พันล้านบาท

  • ธุรกิจในประเทศไทยจะสามารถแข่งขันกับตลาดโลกได้ โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะสามารถมี 5 บริษัทเข้าไปอยู่ในรายชื่อของ Fortune Global 500

โดยปัจจุบันนี้มีหน่วยงานต่าง ๆ ของประเทศที่คอยให้การสนับสนุนธุรกิจ Startups และ SMEs ให้เติบโตเป็นธุรกิจฐานนวัตกรรม (IDEs) ที่แข็งแรง ทั้งการจัดตั้งโปรแกรม Incubation และ Acceleration รวมทั้งสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่พร้อมต่อการใช้งานให้กับธุรกิจ ตัวอย่างเช่น NIA, depa, InnoSpace, SCB10X รวมทั้งองค์กรที่ก่อตั้งจากมหาวิทยาลัย และหน่วยงานอื่น ๆ อีกมากมาย

ไม่เพียงแค่โปรแกรมสนับสนุน ยังมีการส่งเสริมผ่านการให้ความช่วยเหลือแก่ธุรกิจด้านการตลาด การเงิน และการออกกฎหมายข้อบังคับให้ธุรกิจสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

โดยงานวิจัยชิ้นนี้ รศ.ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย ได้ร่วมกับคณะผู้วิจัยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยประกอบด้วย

  • อาจารย์ ศันธยา กิตติโกวิท ผู้เชี่ยวชาญด้านวิสาหกิจเริ่มต้นรองศาสตราจารย์ 
  • ดร.คณิสร์ แสงโชติ ผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนและเงินทุน 
  • ดร.พีรพัฒ โชคสุวัฒนสกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย 
  • ดร.ภูมิศีริ ดำรงวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย 
  • ผศ.ดร.จรสวรรณ โกยวานิช นักวิจัย 
  • ดร.อวิรุทธ์ ฉัตรมาลาทอง นักวิจัย/ผู้จัดการโครงการ 
  • ดร.พิมลรัตน์ สกาวรวงศ์ ผู้ช่วยนักวิจัยและนักวิเคราะห์ด้านลงทุน 
  • คุณเพ็ญนภัส จิรชัย ผู้ช่วยนักวิจัย/ผู้ประสานโครงการ

อย่างไรก็ตาม ในการเสวนาใน Innovation Club Thailand 2021 ในครั้งนี้ ยังได้รับเกียรติจาก Speaker ที่เป็นผู้นำ ผู้บริหาร และผู้ประกอบการระดับประเทศอีกหลายท่านมานำเสนอ ได้แก่

  • คุณสุรวัฒน์ พรหมโยธิน ผู้อำนวยการศูนย์บริหารจัดการความยั่งยืนและส่งเสริมผู้ประกอบการ แห่งศศินทร์ 
  • คุณกอบศักดิ์ ภูตระกูล รองผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) 
  • Mr. Herbert Chen รองผู้จัดการใหญ่ TusHoldings 
  • ดร.สารินทร์ ภูมิรัตน Chief Scientific Officer & Co-Founder ของ EpiBone 
  • นพ.คณพล ภูมิรัตนประพิณ CEO & Co-Founder ของ Health at Home

และยังได้รับเกียรติจากผู้นำองค์กรชั้นนำต่างๆ มากมาย ที่เข้าร่วมในครั้งนี้อาทิ

  • คุณธนารักษ์ พงษ์เภตรา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและรองประธานสภาอุตสาหกรรมและประธานคณะบริหารสถาบันรหัสสากล (GS1) และ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ
  • ดร.กิติพงค์ พร้อมวงค์ ผู้อำนวยการ สอวช.กรรมการและเลขานุการ สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.)
  • นายแพทย์ทวิราป ตันติวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์
  • ดร.อารักษ์ สุธีวงศ์ ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์
  • คุณขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย
  • คุณสาระ ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
  • คุณชัยวัฒน์ โควาวิสารัช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
  • นายแพทย์ชัยรัตน์ ปัณฑุรอัมพร กรรมการ / กรรมการบริหาร / ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการและกรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร  บริษัท สมิติเวช จำกัด (มหาชน)
  • คุณชานนท์ เรืองกฤตยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน)
  • คุณต่อตระกูล วัฒนวรกิจกุล รักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อินโนสเปซ (ประเทศไทย)
  • ศาสตราจารย์ ดร. บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย รองอธิการบดี กํากับดูแลด้านการพัฒนางานใหม่และนวัตกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

สรุปเทคโนโลยีในปี 2025 เทรนด์ไหนกำลังจะมา ? ฟังความเห็นจาก 3 มุมมองสำคัญ : นักพัฒนา ผู้ประกอบการ และนักอนาคตศาสตร์

ปี 2025 กำลังจะมาถึงพร้อมกับคลื่นแห่งการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี บทความนี้สรุปและอธิบายเทรนด์สำคัญจากมุมมองของผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่านผ่านบทสัมภาษณ์พิเศษของ Techsauce เพื่อให้เห็นภาพรวมแ...

Responsive image

4 เทรนด์เทคโนโลยีสุดล้ำที่อาจเปลี่ยนโลกจาก CES 2025

สำรวจเทรนด์เทคโนโลยีล่าสุดจาก CES 2025 ตั้งแต่ AI อัจฉริยะ ยานยนต์ล้ำสมัย ไปจนถึงการพัฒนาชิปกราฟิกและเทคโนโลยีหน้าจอแห่งอนาคตที่เปลี่ยนโฉมการใช้ชีวิตประจำวัน!...

Responsive image

เปิดตัว ‘รถบินแยกร่าง’ XPeng ผสมเครื่องบินกับรถตู้ รุ่น Land Aircraft Carrier ราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาท

XPeng Aero HT เปิดตัว Land Aircraft Carrier รถบินได้แบบแยกร่างสุดล้ำที่ CES 2025 พร้อม eVTOL พับเก็บได้ ใช้งานง่าย ราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาท วางแผนผลิตเชิงพาณิชย์ในปี 2026...