ชวนเจาะกลยุทธ์ Inside Out โมเดลเดียวกับ Toy Story ที่จะพา Pixar กลับมาปังเพราะ ‘เล่นกับความคิดถึง’ | Techsauce

ชวนเจาะกลยุทธ์ Inside Out โมเดลเดียวกับ Toy Story ที่จะพา Pixar กลับมาปังเพราะ ‘เล่นกับความคิดถึง’

Pixar ใกล้ถึงจุดจบแล้วจริงเหรอ ?

Pixar Animation Studios เคยพุ่งทะยานในฐานะผู้นำด้านเทคโนโลยีแอนิเมชั่นของโลก แต่พิษโควิดและการ Disruption จาก Streaming Platform ทำให้บริษัทระดับตำนานดิ่งลงสู่ค่ายหนังเด็กที่คนนิยมดูแค่ใน  Disney+ การหวนคืนโรงภาพยนตร์ในปี 2022 - 2023 ก็ไม่ประสบความสำเร็จเหมือนเคย…

แต่เชื่อหรือไม่ว่า Inside out 2 ที่เข้าฉายในปี 2024 จะให้ Pixar กลับมายิ่งใหญ่อีกครั้ง !

บทความ Tecsauce จะพาไปย้อนดู ‘กลยุทธ์คืนชีพ Pixar’ ด้วย 2 เหตุการณ์ Pixar Miracle กับภาพยนตร์พลิกชีวิตของบริษัท

Pixar Miracle กับภาพยนต์พลิกชีวิตของบริษัท

ก่อนจะเป็น Pixar Animation Studios มันเคยมีชื่อว่า Lucasfilm’s Computer Division ซึ่งเป็นบริษัทผู้พัฒนาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์สำหรับอุตสาหกรรมภาพยนตร์ แต่ต่อมาในปี 1986 อัจฉริยะคนดัง Steve Jobs ก็เข้าซื้อกิจการและเปลี่ยนชื่อมันเป็น Pixar ที่เรารู้จักกันในปัจจุบัน (มาจาก Pixer + Radar เพราะฟังดูทันสมัย)

หลังจากตั้งบริษัทใหม่ก็มีลูกค้ารายใหญ่คือ Disney ที่เข้ามาจ้างวานให้ Pixar ช่วยพัฒนาระบบ CAPS (Computer Animation Production System) ที่จะถูกนำไปใช้ในการสร้างการ์ตูนแอนิเมชั่น โดยเรื่องแรกที่ Disney นำไปใช้คือ The Little Mermaid (1992) 

จากนั้น Pixar ก็พัฒนาระบบซอฟต์แวร์สำหรับภาพยนตร์ออกมาเรื่อยๆ รวมถึงทำแอนิเมชั่นหนังสั้นมากมาย ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ Tin Toy ที่คว้ารางวัลออสการ์ สาขาภาพยนตร์แอนิเมชั่นสั้นยอดเยี่ยม จากนั้นหันมาทำโฆษณาร่วมด้วย มีโฆษณาตัวแรกคือ น้ำส้ม Tropicana ชื่อ Wake Up 

Pixar Miracle 1: Toy Story ภาพยนตร์พลิกชีวิตบริษัท Pixar

หลังจากพัฒนาซอฟต์แวร์ในการทำแอนิเมชั่นให้กับอุตสาหกรรมภาพยนตร์และโฆษณาอยู่ประมาณ 5 ปี ในช่วงปี 1991 ทั้ง Disney และ Pixar ประกาศข้อตกลงในการร่วมมือกันสร้างและจัดจำหน่ายภาพยนตร์แอนิเมชันด้วยคอมพิวเตอร์ 1 เรื่อง แล้วใครจะไปคิดว่าข้อตกลงนี้จะกลายมาเป็นตัวต้นเรื่องที่ทำให้การ์ตูนชื่อดังอย่าง Toy Story ถือกำเนิด

ในปี 1995 เป็นปีที่แอนิเมชั่นเรื่องนี้ออกฉายครั้งแรก ทำรายได้เปิดตัวสูงถึง 29.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งหากปรับตามอัตราเงินเฟ้อ รายได้ของ Toy Story จะอยู่ที่ประมาณ 57 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปัจจุบัน (ราว 2 พันล้านบาท สูงกว่า Elemental ถึงพันล้านแม้ฉายในโรงภาพยนตร์ที่น้อยกว่าถึง 1,500 โรง)

นอกจากนี้ Toy Story ยังเป็นภาพยนตร์ Original ของ Pixar ที่ทำรายได้สูงสุดแห่งปี โดยทำรายได้ทั่วโลกสูงถึง 362 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 1.3 หมื่นล้านบาท) 

จากนั้น Walt Disney Studios และ Pixar Animation Studios ก็ประกาศข้อตกลงร่วมกันอีกครั้ง โดยจะผลิตภาพยนตร์ 5 เรื่องในระยะเวลา 10 ปี ซึ่ง Pixar ได้ผลิตภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียงออกมามากมาย เช่น Monsters, Inc.(2001), Finding Nemo (2003), The Incredibles (2004), และ Cars (2006) 

ซึ่งในปี 2006 Walt Disney ประกาศว่าได้ตกลงซื้อ Pixar Animation Studios ในมูลค่ากว่า 7.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 2.7 แสนล้านบาท 

Toy Story จึงถือว่าเป็น Turining point สำคัญที่พลิกบทบาท Pixar จากบริษัทที่มีชื่อเสียงด้านหนังแอนิเมชั่นสั้นและโฆษณา กลายมาเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีซอร์ฟแวร์ภาพยนตร์แอนิเมชั่นระดับโลกได้ 

Pixar Miracle 2: Inside Out ภาพยนตร์ออริจินัลที่คนคิดถึง

หลังจากการเข้าซื้อของ Disney ทาง Pixar ได้สร้างหนังภาคต่อออกมาฉายมากมายที่ประสบความสำเร็จทำรายได้หลายร้อยดอลลาร์สหรัฐฯ รวมถึงผลงาน Original Idea ที่เป็นเส้นเรื่องใหม่ก็ยังประสบความสำเร็จไม่แพ้กัน เช่น Ratatouille (2007), WALL•E (2008), Up (2009), Brave (2012), หรือ Inside Out (2015) เป็นต้น

แต่ในปี 2019 เกิดการ Disruption ครั้งยิ่งใหญ่ของบริษัท มีการแพร่ระบาดของ Covid-19 ทำให้ผู้คนเข้ามาดูภาพยนตร์ในโรงหนังไม่ได้ Streaming Platform จึงได้รับความนิยมขึ้นมา และ Disney+ ก็เกิดขึ้นมาในปีด้วย 

ตั้งแต่ปี 2020 ภาพยนต์แอนิเมชั่น Original Idea จาก Pixar ทั้งหมด 3 เรื่องอย่าง Soul, Luca, และ Turning Red ถูกนำมาฉายบน Disney+ ซึ่งหากมองในแง่ของการปรับตัวก็ดูเหมือนจะทได้ดี แต่จุดนี้กลับกลายเป็นดาบ 2 คมที่ย้อนมาทิ่มแทง Pixar เสียเอง

ความผิดพลาดครั้งใหญ่ และการย้อนมองตัวเองของ Pixar

เมื่อ Pixar หวนคืนโรงภาพยนตร์ในปี 2022 หนังอย่าง Lightyear เข้าโรงและเจ๊งยับ มีรายได้รวมทั่วโลกเพียง 226 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (8.3 พันล้านบาท) และในปี 2023 หนังเรื่อง Elemental ก็ทำรายได้เปิดตัวได้ต่ำที่สุด ทั้งที่ Jim Morris ประธานบริษัท Pixar คิดว่ามันเป็นภาพยนตร์ที่ดีและมีเสน่ห์ตามแบบฉบับ Pixar ทั้งนั้น จนเกิดคำถามสำคัญว่า ความล้มเหลวในครั้งนี้เกิดมาจากคนไม่อยากดูหนังแบบ Pixar แล้วหรือเปล่า ?

ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการตัดสินใจผิดพลาด ด้วยการเอาภาพยนตร์แอนิเมชั่นดีๆ ไปลงใน Disney+ ทำให้ผู้คนมองว่าพวกเขาไม่จำเป็นต้องไปดูหนังแบบนี้ในโรงก็ได้

นอกจากนี้การวิเคราะห์ของ Morris ก็พบว่า ความจริงแล้วไม่ใช่ว่าเสน่ห์ของ Pixar นั้นขายไม่ได้ แต่เพราะบริษัทกำลังหลงลืมว่าเหตุผลอะไรที่ทำให้ผู้คนถึงรักพิกซาร์ตั้งแต่แรก ซึ่งการตกตะกอนครั้งนี้ของ Morris ผลักดันให้เกิดกลยุทธ์ New Nostalgia หรือการดึงภาพยนตร์ประสบความสำเร็จในอดีตและมีฐานแฟนคลับที่คิดถึงช่วงเวลาเก่าๆ ที่เคยได้ดูหนังเรื่องนั้นกลับมาทำเพิ่ม

ทำให้บริษัทตัดสินใจที่จะปรับไทม์ไลน์การสร้างภาพยนตร์ โดยจะในเวลา 2 ปีในการสร้างภาพยนตร์ 3 เรื่อง

และในภาพยนตร์ทั้ง 3 เรื่องจะต้องประกอบด้วย Original Idea และหนังภาคต่อหรือภาคแยก 

ก่อน Inside Out 2 ไม่มีภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่องไหนของ Pixar สร้างรายได้มากกว่า 480 ล้านเหรียญในบ็อกซ์ออฟฟิศทั่วโลกนับตั้งแต่ปี 2019

Inside Out 2 จึงเป็นบททดสอบครั้งแรกในแผนของ Morris เนื่องจากภาคแรกในปี 2015 สร้างรายได้ถึง 859 ล้านเหรียญสหรัฐฯ นับเป็นภาพยนตร์ Original Idea ที่ทำเงินสูงเป็นอันดับ 2 รองจาก Finding Nemo (2003) และได้รับรางวัลออสการ์สาขาภาพยนตร์แอนิเมชันยอดเยี่ยมด้วย

การกลับมาของ Inside Out 2 มาห่างจากภาคแรกที่ประสบความสำเร็จและมีฐานแฟนคลับทั่วโลกถึง 9 ปี ทำให้การกลับมาครั้งนี้ Pixar เชื่อมั่นมากถึงขั้นให้เวลาฉายในโรงภาพยนตร์ประมาณ 100 วัน และแน่นอนว่าแอนิเมชั่นเรื่องนี้ทำให้ผู้คนกลับมาดูหนัง Pixar ในโรงได้อีกครั้ง หลังห่างหายไปเกือบ 3 ปี

รายได้เปิดตัวของ Inside Out 2 รวมทั่วโลกสูงถึง 295 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขึ้นแท่นแอนิเมชั่นเปิดตัวสูงสุดตลอดการ ซึ่งปัจจุบันยังคงทะยานต่อไปเรื่อยๆ ทะลุบ็อกซ์ออฟฟิศทั่วโลกไปแล้ว 438.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภายในเวลาเพียง 7 วัน 

ปัจจุบันพึ่งทำรายได้ไต่ถึง 724.4 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 2.6 หมื่นล้านบาท) เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา และมีแววที่จะเป็นภาพยนตร์ที่ทำเงินถึงพันล้านดอลลาร์เรื่องแรกในปี 2024 ซึ่งนักวิเคราะห์หลายคนคาดการว่า Inside Out 2 กำลังก้าวสู่การเป็นภาพยนตร์แอนิเมชั่นที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเรื่องหนึ่งในประวัติศาสตร์ที่ทำให้ชื่อ Pixar กลับมาอีกครั้งได้

Inside Out 2 โมเดลที่ทำให้คิดถึง Toy Story

ภาพจาก: Bloomberg

ความสำเร็จของ Inside Out 2 นั้นทำให้ย้อนนึกถึงเฟรนไชน์หนังภาคต่อคู่บุญของ Pixar อย่าง Toy Story ที่ภาคแรกทำไว้ได้ดีมาก เป็นหนังเรื่องแรกและเรื่องเดียวที่ได้คะแนน 100% จากเว็บวิจารย์หนังชื่อดังอย่าง Rottentomato จนมีภาคต่อในปัจุบันทั้งหมด 4 ภาค ซึ่งก็ประสบความสำเร็จทุกภาคทำรายได้ทะลุ 1.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 4 หมื่นล้านบาท

แม้เวลาจะผ่านมานานเกือบ 30 ปี  ผู้คนในปัจจุบันก็ยังคงพูดถึง Toy Story อยู่ เมื่อเทียบกับการกลับมาในรอบ 9 ปีของ Inside Out 2 ก็ยิ่งเห็นได้ชัดว่า ‘การเล่นกับความคิดถึงของผู้ชม’ มันยังคงได้ผลเสมอสำหรับ Pixar รวมถึงหาก Inside Out 2 ประสบความสำเร็จตามแผน ในปี 2026 เราอาจจะได้ดู Toy Story 5 กันอีกครั้งหนึ่งก็ได้

อ้างอิง: pixar, time, variety, screenrant, bloomberg

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

วิเคราะห์ดีลเจ็ดพันล้าน MUFG - Ascend Money สะเทือนวงการ FinTech ไทย

การลงทุนครั้งล่าสุดของ MUFG ใน Ascend Money เป็นการตอกย้ำถึงความสำคัญที่เพิ่มขึ้นของประเทศไทยในเรื่องของ FinTech ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้...

Responsive image

วิเคราะห์ Food Delivery ไทยหลัง Robinhood ปิดตัว : สมรภูมิเดือดกับความท้าทายจากพฤติกรรมผู้บริโภค

การปิดตัวของ Robinhood แอปพลิเคชันส่งอาหารสัญชาติไทยในวันที่ 31 กรกฎาคม 2567 ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของธุรกิจ Food Delivery ในประเทศไทย ส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่ผ...

Responsive image

‘AI จะทำลายคุณค่า และคุณภาพของมังงะ’ วงการการ์ตูนญี่ปุ่นเสียงแตก หลังสำนักพิมพ์ใช้ AI แปลมังงะ ตั้งเป้าลดเวลา ลดค่าใช้จ่าย

เทคโนโลยี AI แปลมังงะมาแรง สำนักพิมพ์เจ้าดังญี่ปุ่นร่วมลงทุนพัฒนา หวังเทคโนโลยีช่วยลดเวลาและต้นทุนการแปลการ์ตูนญี่ปุ่น เพิ่มมูลค่าให้อุตสาหกรรม ด้านสมาคมนักแปลไม่เห็นด้วย ชี้อาจลดค...