รู้จัก NDID (National Digital ID) โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่จะยกระดับเศรษฐกิจยุคใหม่ | Techsauce

รู้จัก NDID (National Digital ID) โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่จะยกระดับเศรษฐกิจยุคใหม่

บทความนี้ Techsauce จะพาทำความรู้จัก NDID (National Digital ID) โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่จะยกระดับเศรษฐกิจยุคใหม่ 

NDID คืออะไร 

NDID หรือ National Digital ID คือ แพลตฟอร์มที่ให้บริการการยืนยันตัวตน (e-KYC) ของผู้ใช้บริการบนโลกดิจิทัล ทำให้เราสามารถทำธุรกรรมออนไลน์ต่างๆ เช่น เปิดบัญชีเงินฝากออนไลน์ สมัครขอสินเชื่อออนไลน์ โดยไม่ต้องเดินทางไปที่สาขาหรือสำนักงานเพื่อทำการแสดงตนสำหรับสมัครบริการ

ใครเป็นเจ้าของ NDID 

NDID เป็นบริษัทที่เริ่มต้นจากกระทรวงการคลังและกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ปัจจุบันมีผู้ร่วมทุนมากกว่า 60 ราย ประกอบด้วยธนาคาร สถาบันการเงิน บริษัทประกันภัย รวมถึงหน่วยงานรัฐ ทั้งนี้ ทุกฝ่ายตั้งใจให้ NDID เป็น platform ยืนยันตัวตนระดับ infrastructure ของประเทศไทย ซึ่งมีส่วนเพิ่มประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจได้

โดยมีเป้าหมายเพื่อ 

  • ใช้เป็นโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลที่สำคัญ โดยออกแบบระบบตามแนวคิด Decentralized (กระจายอำนาจ) ด้วยการใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน ช่วยให้การทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์มีประสิทธิภาพ น่าเชื่อถือ และได้มาตรฐานสากล
  • เพื่อให้การบริการผู้บริโภคทางออนไลน์ สะดวก รวดเร็ว ค่าใช้จ่ายน้อยแต่มีประสิทธิภาพ 
  • เป็นทางด่วนสายหลักที่เชื่อมโยงการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างองค์กร

บริการของ NDID 

  • RP (Relying Party): ผู้ให้บริการที่ติดต่อกับลูกค้าโดยตรงและต้องการใช้บริการ eKYC ของ IdP (Identity Provider)
  • IdP (Identity Provider): หน่วยงานที่ให้บริการพิสูจน์ตัวตนและรับรองความถูกต้องให้กับลูกค้า เพื่อใช้เมื่อ RP ต้องการ ผ่านแพลตฟอร์ม NDID
  • AS (Authoritative Source): หน่วยงานที่ถือข้อมูลส่วนบุคคลที่น่าเชื่อถือของผู้ใช้บริการ 

ไปทำ NDID ได้ที่ไหน 

ปัจจุบันผู้ให้บริการลงทะเบียน NDID หรือ IDP (Identity Provider) ซึ่งมีหน้าที่ให้บริการการยืนยันตัวตน ในระยะเริ่มต้นคือกลุ่มธนาคารพาณิชย์ โดยสามารถสอบถามได้ที่เคาน์เตอร์ธนาคาร (ต้องใช้บัตรประชาชน)  หรือผ่านแอปพลิเคชันของธนาคาร

ระบบนี้ปลอดภัยจริงไหม 

อย่างที่ได้กล่าวไปว่า NDID เกิดจากความร่วมมือของภาคธุรกิจ ภาคเอกชน และรัฐ ซึ่งมีการกำกับดูแลโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้ รวมถึงการออกแบบระบบแบบ Data Security and Privacy by Design มีการเข้ารหัสเมื่อรับส่งข้อมูลทำให้มีความปลอดภัยสูง

และด้วยระบบบล็อกเชน จะไม่มีการรวมศูนย์เก็บข้อมูลไว้  ซึ่งผู้ดูแลระบบคือ บริษัท เนชั่นแนลดิจิทัล ไอดี จำกัดจะไม่สามารถเห็นข้อมูลใดๆของลูกค้า

ข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งานที่ให้ไว้กับระบบของหน่วยงานที่เราไปใช้บริการ เช่น ธนาคาร ข้อมูลส่วนนี้จะไม่มีการส่งข้อมูลให้กับ NDID และในส่วนข้อมูลที่อยู่ในฐานของ NDID นั้น ก็จะถูกเข้ารหัสและแปลงจนไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นข้อมูลของผู้ใด นอกจากนั้นข้อมูลทั้งหมดจะได้รับการคุ้มครองด้วยกฎหมายข้อมูลส่วนบุคคลด้วย จึงมั่นใจได้ว่ามีมาตรฐานความปลอดภัย

ว่าที่รัฐบาลก้าวไกลลุยหารือ  NDID  

โดยล่าสุด ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ผู้สมัครรับเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อของพรรคก้าวไกล ได้เผยในกลุ่ม Discord ‘ก้าว Geek’  คอมมูนิตี้ที่พูดคุยแลกเปลี่ยน เสนอไอเดียเกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีของพรรคก้าวไกลว่า

มีแผนที่จะหารือกับทาง NDID ให้ RP (Relying Party) หรือหน่วยงานที่ให้บริการโดยตรงกับลูกค้า และต้องการใช้งานระบบยืนยันตัวตน เช่น บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทประกัน สตาร์ทอัพ ไม่ต้องเสียค่าบริการยืนยันตัวตนจาก NDID

เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการรายย่อย   โดยรัฐฯจะเป็นผู้ดูแลค่าบำรุงรักษาระบบให้กับ NDID และอาจใช้ DOPA มาเป็นหน่วยงาน IDP (Identity Provider) และ AS เอง เพื่อลดค่าใช้จ่ายจากฝั่ง IdP เดิม

ทั้งนี้เพื่อให้ทุกหน่วยงานสามารถเข้าถึง Digital ID ได้แบบไม่มีค่าใช้จ่าย ได้ผลประโยชน์กันทุกฝ่าย 

อ้างอิง : NDID 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘Yindee’ แชตบอตในแอป ttb Touch ใช้ Gen AI จับความรู้สึก ตอบเร็วและฉลาดกว่าที่เคย

Yindee แชตบอตที่อยู่บน Mobile Banking ของ ttb ทำงานผ่านแอป ttb Touch สามารถจับ Mood & Tone ของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ ว่าขณะแชตนั้น ลูกค้าอยู่ในอารมณ์ไหน ด้วย Generative AI โดย Azur...

Responsive image

คนอยากใช้พลังงานเยอะ แต่โลกอยากได้ปล่อยคาร์บอนน้อย บริษัทพลังงานแก้ไขความย้อนแย้งนี้อย่างไรดีในยุค AI

The Energy/Prosperity Paradox หรือภาวะย้อนแย้งแห่งพลังงาน และความเจริญ ถือเป็นความท้าทายระดับโลกที่บริษัทด้านพลังงานกำลังพบเจอ เพราะในตอนนี้โลกกำลังต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างไม่เ...

Responsive image

เศรษฐกิจไทย ‘ฟื้นตัว’ แล้วหรือยัง ? ฟังความเห็นจาก 3 ผู้นำธุรกิจยักษ์ใหญ่ไทย

ค้นพบศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงไทย จีน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม และกัมพูชา พร้อมโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจในภาคอุตสาหกรรม การเงิน และเทคโนโลยี...