สวนโซลาร์ลอยน้ำใหญ่ที่สุดในอาเซียน จากนวัตกรรมของ IRPC เนรมิตพื้นที่บนผิวน้ำให้ผลิตไฟฟ้าได้ | Techsauce

สวนโซลาร์ลอยน้ำใหญ่ที่สุดในอาเซียน จากนวัตกรรมของ IRPC เนรมิตพื้นที่บนผิวน้ำให้ผลิตไฟฟ้าได้

ปัจจุบันพลังงานทดแทน ถือเป็นเมกะเทรนด์ของโลกที่ทุกภาคส่วนหันมาลงทุน และให้การสนับสนุนเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรม ที่มีความต้องการใช้พลังงานในการเดินกำลังการผลิตสูง ซึ่งพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยมสูง โดยระยะหลังหลายโรงงานอุตสาหกรรมเลือกที่จะตั้ง Solar Rooftop ในการที่จะสามารถผลิตไฟฟ้าใช้เองได้ เพื่อลดต้นทุนด้านค่าไฟ ประกอบกับเป็นการบริหารจัดการพื้นที่โรงงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด แต่ในปัจจุบันพื้นที่บริเวณเขตอุตสาหกรรมที่สามารถใช้สอยได้ไม่ได้มีแค่การติดตั้งบนหลังคาเพียงอย่างเดียวแล้ว แต่การทำโซลาร์ลอยน้ำ (Floating Solar) ก็เป็นแนวคิดที่น่าจับตามองเช่นกัน 

ก่อนหน้านี้ความเป็นไปได้ของการติดตั้งโซลาร์บนผิวน้ำ ดูเหมือนจะน้อยมาก เพราะอาจจะมีอุปสรรคในเรื่องของวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้เป็นส่วนประกอบในการผลิตติดตั้ง ทั้งในด้านของความทนทาน และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยรอบ โดยเฉพาะความกังวลเกี่ยวกับสารเคมีที่อาจจะปนเปื้อนในแหล่งน้ำ ส่งผลต่อระบบนิเวศให้เกิดความเสียหาย

แต่ปัจจุบันจากการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่องของ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) หรือ IRPC ผู้บุกเบิกอุตสาหกรรมปิโตรเคมีครบวงจรแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีเขตประกอบการอุตสาหกรรมอยู่ที่จังหวัดระยอง ได้มีการพัฒนาเม็ดพลาสติก HDPE (High Density Polyethylene หรือ โพลิเอทิลีนความหนาแน่นสูง) ซึ่งเป็นการวิจัยต่อยอดจากพลาสติกที่ใช้ทำท่อน้ำ จนสามารถนำไปขึ้นรูปให้เป็นทุ่นที่มีน้ำหนักเบา และมีความทนทานต่อการใช้งานกลางแดดเป็นเวลานาน ทำให้สามารถนำไปเป็นวัสดุที่ปลอดภัยสำหรับการทำโซลาร์ลอยน้ำได้อย่างประสบความสำเร็จ 

IRPC

สวนโซลาร์ลอยน้ำ ประโยชน์ 3 ต่อ ธุรกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม

ล่าสุด IRPC ได้มีการเปิดตัว สวนโซลาร์ลอยน้ำ (Floating Solar) ในบ่อน้ำดิบสำรองบริเวณเขตอุตสาหกรรมของบริษัทในจังหวัดระยอง บนพื้นที่รวมกว่า 200 ไร่ ซึ่งเป็นโซลาร์ลอยน้ำที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยกำลังผลิตไฟฟ้ารวมกว่า 12.5 เมกะวัตต์ โดยเป็นการผลิตไฟฟ้าเพื่อนำไปใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมของบริษัทเอง (Internal Used) ซึ่งการติดตั้งโซลาร์ลอยน้ำในครั้งนี้ส่งผลให้สามารถลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานไฟฟ้าไปกว่า 50 ล้านบาทต่อปี อีกทั้งยังเป็นการเสริมความมั่นคงด้านพลังงานให้กับการดำเนินงานภายในเขตอุตสาหกรรมของบริษัทด้วย

นอกจากประโยชน์ที่เกิดขึ้นในเชิงธุรกิจแล้ว ยังสามารถบูรณาการคุณค่าในเชิงสิ่งแวดล้อม และสังคมได้อีกด้วย โดยในเชิงของสิ่งแวดล้อม จะช่วยลดภาวะโลกร้อนจากการหันไปใช้พลังงานทดแทน โดยสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกกว่า 10,510 ตัน หรือหากจะเปรียบเทียบให้เห็นภาพ คือ การปลูกต้นไม้บนเกาะเสม็ดทั้งเกาะอยู่ที่ราว 10,000 ต้น  ทั้งนี้บริเวณผิวน้ำยังได้รับอานิสงค์จากการที่โซลาร์ลอยน้ำยังช่วยป้องกันการระเหย โดยบ่อน้ำบริเวณเขตประกอบการอุตสาหกรรมของ IRPC จะทำหน้าที่เป็น แก้มลิง ในการช่วยบริหารจัดการน้ำท่วมน้ำแล้งเขตอำเภอเมือง จังหวัดระยองได้ 

ขณะที่ประโยชน์ในเชิงของสังคม บริเวณโดยรอบของพื้นที่ที่ติดตั้งโซลาร์ลอยน้ำนั้น สามารถพัฒนาให้เป็นพื้นที่ใช้สอยของชุมชนที่อาศัยอยู่โดยรอบเขตประกอบการอุตสาหกรรมของ IRPC ได้ โดยในอนาคตจะเปิดเป็นแหล่งสันทนาการให้ประชาชนมาออกกำลังกาย และ พื้นที่สำหรับการพักผ่อนหย่อนใจได้ใช้ประโยชน์ต่อไป

IRPC ต่อยอดธุรกิจสู่ Solution Provider แก้ทุก Pain Point ด้านวัสดุด้วยนวัตกรรม

ปัจจุบันสวนโซลาร์ลอยน้ำ IRPC ที่ จังหวัดระยอง ถือเป็นต้นแบบที่สำคัญสำหรับการพัฒนาโครงการด้านพลังงานทดแทนที่ทำให้หลายหน่วยงานสามารถนำไปต่อยอดได้ โดยเฉพาะทุ่นลอยน้ำ ซึ่งเป็นวัสดุที่เป็นกุญแจสำคัญในการทำให้แผงโซลาร์สามารถลอยอยู่เหนือผิวน้ำได้  โดยเป็นนวัตกรรมการผลิตของ IRPC ที่ได้มีการวิจัยและพัฒนาเม็ดพลาสติกที่นำไปหลอมขึ้นรูป ที่มีประสิทธิภาพสูง ซึ่งเป็น use case ที่สะท้อนให้เห็นถึงความแข็งแกร่งทางด้านการวิจัยและพัฒนาของนวัตกรรมและเทคโนโลยีขั้นสูง (deeptech) เกี่ยวกับปิโตรเคมีได้เป็นอย่างดี 

สำหรับทุ่นลอยน้ำ เป็นการผลิตจากนวัตกรรมเม็ดพลาสติก HDPE เกรดพิเศษสีเทา แบรนด์  POLIMAXX ของ IRPC มีคุณสมบัติช่วยลดอุณหภูมิใต้แผงโซลาร์เซลล์ได้ถึง 5-8 องศา ส่งผลให้ระบบผลิตกระแสไฟฟ้ามีประสิทธิภาพสูง ทนทานต่อแสง UV และทนต่อแรงกระแทก โดยมีอายุการใช้งานของวัสดุยาวนานถึง 25 ปี ซึ่งปลอดภัยต่อระบบนิเวศใต้น้ำ ผ่านการทดสอบ Food Grade ขององค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (US FDA) พร้อมทั้งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นแห่งแรกของประเทศไทย ที่สามารถทำได้ 

ดังนั้นโอกาสในการต่อยอดผลิตภัณฑ์ด้านนวัตกรรมของ IRPC จึงมีอยู่อีกมาก หากมองแค่การขยายธุรกิจผลิตทุ่นลอยน้ำ IRPC  จะเข้าไปเป็นส่วนสำคัญของการผลิต โดยประเทศไทยมีพื้นที่บนผิวน้ำคิดเป็นร้อยละ 3 ของพื้นที่ประเทศ (ประมาณ 9 ล้านไร่) หากสามารถนำพื้นที่เหล่านี้มาใช้ประโยชน์อย่างเต็มประสิทธิภาพ ประเทศชาติก็จะได้รับประโยชน์จากพลังงานทดแทนได้มากขึ้น

ถ้ามีโครงการเช่นนี้มากขึ้น และมีการพิจารณาใช้เม็ดพลาสติก ส่งเสริมนวัตกรรมฝีมือคนไทย ในวงการพลังงานไทยด้วย แน่นอนว่าหลังจากนี้โครงการโซลาร์ลอยน้ำจะเกิดขึ้นอีกมหาศาล ดังนั้นหากมีการส่งเสริมให้ใช้เม็ดพลาสติกของคนไทย ที่สามารถผลิตได้เองในประเทศก็จะช่วยลดต้นทุนของการดำเนินโครงการได้อย่างมาก  

โดยในระยะแรก IRPC จะจับมือกับบริษัทในกลุ่ม ปตท. เพื่อที่จะเข้าไปพัฒนาร่วมกัน และหลังจากนั้นก็จะเป็นการขยายตลาดไปยังต่างประเทศ รวมถึงการเข้าไปให้บริการกับนิคม และโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ

IRPC

ทั้งนี้การต่อยอดในระยะต่อไปสำหรับผลิตภัณฑ์นวัตกรรม คือ IRPC จะก้าวสู่การเป็น Solution Provider ที่ไม่ใช่เพียงแค่การผลิตและจำหน่าย แต่จะเข้าไปให้คำปรึกษา ช่วยลูกค้าแก้ทุก pain point ในด้านวัสดุ และมีการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 

นอกจากนี้ IRPC ยังได้มีการสร้างศูนย์นวัตกรรม IRPC (IRPC Innovation Center :IIC) ในพื้นที่เขตอุตสาหกรรมของบริษัท เพื่อมุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่า ที่สามารถตอบโจทย์และตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างครบวงจร รวมถึงความเปลี่ยนแปลงของโลกที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงทีและครอบคลุมแทบทุกอุตสาหกรรม  

บทความนี้เป็น Advertorial


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

แนะเทรนด์ลงทุนในสตาร์ทอัพปี 2024 พร้อมช่องทางใหม่ในการระดมทุนจากงาน KATALYST TALK MEETUP #3

บทความที่เอสเอ็มอี สตาร์ทอัพควรอ่านเพื่อเป็นไกด์ไลน์ในการเผชิญความท้าทายในปีนี้ จากการรับฟังภายในงาน KATALYST TALK MEETUP #3 ‘Navigating the Startup Challenges in 2024 and Beyond’...

Responsive image

เตรียมพบกับงาน SEA Blockchain Week 2024 (SEABW) ยกขบวนกูรูผู้เชี่ยวชาญด้านบล็อกเชน และ Web 3 ระดับโลกกว่า 100 คน มาร่วมพูดคุยแบ่งปันประสบการณ์ที่เมืองไทย

Southeast Asia Blockchain Week หรือ SEABW งานด้านบล็อกเชนสุดยิ่งใหญ่ระดับภูมิภาค ที่เตรียมจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ในวันที่ 24-25 เมษายน 2567 ซึ่งจะจัดขึ้น ณ True ICON HALL ช...

Responsive image

กระทรวง AI : เมื่อ AI อันตรายเกินกว่าจะปล่อยไว้ โลกเร่งออกกฎควบคุม

AI กลายเป็นสิ่งที่ต้องถูกควบคุมด้วยกฎหมาย และต้องถูกจับตาดูโดยหน่วยงานของรัฐบาลอย่าง ‘กระทรวง AI’ ที่มีอำนาจ และความสำคัญไม่แพ้หน่วยงานอื่น ๆ แต่ทำไม AI ต้องถูกควบคุมโดยรัฐบาล ? กร...