Japan Recommend IT เผยศักยภาพธุรกิจดิจิทัลญี่ปุ่นที่ธุรกิจไทยไม่ควรมองข้าม | Techsauce

Japan Recommend IT เผยศักยภาพธุรกิจดิจิทัลญี่ปุ่นที่ธุรกิจไทยไม่ควรมองข้าม

Photo by Ben Cheung from Pexels

เมื่อพูดถึงอุตสาหกรรมดิจิทัลในปัจจุบัน ญี่ปุ่นก็เป็นหนึ่งในประเทศที่ถือว่า “มีของ” อยู่ในระดับต้นๆ ของโลก แต่กลับไม่เป็นที่รู้จักมากนัก เรามักจะมองไปยังประเทศที่กำลังเติบโตด้านเทคโนโลยีอย่างจีน ประเทศที่ประสบความสำเร็จจากอุตสาหกรรมดิจิทัลแล้วอย่างสหรัฐฯ หรือแม้แต่อิสราเอลกับอินเดีย ที่ส่งออกบุคลากรด้านดิจิทัลสู่อุตสาหกรรมมากมาย

ในวันนี้เราจึงอยากชวนทุกท่านมาทำความรู้จักญี่ปุ่นในฐานะประเทศที่เป็นผู้นำด้านอุตสาหกรรมดิจิทัลของโลกที่คนไทยอาจไม่รู้ พร้อมกับแนะนำโอกาสเข้าถึงบริษัทไอทีญี่ปุ่นชั้นนำเพื่อต่อยอดธุรกิจที่คนไทยสามารถทำได้ง่ายๆ

3 ปัจจัยบ่งชี้ความแข็งแรงของอุตสาหกรรมดิจิทัลญี่ปุ่น

เมื่อพูดถึงความแข็งแรงของอุตสาหกรรมดิจิทัลในญี่ปุ่น เราต้องพูดถึงทั้งในแง่ของผู้บริโภคและธุรกิจ โดยจากการค้นคว้า เราพบตัวเลขสถิติที่น่าสนใจและพอจะบอกได้ว่าญี่ปุ่นเองก็เป็นประเทศที่แข็งแกร่งในด้านนี้ไม่น้อย

  • รายได้จาก E-Commerce สูงอันดับ 3 ของโลก จากการสำรวจของ eShopWorld ในปี 2019 ระบุว่าญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีรายได้จาก E-Commerce สูงเป็นอันดับที่ 3 รองจากจีนและสหรัฐฯ โดยมีรายได้รวมในปี 2019 มากถึง 104,040 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สูงกว่าอังกฤษและเยอรมนี จุดนี้แสดงให้เห็นว่าญี่ปุ่นเองก็มีความพร้อมในเรื่องโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลจนสามารถรองรับการใช้งาน E-Commerce ที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลกได้
  • Value added จาก ICT ใหญ่เป็นอันดับ 3 รองจากสหรัฐฯ และจีน อีกปัจจัยที่วัดความแข็งแรงของอุตสาหกรรมดิจิทัลในญี่ปุ่นคือตัวเลขด้านคุณค่าในกลุ่ม ICT ซึ่งตัวเลขนี้เป็นตัวชี้วัดความรู้สึกต่อคุณค่าสินค้าหรือบริการที่ผู้บริโภคและธุรกิจในกลุ่มอุตสาหกรรมนั้นๆ จะยอมจ่าย โดย UNCTAD ระบุในรายงาน Digital Economy 2019 ที่เผยแพร่ในเดือนกันยายน ปี 2019 ว่า มูลค่าของตัวเลข Value Added ของญี่ปุ่นอยู่ที่ 300,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็นอันดับที่ 3 รองจากสหรัฐฯ และจีน
  • Value added จากอุตสาหกรรมบริการคอมพิวเตอร์ (Computer Service) เป็นอันดับที่ 2 รองจากสหรัฐ และอีกตัวเลขหนึ่งที่ยืนยันความแข็งแกร่งของอุตสาหกรรมดิจิทัลในญี่ปุ่นคือ Value Added ของ Computer Service ที่คิดเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากสหรัฐฯ โดยมูลค่าของ Value Added ด้านนี้ของญี่ปุ่นอยู่ที่ 100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เรียกว่านำหน้ายุโรปที่มีบริษัท Enterprise Software มากมาย รวมถึงอินเดียและจีนที่ถึงแม้จะมีบุคลากรและทรัพยากรมากกว่าอย่างชัดเจน

3 ปัจจัยนี้พอจะเป็นตัวบอกถึงอุตสาหกรรมดิจิทัลของญี่ปุ่นเองก็มีชื่อชั้นในระดับโลก และอาจเป็นตัวเลือกที่เหมาะกับธุรกิจในบ้านเราด้วย ซึ่งจะดีแค่ไหน หากเราสามารถเข้าถึงบริการดิจิทัลเพื่อต่อยอดธุรกิจของเราจากบริษัทด้านไอทีตัวจริงจากญี่ปุ่น โดยไม่ต้องเดินทางไปไหนให้เสียเวลา

Japan Recommend IT งานแสดง IT Service and Solution จากญี่ปุ่นที่ธุรกิจไทยต้องมาดู

ในแต่ละปี ประเทศไทยมีงานแสดง IT Solution สำหรับภาคธุรกิจอยู่ไม่น้อย แต่ธุรกิจไทยก็ยังมองหาตัวเลือกที่หลากหลายกว่าเดิม โดยเฉพาะ Solution ที่พัฒนาจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีบริบททางธุรกิจที่คุ้นเคยกัน รวมถึงศักยภาพและชื่อชั้นระดับโลกจึงน่าจะตอบสนองความต้องการของธุรกิจไทยได้เป็นอย่างดี ด้วยเหตุนี้ บริษัท Bigbeat Bangkok จึงได้จัดงาน Japan Recommend IT ขึ้น เพื่อพาบริษัท IT ญี่ปุ่นมาแนะนำ Solution กันถึงที่กรุงเทพมหานคร

งาน Japan Recommend IT จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 2019 ธุรกิจไทยและอาเซียนได้รู้จักศักยภาพของบริษัทเทคโนโลยีญี่ปุ่นที่เป็นส่วนสำคัญในการทำ Digital Transformation ของธุรกิจชั้นนำของญี่ปุ่นมากขึ้น อาทิ Kintone ผู้ให้บริการ Enterprise Service App สัญชาติญี่ปุ่นที่เติบโตระดับโลกโดยมีผู้ใช้กว่า 12,000 องค์กร และ Dr.Sum ซึ่งเป็น Database Platform ที่ออกแบบรองรับ Business Intelligence ที่มีผู้ใช้กว่า 6,100 องค์กร

อย่างไรก็ตาม ในปี 2020 เนื่องจากเกิดเหตุการณ์แพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้งาน Japan Recommend IT ไม่สามารถจัดแสดงในสถานที่จริงได้ แต่ทั้งนี้ ความต้องการใช้ Digital Service ในไทยและอาเซียนก็มีมากขึ้นด้วยการปรับตัวอย่างเร่งด่วนของธุรกิจ ทางบริษัท Bigbeat Bangkok จึงตัดสินใจพัฒนางานปีนี้ให้อยู่บน Online Platform เต็มรูปแบบในชื่อ Japan Recommend IT ONLINE

งาน Japan Recommend IT ONLINE จะจัดแสดง IT Solution จากบริษัทญี่ปุ่นชั้นนำ 15 ราย โดยแบ่งออกเป็นทั้งหมด 4 แกน ตามความต้องการของธุรกิจ ประกอบด้วย

1. Business Solution กลุ่มบริษัทที่ให้บริการด้าน Software การจัดการในธุรกิจ ครอบคลุมตั้งแต่งานปฏิบัติการที่จำเป็นต่างๆ เพื่อให้ขั้นตอนการดำเนินธุรกิจเป็นไปได้อย่างราบรื่น โดยมีทั้ง Software ที่ใช้งานในแต่ละสายงาน ไปจนถึง Software ที่ครอบคลุมทั้งองค์กรอย่าง Virtual office

2. Smart Solution and IoT กลุ่มบริษัทผู้พัฒนา Solution เชิง Physical ทั้งหลายเพื่อตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลายของธุรกิจ โดยกลุ่มนี้ถือเป็นหัวใจสำคัญของการสร้าง Smart workplace และ Smart Manufacture ที่ช่วยให้ชีวิตของคนทำงานดีขึ้น รวมถึงยังต่อยอดเข้ากับโครงสร้างพื้นฐานด้าน Smart City ได้ด้วย

3. Data and Cloud กลุ่มบริษัทที่รองรับเทรนด์การทำธุรกิจปัจจุบันที่ต้องอาศัย Big Data รวมถึงการทำงานแบบ Remote working ที่ต้องอาศัยการจัดการ Data บน Cloud ที่มีระบบ

4. Cyber Security กลุ่มบริษัทที่สำคัญมากในยุคที่ความเป็นอยู่ของธุรกิจขึ้นอยู่กับความปลอดภัยของระบบดิจิทัล โดยให้บริการทั้งด้าน Tools และ Solution เพื่อให้พวกเราทำงานได้อย่างปลอดภัย

ผู้ประกอบการธุรกิจ ผู้จัดการด้านเทคโนโลยีขององค์กรตั้งแต่ระดับ CTO จนถึง IT Admin ที่กำลังมองหา IT Solution ชั้นนำใช้งานได้จริงในองค์กร ต้องไม่พลาดงานนี้ ผู้เข้าร่วมงานจะได้พบกับการนำเสนอ Solution โดยตัวแทนจริงจากบริษัท รับเอกสาร ชม Demo ของผลิตภัณฑ์ และสามารถนัดหมายเพื่อต่อยอดความต้องการร่วมกันได้ภายใน Platform

งาน Japan Recommend IT Online เปิดให้ทุกท่านเข้าร่วมฟรีตั้งแต่วันที่ 29 กรกฎาคม ถึง 31 สิงหาคมนี้ ลงทะเบียนและร่วมงานได้ที่เว็บไซต์ https://event-info.com/jrit/

ขอขอบคุณข้อมูลจาก ft.comunctad.org และ worldretailcongress.com

บทความนี้เป็น Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เปิดกลยุทธ์ธุรกิจยุคใหม่ พลิกข้อมูล สู่ขุมทรัพย์ด้วย analyticX ด้วยพลัง Telco Data Insights และ GenAI

ยุคนี้ใคร ๆ ก็พูดถึง Data แต่จะใช้ Data อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่างหากคือกุญแจสำคัญ! ในสัมมนาสุดเอ็กซ์คลูซีฟ "Unlocking Data-Driven Decisions with Telecom Data Insights" ที่จั...

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...