เปิดมุมมองการพัฒนาเกมสู่ Web 3.0 เน้นให้ทุกคนมีส่วนร่วม เพื่อให้วงการเกมก้าวไปไกลกว่าเดิม กับ Jason Brink จาก Gala Games

การเล่นเกมได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของใครหลาย ๆ คน และจากการที่เทคโนโลยีต่าง ๆ พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว เกมก็จะยิ่งมีศักยภาพที่จะมอบประสบการณ์ใหม่ ๆ ให้กับทุกคนได้อย่างถ้วนหน้า 

อีกทั้งในช่วงที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่าบล็อคเชนได้เข้ามามีบทบาทในหลายอุตสาหกรรม แม้กระทั่งอุตสาหกรรมเกม เทคโนโลยีเหล่านี้จะเข้ามาช่วยกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเรากับเกมใหม่ ซึ่ง Jason Brink ผู้ประกอบการ นักทฤษฎีบล็อคเชน เกมเมอร์ตัวยง และปัจจุบันดำรงตำแหน่ง President of Blockchain ของ Gala Games ได้ร่วมเป็น Speaker ในงาน Techsauce Global Summit 2022 ในหัวข้อ “Democratization of the Gaming World: Leveraging Technology to Overcome the Challenges” โดยมี Jarindr Thitadilaka จาก GuildFi เป็น Moderator

อนาคตของ Web 3.0 กับอุตสาหกรรมเกม 

เมื่อพูดถึงการกระจายอำนาจที่เข้ามาในระบบนิเวศของเกม ทุกคนคงคุ้นเคยกับแนวคิด DAO หรือองค์กรอัตโนมัติแบบกระจายศูนย์ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่พยายามจะนำเสนอแนวคิดในเรื่องการกระจายอำนาจ สิ่งนี้จะเข้ามาช่วยพัฒนาการเล่นเกมได้จริงหรือไม่

Jason Brink กล่าวว่า โดยปกติแล้วตัวเกมจะถูกสร้างโดยผู้พัฒนาเกมเพียงอย่างเดียว แต่สิ่งที่ Gala ทำนั้นแตกต่างไปจากคนอื่น ๆ ในการเปิดตัวเกมออกสู่ตลาด 

โดยแบบเก่าคือ สร้างโมเดลการพัฒนาเว็บสู่เกมเป็นหลัก เมื่อสร้างเกมแล้วก็ปล่อยเกมในบางตลาด เช่น ฟิลิปปินส์ เพื่อทดสอบ จากนั้นก็ทำรุ่นอื่น ๆ ปล่อยตามออกมา ไม่มีใครสนใจการพัฒนาเกมนั้นจริง ๆ แต่สิ่งที่ Gala ทำคือ ทำให้คนในคอมมูนิตี้มีส่วนร่วมในการสร้างเกม โดยการเชื่อมต่อกับคอมมูนิตี้ในทุกขั้นตอน ตั้งแต่พรีอัลฟ่า และเบต้า เพื่อทดสอบและสำรวจดูว่ากลุ่มเป้าหมายชอบอะไรและไม่ชอบอะไร เรียกได้ว่าเป็น Decentralization หรือการกระจายอำนาจให้กับทุกคน เพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วม เปิดใจ และไม่ปล่อยให้เกมหายไปจากตลาดหากคอมมูนิตี้นั้น ๆ ยังต้องการเล่นเกมอยู่

แม้ว่าแนวคิด Democratization จะเป็นแนวคิดที่น่าสนใจ แต่ Jason Brink ก็ไม่ได้เชื่อว่าแนวคิดนี้จะได้ผลหนึ่งร้อยเปอร์เซ็น เนื่องจากเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องของ “คน” ทำให้เป็นเรื่องยาก เปรียบให้เห็นภาพชัด ๆ ก็เหมือนกับการที่ไม่มีรัฐบาลไหนในโลกนี้ที่เป็นประชาธิปไตยทางตรง

ในเรื่องของคริปโตฯ และ DAO ยังมีอีกหลายสิ่งที่ต้องพัฒนากันต่อไป เนื่องจากตอนนี้ยังมีความไม่แน่นอนด้านกฎระเบียบหลายอย่าง และไม่รู้ว่าโครงสร้างพื้นฐานอินเทอร์เน็ตจะได้รับผลกระทบอะไรจากสิ่งเหล่านี้ อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมเกมเป็นที่น่าจับตามองว่าจะเป็นอุตสาหกรรมที่ทำให้คริปโตฯ เป็นที่นิยมมากขึ้นด้วยพลังแห่ง Token economy 

Web 3.0 ทำให้วงการเกมแตกต่างไปจากเดิมอย่างไร

ปัจจุบัน Gala มีเกม Web 3.0 ทั้งหมด 28 เกม โดยเกมเหล่านี้เป็นเกมที่หลายคนรู้จัก บางเกมมีนักพัฒนาเกมถึง 100 คน มีสมาชิกทีม 450 คน ซึ่งโดยรวมแล้วกว่าพันชีวิตที่มีส่วนร่วมในการสร้างเกมสำหรับ Web 3.0 แต่ความแตกต่างระหว่าง Web 2.0 กับ Web 3.0 คือ ขณะที่เราเริ่มย้ายอุตสาหกรรมเกมไปสู่ Web 3.0 มากขึ้น Blockchain ก็จะถูกนำมาใช้ในการเล่นเกมอย่างแน่นอน ซึ่งเกมจะเป็นเกมที่เป็น Blockchain ที่สามารถเป็นเจ้าของ Asset ในเกมได้จริง ๆ 

ความท้าทายในการสร้างเกมที่แตกต่างไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง

การปรับตัวเข้าสู่ Web 3.0 เป็นเรื่องที่ซับซ้อนมาก และจะต้องใช้ทีมที่ใหญ่มากเช่นกัน เพื่อพัฒนาเกมไปให้ถูกที่ถูกทาง เนื่องจากเกม Web 3.0 จำนวนมากเหมือนคนสองคนที่พยายามโยนอะไรบางอย่างเข้าด้วยกัน เหมือน Flash games ที่ใส่ Token เข้าไป แล้วเคลมว่านั่นคือเกม Web 3.0 ทั้ง ๆ ที่มันไม่ใช่ ดังนั้นสิ่งหนึ่งที่ Gala หันมาให้ความสำคัญคือ “การเลิกใช้แนวคิด Play to earn มาเป็นแนวคิด Play and earn เพราะถ้าแค่ทำเกมเพื่อหารายได้ เกมก็จะไม่ใช่เกม แต่มันคืองาน” Gala จึงโฟกัสที่การสร้างเกมดี ๆ ที่คนอยากเล่น เพื่อเพิ่มพลังให้กับระบบนิเวศของวงการเกม

เมื่อระบบนิเวศของเกมมีความแข็งแกร่งขึ้นแล้ว คนอื่น ๆ ก็จะสามารถสร้างสรรค์สิ่งอื่น ๆ ตามออกมาได้ และนี่คือเหตุผลที่แนวคิดของการเล่นมีความสำคัญมาก เพราะถ้าไม่มีการเล่น ก็จะไม่มีเกม

ทำไมเกมเมอร์ไม่ชอบ NFT

คำถามที่หลายคนอาจสงสัยคือ “ทำไมเกมเมอร์ถึงไม่ชอบ NFT” Jason Brink ได้ไขข้อสงสัยนี้ว่า เนื่องจากว่าเกมเมอร์คิดว่า NFT ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และไม่เข้าใจว่าจริง ๆ แล้ว NFT ทำงานอย่างไร ทาง Gala ก็มีการตอบสนองต่อข้อกังวลนี้ ด้วยการจัดการกับข้อกังวลของคนเหล่านี้ด้วยการปลูกต้นไม้ให้ คือ เมื่อมีคนซื้อ NFT หนึ่งตัวจากแพลตฟอร์ม Gala จะปลูกต้นไม้ให้หนึ่งต้น ซึ่งตอนนี้ปลูกไปครึ่งล้านต้นแล้ว

จะเห็นได้ว่าเกมเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับทุกคนมานาน และมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบไปตามยุคสมัยและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป ซึ่งในปัจจุบันเกมกำลังพัฒนาตัวเองไปสู่ Web 3.0 สิ่งที่ผู้พัฒนาเกมควรให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งคือ การทำให้ทุกคนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาเกม เพื่อตอบรับความท้าทายและช่วยกันพาวงการเกมให้ก้าวไปข้างหน้าอีกขั้น

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Noland Arbaugh มนุษย์คนแรกที่ควบคุมคอมพิวเตอร์ด้วยความคิดผ่าน Neuralink

Noland Arbaugh วัย 30 ปี เป็นผู้ป่วยรายแรกของ Neuralink ได้ออกมาเล่าถึงประสบการณ์หลังการฝังชิปลงสมองในพอดแคสต์ของ Joe Rogan พอดแคสเตอร์ผู้โด่งดังในสหรัฐฯ...

Responsive image

ปฐมา จันทรักษ์ ฝาก 5 ข้อถึงผู้หญิง สู่ตำแหน่ง 'ผู้นำ' ในงาน EmpowerHer Asia LEADERSHIP FORUM 2025

สรุปจากที่คุณปฐมา จันทรักษ์ Country Managing Director, Accenture Thailand กล่าวในงาน 'EmpowerHER ASIA LEADERSHIP FORUM 2025, BRIDGING THE LEADERSHIP GAP IN TECH' เวทีสนับสนุนและส่ง...

Responsive image

คมความคิดของผู้หญิงสายเทค และความท้าทายที่ต้องเผชิญ จากงาน SCBX Tech Horizon EP15

สรุปแนวคิดผู้นำที่เป็นผู้บริหารหญิงจากงาน SCBX Tech Horizon EP15 ช่วง Panel Session : Breaking Barriers & Leading the Future เวทีที่เจาะลึกความท้าทายของผู้หญิงในบทบาทการบริหารกลยุท...