คุยกับกสิกรไทย เจาะเบื้องลึก Mobile Platform ที่กำลังมุ่งพัฒนาและการเปิดเผยเทคโนโลยีสำคัญ | Techsauce

คุยกับกสิกรไทย เจาะเบื้องลึก Mobile Platform ที่กำลังมุ่งพัฒนาและการเปิดเผยเทคโนโลยีสำคัญ

ช่วงนี้จะเห็นได้ว่าการแข่งขันด้าน Mobile Payment ของแต่ละธนาคารนั้นดุเดือดกันมากทีเดียว โดยเฉพาะหลังจากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศการใช้มาตรฐาน QR Code เดียวกัน ในการชำระเงิน ลดการใช้จ่ายด้วยเงินสด นำประเทศสู่ Cashless Society  ธนาคารไหนที่ตื่นตัว มีเทคโนโลยีก่อน ยิ่งได้เปรียบ ซึ่ง Techsauce ก็ได้มีโอกาสร่วมเสวนากับคุณ คุณสมคิด จิรานันตรัตน์ รองประธาน กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG) ในหัวข้อ ‘Future Technology Trend Talk’ เจาะเบื้องลึกสิ่งที่กสิกรไทยได้ทำอยู่ พร้อมชู 5 เทคโนโลยีสำคัญ ที่จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในวงการธนาคารและภาคธุรกิจ อีกทั้งยังมีการเปิดเผย Tag 31 ที่เป็นอีกขั้นของนวัตกรรมด้าน QR code ที่กสิกรไทยได้ริเริ่มขึ้น

คุณสมคิดได้เล่าถึง Mobile Platform ที่เป็นหัวใจสำคัญ โดยโลกในยุคโมบายทำให้โลกของธนาคารตื่นตัวอย่างมาก หลายธนาคารต้องแข่งขันกัน กสิกรไทยมองว่า สิ่งสำคัญในเวลานี้คือ Mobile หรืออุปกรณ์มือถือ ที่มุ่งดำเนินการมาปีกว่าในการพัฒนาในรูปที่เรียกว่า “แพลตฟอร์ม” โดยบริการด้าน  Mobile Banking และ Mobile Payment ที่สำคัญของธนาคาร คือ K PLUS แอปพลิเคชั่นธนาคารบนมือถือสำหรับผู้ใช้งานทั่วไป ด้วยจำนวนผู้ใช้งานปัจจุบัน 6.5 ล้านราย และ K PLUS SHOP แอปพลิชั่นสำหรับร้านค้าแอปฯแรกของไทย เพื่อการรับชำระเงินด้วยคิวอาร์โค้ดที่เป็น Thai National QR Standard เปิดให้บริการตั้งแต่กลางเดือนสิงหาคม 2560 เป็นต้นมา มีร้านค้าใช้งานจำนวน 2,000 ร้านค้า เป้าหมายเพิ่มเป็น 200,000 ร้านค้า ทั่วประเทศภายในสิ้นปีนี้ และจากนี้กสิกรไทยจะมุ่งเน้นการพัฒนาให้เป็นแพลตฟอร์มด้าน Life Style ที่มากขึ้น ซึ่งจะมี 5 เทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาท

พร้อมเพย์ และ QR Payment โครงสร้างพื้นฐานที่ที่มุ่งสู่ Cashless Society

พร้อมเพย์ เป็นโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการชำระเงินในประเทศไทยโดยที่เราไม่ต้องใช้เงินสด เราสามารถผูกบัญชีพร้อมเพย์ได้ 3 ทาง ได้แก่ เบอร์โทรศัพท์ เลขประจำตัวประชาชน และ เลข e-Wallet PromptPay (15 หลัก) โดยพร้อมเพย์ได้ต่อยอดไปสู่การใช้ Standardized QR Code เพื่อให้การชำระเงินเป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยหลายธนาคารมีรูปแบบการใช้การสร้าง QR Codeโดยผู้กับบัญชีพร้อมเพย์ ของร้านค้าที่ผูกกับเบอร์โทรศัพท์หรือเลขประจำตัวประชาชน ในการรับเงิน ขณะที่ K PLUS SHOP ของกสิกรไทยได้เลือกใช้ e-Wallet PromptPay เป็นตัวแทนของบัญชีร้านค้าในการรับ QR Payment เนื่องจากมองว่าเบอร์มือถือและเลขบัตรประชาชนเป็นข้อมูลส่วนตัว

Tag 31 ริเริ่มโดยกสิกรไทย

ใน Stadardized QR Code ที่เป็นมาตรฐานการใช้งานร่วมกันจะอ่านค่าการตัดเงินผ่าน 2 วิธี หรือ 2 Tag คือ  Tag 29 Promtpay Credit Transfer และ Tag 30 Promtpay Bill Payment โดย 2 Tag นี้เป็นมาตรฐานที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ทุกธนาคารต้องมี แต่กสิกรไทยได้ริเริ่ม Tag 31 เป็นอีกหนึ่งวิธีในการตัดเงิน

Tag 31 เป็นอีกหนึ่งการอ่านค่าผ่าน API คือ คุยกันด้วย API (ไม่ได้ใช้ค่าพร้อมเพย์นั่นเอง)  เป็นนวัตกรรมที่กสิกรไทยเชื่อว่าสามารถใช้งานได้จริงและง่ายขึ้น โดยความพิเศษของ Tag 31 นี้  คือ เป็นช่องทางที่เปิดเพื่อให้หน่วยงานอื่น หรือสตาร์ทอัพ มาเชื่อมต่อได้ในอนาคต เพื่อเชื่อมต่อธุรกรรมระหว่างกัน และทางกสิกรไทย พร้อมเปิดให้ธนาคารอื่นมาเชื่อมต่อได้ด้วยเช่นกัน

Beyond QR Payment :การรับชำระจากการเข้าใกล้

K PLUS SHOP ได้ถูกพัฒนาให้ทำงานได้นอกเหนือจากการรับชำระด้วยการยิง QR Code โดยทีมนักพัฒนาอยู่ระหว่างการต่อยอดให้ K PLUS SHOP มีรูปแบบการรับชำระจากการเข้าใกล้ได้อีกด้วย โดยใช้เทคโนโลยีที่หลากหลายในการพัฒนา เช่น Bluetooth, Ultra Sonic, GPS เป็นต้น คาดว่าจะได้ใช้งานในเฟสถัดไป

3 เทคโนโลยีที่กสิกรมุ่งเน้นเพื่อการพัฒนาบริการในอนาคต

Machine Learning จะเป็นเทคโนโลยีที่สำคัญในการเพิ่มคุณค่าของธุรกิจธนาคาร โดย Machine Learning จะสามารถทำให้ธนาคารเข้าใจลูกค้าได้ดีขึ้น จากเดิมที่ธนาคารแบ่งลูกค้าออกเป็นกลุ่ม ๆ ธนาคารจะสามารถเข้าใจความต้องการของลูกค้ารายบุคคลและนำเสนอบริการที่เหมาะสมกับลูกค้าได้

Biometric Verification และบล็อกเชน เป็นอีกเทคโนโลยี ที่จะเพิ่มความสะดวกสบายในการสมัครบริการต่าง ๆ ของธนาคารรวมไปถึง บริการที่นอกเหนือจากในธนาคารได้ โดย Biometric Verification จะสามารถสร้างความมั่นใจในการยืนยันตัวตนของลูกค้า

Blockchain เป็นเทคโนโลยีที่เข้ามาจัดการเรื่องการจัดเก็บข้อมูลและรับรองเอกสาร สร้างความมั่นใจเรื่อง authenticity ของเอกสาร ระหว่างผู้ให้บริการที่ต้องใช้เอกสารนั้น ๆ ลดต้นทุนการจัดการเอกสารที่เป็นกระดาษ นับเป็นเทคโนโลยีที่จะพลิกโฉมธุรกิจได้ในอนาคต  ซึ่งตัวอย่างการนำบล็อกเชนมาใช้ในธุรกิจ คือ บริการหนังสือค้ำประกันบนเทคโนโลยีบล็อกเชน (Enterprise Letter of Guarantee on Blockchain) ที่พัฒนาขึ้นเป็นครั้งแรกของโลก โดยธนาคารกสิกรไทยเปิดตัวไปเมื่อเดือนกรกฎาคม 2560 ที่ผ่านมา ขณะนี้พัฒนาบริการอยู่ภายใต้ Regulatory Sandbox ทั้งนี้ เชื่อว่าบริการหนังสือค้ำประกันบนเทคโนโลยีบล็อกเชนที่เกิดขึ้นนี้ จะถูกนำไปใช้และพัฒนาให้เป็นมาตรฐานใหม่ที่เป็นสากล เพราะบล็อกเชนจะเอื้อให้ทุกภาคส่วนในระบบเชื่อมต่อและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนี้ร่วมกัน ช่วยลดการใช้กระดาษ เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ และศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ

ท่ามกลางการแข่งขันด้าน Mobile Payment ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้บริการสามารถครองใจผู้ใช้งานได้ ก็คงหนีไม่พ้นการออกแบบ UX/UI (User Experience / User Interface) ให้ลูกค้าใช้งานง่าย (Simple) ซึ่งจากที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่า กสิกรไทยให้ความสำคัญกับการพัฒนา Mobile Banking จนทำให้มีฐานผู้ใช้จำนวนมากเป็นอันดับหนึ่ง จึงเป็นที่น่าจับตามมองอย่างยิ่งว่าเทรนด์เทคโนโลยีที่กสิกรไทยมุ่งเน้นเพื่อการพัฒนาบริการให้สามารถครองใจผู้ใช้งานอย่างต่อเนื่อง และนำประเทศไทยสู่ Cashless Society ดังกล่าว จะนำไปสู่การเป็นแพลทฟอร์มบริการที่นำเสนอบริการทางการเงินและสิ่งที่เหนือความคาดหมายได้อย่างไรบ้าง และเราคงจะได้เห็นคำตอบในเร็ววันนี้

บทความนี้เป็น Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

รู้จัก Physical AI เอไอยุคใหม่ที่ Jensen Huang กล่าวถึงคืออะไร ? มีประโยชน์อย่างไร ?

หนึ่งในไฮไลต์สำคัญของงาน CES 2025 คือการที่ Jensen Huang ซีอีโอของ NVIDIA ได้มีการพูดถึงยุคต่อไปของ AI นั่นก็คือ ‘Physical AI’ ซึ่งนับเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญยิ่งที่ AI กำลังจะเข...

Responsive image

4 เทรนด์เทคโนโลยีสุดล้ำที่อาจเปลี่ยนโลกจาก CES 2025

สำรวจเทรนด์เทคโนโลยีล่าสุดจาก CES 2025 ตั้งแต่ AI อัจฉริยะ ยานยนต์ล้ำสมัย ไปจนถึงการพัฒนาชิปกราฟิกและเทคโนโลยีหน้าจอแห่งอนาคตที่เปลี่ยนโฉมการใช้ชีวิตประจำวัน!...

Responsive image

เปิดตัว ‘รถบินแยกร่าง’ XPeng ผสมเครื่องบินกับรถตู้ รุ่น Land Aircraft Carrier ราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาท

XPeng Aero HT เปิดตัว Land Aircraft Carrier รถบินได้แบบแยกร่างสุดล้ำที่ CES 2025 พร้อม eVTOL พับเก็บได้ ใช้งานง่าย ราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาท วางแผนผลิตเชิงพาณิชย์ในปี 2026...