หลายคนอาจคุ้นเคยกับคำว่า Digital Banking ซึ่ง 2-3 ปีที่ผ่านมาธนาคารหลายแห่งได้ Transformation องค์กรตัวเองให้ก้าวทันโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วประกอบกับการแพร่ระบาดของ Covid-19 ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญในการเข้ามาเป็นตัวเร่งการทรานสฟอร์มให้เกิดขึ้นเร็วกว่าเดิม แต่มีใครเคยสงสัยไหมว่า โลกหลัง Digital Banking คืออะไร? ดังนั้น กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป หรือ KBTG จึงไม่หยุดอยู่เพียงเท่านี้ เดินหน้าลุย Decentralized Finance หรือ DeFi ซึ่งเปิดทางสู่โลกการเงินแบบกระจายศูนย์กลาง โลกที่แปลงสินทรัพย์ในความเป็นจริงให้กลายเป็นสินทรัพย์ดิจิทัล
คุณเรืองโรจน์ พูนผล ประธาน กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป หรือ KBTG เปิดเผยว่า การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีจะเข้าสู่จุดหักศอกในปี 2567-2568 ซึ่งเทคโนโลยีจะมีการ Takeoff เร็วขึ้น และจากนั้นในช่วงปี 2571-2573 จะเกิดการเปลี่ยนแปลงที่เร็วที่สุด นอกจากนี้ยังมี Covid-19 เข้ามาเป็นปัจจัยเร่งที่จะทำให้การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเร็วกว่าที่ทุกคนคาดไว้ ดังนั้น องค์กรที่จะอยู่รอดได้จะต้องปรับตัวให้ทัน
KBTG เป็นองค์กรซึ่งมีภารกิจในการนำเทคโนโลยีสร้างสรรค์บริการดิจิทัล เพื่อสนับสนุนให้ธนาคารกสิกรไทยเป็นสถาบันการเงินที่แข็งแกร่ง ก้าวทันความต้องการของลูกค้า และพร้อมรับทุกกระแสความเปลี่ยนแปลง จึงได้เดินหน้าทรานสฟอร์มองค์กรอย่างต่อเนื่อง โดยการทรานสฟอร์มเฟสแรก ช่วงปี 2562-2563 เริ่มต้นจากการปรับเปลี่ยนในระดับโครงสร้างองค์กร โดยทำความเข้าใจความต้องการของพนักงานในเชิงลึก (Empathy) มองพนักงานเป็นศูนย์กลาง ควบคู่กับการทำพัฒนาศักยภาพทางเทคโนโลยีให้ทันสมัย ทั้งด้านข้อมูล โครงสร้างพื้นฐาน และแอปพลิเคชันบริการต่าง ๆ ที่มีกว่า 400 รายการ ต่อมาในปี 2563 ได้เกิด Innovation Runway ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่องค์กรใช้ในการสร้างนวักตรรมบริการด้วยการทำงานแบบ Agile และสร้างความพร้อมของทีมงานที่จะทำงานได้จากทุกที่
การทรานสฟอร์มเฟสสอง ช่วงปี 2564-2566 ที่ KBTG จะกลายเป็นองค์กรที่สามารถขับเคลื่อนการทำงานแบบอัตโนมัติในองค์รวม (Holistic Automation) โดยในปี 2564 ทาง KBTG มีการตั้งแผนก DevX ซึ่งเป็นแผนกที่จะช่วยสร้างประสบการณ์ทำงานที่ดีให้แก่นักพัฒนา มีซอฟท์แวร์รองรับการทำงานของนักพัฒนา ช่วยในขั้นตอนการตรวจสอบความปลอดภัย การรีวิวโค้ด มีระบบอัตโนมัติเข้ามาช่วยทดสอบ แล้วโหลดขึ้นคลาวด์ได้คล่องตัวขึ้น นอกจากนี้ จากการสร้างแพลตฟอร์ม Innovation Runway และความพร้อมด้านบุคลากร Data Scientist พร้อมทั้งฐานข้อมูลที่มีคุณภาพ KBTG จะพัฒนาสู่การเป็น AI Ffactory สามารถพัฒนาโมเดลได้เร็วขึ้น 12 เท่า จึงสามารถผลิตงานได้ทันความต้องการของตลาดที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ KBTG ได้ทำโครงการ Tech Kampus ซึ่ง KBTG ร่วมมือกับ 7 สถาบัน ทำ Co Research กับสถาบันเหล่านี้เพื่อออกเป็น deep tech innovation ที่จะได้เห็นตลอดทั้งปี
"แน่นอนว่าหลายๆอุตสาหกรรมมันถูกเร่ง Disruption เข้ามา แต่ก่อนผมบอกว่ามันเป็น Disruption แบบโดมิโน คือ หนึ่งอุตสาหกรรมมันจะนำไปสู่การDisruptionของอีกอุตสาหกรรม แต่ตอนนี้มันไม่ใช่แล้วครับ ทุกๆอุตสาหกรรมมันถูก Disruption พร้อมๆกัน และมันจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีจุดหักศอกทีเดียวถึงสองจุด ทำให้ KBANK และ KBTG เราเองถึงต้องมีการ Transformation " คุณเรืองโรจน์ กล่าว
คุณเรืองโรจน์ กล่าวอีกว่า หากย้อนกลับไป 2 ปีก่อน ตนนั้นต้องการจะทรานสฟอร์มองค์กรแบบ fundamental แต่การที่เราจะทำได้ต้องเอาคนเป็นที่ตั้ง เพราะถ้าคุณเอาเทคโนโลยีหรือเอาอย่างอื่นเป็นตัวตั้งคือผิดหมด ซึ่งสิ่งแรกที่คุรกระทิงได้ทำคือการรับฟังปัญหาของพนักงานในองค์กรทั้งหมด รวมถถึงฟังเสียงจากพนักงานที่ลาออกไปแล้วด้วยเช่นกัน และนำมาวิเคราะห์ปรับปรุงการทำงาน เพื่อให้ KBTG เป็นองค์กรเดียวกัน
และโลกถัดมาคือการทำงานแบบ Agile หรือทำงานแบบคล่องตัว แต่ยังคงต้องทำงานร่วมกันเป็นทีมรวมถึงมีการทำงานข้ามแผนกมากขึ้น แล้วโลกไถัดไปคือ อะจาย อะจายคือการทำงานอย่างคล่องตัวและทีนี้มันต้องทำงานเป็นทีมเดียวกัน ในการทำงานข้ามฝั่ง ข้ามแผนกมากขึ้น เราถึงต้องทำการปรับโครงสร้างรและคลายไซโล (Silo) องค์กร เพราะว่าถ้าเราไม่เอาคนเป็นตัวตั้ง และไม่มีการปรับโครงสร้างองค์กรก่อน การทำงานเป็นทีมก็จะไม่เกิดขึ้น
นอกจากนี้ เทรนด์เทคโนโลยีที่ KBTG ได้เริ่มเข้าไปสำรวจและเตรียมความพร้อมแล้วคือ ระบบการเงินที่ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนเข้ามาจัดการแทนตัวกลางอย่างสถาบันการเงิน (Decentralized Finance หรือ DeFi) โดย KBTG ได้จัดตั้ง Kubix บริษัทในกลุ่ม KBTG เข้าไปนำร่องการทำ DeFi ด้วยการร่วมมือกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สร้าง ICO Portal ทางเลือกใหม่ในการระดมทุนหรือลงทุนผ่านสินทรัพย์ดิจิทัล(Digital Asset) ซึ่งการระดมทุนจะดำเนินการโดยการแปลงสินทรัพย์ที่มีอยู่เป็นสินทรัพย์ดิจิทัลในรูปแบบโทเคนดิจิทัล แล้วระดมทุนผ่านการทำ Initial Coin Offering หรือ ICO โดยมี ICO Portal เป็นที่ปรึกษาและผู้จัดการเสนอขายโทเคนดิจิทัลให้แก่นักลงทุนในตลาดแรก นับเป็นการ decentralize finance แบบที่มีสินทรัพย์รองรับ ซึ่งมีความหมายต่อภาคเศรษฐกิจจริง เป็นทางเลือกให้แก่ธุรกิจในการระดมทุน และเป็นทางเลือกให้แก่นักลงทุน สร้างการเข้าถึงทางการเงิน (Financial Inclusion) ทั้งนี้ KBTG เชื่อว่าการเงินที่มีศูนย์กลางโดยสถาบันการเงิน หรือ CenFi และการเงินที่กระจายศูนย์กลาง หรือ DeFi จะสามารถอยู่ร่วมกันได้โดยผู้ให้บริการที่มีความพร้อมที่สุด
" ที่ผ่านมาเราทำ Digital banking มาเยอะ และตนนี้เราก็ต้องแหย๋เข้าไปในโลกของ DeFi ด้วย เพราะเกิดมันหักศอกขึ้นมาเมื่อไหร่คนที่ปรับตัวไม่ทัน และไม่ได้ทำอะไรล่วงหน้า คนนั้นจะเจ็บหนักเป็นคนแรก แต่เชื่อว่าไม่ใช่ KBANK และ KBTG อย่างแน่นอน และสิ่งที่เราคิดคือการนำสินทรัพย์ในโลกแห่งความเป็นจริงที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจไปแปลงเป็นสินทรัพย์ดิจิทัล เพราะเราเห็นว่า บางทีสินทรัพย์ดิจิทัลหลายๆตัวไม่ได้มีพื้นฐานทางด้านคุณค่าทางเศรษฐกิจ เราจึงมีแนวคิดนี้ขึ้นมา แต่ขอเวลาซักระยะในการศึกษาด้านนี้ก่อนครับ " คุณเรืองโรจน์ กล่าวทิ้งท้าย
บทความนี้เป็น Advertorial
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด