KBTG เปิดตัว KBTG Kampus เดินหน้าเสริมแกร่ง Ecosystem ด้านเทคและการศึกษาของไทย | Techsauce

KBTG เปิดตัว KBTG Kampus เดินหน้าเสริมแกร่ง Ecosystem ด้านเทคและการศึกษาของไทย

หลังจากยุคของโควิด-19 นับว่าเป็นยุคทองของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในด้านของเทคโนโลยี แต่อย่างไรก็ตาม โอกาสที่เกิดขึ้นก็ถือเป็นความท้าทายของประเทศไทยในด้านความสามารถด้านเทคโนโลยีและระบบนิเวศที่เอื้อให้เกิดการเติบโตของเทคโนโนโลยีในประเทศไทย 

และเมื่อโควิด-19 ได้กลายมาเป็นตัวเร่งให้เกิด Tech Adoption ที่เร็วขึ้นกว่า 2 เท่า ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง ซึ่งรวมไปถึง “แรงงาน” โดยจากข้อมูลพบว่า จะมีการเปลี่ยนผ่านจากทักษะทั่วไป ไปเป็นทักษะด้านเทคโนโลยี ทำให้แรงงานกว่า 1 พันล้านคน จำเป็นที่จะต้อง Reskill ตัวเอง ส่งผลให้ทุก ๆ องค์กร ทุก ๆ หน่วยงาน ต้องการ Tech Talents เข้ามาเป็นกำลังสำคัญในการเปลี่ยนผ่านไปสู่สังคมเทคโนโลยี

ในบทความนี้ Techsauce จะพาผู้อ่านทุกคนไปทำความรู้จักกับโครงการที่จะมาช่วยสร้าง Talent ให้มี Skills ที่พร้อมในตลาดแรงงาน กับ KBTG Kampus และครั้งแรกกับการร่วมมือกับสถาบันการศึกษา อย่าง KMITL

เปิดวิสัยทัศน์และเป้าหมายของ KBTG

ที่ผ่านมาเราจะเห็นว่า KBTG ได้มีการพัฒนาในส่วนต่าง ๆ โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีที่มาช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับคนไทย โดยล่าสุดได้เปิดตัว KBTG Kampus เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการศึกษาและการวิจัยด้านเทคโนโลยี ให้ประเทศไทยสามารถแข่งขันกับนานาชาติได้อย่างแข็งแกร่ง

โดยคุณกระทิง เรืองโรจน์ พูนผล ประธานกลุ่มบริษัท กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG) ได้กล่าวในงานเปิดตัว KBTG Kampus ไว้ว่า

การที่ KBTG จะสามารถเสริมความแข็งแกร่งให้กับ Tech และ Research Ecosystem ของประเทศได้ จะต้องพัฒนาทั้ง 4 เสาหลัก ไปพร้อม ๆ กัน ซึ่งได้แก่ Company, Startup, Research และ Education ซึ่ง 4 เสาหลักนี้จะขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดไปไม่ได้เลย

บริษัท KBTG (Company) จะต้องเก่งและแกร่ง ในขณะเดียวกันก็ต้องมีระบบนิเวศน์สตาร์ทอัพ (Startup Ecosystem) มาเป็นแรงกระเพื่อมในการต่อยอดเทคโนโลยี บวกกับการที่ต้องมีงานวิจัย (Research) ไว้เป็นกระดูกสันหลัง เพื่อรองรับอนาคตเมื่อโลกพัฒนาไปถึงขั้นของการมี Deep Tech และต้องมีการศึกษา (Education) เป็นพื้นฐานเพื่อสร้างนักวิจัย รวมไปถึงสร้างคนที่จะมาคิดค้นเทคโนโลยี สร้างนวัตกรรม เป็น Tech Workers ของประเทศ เพื่อให้คนเข้ามาช่วยสร้างสตาร์ทอัพ และเป็นกำลังให้บริษัทรวมไปถึง Ecosystem ของประเทศได้แข็งแกร่ง

KBTG จึงมีวิสัยทัศน์ที่ต้องการจะ “Strengthening Thailand Tech and Research Ecosystem” เพราะความแข็งแกร่งและความก้าวหน้าของ KBTG ขึ้นกับความแข็งแกร่งและความก้าวหน้าของ Tech Ecosystem ของประเทศไทย 

โดยก่อนหน้านี้ทาง KBTG ได้เดินหน้าพัฒนาด้านการวิจัยและการศึกษาอย่างต่อเนื่อง อย่าง KBTG Labs ที่เป็นเหมือนกองหน้าของ KBTG Tech Innovation and Research ซึ่งปัจจุบันนี้ KBTG Labs ได้ตีพิมพ์งานวิจัยที่ได้รับการรองรับในระดับนานาชาติออกมาแล้วกว่า 9 ชิ้น ครอบคลุมในด้าน AI, NLP (Natural Language Processing), Quantum Computing และ Blockchain นอกจากนี้ยังมีการนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาผลิตเป็นนวัตกรรมและนำออกมาใช้งานจริงแล้ว

ในด้านของการศึกษา KBTG ได้ทำการ Reskill โดยเริ่มต้นจากภายในองค์กร ผ่านการเปิด Online Learning รวมไปถึง In-house Training ให้กับพนักงานกว่า 17,000 คอร์ส เปิด Development Program ในด้านต่าง ๆ ตั้งแต่ ภาษา ธุรกิจ ไปจนถึงด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์ และต่อมาก็ได้ต่อยอดมาสู่ภายนอก เป็นโปรแกรมอย่างเช่น KBTG Reskill ที่เปิดคอร์สออนไลน์ให้เรียนฟรี ๆ กว่า 20 คอร์สเรียน เปรียบเสมือนเป็นมหาวิทยาลัยเล็ก ๆ สำหรับพนักงาน KBTG และคนนอกที่สนใจพัฒนาทักษะของตัวเอง

นอกจากนี้ ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา KBTG ยังได้ช่วยสนับสนุนด้านการศึกษาผ่าน KBTG Teaches ที่ได้ส่งคนในองค์กรเข้าไปร่วมเป็นอาจารย์สอนนักศึกษาใน 11 มหาวิทยาลัย อีกทั้งยังมีโปรแกรมมอบทุนให้ผู้ที่สนใจไปศึกษาต่อในด้านที่เกี่ยวข้อง

การศึกษาที่เปลี่ยนไปหลังยุคโควิด-19

ในด้านของการศึกษา พบว่า ในแทบจะทุกประเทศทั่วโลกมีการศึกษาไปในรูปแบบเดียวกัน คือ Linear Learning คือ การเรียนตามระบบ จบปี 1 ขึ้นปี 2 ต่อด้วยปี 3 ไปเรื่อย ๆ แต่ปัจจุบันกลับพบว่ายังมีรูปแบบการเรียนอีกแบบหนึ่ง คือ Micro-Credential Learning คือการเรียนแบบเก็บองค์ความรู้ตามที่สนใจ ผ่านการเรียนด้วย Project-based, การทดลอง (Experimental Learning) และรวมไปถึง Hybrid Learning ซึ่งการเรียนแบบนี้ผู้เรียนสามารถเก็บสะสม Bagde ได้ตามทักษะที่ตัวเองสนใจ อย่างเช่น การเรียนบน Coursera, Udemy, AWS เป็นต้น ซึ่งสามารถเลือกเรียนได้หลายระดับที่สนใจ ตั้งแต่ Certificates ไปจนถึง Master’s Degree 

ด้วยรูปแบบการเรียนออนไลน์แบบนี้ ทำให้สตาร์ทอัพกลุ่ม EdTech ในต่างประเทศเติบโตกันอย่างรวดเร็ว เกิดตลาดที่เติบโตกว่า 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่ประเทศไทยยังขาดสตาร์ทอัพด้าน EdTech อยู่

ด้วยความตั้งใจที่จะยกระดับเทคและการศึกษาของไทย KBTG จึงเกิดโครงการดี ๆ มาช่วยเสริม Ecosystem และปิดช่องว่างทั้งสองด้านให้ประเทศไทย

ครั้งแรก KBTG Kampus จับมือกับ KMITL ยกระดับการศึกษาด้านเทคโนโลยี

KBTG Kampus ประกาศความร่วมมือกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เดินหน้าปิด Gap ด้านการศึกษาเทคโนโลยีของเด็กไทย พร้อมประกาศ เตรียมต่อยอดร่วมกับสถาบันอื่นในอนาคต โดยความร่วมมือครั้งนี้ ได้ดำเนินการผ่านทั้ง 3 โปรแกรมของ KBTG Kampus ดังนี้

  • KBTG Kampus ClassNest: มีการเปิดหลักสูตรต่าง ๆ ให้เรียนฟรี ในด้าน Critical Tech Skills อย่าง Java และ Cyber Security ผ่านการเวิร์คชอป สร้างเสริมประสบการณ์ผ่านการทำงานจริงร่วมกับทีมของ KBTG และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดกับอาชีพในอนาคตได้จริง

  • KBTG Kampus Apprentice: การจัดการเรียนรู้งานรูปแบบใหม่ ที่ไม่ใช่เพียงแค่การฝึกงานแล้วกลับไปเรียนเพื่อให้ครบหลักสูตร แต่เป็นการเปิดให้เกิดการเรียนรู้ที่เหมาะแก่ยุคดิจิทัลให้กับนิสิต นักศึกษาเข้ามาเรียนรู้งานจริง ทำงานจริง และได้งานกับ KBTG ตั้งแต่ก่อนจบการศึกษา โดย KBTG จะพัฒนาหลักสูตรการเรียนร่วมกับสถาบันการศึกษาเพื่อให้วิชาที่เรียนตรงกับความต้องการของตลาด

  • KBTG Kampus Co-Research: โครงการนี้ทาง KBTG ได้เข้าไปจับมือกับสถาบันวิจัยของประเทศไทย เพื่อวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีร่วมกันให้เกิดเทคโนโลยีที่มีความหมาย (Meaningful Technologies) พร้อมกับร่วมกันสร้าง S-curve ทางเทคโนโลยีใหม่ ๆ ขึ้นมา

นอกจากนี้ทาง KBTG ได้ทำวิจัยร่วมกับทาง MIT Media Lab ที่จะมีการส่งนักวิจัยไปร่วมทำงานที่สหรัฐอเมริกา และจะนำเอาเทคโนโลยีที่ทำวิจัยกลับมาพัฒนาต่อให้คนไทย

การรับมือความเปลี่ยนแปลงจากสถาบันการศึกษา

รศ.ดร. คมสัน มาลีสี รักษาการอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KMITL) มองว่า Deep Tech จะเป็นปัจจัยสำคัญในการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทย ด้วยสภาพเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งการย้ายของทุนที่จะลงทุนในประเทศไทยเป็นฐานการผลิต การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ 

ทำให้สถาบันการศึกษาต้องปรับตัว เพื่อให้ตอบรับกับความต้องการของสังคม โดยเฉพาะการทำงานวิจัยที่มักจะไม่ถูกนำมาใช้ให้ตอบโจทย์ของสังคม KMITL จึงมีเป้าหมายในการสร้างนวัตกรรมที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงต่อภาคอุตสาหกรรมได้ โดย KMITL ตั้งเป้าที่จะทำงานร่วมกับองค์กรที่อยู่ในอุตสาหกรรมจริง เพื่อให้ KMILT สามารถสร้างหลักสูตรและกำหนดการทำโปรเจกต์ของนักศึกษาให้เป็นประโยชน์ต่อตลาดได้จริง

จุดเริ่มต้นสู่การคว้าโอกาสให้กับประเทศ

ความร่วมมือที่เกิดขึ้นระหว่าง KBTG และ KMILT เป็นจุดเริ่มต้นที่จะสร้างช่วยให้เกิดการ Reskill, Upskill และสร้าง Talent โดย KBTG มีเป้าหมายที่จะขยายโครงการไปสู่สถาบันอื่น ๆ อีกหลายแห่งในอนาคต และก็ได้เชิญชวนให้ผู้ที่สนใจทั้งที่เป็น มหาวิทยาลัย สถาบันการวิจัย สตาร์ทอัพ และรวมไปถึงองค์กรต่าง ๆ ให้เข้ามาร่วมกันเป็นส่วนหนึ่ง ร่วมกับ KBTG เดินหน้าพัฒนา Tech Education Ecosystem ต่อไป 

ที่ผ่านมา ไม่ว่าจะอย่างไร KBTG สามารถสร้าง Talent ได้เพียงแค่ 1,000 คนต่อปี แต่ด้วยความร่วมมือบนวิสัยทัศน์เดียวกัน เราจะสามารถสร้าง Talent ได้กว่า 100,000 คนต่อปีสำหรับประเทศไทย ภายในปี 2030 เพื่อสร้าง Ecosystem ให้ประเทศไทยไม่ตามหลังใคร

คุณกระทิง เรืองโรจน์ พูนผล กล่าวทิ้งท้าย

สำหรับผู้ที่สนใจสามารถติดต่อและดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.kbtgkampus.tech หรือ [email protected]


บทความนี้เป็น Advertorial


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

แนะเทรนด์ลงทุนในสตาร์ทอัพปี 2024 พร้อมช่องทางใหม่ในการระดมทุนจากงาน KATALYST TALK MEETUP #3

บทความที่เอสเอ็มอี สตาร์ทอัพควรอ่านเพื่อเป็นไกด์ไลน์ในการเผชิญความท้าทายในปีนี้ จากการรับฟังภายในงาน KATALYST TALK MEETUP #3 ‘Navigating the Startup Challenges in 2024 and Beyond’...

Responsive image

เตรียมพบกับงาน SEA Blockchain Week 2024 (SEABW) ยกขบวนกูรูผู้เชี่ยวชาญด้านบล็อกเชน และ Web 3 ระดับโลกกว่า 100 คน มาร่วมพูดคุยแบ่งปันประสบการณ์ที่เมืองไทย

Southeast Asia Blockchain Week หรือ SEABW งานด้านบล็อกเชนสุดยิ่งใหญ่ระดับภูมิภาค ที่เตรียมจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ในวันที่ 24-25 เมษายน 2567 ซึ่งจะจัดขึ้น ณ True ICON HALL ช...

Responsive image

กระทรวง AI : เมื่อ AI อันตรายเกินกว่าจะปล่อยไว้ โลกเร่งออกกฎควบคุม

AI กลายเป็นสิ่งที่ต้องถูกควบคุมด้วยกฎหมาย และต้องถูกจับตาดูโดยหน่วยงานของรัฐบาลอย่าง ‘กระทรวง AI’ ที่มีอำนาจ และความสำคัญไม่แพ้หน่วยงานอื่น ๆ แต่ทำไม AI ต้องถูกควบคุมโดยรัฐบาล ? กร...