'Kept' แอปฯ เก็บเงินที่คิดจาก insight จริงของคนที่ 'เก็บเงินไม่อยู่' | Techsauce

'Kept' แอปฯ เก็บเงินที่คิดจาก insight จริงของคนที่ 'เก็บเงินไม่อยู่'

การเงิน ถือเป็นเรื่องสำคัญไม่ว่าจะสำหรับทุกคนในทุกบทบาท ไม่ว่าจะทำธุรกิจหรือในชีวิตประจำวัน แต่สิ่งที่เกิดขึ้นทุกวันนี้กลับส่งสัญญาณความเปราะบางของเรื่องการเงินไปมากทีเดียว ไมว่าจะเป็นค่าครองชีพในเมืองที่พุ่งสูงขึ้น ตัวเลขหนี้ครัวเรือนที่มีสัดส่วนมากขึ้น รวมถึงปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำในระดับมหภาคที่ดูจะเพิ่มความยากในการจัดการเงินของคนปัจจุบัน

แม้ว่าเราจะมีปัญหาแวดล้อมมากมาย แต่การเก็บเงินก็ยังพอมีความเป็นไปได้ โดยเฉพาะกับกลุ่มพนักงานประจำที่มีรายได้ชัดเจน ซึ่งจากการสำรวจ Insight ของกลุ่มเป้าหมายอย่างจริงจัง พบว่าคนกลุ่มนี้มีความตั้งใจจริง แต่อาจไม่ประสบความสำเร็จเพราะขาดวิธีการที่เหมาะสมเท่านั้น

หลายคน “ตระหนัก” ว่าต้องเก็บเงิน เพราะรู้คุณค่าของเงินเก็บ

หากพูดถึงเป้าหมายในการออมเงิน หลายคนคงคิดถึงความจำเป็นเมื่อเราต้องใช้เงินในอนาคต แต่จริงๆ แล้ว เงินออมมีคุณค่ากับเรามากกว่านั้น เนื่องจากความต้องการของชีวิตหลายคนไม่เหมือนกัน ความจำเป็นของเงินออมของแต่ละคนจึงแตกต่างกัน

สำหรับบางคน การมีเงินออมหมายถึงความมั่นคง ช่วยให้เราทำงานได้โดยลดความกังวลเรื่องการใช้ชีวิต เงินออมสำหรับบางคนอาจหมายถึงการเริ่มต้นชีวิตใหม่ ไม่ว่าจะเป็นบ้านหลังใหม่ หรือบางคนอาจต้องการให้คนที่อยู่ข้างหลังสบายขึ้น ทั้งหมดนี้ทำให้เรารู้ได้ว่าเงินเก็บเป็นมากกว่าความจำเป็น แต่เป็นความฝันและแรงบันดาลใจของทุกคน ปัญหาที่เกิดขึ้นจึงไม่ใช่ที่หลายคนไม่ตระหนักถึงคุณค่าของเงินออม แต่พวกเขาไม่รู้ “วิธีการ” เก็บเงินที่ได้ผล จึงไม่สามารถทำตามเป้าหมายได้

ปัญหาการเงินของคนต่างวัย รายได้ยิ่งสูง เงินยิ่งเก็บยาก

เมื่อเราพูดถึงวิธีการ เราจะพบว่าตอนนี้มีแนวทางน่าสนใจมากมายที่ช่วยให้คนธรรมดาพอจะเก็บเงินได้มากขึ้นบ้าง โดยเฉพาะบรรดาคนทำงานที่รับเงินเดือนต่อเนื่องเป็นประจำก็น่าจะพอเก็บเงินได้บ้าง แต่อันที่จริงแล้ว คนกลุ่มนี้กลับเป็นคนกลุ่มใหญ่ที่ประสบปัญหาด้านการออมเงินมากที่สุด ซึ่งเมื่อได้ทำการศึกษา Insight จะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

  • Young money/First Jobber เป็นกลุ่มนักเรียนนักศึกษาจบใหม่ที่เพิ่งเข้าทำงาน หรือเริ่มหารายได้ด้วยตัวเองผ่านช่องทางออนไลน์ คนกลุ่มนี้จะเพิ่งเริ่มมีเงินเป็นของตัวเอง แต่ด้วยปัญหาค่าครองชีพปัจจุบันที่สูงขึ้นมาก และการใช้จ่ายที่อยากจะตามใจตัวเอง ทำให้รายจ่ายแต่ละเดือนก็มีอยู่ไม่น้อย แม้พยายามเก็บเล็กผสมน้อย ก็ยังไม่พอจะมีเงินออมในปริมาณที่เหมาะสมได้

  • Growing money/Manager กลุ่มคนทำงานที่ทำไปได้ระดับหนึ่งราว 5 ปี เริ่มมีรายได้ที่สูงขึ้น มีความสามารถใช้จ่ายมากขึ้นตามรายได้ กลุ่มนี้มีศักยภาพการออมเงินที่สูง แต่เนื่องจากหน้าที่การงาน ภาระความรับผิดชอบที่มากขึ้น ทำให้ขาดเวลาที่จะศึกษาเรื่องการออมเงิน หรือออมอย่างสม่ำเสมอ

ทั้ง 2 กลุ่มเห็นความสำคัญของการออมเงิน แต่ด้วยศักยภาพและความต้องการ ความจำเป็นที่แตกต่างกัน ทำให้วิธีการออมเงินสำหรับคนทั้งสองกลุ่มก็ต้องแตกต่างกันไปด้วย แน่นอนว่าหากมีเครื่องมือที่รวบรวมวิธีการออมเงินที่ได้ผล สามารถดำเนินการได้ง่าย เป็นอัตโนมัติ และเห็นผลลัพธ์ชัดเจน ก็น่าจะช่วยให้เป้าหมายการออมเงินของทุกคนเป็นจริงได้

แนะนำ Kept แอปฯ ที่จะสร้างประสบการณ์ออมเงินรูปแบบใหม่

จากข้อมูลของ We are social ในปี 2019 ระบุว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการใช้ Mobile Banking สูงที่สุดของโลก และดูมีแนวโน้มที่จะใช้งานอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น หากเราสามารถยกการจัดการเงินออมขึ้นมาไว้บนแอปพลิเคชันมือถือ ก็น่าจะช่วยให้เป้าหมายการออมเงินของทุกคนประสบความสำเร็จได้

ด้วยเหตุนี้ Kept by krungsri จึงทำการสำรวจ Insight พร้อมศึกษาวิธีการเก็บเงินแบบต่างๆ มาประยุกต์เข้ากับความเชี่ยวชาญด้านดิจิทัล เกิดเป็น Kept นวัตกรรมบริหารเงินที่พัฒนาเป็นแอปพลิเคชัน โดยชูจุดเด่นฟีเจอร์สูตรการเก็บเงินที่หลากหลาย เป็นอัตโนมัติ ผ่านการทำงานร่วมกันของ 3 บัญชีที่ทำหน้าที่เหมือน 1 กระเป๋า 2 กระปุก ได้แก่ กระเป๋า Kept, กระปุก Grow และ กระปุก Fun

-   Kept บัญชีแยกไว้ใช้ โอนฟรีกี่ครั้งก็ได้ บัญชีแรกของแอปฯ เหมือนกระเป๋าที่ช่วยให้การใช้จ่ายในชีวิตประจำวันและการออมเงินง่ายกว่าที่เคย โดยเป็นบัญชีที่ทำงานร่วมกับกระปุก Grow และ Fun เพื่อให้ระบบเก็บเงินให้ตามที่ตั้งค่าการใช้งานเอาไว้ แล้วแต่เงื่อนไขของแต่ละกระปุก

-   Grow บัญชีที่ให้เงินงอกเงย ดอกเบี้ยคงที่แม้ถอนก่อนกำหนด เหมือนเป็นกระปุกช่วยเก็บเงินก้อน เมื่อเราใช้เงินประจำวันแล้วมีเหลือ ตัวแอปฯ จะดึงเงินส่วนนั้นเข้ามาที่กระปุก Grow โดยอัตโนมัติ โดยกระปุกนี้จะให้ดอกเบี้ยสูงสุดที่ 1.8 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ ตัวกระปุกยังให้ดอกเบี้ยคงที่แม้มีการถอนเงินออก เพื่อให้เจ้าของบัญชีมีความคล่องตัวทางการเงิน

บัญชี Grow จะมีการโอนเข้าขั้นต่ำครั้งละ 5,000 บาท ดอกเบี้ยปีแรกอยู่ที่ 1.6 เปอร์เซ็นต์ ปีที่ 2 อยู่ที่ 1.8 เปอร์เซ็นต์ (ทั้งนี้ ดอกเบี้ยล่าสุด และเงื่อนไขเป็นไปตามประกาศของธนาคาร)

-   Fun บัญชีเก็บสนุก พร้อมรับดอกเบี้ยโบนัส เหมือนกระปุกเก็บเล็กผสมน้อย ที่ถูกพัฒนาขึ้นจากวิธีการออมเงินที่ได้ผล มาเปลี่ยนเป็นแนวทางที่สนุกและสะดวกสบายด้วยเทคโนโลยี โดยมีทั้งหมด 2 ฟีเจอร์ให้เลือกใช้งาน ได้แก่ ฟีเจอร์แอบเก็บ (Auto grab) ที่จะคอยเก็บเงินเราอัตโนมัติเมื่อมีการใช้จ่ายผ่านบัญชี Kept โดยสามารถตั้งได้ทั้งตามจำนวนเงิน ตามเปอร์เซ็นต์ของเงินที่จ่าย หรือตั้งแบบหักเศษเงินให้เต็มจำนวนคล้ายกับที่เราออมจากเงินทอน ยิ่งแอบเก็บมาก ยิ่งมีโอกาสได้โบนัสจากดอกเบี้ยพิเศษมากขึ้นด้วย

และฟีเจอร์สั่งเก็บ (Regular save) ที่เราสามารถตั้งค่าการเก็บเป็นวัน สัปดาห์ หรือเดือนได้ เก็บมากเก็บน้อยไม่เป็นไร แต่ขอให้เก็บอย่างสม่ำเสมอ ก็จะได้เงินเก็บเป็นก้อนได้ไม่ยาก

สมัครง่าย ปลอดภัย

แม้จะมีการออกแบบฟีเจอร์ที่น่าสนใจมากมาย แต่หากขั้นตอนการเข้าถึงขาดความง่ายและปลอดภัย ก็คงไม่ใช่เครื่องมือที่น่าใช้นัก ด้วยเหตุนี้ Kept จึงเปิดให้สมัครบนออนไลน์ทั้งหมด พร้อมวิธีการยืนยันตัวตนผ่านช่องทาง Krungsri i-CONFIRM ซึ่งเป็นจุดบริการยืนยันตัวตนที่ติดตั้งไว้ที่สาขาของธนาคารกรุงศรีทุกสาขาทั่วประเทศ และจะมีการขยายจุดบริการอื่นๆ ในอนาคต ซึ่งสามารถดูจุดบริการได้จาก ‘ค้นหา Krungsri i-CONFIRM' บนแอปพลิเคชัน หรือที่เว็บไซต์ keptbykrungsri.com

วิธีนี้ ทำได้ง่ายๆ โดยเริ่มจาก

  1. ดาวน์โหลดแอปฯ Kept : สมัครใช้งาน กรอกข้อมูล และสแกนบัตรประชาชน
  2. ยืนยันตัวตน: เลือกช่องทาง Krungsri i-CONFIRM จะได้ QR code เพื่อใช้ในการไปติดต่อจุดบริการ Krungsri i-CONFIRM พร้อมนำบัตรประชาชนไปด้วย ภายในระยะเวลาที่กำหนด หลังจากยืนยันตัวตนสำเร็จ จะได้รับข้อความทางมือถือ ให้กลับไปสมัครต่อ
  3. กลับมาที่แอปฯ Kept : ทำการสมัครต่อพร้อมถ่ายเซลฟี่
  4. กรอกรหัสแนะนำเพื่อน (ถ้ามี) สามารถกรอกรหัสได้ตอนสมัคร แค่ครั้งเดียวเท่านั้น จากนั้นตั้งค่าใช้งานได้ทันที

พัฒนาแอปฯ ด้วย Consumer insight และต่อยอดต่อเนื่องด้วย Agile

จุดที่น่าสนใจอีกจุดหนึ่งของแอปฯ คือการพัฒนาฟีเจอร์ทั้งหมดด้วยการศึกษา Consumer insight ของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้ได้วิธีการออมเงินที่ได้ผลจริง โดยนำมาประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยี Automation อีกทั้งยังสอดคล้องกับเทรนด์ Cashless ที่เราอาจไม่ได้เก็บเงินด้วยวิธีเฉพาะอย่างการสะสมธนบัตร 50 บาท หรือสะสมเงินทอน การใช้เทคโนโลยีตรงนี้จึงช่วยให้การออมเงินทำได้ดียิ่งขึ้น

ไม่เพียงเท่านี้ ทีมงานยังทำงานด้วยวิถี Agile ซึ่งทำให้แอปฯ ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ในอนาคตจึงอาจมีฟีเจอร์ใหม่ๆ ที่ช่วยให้ต่อยอดเงินออมของเรา ทั้งวิธีใหม่ๆ ในการออมเงินในอนาคตผ่านผลิตภัณฑ์ทางการเงินอื่น รวมถึงวิธีการใช้งานเช่น การสมัครใช้งานโดยใช้ระบบ National Digital ID หรือ NDID ที่สะดวก แม่นยำ และปลอดภัย ก็เป็นสิ่งที่ทางทีมงาน Kept กำลังพัฒนาเพิ่มเติมเพื่อให้ใช้งานด้วยประสบการณ์ที่ดี

ทั้งนี้ หากสนใจใช้งาน Kept เป็นผู้ช่วยการออม เข้าไปชมรายละเอียดที่ keptbykrungsri.com หรือคุยกับ Kept help center ได้ที่ 02-296-6299 หรือ แชทผ่าน Live chat ในแอปฯ

พิเศษ! สมัครใช้งาน Kept วันนี้ รับสิทธิพิเศษ 2 ต่อ 

ต่อแรก สมัครใช้งาน Kept พร้อมโอนเงินขั้นต่ำ 1,000 บาท 1 รายการ ภายใน 7 วันนับจากวันสมัคร ตั้งแต่วันนี้ - 30 กันยายนนี้ รับ e-Coupon Starbucks มูลค่า 100 บาท ดูรายละเอียดได้ที่นี่ 

ต่อที่ 2 แนะนำเพื่อนสมัคร Kept ด้วยรหัสแนะนำเพื่อนของคุณสำเร็จ รับเงินทั้งผู้แนะนำและเพื่อนคนละ 50 บาท ผู้แนะนำมีโอกาสได้รับสูงสุด 500 บาท สมัครพร้อมกันเพื่อรับสิทธิก่อนวันที่ 30 กันยายนนี้ ดูรายละเอียดวิธีการได้ที่นี่

บทความนี้เป็น Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เปิดกลยุทธ์ธุรกิจยุคใหม่ พลิกข้อมูล สู่ขุมทรัพย์ด้วย analyticX ด้วยพลัง Telco Data Insights และ GenAI

ยุคนี้ใคร ๆ ก็พูดถึง Data แต่จะใช้ Data อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่างหากคือกุญแจสำคัญ! ในสัมมนาสุดเอ็กซ์คลูซีฟ "Unlocking Data-Driven Decisions with Telecom Data Insights" ที่จั...

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...