ยังมี Key Messages สำคัญและห้ามพลาดจากหัวเรือใหญ่แห่ง KBank ขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย ซึ่งมากล่าวปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ ‘Thinking ESG, Unlocking Sustainability Business Mindset’ ณ ห้องจัดแสดงงาน New Frontier ภายในงานสัมมนา Earth Jump 2023: New Frontier of Growth
คุณขัตติยาเกริ่นด้วยการเปรียบเทียบ ‘ความร่วมมือของทุกภาคส่วนหรือทั้งองคาพยพ’ ให้เห็นเป็นภาพตรงกันว่า ‘เราอยู่ในเรือลำเดียวกันหรือคนละลำก็ตาม แต่เรามีทิศทางเดียวกัน และก็ต้องร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลง’ ด้วยกิจกรรมหรือกิจการที่สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ไม่ให้อุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้นเกิน 2 องศา เพื่อไปให้ถึงเป้าหมายร่วมที่ชื่อว่า ความยั่งยืน
“ความยั่งยืนเป็นเรื่องสำคัญ เพราะความยั่งยืนไม่ได้แค่เปลี่ยน Mindset ในการทำธุรกิจ แต่เปลี่ยนวิถีชีวิตของพวกเราทุกคน”
จากนั้นคุณขัตติยาเปรียบเทียบ ‘ความยั่งยืน’ ว่าเป็น ‘ดินแดนที่สวยงาม’
ทว่า…ไม่ใช่ดินแดนใหม่ แต่เป็น ‘โลกใบนี้ที่เราอาศัยอยู่’
แต่การจะไปถึงดินแดนที่สวยงามได้ ทีมเทคซอสสรุปประเด็นที่คุณขัตติยากล่าวได้ว่า ต้องอาศัย 3 ส่วนประกอบกัน นั่นคือ 1. การสร้างความเปลี่ยนแปลงต้องเริ่มจาก Mindset 2. การทำธุรกิจโดยคำนึงถึงแนวทาง ESG และ 3. การนำเสนอ ‘ตัวช่วย’เพื่อสนับสนุนธุรกิจที่ต้องการเติบโต
สำหรับภาคธุรกิจ หัวเรือใหญ่แห่งธนาคารกสิกรไทยอธิบายว่า ต้องเริ่มสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ ‘ผู้นำองค์กร’ โดยผู้นำองค์กรต้องมีสิ่งที่เรียกว่า ESG Mindset 8 ข้อ ได้แก่
ถ้าพิจารณาแนวทาง ESG (Environment, Social & Governance), Climate Action และ Sustainability สามารถมองได้ 2 ทาง คือ
“ถ้าทำได้…เป็นโอกาส ทำไม่ได้…เสียโอกาส ต้นทุนการขายของก็เพิ่มมากขึ้น”
นัยของคำว่า ‘เสียโอกาส’ อธิบายได้หลายมิติ ยกตัวอย่างในด้านการอุปโภคบริโภค - ปัจจุบันมีผู้บริโภคมากมายที่รับรู้แนวคิดเรื่องความยั่งยืนแล้ว โดยการสำรวจ Consumer Survey in Asia Pacific, NielsenIQ 2023 ระบุว่า 95% ของผู้บริโภคพยายามปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ไม่ว่าจะเป็น การหันมาใช้ถุงผ้าในการช็อปปิง แยกประเภทขยะ เลือกซื้อสินค้าที่ระบุว่า Green Product รวมถึงลดการใช้ไฟฟ้า และหากสินค้าใดที่มีกระบวนการผลิตที่ไม่ได้คำนึงถึงความยั่งยืน ในอนาคต…ผู้บริโภคจะไม่ซื้อ
ในด้านการลงทุน - ปี 2022 มี VC ลงทุนใน Climate Tech เพิ่มขึ้น 89% รวมแล้วมีมูลค่าสูงถึง 11.2 พันล้านดอลลาร์ หากผู้ประกอบธุรกิจหรือสตาร์ทอัพไม่มีแนวทางหรือกระบวนการทางธุรกิจที่ทำให้เกิดความยั่งยืน VC ก็จะไม่ลงทุนให้
หรือในด้านการส่งออก - หากผู้ประกอบการไทยไม่ปรับกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือไม่มีแนวทางลดการปล่อยคาร์บอนที่ชัดเจน ก็จะไม่สามารถส่งออกสินค้าไปยังยุโรปและสหรัฐอเมริกาได้ เนื่องจากติดเรื่องกำแพงภาษีจากมาตรการ CBAM และหากไม่สามารถส่งออกได้ แน่นอนว่าจะกระทบ SMEs และผู้ผลิตอีกมาก
เนื่องจากการเปลี่ยนผ่านสู่ธุรกิจที่คำนึงถึง ESG ต้องใช้เงินลงทุนเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลง ภาคธุรกิจจึงมีความต้องการ สินเชื่อเพื่อการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศ (Climate Finance) แต่ Climate Finance ส่วนใหญ่นั้น กระจุกตัวอยู่ในทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรปตะวันตก และประเทศจีน ในฐานะที่ธนาคารกสิกรไทยได้ชื่อว่าเป็น Bank of Sustainability จึงกำหนดแนวทางการสนับสนุนภาคธุรกิจที่ต้องการเติบโตไปกับหลัก ESG ตามแนวทางของ KBank ESG Strategy 2023 โดยมีทั้ง แนวทางการสนับสนุนทางตรง เช่น การออก Green Bond (ตราสารหนี้สีเขียว หรือ ตราสารหนี้เพื่อสิ่งแวดล้อม) การจัดตั้ง Impact Fund กับ แนวทางการสนับสนุนทางอ้อม เช่น การให้ความรู้แก่ภาคธุรกิจ (ดังที่จัดงาน Earth Jump 2023) การทำวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยระดับโลก การทำโครงการนวัตกรรม เช่น โครงการ SolarPlus และโครงการ Watt’s Up
นอกจากนี้ ธนาคารกสิกรไทยยังมี Green Finance จำนวน 1-2 แสนล้านบาท เพื่อให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบธุรกิจที่คำนึงถึงความยั่งยืนภายในปี 2030 มี Beacon Impact Fund ที่จัดสรรวงเงินเพื่อลงทุนด้านสตาร์ทอัพ ความยั่งยืน และ ESG จำนวน 1.2 พันล้านบาท และมุ่งมั่นในการสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านทางธุรกิจให้แก่ลูกค้าเพื่อก้าวไปสู่ Net Zero Economy
ปิดท้ายด้วยคำกล่าวเชิญชวนจากซีอีโอธนาคารกสิกรไทย
“อยากให้ทุกคนก้าวกระโดดไปสู่เป้าหมายใหม่และทำให้ดีขึ้นกว่าเดิมในทุกๆ วัน เพราะโลกรวนทำให้เรารู้ว่า รอไม่ได้แล้ว และหากทำสำเร็จ เราจะพบดินแดนใหม่ที่สดใสอย่างแน่นอน”
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด