ความท้าทาย โอกาส และการปรับตัวของประเทศไทย เจาะลึกยุทธศาสตร์นำทัพไทยในพายุภูมิรัฐศาสตร์ 2025 | Techsauce

ความท้าทาย โอกาส และการปรับตัวของประเทศไทย เจาะลึกยุทธศาสตร์นำทัพไทยในพายุภูมิรัฐศาสตร์ 2025

โลกกำลังเผชิญกับ Turbulent Times หรือยุคแห่งความผันผวนที่ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยความผันผวนนี้ส่งผลกระทบต่อทุกมิติ ตั้งแต่เทคโนโลยี เศรษฐกิจ สังคม การเมือง ไปจนถึงสิ่งแวดล้อม 

ใน Session Leading in Turbulent Times: Geopolitical Outlook 2025 นำทัพในพายุภูมิรัฐศาสตร์โลก 2025 โดยศาสตราจารย์พิเศษ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และประธานคณะมนตรีเพื่อสันติภาพและความปรองดองแห่งเอเชีย พูดถึงความผันผวนที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ที่ต้องจับตา และแนวทางที่ไทยต้องปรับตัว เพื่อฝ่าฟันไปในพายุภูมิรัฐศาสตร์โลก 2025

Turbulent Time ที่โลกต้องเผชิญ

ปัจจุบันพายุภูมิรัฐศาสตร์โลกเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่มากกว่านั้นก็คือการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและยังคงทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ โดยแบ่งออกเป็นหัวข้อได้ดังต่อไปนี้

  1. Technology Disruption: เทคโนโลยีก้าวกระโดดอย่างรวดเร็ว นำโดย AI และ Generative AI ซึ่งเปลี่ยนโฉมหน้าการทำงาน ธุรกิจ กระบวนการผลิต และการศึกษา สิ่งที่เคยเป็นความรู้และทักษะที่จำเป็น อาจกลายเป็นสิ่งล้าสมัยได้อย่างรวดเร็ว ธุรกิจต้องปรับตัวให้ทันกับเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อความอยู่รอด ขณะที่ระบบการศึกษาต้องปรับหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานในอนาคต
  2. Demographic Disruption: สังคมสูงวัย หรือ Aging Society เป็นความท้าทายที่หลายประเทศกำลังเผชิญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเอเชีย รวมถึงประเทศไทย การขาดแคลนแรงงาน ภาระค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขที่เพิ่มสูงขึ้น และการปรับตัวของระบบสวัสดิการสังคม เป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน ประเทศไทยยังขาดการเตรียมพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงนี้ เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ เช่น จีน ญี่ปุ่น และสิงคโปร์
  3. Pandemic Disruption: การระบาดของโรคโควิด-19 และความเสี่ยงของโรคอุบัติใหม่ในอนาคต แสดงให้เห็นถึงความเปราะบางของระบบเศรษฐกิจโลกและระบบสาธารณสุข การหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน การปิดเมือง และมาตรการควบคุมโรคต่างๆ ส่งผลกระทบรุนแรงต่อเศรษฐกิจ ประเทศไทยใช้เวลาฟื้นตัวจากวิกฤตโควิด-19 นานกว่าหลายประเทศ สะท้อนถึงความจำเป็นในการสร้างภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจและการเตรียมพร้อมรับมือกับวิกฤตการณ์ในอนาคต โดยเฉพาะเศรษฐกิจที่พึ่งพาการท่องเที่ยวเป็นหลัก
  4. Environmental Disruption: วิกฤตการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมและภูมิอากาศ หรือ Climate Change ได้ยกระดับเป็น Climate Crisis และ Climate Catastrophe ส่งผลให้เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น น้ำท่วม ภัยแล้ง ไฟป่า ที่รุนแรงและบ่อยครั้งขึ้น การปรับตัว (Adaptation) เช่น การปรับรูปแบบการอยู่อาศัย การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ทนทานต่อภัยพิบัติ และการลดผลกระทบ (Mitigation) เช่น การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การลงทุนในพลังงานสะอาด มีความสำคัญอย่างยิ่ง Green Economy และ Green Financing เป็นแนวทางสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการดูแลสิ่งแวดล้อม
  5. Educational Disruption: รูปแบบการศึกษากำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว Non-degree, Reskill, Upskill และ New skill มีความสำคัญมากขึ้น ผู้เรียนยุคใหม่ให้ความสำคัญกับ Experiential Learning การเรียนรู้จากประสบการณ์จริง ขณะที่ระบบการศึกษาไทยยังไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการเหล่านี้ได้อย่างเต็มที่ ประเทศไทยยังขาดแคลนทุนมนุษย์ที่มีทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 (4Cs - Critical thinking, Creativity, Communication, Collaboration) และทักษะทางดิจิทัล นอกจากนี้ ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ เช่น การจำกัดวีซ่านักเรียนระหว่างจีนและชาติตะวันตก ก็ส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนย้ายของนักศึกษาและการแลกเปลี่ยนทางวิชาการ
  6. Political Disruption: การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่รวดเร็วและบ่อยครั้ง ทั้งในระดับประเทศและระดับโลก สร้างความไม่แน่นอนและความท้าทายในการกำหนดนโยบาย การเปลี่ยนผู้นำ การเลือกตั้ง และความขัดแย้งทางการเมือง ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคง 
  7. Geo-political Disruption: ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ โดยแบ่งออกเป็นสองส่วนได้แก่
    1. การเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์ทางเศรษฐกิจโลก ได้แก่ กลุ่ม BRICS (บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้) มีบทบาทสำคัญมากขึ้นในเวทีโลก ด้วยการลดการพึ่งพาดอลลาร์ (Dedollarization) หรือการสร้างระบบโอนเงินเองโดยไม่ต้องพึ่งพา SWIFT หรือการสร้างระบบเงินทุนสำรองของตัวเอง และไทยกำลังพิจารณาในการเข้าร่วมกับกลุ่มนี้เช่นกัน
    2. การเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์ทางการเมืองโลก ได้แก่ สงครามรัสเซีย-ยูเครน วิกฤตตะวันออกกลาง สงความในประเทศพม่า ความตึงเครียดในคาบสมุทรเกาหลี และทะเลจีนใต้ ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ความมั่นคง และเสถียรภาพของโลก 

นอกจากนี้การแข่งขันของมหาอำนาจในการเป็นผู้นำโลกระหว่างสหรัฐฯ และจีนเป็นประเด็นหลักที่ขับเคลื่อนความผันผวนทางภูมิรัฐศาสตร์ในปัจจุบัน การแข่งขันนี้ครอบคลุมหลายด้าน ตั้งแต่เศรษฐกิจ เทคโนโลยี ความมั่นคงทางทหาร ไปจนถึงอิทธิพลทางการทูต ทั้งสองประเทศต่างพยายามสร้างพันธมิตรและขยายอิทธิพลของตนในภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก ตัวอย่างเช่น ข้อริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (BRI) ของจีน และกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิก (IPEF) ของสหรัฐฯ สะท้อนถึงการแข่งขันเพื่อสร้างอิทธิพลทางเศรษฐกิจในภูมิภาค

ผลกระทบจากการเลือกตั้งครั้งใหม่ของสหรัฐฯ

การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อนโยบายของสหรัฐฯ และสถานการณ์โลก การกลับมาของโดนัลด์ ทรัมป์ อาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงนโยบายในหลายด้าน เช่น การลดความช่วยเหลือยูเครน การเจรจากับรัสเซีย การเน้นอุตสาหกรรมแบบดั้งเดิม และนโยบาย America First ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก การค้าระหว่างประเทศ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ 

ยุทธศาสตร์ของไทยในยุคแห่งความผันผวน

ประเทศไทยต้องปรับตัวและเตรียมพร้อมรับมือกับความผันผวนที่เกิดขึ้นได้ด้วยหลัก 5 ข้อ นำทัพในภายุภูมิรัฐศาสตร์โลก 2025 ดังต่อไปนี้

  1. รู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลง: ติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มของเทคโนโลยีเช่น AI  เศรษฐกิจ สังคม การศึกษาและภูมิรัฐศาสตร์โลก เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับความท้าทายและโอกาสใหม่ๆ
  2. รู้ทันความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์: เข้าใจพลวัตของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ต้องรู้ว่าใครขัดแย้งกับใครโดยเฉพาะเวลานี้ โลกไม่ได้ขัดแย้งกับจีนกับอเมริกาเท่านั้นมีบางเรื่องที่อาเซียนเข้ากับจีนมีบางเรื่องที่อาเซียนเข้าอเมริกามีบางเรื่องที่อินเดียเข้ากับรัสเซียมีบางเรื่องที่อินเดียเข้ากับสหรัฐอเมริกา เป็นต้น
  3. มีหลักการแต่ไม่เป็นคู่ขัดแย้งกับใคร: และหลีกเลี่ยงการเข้าไปเป็นคู่ขัดแย้ง โดยยึดมั่นในหลักการ และแสวงหาความร่วมมือกับประเทศต่างๆ และสอดคล้องกับคุณค่าและทิศทางที่เป็นผลดีต่อประเทศ
  4. เป็นสะพานเชื่อม: ใช้ศักยภาพของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางของอาเซียน และความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศต่างๆ เพื่อสร้างความร่วมมือ และเป็นสะพานเชื่อมระหว่างประเทศต่างๆ เช่น ประเด็นเมียนมาร์ และเวทีความร่วมมือ ACD (Asia Cooperation Dialogue)
  5. เตรียมพร้อมรับมือความไม่แน่นอน: พัฒนาขีดความสามารถในการวิเคราะห์อนาคต (Future Foresight) เพื่อเตรียมพร้อมและมีมาตรการรับมือกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดหรือความไม่แน่นอนโดยอาศัยข้อมูลและสัญญาณล่วงหน้าในการคาดการณ์ทิศทางการเปลี่ยนแปลง

ในช่วงสามปีที่ผ่านมา ดร.สุรเกียรติ์ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการเตรียมความพร้อมของประเทศไทยในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลง โดยเริ่มจากแนวคิด Future Ready Thailand เพื่อให้ประเทศไทยพร้อมสำหรับอนาคต แต่ในปีถัดมาได้ปรับเปลี่ยนเป็น Present Ready Thailand เพราะการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและการ Disruption เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และปัญหาสิ่งแวดล้อมก็ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น ทำให้ต้องพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

อย่างไรก็ตาม ในปีนี้ดร.สุรเกียรติ์ได้เสนอให้ประเทศไทยต้องเตรียมความพร้อมใต้แนวคิด Turbulence Ready Thailand หรือต้องพร้อมสำหรับคลื่นแห่งความเปลี่ยนแปลงที่มาแรงในทุกด้าน เพราะโลกเปลี่ยนแปลงเร็วมาก การพร้อมสำหรับปัจจุบันเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ จำเป็นต้องพร้อมเผชิญกับทุกสถานการณ์อย่างแข็งแกร่ง

* เนื้อหาจาก Session Leading in Turbulent Times: Geopolitical Outlook 2025 ในงาน The Standard Economic Forum 2024

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ตำแหน่ง CRO คืออะไร ? พร้อมเจาะลึก 6 อุปนิสัยสู่ความสำเร็จของผู้บริหารความเสี่ยงยุคใหม่

จากงานวิจัยของ McKinsey จากการสัมภาษณ์เชิงลึกและสำรวจ CRO ปัจจุบันและอดีตมากกว่า 30 รายของสถาบันการเงินหลักทั่วโลก โดยแต่ละรายมีประสบการณ์ในบทบาทนี้มาอย่างน้อย 5 ปี พบว่า CRO ที่ปร...

Responsive image

AI จะเป็น ‘ผู้กอบกู้’ หรือ ‘ผู้ทำลาย’ การ์ตูนญี่ปุ่น

เมื่อประตูสู่วัฒนธรรมและเสาหลักทางเศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่นอย่าง อนิเมะและมังงะกำลังถูก AI แทรกแซง อนาคตของวงการนี้จะเป็นยังไง ?...

Responsive image

เจาะลึกเทรนด์ Spatial Computing จุดเปลี่ยนสำคัญสำหรับองค์กรยุคใหม่

Spatial Computing คือเทคโนโลยีที่ผสานโลกเสมือนจริงและโลกจริงเข้าด้วยกัน ซึ่งมีศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานขององค์กรในยุคดิจิทัล ตั้งแต่การออกแบบผลิตภัณฑ์ไปจนถึงการฝึกอบรมและ...